ประสบการณ์หายร้อน : เล่าด้วยภาพ


ทั้ง "ติดใจ" และ "ติดละคร" ล่ะสิ

จากบันทึกประสบการณ์ร้อนตอน1 และ2 ปัจจุบันประสบการณ์จากการทำงานห้องปฏิัิบัติการนอกเวลา(จำเป็น)ก็หายร้อนซะแล้ว เพราะนี่ก็ล่วงเลยมาครบสัปดาห์พอดิบพอดี  แต่ผู้เขียนยังติดค้างคาใจกับความรู้สึกที่หลายท่านบอกกับผู้เขียนว่าแล้วจะ "ติดใจ"

อย่างอื่นขอบอกก่อนเลยว่าอยู่เวรนอกเวลามีข้อดีแน่ ๆ นอกจากได้สตางค์แล้ว ผู้เขียนยังได้

  • พบปะผู้คนในภาค อย่างน้อยก็ 8 คนแน่ ๆ ที่อยู่รวมกันจากหน่วยต่าง ๆ กับเวลาที่ใช้ร่วมกัน 8 ชั่วโมง อย่างน้อยเราก็ได้คุย คุ้ย คุยกันบ้างไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะช่วงแรกจะคุยมากหน่อย แต่พอช่วงหลังชักติดพัน แต่ละคนก็วุ่นอยู่กับงาน งานและงานของตัวเอง
  • ได้เรียนรู้การทำงานเพิ่มขึ้น แม้เราจะปฏิบัติงานด้านเคมี แต่เครื่องไม้เครื่องมือก็ใช่ว่าจะเหมือนกันซะทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปั่น เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ หรือแม้แต่ระบบโปรแกรมของการทดสอบก็ใช่ว่าจะเหมือนกันซะทีเดียว พบข้อดีและข้อเสีย เห็นความเหมือนและความแตกต่างในการทำงาน
  • ได้ทานอาหารฟรี สำหรับผู้เขียนไม่ได้ทานอาหารเวรมานานหลายปี ก็รู้สึกว่ารสชาดอร่อยดี วันนั้นเป็นข้าวผัดปูกับต้มยำทะเล
  • ได้นำมาเขียนบันทึก ไม่น่าเชื่อตัวเองเหมือนกันอยู่เวรนอกเวลาแค่ 8 ชั่วโมงเองเขียนไป 3 บันทึก(รวมบันทึกนี้) จริง ๆ แล้วเกรงใจตัวเองอยู่เหมือนกัน และพยายามเขียนอย่างรวบรัดที่สุด

ผู้เขียนตั้งใจว่าหากมีเวลาจะขอเรียนรู้การทำงานของเพื่อน ๆ ต่างหน่วยงานบ้าง แต่ที่ไหนได้ "ตัวเกือบเป็นเกลียวหัวเกือบเป็นน๊อต" หากติดเครื่องนับระยะทางไว้ที่ขาก็ดีคงได้หลายโล (ระยะทาง)อยู่ จะว่าไปงานไม่เยอะแต่หลั่งไหลมาเรื่อย ๆ ไม่ขาดสาย เหมือนแม่น้ำเ้จ้าพระยาประมาณนั้น ของเก่าไม่ทันออกผล ของใหม่ก็มาทีละราย สองราย ผู้เขียนชอบแบบว่า มาเป็นกอบเป็นกำ มากกว่าเพราะสะใจดี แม้ทำไปทำมาชักคุ้นและชำนาญมากขึ้น 

เอาเป็นว่าผู้เขียนขอเล่าด้วยภาพและเชิญชมห้องปฏิบัติการนอกเวลา แม้ไม่มีตัวประกอบกับการทำงานของผู้เขียนหรือใคร ๆ ที่อยู่เวรปฏิบัติการนอกเวลา


จุดนี้รับสิ่งส่งตรวจร่วมกันทุกหน่วย ไม่ว่าจะหน่วยโลหิต หน่วยเคมี หน่วยจุลชีววิทยาและหน่วยจุลทรรศน์ศาสตร์ สำหรับการส่ง โดยมีหน้าต่างเล็ก ๆ รับส่งสิ่งส่งตรวจดังภาพข้างล่าง  

จากจุดรับสิ่งส่งตรวจเมื่ออ่าน Barcode แล้วก็หันหลังมาให้ Lab. No. ด้านหลังโดยมีโต๊ะสำหรับวาง Sticker Lab. NO.ดังภาพข้างล่าง

 เดินอ้อมโต๊ะมาอีกด้าน จะมีจุดรับสิ่งส่งตรวจจากท่อลมทั้งสองแบบ โดยแบบด้านขวาผู้เขียนคุ้นเป็นอย่างดีเพราะที่ห้องเค็มเรา็มี แต่ด้านซ้ายที่เป็นท่อสีเทา เป็นท่อที่ต่อตรงมาจากคลินิกฉุกเฉิน ซึ่งระบบค่อนข้าง Soft มาก และถ้าไม่สังเกตุแทบจะลืมไปเลย ผู้เขียนก็เพิ่งได้รับและได้ใช้เป็นครั้งแรก โดยมีพี่เจี๊ยบเป็นคนสอนให้ ง่ายมาก ๆ  

ดังที่บอกว่า Lab. นอกเวลารวมกันหลายหน่วย ที่เห็นไกล ๆ ซึ่งเป็นปีกซ้ายของห้องจากหน้าต่างรับสิ่งส่งตรวจเป็นของหน่วย Hemato 

 และพื้นที่เคาน์เตอร์ของปีกขวาเป็นพื่้นที่ของหน่วย Micros. หรือจุลทรรศน์ ซึ่งผู้เขียนแอบอิจฉาเล็ก  ๆ เพราะมันใกล้กับจุดรับสิ่งส่งตรวจเหลือเกิน

และ่จากหน้าต่างที่ลึกเข้าไปเป็นพื้นที่ของหน่วยเค็มเรานี่เอง ซึ่งบอกตามตรงจากการสัมผัสการทำงานพบว่า หน่วยเคมีเราใช้ระยะทางไกลกว่าชาวบ้าน เพราะรับสิ่งส่งตรวจด้านหนึ่ง หันหลังมาให้ Lab. NO. แล้วเดินไปปั่นและลงทะเบียน เตรียมสิ่งส่งตรวจอีกฟากหนึ่งทีเดียว ดังภาพข้างล่าง

 จากภาพด้านบน ยังมีหน่วยจุลชีววิทยาแอบอยู่ใกล้กันกับหน่วยเคมีด้านขวามือจากภาพ และหลังจากปั่นแยกสิ่งส่งตรวจแล้วด้านซ้ายมือจะเป็นที่วางของเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ  Hitachi 912 (ภาพล่าง)ซึ่งการใช้ก็พบความเหมือนในความแตกต่าง ผู้เขียนเพิ่งอยู่เป็นวันแรกเลยยังไม่กล้าลองโดยใช้ Primary Tube แต่พบว่าผู้เขียนไม่ชอบระบบการ Print out ของเครื่องพิมพ์เลย เพราะพิมพ์ช้ามาก ทั้ง ๆ ที่จากหน้าจอมอนิเตอร์ผลออกแล้วก็ตาม 

    <p> และภาพข้างล่างก็เป็นจุดเตรียม และเครื่องปั่นรวมถึงเครื่องสำหรับการทดสอบ Osmolality และวันที่ผู้เขียนอยู่เวรอย่างที่บอกไม่มีแอร์ใช้ เครื่อง Osmolality จะไม่ Freeze ซึ่งผู้เขียนต้องงัดกลยุทธ์เคล็ดลับหรือฟลุ๊กก็ไม่ทราบกว่าจะสำเร็จ </p><p> <img src="http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/063/410/original_ER5.JPG?1352523806" border="0" width="400" height="300"></p> <blockquote><p><span style="background-color: #ccffff">แต่ถ้าถามว่า</span><strong style="background-color: #ccffff">"ติดใจ"</strong><span style="background-color: #ccffff">มั๊ย ? บอกตามตรง ก็ </span><strong style="background-color: #ccffff">"ติดใจ" </strong><span style="background-color: #ccffff">ค่ะ  แต่ถ้าไม่จำเป็นก็จะไม่อยู่ เพราะเห็นใจคนที่อยู่ทำงานร่วมกับเรา เพราะกลัวเขาจะเหนื่อยกว่าปกติ แต่ที่แน่ ๆ "ติดใจ" ไม่เท่าไรแต่ "ติดละคร" แน่ ๆ หลังจากวันนั้นระหว่างทำงานไปด้วยก็ได้ดูละครไปด้วยตามคำชักชวนของพี่เจี๊ยบ พบว่าหลังจากนั้นคืนวันเสาร์-อาฑิตย์ผู้เขียนก็ยังเฝ้าดูละครเรื่องนี้อยู่เป็นประจำ จากเดิมที่ผู้เขียนไม่เคยดูละครเลย แต่ผู้เขียนพบว่าไม่ว่าปริมาณงานก็ดี หรือจะได้ดูหนังดูละครก็ดี แต่สิ่งเหล่านี้เป็นการฆ่าเวลาได้อย่างดี วันหลังถ้ามีโอกาสได้อยู่อีกจะหยิบหนังสือไปอ่านสักเล่ม (แต่ก็ไม่ทราบว่าจะได้อ่าน เอ๊ย !อยู่อีกรึเปล่า)</span><br> </p></blockquote>
หมายเลขบันทึก: 80267เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2007 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
อ่า.. ว่าแต่รูปถ่ายตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้วเหรอคะ ???

    ตอนแรกไปที่ Lab ER เพื่อตรวจสอบตารางเวรว่าลืมหรือตกหล่นหรือไม่ เพราะมีสถิติทุก 3 เดือน เห็นลายเซ็นนึกว่าผิดหน่วยฯ เงยหน้าขึ้นดูรอบๆ ไม่ผิดแน่นอน 

  ดีค่ะที่แวะเวียนมาทำกิจการ ห้อง Lab ER โดยเฉพาะมือโปร Lab Chem จะได้มีข้อคิดเห็นที่แตกต่าง เผื่อจะได้พัฒนาและปรับปรุง คนทำChem นั้นน่ารักทุกคนเลย  อะไรอะไรก็ทำได้หมด โดยเฉพาะเวรดึก น่าลองมากเลย มีรสชาดกว่าเวรบ่ายนะจะบอกให้ อ้อที่จริงมีคนพูดถึงวันก่อนใน blog ว่าให้ใช้คำว่าอยู่บุญ ซินะ เพราะได้หลายอย่างจากการทำงานที่นี่ มีอะไรดีดีเยอะ อาทิ

  • ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลายๆอย่างเพราะมีคนหลายหน่วยฯ หลายคน หลายวัย หลายแบบ ฯลฯ
  • แลกเปลี่ยนอาหารเสริม นอกจากอาหารเวรแล้วหิ้วมาเติม ทำงานเหนื่อยต้องเติมพลัง
  • ได้ทราบข่าวสารในแต่ละหน่วยฯ ใคร กิ๊ก กับใคร อย่างไร หรือใครมีกิจการอะไรบ้าง
  • ได้รู้เรื่องละคร TV ที่ไม่ได้ติดตามประจำ เพราะมีคนเล่าเรื่องย่อให้ฟัง มือก็ทำงานไป หูก็ฟัง TV ไป 

       มีอีกเยอะไว้ให้น้องมาบอกเล่าบ้าง

   ส่วนห้องแล็บกว้างขวาง ต้องเดินไกลระหว่างทำ lab นั้น คิดเสียว่าออกกำลังกาย จะได้แข็งแรงสุขภาพจะดี จะได้มีแรงทำงาน ทำเงิน นะจ๊ะแม่ใบเตย และต้นตาล

 

 

 

 

คุณ Noname ค๊ะ ผู้เขียนไม่ได้ set วันและเวลาค่ะ ขอบคุณค่ะผู้เขียนว่าจะ ว่าจะ นำ Mode เวลาและวันที่ออกก็ลืมทุกครั้ง รูปที่ถ่ายเป็นรูป ณ ปัจจุบันค่ะ

พี่ Taow ขอบคุณมากค่ะที่ช่วยเติมเต็ม ผู้เขียนอยู่แค่เวรแค่วันเดียว อาจเก็บประเด็นไม่ครบ สงกะสัยต้องอยู่บ่อย ๆ น๊ะพี่น๊ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท