ร่วมกับเครือข่าย ได้ทักษะ ความรู้ ได้เพื่อน ได้งาน "มันอยู่ที่ มุมมอง"


คน กศน. คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า งาน กิจกรรมของเครือข่ายเป็นงานที่นอกเหนือจากภาระงานปกติของ กศน. แต่จริงๆแล้วมันเป็นงาน กศน. โดยตรง

            ในวันที่  14 - 16  ที่ผ่านมา ทีมงานครูอาสาสมัครฯ ของอำเภอ เมืองนครศรีธรรมราช งานน้ี ครูนงเมืองคอน เป็นหัวหน้าทีม ร่วมเป็น วิทยากรพี่เลี้ยงตามโครงการ "ชุมชนเข้มแข็งเมืองไทยแข็งแรง" ของ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

             ตลอดเวลา  3  วันที่ได้เข้าร่วมโครงการโดยเป็นวิทยากร พี่เลี้ยงให้กับกลุ่มตำบลที่รับผิดชอบ คือตำบลไชยมนตรี  กิจกรรม ในแต่ละวันนั้นทำให้ผู้เข้าร่วมซึ่งมาจาก  เจ้าหน้าที่จาก อบต.  ส.อบต.  เจ้าหน้าที่จาก สอ.  อสม. ผู้ใหญ่บ้าน   กำนันได้รับความรู้และพัฒนา ศักยภาพของ ตนเองในการที่จะกลับไปเป็นแกนนำการพัฒนาหมู่บ้าน ตำบลของตนเอง

           งานน้ีไม่เฉพาะแต่ผู้เข้าร่วมเท่านั้นครับที่ได้ความรู้  ทีมพี่เลี้ยงเอง ก็ได้ความรู้เพื่อที่จะนำไปพัฒนาศักยภาพ ในการ ทำงานด้วย  จากเนื้อหาของกิจกรรมทุกกิจกรรม  เป็นกระบวนการ ที่กระตุ้นให้ ผู้เข้าร่วม เกิดความคิด ทักษะ  ความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจ  ความรักความหวงแหน  ชุมชนที่อยู่อาศัย จนถึงวันสุดท้าย ของการ อบรมผู้เข้าร่วมมีความสุข ในการที่จะกำหนดเป้าหมาย  วิธีการ การวางแผน ในการที่จะกลับไปปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อความ ต่อเนื่องของโครงการ

              ผมทำหน้าที่วิทยากรพี่เลี้ยงของกลุ่ม ด้วยความ สนุกสนาน พร้อมทั้งได้สาระความรู้ ทักษะการทำงาน  รวมทั้งเป็นผู้เรียนร่วมกับ ผู้เข้าอบรม แม้จะไม่ค่อยมีบทบาทในการร่วมคิดร่วมทำ สักเท่าไหร่ แต่ก็ได้เห็น กระบวนการ ทั้งในส่วนของวิทยากรหลักที่นำกิจกรรม ที่ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้จากการปฏิบัติ  เกิดกระบวนการคิด  อย่าง ต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การกระทำ หรือการปฏิบัติจริง

              นอกจากที่กล่าวมาแล้วงานน้ี ผมยังได้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม กิจกรรมการพัฒนาทักษะชีวิต  100  กว่าคน กลุ่มเป้าหมาย  คือ            1. กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน 2. เจ้าหน้าที่ สถานีอนามัย  3. แกนนำ อสม.  4. เจ้าพนักงานวิเคราะห์นโยบาย และแผน อบต.  5. สมาชิกสภา อบต.  6. สมาชิกสภาเทศบาลตำบล   โดยเครือข่าย โรงพยาบาลมหาราช เป็นผู้จัดกิจกรรมโครงการ  มีทีม วิทยากรหลักจากภาคี เครือข่าย  คือสถาบันพัฒนาความรู้เกลอ นครศรีธรรมราช  และมี ทีมวิทยากร พี่เลี้ยงจากหน่วยงานเครือข่าย  เกษตร   พัฒนาชุมชน  

              สรุปแล้วงานน้ี  กศน.เมืองนครศรีธรรมราช  ได้เครือข่าย เพิ่มขึ้นคือ  สถาบันเรียนรู้เกลอ   และยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ กับเครือข่ายที่มีอยู่แล้ว  อีกทั้งยังได้เครือข่ายแกนนำหมู่บ้าน ในการที่จะอำนวยความสดวกในการปฏิบัติงานในพื้นที่  และยังได้  กลุ่มเป้าหมายการจัดกิจกรรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมทักษะชีวิตด้วยครับ....

              มาถึงตอนน้ีผมคิดว่าเพื่อน คน กศน. คงจะปฏิเสธ ไม่ได้ แล้วครับ...  ว่ากิจกรรมทุกกิจกรรม  งานทุกงานของภาคี เครือข่าย  เป็นเรื่องนอกเหนือจากภาระงานปกติของ  กศน.  แต่จริงๆ  แล้วมัน เป็นงานของ   กศน.   โดยตรง....  การศึกษาตลอดชีวิต   การจัด การศึกษาประชาชน .... มันอยู่ที่ว่า เราจะเข้าไปร่วมเป็น เจ้าของ อย่างไร....  สำหรับผม...  เปิดตัวอาสา  พาใจไปแลก  ไม่แยกงาน เขางานเรา  เอาทุกอย่างมาเป็นงาน

                ตอนน้ีทุกองค์กร ทุกหน่วยงาน  ต้องการมีเครือข่าย มาร่วมงาน แล้วเรา  กศน. ละครับ... จะเปิดใจรับเครือข่ายเพื่อ เข้าไปร่วมงาน  หรือจะเข้าไปหาเครือข่ายเพื่อผลงาน.... คิดดูดีๆๆๆๆ

หมายเลขบันทึก: 79271เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2007 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2012 02:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ชอบ   คำว่า  พาใจไปแลก 
  • สำหรับผม ทุกอย่างอยู่ที่ใจ  ครับ 
  • ขอบคุณ  ครับ 

ได้อ่านการทำงานของท่านสำราญ แล้วกระผมก็เห็นใจท่านนั้นแหละแต่ว่าคนเราต่างคนต่างความคิดนะท่านสำราญ คนเราเมื่อขึ้นอยู่ที่สูงมักจะมองคนอี่นต่ำหมดจึ่งต้องทำใจน้ะครับน้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท