ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

ครูจะรู้ได้อย่างไรว่านักเรียนมีทักษะการสังเกต


บ่อยครั้งที่ครูมักจะบังคับการสังเกตหรือกำหนดกรอบการสังเกตให้

มนุษย์มีพฤติกรรมแตกต่างกันตามสิ่งเร้า แต่พฤติกรรมของมนุษย์มีระเบียบแบบแผนมากขึ้นเนื่องจากกระบวนการทางสังคม ที่ได้รับรู้จากการสังเกต เป็นธรรมชาติของการเรียนรู้ที่มนุษย์พยามศึกษาด้วยเครื่องมือที่เกิดมาพร้อมมุษย์ ตลอดจนความพยายามที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของการสังเกตด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัยมากขึ้น  เพื่อตอบสนองต่อการธรรมชาติการเรียนรู้  

 การสังเกต(Observation)ทักษะแรกที่สำคัญของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการรับรู้  ประกอบไปด้วย ทักทักษะการสังเกต ซึ่งประกอบไปด้วย การสังเกตด้วยระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 แบ่งตามเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1)การสังเกตด้วยตา (2)การสังเกตด้วยหู (3)การสังเกตด้วยกายสัมผัส  (5)การสังเกตด้วยจมูก (5)การสังเกตด้วยลิ้น การสังเกตถึงพฤติการของมนุษย์ที่แสดงอาการต่างๆ แห่งการรับรู้ด้วยเครื่องมือดังกล่าวนั้น ๆ ก็เป็นสิ่งที่ยากที่ครูจะพบ บ่อยครั้งที่ครูมักจะบังคับการสังเกตหรือกำหนดกรอบการสังเกตให้ ซึ่งมีเทคนิคที่ครูกำหนดให้ 2 แบบ คือ การสังเกตแบบไม่ทางการ (Informal observation) เป็นการสังเกตที่ไม่มีกรอบการสังเกตที่แน่นอน มักจะใช้ในกรณีที่ต้องการสมุตติฐานเพิ่มและใช้เวลานาน  เพื่อกำหนดสมมุติฐานก่อนการตรวจสอบ เนื่องจากความรู้เดิมของสิ่งที่สังเกตนั้นมีน้อยกว่า  ส่วนการสังเกตที่เป็นทางการ(Formal observation) เป็นการสังเกตที่กำหนดรูปแบบการสังเกตเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลตามที่กำหนด  ฟฤติกรรมการสังเกตนี้สามารถที่จะเกิดซ้ำ ๆ ได้ และครูจะสังเกตร่องรอยของพฤติกรรมจากแบบบันทึกได้

  การที่ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีการสังเกตแบบไม่เป็นทางการ  จนเกิดความชำนาญ จะนำไปสู่การคิดแบบ Creative Thinking ตลอดจนความชำนาญของการสังเกตยังทำให้ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนมีมากตามไปด้วย สอดคล้องกับงานวิจัยของ Olivier Armantier (2001) ความชำนาญรือความคล่อกแคล่วอย่างมีทักษะ (influence of observation) และ ประสบการณ์การเรียนรู้ (experience on learning)มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก  การที่ครูจะทราบถึงพฤติกรรมการสังเกตจึงสามารถที่จะตรวจสอบได้หลายวิธีทั้งที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ  ครูก็ควรที่จะสร้างความชำนาญในการสังเกต หรือไม่ก็สร้างเครื่องมือการสังเกตที่มีประสิทธิภาพ

  นายธรรมศักดิ์  ช่วยวัฒนะ

โรงเรียนบ้านบึง  จังหวัดสุรินทร์

 

หมายเลขบันทึก: 79615เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2007 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท