งานละอ่อน...ที่ไม่อ่อนซ้อม เริ่มเป็นจริงเป็นจังเสียที!!!


กระบวนการทำงานของ “อาสาสมัคร” ที่ทำงานเพื่อบ้านเกิดของผมเอง ที่เป็นเหมือนภารกิจใจ ที่ต้องทำ และต้องทำ

ผมเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กที่เมืองปาย มานานแล้ว (เรื่องเด็กๆ ที่ไม่เล็กอย่างที่คิด)  และ ถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้ดำเนินงานอย่างจริงจังเสียที อาจเพราะต้องประสานงานและเก็บข้อมูลพื้นฐานให้พร้อมเพรียงก่อนที่จะเปิดเวทีวิเคราะห์สถานการณ์เด็กขึ้น

ผมเป็นเพียง อาสาสมัคร ไม่มีตำแหน่งหน้าที่อันใดที่จะเอื้อต่อการทำงานภาคสนาม ดังนั้น การดำเนินงานอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร สวนทางกับความต้องการของผู้ประสานงานในพื้นที่ที่พยายามโทรมาถามว่าจะเริ่มเมื่อไหร่ เมื่อไหร่จะเริ่มเสียที...คำถามที่ถามผมบ่อยๆผ่านสายโทรศัพท์

งานนี้งานใหญ่ เพราะไม่มีใครจับงานพัฒนาเด็กที่เมืองปายมานาน ส่วนที่ทำงานด้านเด็กก็ไม่มี แต่ละหน่วยงานก็แตะนิดแตะหน่อย ไม่มีใครยอมมาเป็นเจ้าภาพอย่างจริงจัง ปัญหาเด็กที่บ้านผม จึงมากมายเมื่อสืบค้นข้อมูลมากขึ้น เหมือนขยะใต้พรม ที่ฉาบด้วยความหรูหรา สวยงาม แต่ภายใต้กลับอุดมไปด้วยขยะ ปฏิกูล

เริ่มเป็นจริงเป็นจัง เมื่อผู้ประสานงานแจ้งเรื่องการได้รับอนุเคราะห์จาก Unicef ด้วยงบประมาณที่จะเริ่มทำงานเปิดเวทีวิเคราะห์สถานการณ์ขึ้น บวกกับความคาดหวังของผู้ประสานงานที่ต้องมีสิ่งนั้น และต้องเกิดสิ่งนี้ ก็เลยต้องขอเวลาในการเตรียมตัวนานไปอีก

ผมมองว่างานนี้งานที่ละเอียด และที่สำคัญที่สุด ต้องแสวงหาความร่วมมือในการดำเนินการทุกฝ่าย การดำเนินการในอนาคตจึงจะเกิดการทำงานแบบบูรณาการ (ผมหวังมากไปหรือเปล่า...ไม่รู้)

ได้คุยกันกับเพื่อนๆ น้องๆ เกี่ยวกับการเตรียมเวทีในครั้งนี้ ผมได้พันธมิตรจาก Blog มาร่วมด้วยช่วยกัน คนละไม้คนละมือ นพ.สุพัฒน์ ใจงาม (KMsabai) เป็นผู้ประสานงานข้อมูลของอำเภอปาย ส่วนน้องๆนักศึกษาปริญญาโท ส่งเสริมสุขภาพ มช. จำนวน ๔ ๕ คน น้องเหล่านี้จะช่วยในการดำเนินกิจกรรมเวทีและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปด้วย

เห็นมั้ยครับ ผมอบอุ่นแค่ไหน !!

ตอนนี้ก็เริ่มเก็บข้อมูลและ ออกแบบกระบวนการในเวทีเกือบจะแล้วเสร็จ ในการออกหนังสือเชิญผู้เกี่ยวข้องที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็ก ให้ ทาง กระทรวงพัฒนาสังคมฯ  (พมจ.แม่ฮ่องสอน) เป็นผู้ออกหนังสือเชิญ

งานนี้เป็นการจุดชนวน การแก้ไขปัญหาเด็ก ที่บ้านของผม  ไม่ว่าผลการจัดกระบวนการ เวทีวิเคราะห์สถานการณ์เด็กจะเป็นอย่างไร ผมมองว่าเป็นการเริ่มต้นให้ทุกฝ่ายหันมาให้ความสำคัญและสะกิดใจบ้างเมื่อได้เห็นข้อมูลที่นำออกมาเสนอ

บันทึกนี้เหมือนออกมาบ่นเล็กน้อย...แต่เป็นกระบวนการทำงานของ อาสาสมัคร ที่ทำงานเพื่อบ้านเกิดของผมเอง ที่เป็นเหมือนภาระกิจใจ ที่ต้องทำ และต้องทำ

Blogger ท่านไหนที่ทำงานด้านเด็ก และมีประสบการณ์การทำงานลักษณะนี้ เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ

หมายเลขบันทึก: 79792เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2007 07:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
  • ดิฉันอยู่กับเด็กๆที่บ้านมาก็มากโข...รู้ว่าถ้าทอดทิ้ง...บรรดาเธอๆจะห่างเรา...จึงเห็นความสำคัญของการที่ประพฤติกับเด็กๆแบบเพื่อนและไม่ทอดทิ้งพวกเขาในทุกๆเรื่อง...
  • ดีใจที่ได้เห็นค่ะ

ออกแบบกระบวนการในเวที

เป็นอย่างไรค่ะ ช่วยขยายความหน่อยสิ

  • ไม่เคยทำงานด้านเด็กเลย  แต่ก็มาเพื่อให้กำลังใจอ้ายเอกนะเจ้า
  • ถ้าน้องได้รับหนังสือที่อ้ายส่งให้แล้วจะรีบแจ้งให้ทราบนะเจ้า
  • ไม่เคยทำงานกับเด็ก  แต่จะมีชีวิตอยู่กับเด็กทุกวัน
  • เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากเลยค่ะที่มีอาสาสมัครทำงานเพื่อเด็ก
  • ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจนะคะ

คุณ กฤษณา สำเร็จ

บทบาทของครูคนแรกของเด็กเป็นบทบาทที่สำคัญมากครับ ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจากการที่เด็กขาดตรงนี้ด้วย ขาดผู้ที่คอยอบรมสั่งสอน หรือ ขาดความรู้ในการดูแลเด็กที่ถูกต้อง...ผ้าขาวก็แปดเปื้อนในทันที

ช่วยกันครับ ดูแลเด็กของเรา เพื่อเป็นอนาคตที่ดีของชาติต่อไป

 

 คุณ กฤษณา สำเร็จ

บทบาทของครูคนแรกของเด็กเป็นบทบาทที่มีความสำคัญมากครับ ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจาก การที่เด็กขาดสิ่งเหล่านี้ ขาดผู้ที่คอยสั่งสอน เป็นต้นแบบ และมีกระบวนการดูแลเด็กที่ถูกต้อง ดีงาม

ผ้าขาวก็พลันแปดเปื้อนในทันที

ช่วยกันดูแลเด็กของเรา เพื่อเป็นอนาคตที่ดีของชาติต่อไป

คุณกาเหว่า ครับ

ขอบคุณครับ ที่ชักนำผมให้พบกัลยาณมิตรที่ดีคนหนึ่ง เป็นโอกาสที่ดีมากของผม

เรื่อง "กระบวนการ" ซึ่งสำคัญเป็นหัวใจในการทำงานครั้งนี้ เนื่องจากไม่มีการจัดเวทีใดๆเกีร่ยวกับเด็กมาก่อน หากจะเริ่มทำเหมือนๆหลายแห่งที่เคยทำ ก็จะเสร็จเร็ว จบเร็ว ไม่ได้มีความต่อเนื่อง จึงต้องทำงานกันทีละ Step

ผมเองก็ "อาสาสมัคร" ไม่มีเงินทอง มีแต่ "ใจ" ที่เกินร้อยครับ บางทีเหลือ แค่ สิบ ก็มี

กระบวนการผมคิดไว้ดังนี้

Pre Action

เป็นการเตรียมข้อมูล การเก็บรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเบื้องต้นใช้ในการตัดสินใจ และเป็นเอกสารนำเสนอในเวที ตรงนี้ ผมและ หมอสุพัฒน์ ช่วยกัน (หมอสุพัฒน์เก็บ ผมสังเคราะห์)

เตรียมทีม ตรงนี้ผมเป็นผู้ประสานทีมงานทั้งหมด ส่วนหนึ่งก็เป็นคนที่รู้จักผมหละครับ คนที่มีใจทั้งหลาย มาเอาแฮงกัน ร่วมด้วยช่วยกัน ส่วนเด็ก นศ.ป.โท ก็เอาเงื่อนไข หากไม่มาช่วยผมไม่ให้คำปรึกษาเรื่องหัวข้อนะ เป็นต้น (ล้อเล่น) น้องๆเค้าสมัครใจมากับผมเอง

ประสานผู้เกี่ยวข้อง และ ผู้ร่วมเวที ผ่าน พมจ.แม่ฮ่องสอน

ออกแบบเวที โดยปรึกษา หารือ กันในกลุ่มเล็กๆว่าเราคควรออกแบบเวทีแบบไหนดี เพราะพื้นฐานแต่ละท่านต่างกัน วัตถุประสงค์เราคืออะไร เราต้องการแค่ไหน ใช้กระบวนการใดที่จะเกิดการระดมความคิดมากที่สุด เป็นธรรมชาติมากที่สุด

เตรียมตัวให้พร้อม กำหนดวันที่จะจัดเวที ครับ

 

Action

ผมเป็นวิทยากรหลักและน้องโอ๋ สุภัทร นศ.ป.เอก  ผู้ช่วยวิทยากร ส่วน น้อง นศ. ป.โท เป็น GB.

กิจกรรมในเวทีเป็นแบบธรรมชาติครับ สไตล์เรา เว้ากันซื่อๆ นำเสนอข้อมูล - ระดมความคิด(ปัญหา-ทางออก)- ระดมภาคีที่เกี่ยวข้อง-แผนงานที่จะเคลื่อนต่ออย่างไร...ใครคือ "เจ้าภาพหลัก"  ผมเขียนคร่าวๆนะครับ เวทีเรามีกิจกรรมมากมายกว่านี้  ทั้งหมดเสร็จสิ้นภายใน ๑ วัน

Post action

  • สรุปเวที
  • วิเคราะห์ สังเคราะห์  ทิศทางการดำเนินงาน
  • รูปเล่มผลการดำเนินงานเวทีที่ ๑
  • นำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (พมจ./Unicef)

ทั้งหมดเป็นคร่าวๆนะครับ ...

มีอะไรที่จะแนะนำผมเชิญนะครับ..

 

น้องอ้อ อ้อ - สุชานาถ   และ คุณ kaekai

บางทีคนทำงานอาสาสมัคร ไม่ต้องการอะไรมากครับ เพียงแค่ รอยยิ้ม และกำลังใจ ก็เพียงพอ

ขอบคุณมากครับ

อาจารย์ นมินทร์ (นม.)

ช่วงนี้อาจารย์คงจะเหนื่อยกับ การซ้อมรับปริญญาของเด็กนะครับ

และยังปลีกเวลามาเยี่ยมผมอีกด้วย ต้องขอบคุณจากใจครับผม

คุณเอกค่ะ ที่ถามเพราะอยากเรียนรู้แนวคิดการออกแบบเวทีการเรียนรู้ค่ะ เพราะสนใจด้านนี้ คุณเอกเก่งอยู่แล้ว กัลยา มิกล้า เสนอแนะใดๆ เพียงต้องการเรียนรู้งานน่ะคะ

คุณ  Kawao

ผมไม่เก่งครับ ผมขอเป็นบุคคลที่ชอบเรียนรู้ จะดีกว่า ผมมีข้อบกพร่องเยอะครับ แต่การที่ได้นำมาเขียนบันทึกส่วนหนึ่งก็เป็นการ sharing กระบวนการทำงาน และ อยากให้ผู้ที่มีประสบการณ์ - ความคิดที่หลากหลาย เข้ามาต่อยอด แลกเปลี่ยน

 

ผมคิดว่าทุกคนมีศักยภาพที่หลากหลายและมีคุณค่าครับ

 

ผมเชื่อมั่น

พี่เอกครับงานเด็กและเยาวชนมันเป็นงานที่ระเอียดอ่อนเราต้องไปคลุกคลีกับเด็กให้มากๆแล้วเรียนรู้กับเข้าไปด้วย.....ผมทำงานกับเด็กมา3 ปีแล้วก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเหมือนกันครับ

น้องหนุ่ม...คนดินดิน

P

ยินดียิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนกับน้อง และดีใจเมื่อทราบว่าเป็นเพื่อนกับนาย เปียโร่ P(พรหมลิขิต)

ส่วนรูปแบบการทำงานกับเด็ก ผมยังมีประสบการณ์น้อยครับ หากน้องหนุ่มมีประสบการณ์ที่น่าสนใจ เขียนเป็นบันทึกหรือ เข้ามาแชร์ในบันทึกผมได้ครับ

ขอบคุณมากครับ

ท่าของ 3 หนุ่ม 3 มุม ภาพนี้ ต้องบอกว่าเท่ห์สุดๆ ละค่ะ ... ยกนิ้วให้คุณเอก 10 นิ้ว เลยค่ะ

ความสดใสของเด็ก ๆ ...

ทำเกิดกำลังใจในการทำงาน...

แถมยังได้รับความร่วมมือจากอีกหลาย ๆ ฝ่าย...

งานนี้ไปได้สวยแน่นอนครับ...

อาจารย์ หมอนนทลี ครับ เพื่อนร่วมทาง

รูปเด็กนี่ถ่ายเมื่อเดือนก่อนครับ เป็นเด็กที่อำเภอปาย  มีความแตกต่างกันมากครับ (จน - รวย) แต่เด็กก็ยังเป็นเด็กนะครับ เขาไม่คิดอะไร คงมีแต่ความสดใส ไร้เดียงสาแบบเด็กๆ

สู้ๆครับ(บอกตัวเอง)

ขอบคุณ อ.หมอนนท์ มากครับ

Mr.Direct

เด็กก็คือผ้าขาว และ เด็กเป็นทั้งปัจจุบันและอนาคตของสังคม ของประเทศเรา

พัฒนาเด็ก แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เท่ากับเป็นการพัฒนาประเทศเราที่รากฐานจริงๆ

ความร่วมมือ คนทำงานส่วนหนึ่งมาจากคนที่มีใจ - จิตสาธารณะ

หากคุณ Mr.Direct  อยู่ไม่ไกล ก็คงเป็นอีกท่านที่จะมาร่วมด้วยช่วยกันครับ :)

ผมก็กำลังทำงานวิจัยสถานการณ์เด็กกับความเสี่ยงอบายมุขที่น่านครับ

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันนะครับ คุณ

P

ผมอาจจะได้เดินทางไปน่านอีกไม่นาน ฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ

งานเด็กเป็นงานที่ทำแล้ว ส่งผลต่ออนาคตชาติเลยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท