ภาษีสังคม..กับ..ความศรัทธา..กับ...การบริจาค


ครูอ้อยมีเงินเดือน..จึงจะมาเข้าใจคำว่า...ภาษีสังคม...ได้เป็นอย่างดี เมื่อคราวที่เพื่อนร่วมงานแต่งงาน ตลอดไปถึง บวช ขึ้นบ้านใหม่ กฐิน ผ้าป่า มักจะถูกเรียกว่า....ภาษีสังคม
ในระยะนี้ครอบครัวของครูอ้อยจะมีงาน 2 งานที่จะต้องแจกซองบอกบุญไปยังญาติมิตร 
ซึ่งการกระทำอย่างนี้  สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนานแล้ว  
งานแรกนั้นเป็นงานผ้าป่าสามัคคี  ที่จังหวัดนครราชสีมา บ้านเกิดของพ่อบ้านของครูอ้อย  ครูอ้อยเป็นภรรยาก็ต้องช่วยเหลือหาทุนเพื่อสร้างวัดบ้านเกิดของเธอ  เท่าที่ทำได้ 
เพื่อนที่อยู่ต่างจังหวัดไม่สะดวก  จึงไม่ได้บอกบุญ...ก็คงบอกแต่เพื่อนฝูงในโรงเรียน  เพื่อนฝูงที่เรียนด้วยกันที่มหาวิทยาลัยเท่านั้น  
ตามแต่ศรัทธาและกำลังที่มีอยู่ของแต่ละคน  สำหรับครูอ้อยไม่ค่อยกล้าที่จะบอกบุญใคร  นอกจากคนที่เคยบอกบุญครูอ้อยเท่านั้น  
แต่ปีนี้  ลองดูสิว่า   ถ้าใส่ชื่อครูทั้งหมดเป็นกรรมการ  ซึ่งบางคนครูอ้อยก็ขออนุญาตก่อน  แต่บางคนครูอ้อยก็ละเมิดเอาชื่อของเธอไปลง  
ลองดูค่ะ 
มีจำนวนไม่มาก..และก็จริงดังที่คาดไว้..  ภาษีสังคม...อยู่ที่ใจจริงๆค่ะ 
ครูอ้อยใจไม่เข้มพอ  หากไม่ได้รักและไม่อยากมักจี่ด้วย  จะไม่ไปขอซองคืนเลย 
เรื่องเล่านี้เป็นเรื่อง...ความศรัทธา  เชื่อว่า  ทำบุญกุศล  เหมือนฝากธนาคารไว้กินในภายภาคหน้า  
ลองมาดูอีกมุมหนึ่งค่ะ 
ในชั่วโมงสอนภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ห้องหนึ่ง 
ครูอ้อยลองดูอีกค่ะ    " นักเรียนคะ นักเรียนก็จะเลื่อนชั้นขึ้นไปเรียน ป.5แล้วนะคะ หนังสือเรียนเล่มนี้ ถ้า...นักเรียนไม่มีน้อง  ไม่ได้ยกให้ใคร  คุณครูจะขอบริจาคได้ไหมคะ
นักเรียนคนหนึ่งมองหน้าครูอ้อย  และพูดว่า  " หนังสือของหนูขาดแล้วค่ะ จะมีใครเอาหรือเปล่าคะ
ครูอ้อยรีบบอกว่า  " เรานำมาซ่อมแซมก่อนค่ะ
นักเรียนหลายคนตอบว่าได้  ครูอ้อยเลยบอกต่อว่า  " ถ้าใครจะบริจาค  ให้นำหนังสือที่จะบริจาคนั้นมาใส่ลงในกล่องนี้นะคะ "  
ลองดูอีกค่ะ  ว่า  เด็กสมัยนี้  จะรู้จักการบริจาคหรือไม่
หมายเลขบันทึก: 79645เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2007 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ผมก็เป็นคนที่เกรงใจคนอื่นเหมือนกับครูอ้อยนะครับ ไม่อยากจะรบกวนใคร
  • แต่การบริจาค โดยส่วนตัวผมจะทำอย่างสมำเสมอ เพราะฝึกการลดการเห็นแก่ตัว เสียสละ  และให้ผู้อื่นมากๆ ครับ
  • ค่ะ..บางครั้งก็..อดไม่ได้  ในส่วนที่ครูอ้อยเคยได้รับการบอกบุญมาบ้าง และครูอ้อยก็ควรจะบอกเขาบ้างเพื่อการทำบุญสร้างกุศล...
  • การบริจาค....ก็ทำบ่อยมากค่ะ..และพยายามสอดแทรกให้บักเรียน..มีจิตบริจาคค่ะ
  • ไปอบรมที่ ม.ศรีปทุม....กลับมาแล้วหรือคะ

ขอบคุณค่ะ

  • ผมก็บริจาคนะครับหนังสือต่างๆที่ไม่ใช้ก็จะบริจาคให้โรงเรียนบ้านเกิด เป็นโรงเรียนในชนบท บ้านนอกต่างจังหวัด หนังสือจะมีน้อยมาก
  • ถ้าใครมีหนังสือดีๆ ก็นำไปบริจาคให้โรงเรียนบ้านเกิดของผมบ้างนะครับ
  • โรงเรียนวัดคลองขุด ต.ห้วยแร้ง อ.เมือง จ.ตราด กำลังขาดแคลนหนังสือ จำนวนมาก

สวัสดีค่ะคุณจ๊อด...

  • การบริจาค..สิ่งของที่เหลือใช้..เป็นเรื่องที่ดี
  • ครูอ้อยพบกับตัวครูอ้อยเอง..ที่มีของใช้มากมายที่เก่าเก็บ..อยู่กับครูอ้อยก็ไม่เกิดประโยชน์
  • พอนำไปบริจาค..คนที่เขาต้องการ..เขาก็ขอบคุณและติดต่อและเกื้อกูลกับครูอ้อยมาจนทุกวันนี้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ชอบจังแนวคิดนี้  ดีมาก มากเลยหละ 

 ผู้รับบริจาคเอาไปทำประโยชน์ต่อ

ผู้ให้มีความสุข สุขที่ได้ให้

เด็กๆอาจจะไม่รู้สึกเรื่องนี้ แต่ก็เริ่มสร้างนิสัยการบริจาคครับ

ฝึกการให้เป็นเรื่องใหญ่ที่สังคมเราขาดแคลนลงไปมาก  โดยเฉพาะการให้ในสิ่งที่เรามีมากเกินพอ หรือเจตนาอย่างจริงใจ เป็นการให้ที่ได้หวังอะไร  แต่ให้  หากทุกคนให้ เราก็ไม่ขากแคลน  ตรงข้ามหากเราสะสม นั่นแหละเราจะขาดแคลนครับ

ชอบจังครับ ครูอ้อย

สวัสดีค่ะครูอ้อย

รูปใหม่ สวยจังค่ะ

เรื่องการบอกบุญ ซองผ้าป่า กฐินนี่ เป็นเรื่องของศรัทธาค่ะ

ปกติสังคมไทย  การบริจาคของคนส่วนใหญ่เป็นไปเพราะศรัทธาต่อศาสนา

ตัวพี่เอง แต่ก่อน เคยชวนคนทำบุญมากๆ นำเงินเข้าวัดที่คุ้นเคยต่อเนื่องมาหลายปี ตอนนี้ ก็ยังทำเป็นประจำ แต่จะทำที่วัดอื่นๆด้วย

เพราะเชื่อมั่นว่า นอกจากการทำบุญ จะเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาแล้ว กุศลผลบุญที่เราทำไปไม่ไปไหน  จะติดตัวเราตลอดไปค่ะ

เรา ตายไป เอาอะไรไปไม่ได้ นอกจากบุญค่ะ คือได้บุญทั้งในปัจจุบันและเมื่อเราละโลกไปแล้วด้วย

แต่มีข้อน่าสังเกตข้อหนึ่ง คือ คนมักจะทำบุญกับวัดที่เขารู้จักและศรัทธาด้วย

ถ้าวัดที่เขา ไม่คุ้นเคย เขาก็มักไม่ค่อยทำหรือทำน้อยหน่อย

และการที่ คนจะคุ้นเคยรู้จักวัดนั้นๆ เป็นอย่างดี ก็อาจเป็นเพราะเป็นวัดเก่าแก่    เป็นวัดที่มีหลวงพ่อเป็นที่นับถือมากๆ หรือเป็นวัดที่ทำบุญประจำ เป็นต้น

แต่ถ้าพูดถึงเรื่อง  การบริจาคโดยภาพรวม....

คนไทยบริจาคให้วัด  มากกว่าเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ  หรือเพื่อโรงพยาบาล  หรือเพื่อคนพิการ  

 โดยมิได้คำนึงถึงแรงจูงใจด้านภาษีอากรนัก(คนจำนวนมากไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีการลดหย่อนภาษีให้สำหรับการบริจาค)

และจริงๆแล้ว มีไม่น้อยที่ การบริจาคของคนไทยส่วนใหญ่เพื่อศาสนานั้น   ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งตนที่หวังจะมีชีวิตที่สุขสบายกว่าในชาตินี้และชาติหน้า

แต่ก็มีเหมือนกันค่ะ ที่บางคนบริจาค  เพื่อบริจาค จริงๆ ไม่ได้หวังผลอะไรเลย

 โดยพื้นฐานแล้วจิตใต้สำนึกของคนไทยพุทธทุกคนที่มีจิตศรัทธาในพระพุธศาสนาอย่างแท้จริง เรื่องของการ"บอกบุญ" ไม่ใช่เรื่องเหนือบ่ากว่าแรง ทุกคนพร้อมที่จะร่วมทำบุญ แต่เดี่ยวนี้มีคนบางกลุ่ม เข้ามาแอบแฝงลักษณะนี้ทำให้ พุทธศานาเสื่อมเสีย ส่งผลให้การการทำบุญลักษณะนี้ ต้องระวังเป็นพิเศษ       ยิ่งโดยเฉพาะในสภาวะเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน

  การทำบุญ ทำแล้วต้องได้บุญจริงๆ ก็คือความสบายใจที่ได้เสียสละ สบายใจที่ได้ให้ แต่ต้องไม่เดือดร้อนตัวเอง ( จะมาก จะน้อยขึ้นอยู่กับสถานะด้านการเงินและจิตศรัทธาว่ามากน้อยเพียงใดเพราะทำบุญไม่มีการบังคับ)

  คุณครูรู้สึกเกรงใจที่บอกบุญนั่นแสดงว่าคุณครูมีจิตใจที่ดีงามเป็นอย่างยิ่ง สมเป็นคนไทยพุทธแท้ๆและสมแล้วที่เป็นแม่พิมพ์ของชาติจริงๆ

 ถ้าคุณครูไปบอกบุญใครผมเชื่อ 100 เปอร์เซ็น ผู้ที่ได้รับการบอกบุญด้วยลักษณะครูอย่างนี้แล้ว ทุกคนพร้อมที่จะร่วมทำบุญกับคุณครูแน่ๆ

                                       จากครูสิงห์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท