ความสำเร็จเล็กๆของคลินิกสุขภาพเท้า


นี่แหละค่ะผลของการที่คอยบอกกับตัวเองอยู่เสมอว่าจะต้องไม่เบื่อที่จะต้องพูด จะต้องอธิบาย ต้องใส่ใจ ตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนเองอยู่เสมอ....

ความสำเร็จเล็กๆของคลินิกสุขภาพเท้า

    เมื่อประมาณเดือนตุลาคม49 พี่อุทุมพรหัวหน้าหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 1 ได้กริ๊งกร๊างมาบอกว่า มี case เบาหวานมีแผลที่เท้า จากPCU หัวรอมานอนในโรงพยาบาลดิฉัน และอ้อ(เปรมสุรีณ์) ก็เตรียมเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจประเมินเท้า พร้อมคู่มือการดูแลสุขภาพเท้าไปยังหอผู้ป่วย  เมื่อเข้าไปพบผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียง ด้วยท่าทางสีหน้าที่เรียบเฉย นั่งจับโน่น หยิบนี่ไปเรื่อย ไม่ค่อยสนใจเราสักเท่าไหร่  ถามคำตอบคำ เราทั้ง 2 คนเลยตั้งควักกลยุทธ์ต่างๆในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบบริการให้เกิดความไว้วางใจก่อน เรื่องนี้คุณอ้อเขาถนัด เขาเรียกว่า เทคนิคเจาะแจ๊ะ  พอเราเริ่มคุยกันไปสักพัก ผู้ป่วยชักเริ่มพูดมากขึ้น เริ่มหันมามองเราและอยู่นิ่งมากขึ้น  เราก็ค่อยๆตะล่อมให้มาเข้าทางเรา  ขณะพูดคุยกับผู้ป่วยก็คอยสังเกตุไปด้วย สิ่งที่เห็นคือค่อนข้าง Poor Hygine เกี่ยวกับเรื่องเท้า  มีแผลที่นิ้วนางข้างซ้าย แผลมีเนื้อตายดำๆ และเท้า บวมแดง แผลขนาด 4-5ซม ลึกเห็น bone (เคยถูกตัดนิ้วกลางไปแล้ว 1 นิ้ว)ได้กลิ่นบุหรี่จากตัวผู้ป่วย หลังจากนั้นก็ซักประวัติทั่วไป และเกี่ยวกับเบาหวาน ผู้ป่วยรู้ตัวว่าเป็นเบาหวานมาประมาณ 5 ปีกว่าๆ บอกว่าไปตรวจรับยาเป็นประจำ  ถามว่ามีใครเคยบอกเกี่ยวกับเรื่องโรคเบาหวาน โรคแทรกซ้อน การดูแลตนเองบ้างหรือยัง ผู้ป่วยบอกว่า มีแล้วหมอ พยาบาลที่ห้องตรวจ  แล้วถามว่าแผลที่เท้าเกิดขึ้นได้อย่างไรผู้ป่วยเล่าให้ฟังว่า เป็นทหาร ใส่รองเท้าคอมแบท ตลอด ก่อนหน้านั้นประมาณ 6 เดือนมีอาการชาเท้า อยู่ๆเมื่อ 2อาทิตย์ที่แล้วเท้าบวมแดงและมีแผลที่เท้า มาประมาณ 1 อาทิตย์จึงมาหาหมอ  และหมอบอกว่าสงสัยต้องตัดนิ้วนี้เพิ่มอีกหนึ่งนิ้ว  แล้วเราก็ถามว่าสูบบุหรี่มั๊ย กินเหล้าหรือเปล่า ควบคุมอาหารหรือไม่ และปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง...หลังจากนั้นเราก็ให้ผู้ป่วยทบทวนดูว่าแล้วเราคิดว่าสาเหตุต่างๆที่ทำให้เกิดแผล และแผลหายยากคืออะไร ผู้ป่วยก็ได้แต่ยิ้มแหยๆ เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยพูดถึงปัญหาและความต้องการของเขาและ เราจึงได้ลงลึกถึงปัญหาเหล่านั่น ก็สรุปลงลึกได้รายละเอียดว่า

1.เป็นเบาหวานแล้ว ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้อย่างเหมาะสม เพราะไม่ปรับเปลี่ยนเรื่องการบริโภคอาหาร  เกิดภาวะแทรกซ้อนคือเส้นประสาทส่วนปลายที่เท้าเสื่อม มีอาการชาเท้าทั้ง 2 ข้าง ทำให้เมื่อเท้าเป็นแผล หรือบาดเจ็บแล้วไม่รู้สึก

2.ยังสูบบุหรี่อยู่ ก็อธิบายถึงความเกี่ยวข้องในเรื่องของบุหรี่ และโรคเบาหวาน

3ไม่ตระหนักเรื่องการดูแลเท้าของตนเอง 

4.ขาดกำลังใจ 

      เราก็ได้ลงรายละเอียดในเรื่องของการดูแลสุขภาพเท้าแก่ผู้รับบริการโดยใช้วิธีการบอกกับผู้ป่วยตั้งแต่สาเหตุ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไม เพราะอะไร เมื่อผู้ป่วยได้ฟังก็ชักเริ่มอ๋อ อ๋อ...ตามมา หลังจากนั้นเราตรวจประเมินเท้าให้ และแนะนำถึงวิธีการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับผู้ป่วย   วางแผนร่วมกับหอผู้ป่วยศช.2 ว่า ถ้าทำแผลแล้วไม่ดีขึ้นแพทย์จะทำการตัดนิ้วนางเท้าซ้าย  และควรมีการ ตัดรองเท้าสำหรับผู้ป่วยรายนี้เพื่อให้เหมาะกับเท้าที่เป็นแผลโดยปรึกษากับนักกายภาพ และนักกายอุปกรณ์ และถ้าจำหน่าย ก็จะเชื่อมโยงกับศสช. เพื่อแนะนำ และให้การดูแลแผลต่อเนื่อง  และหลังจากนอนทำแผลที่โรงพยาบาล4-5วัน ยังไม่โดนตัดเท้าแพทย์อนุญาตให้กลับไปทำแผลต่อ ทางเราได้นัดผู้ป่วยมาประเมินแผลที่คลินิกสุขภาพเท้าทุกอาทิตย์ๆละ 1ครั้งวันพุธ แลกๆผู้ป่วยทำท่าอิดออดไม่ค่อยอยากมาที่คลินิกสุขภาพเท้าสักเท่าไหร่ กว่าจะมาหาเราได้ก็เข้าอาทิตย์ที่ 2 หลังกลับไปอยู่บ้าน ซึ่งแผลที่เท้ายังเป็นแผลเปิดอยู่ ทราบว่าบางครั้งขี้เกียจไปศสช.ก็จะทำแผลเอง เรายิ่งเป็นห่วงกลัวจะต้องโดนตัดนิ้วลามไปเรื่อยๆ  จนกระทั่ง มาให้เราดูแผล ให้ เราก็จะคอยให้กำลังใจเสมอ พูดคุยแบบกันเองสบายๆ ผู้ป่วยก็มาหาเราทุกอาทิตย์ จะมานั่งคอยเราทุกวันพุธ ยิ้มแย้มแจ่มใสขึ้น เราก็จะค่อยๆตัดหนังหนารอบๆแผล ขูดเนื้อตายให้แผลก็เริ่ม Healing ดีขึ้น ผู้ป่วยบอกจะรอให้ถึงวันพุธเพราะต้องการมาทำแผล  ที่สำคัญคือหลังจากเราได้พูดคุยกับผู้ป่วยเรื่อยๆบ่อยๆ ให้กำลังใจตลอด จนเดี๋ยวนี้เขาเลิกบุหรี่ได้โดยเด็ดขาดแล้วค่ะ เท้าสะอาดขึ้นอย่างมาก และที่สำคัญ แผลเหลืออีกนิ๊ดเดียวก็จะปิดสนิทแล้วค่ะ ผู้ป่วยบอกว่าหลังจากไปดูแลตนเองตามที่หมอแนะนำแล้วรู้สึกว่าดีขึ้นเยอะ ที่เคยชาเท้าเมื่อได้นวดทาโลชั่น ดูแลเรื่องอาหารแล้วรู้สึกดีขึ้น  เท้าทุเลาชาลงมากเลย .... เดี๋ยวนี้ถ้าผู้ป่วยมาคลินิกเท้าแล้วถ้าพวกเราหายไปไหนสักคนเขาก็จะถามถึงและสามารถจำชื่อเล่นเราได้ด้วยค่ะเราเลยมีความภาคภูมิใจค่ะที่มีส่วนทำให้คนๆหนึ่งไม่ต้องถูกตัดนิ้วเท้าอีกนิ้ว ซึ่งก็หมายถึงอนาคตที่ไม่แน่นอนของอีกหลายๆนิ้ว..และเราก็ใช้ผู้ป่วยรายนี้เป็นกรณีศึกษาบอกกล่าวเล่าให้คนอื่นๆฟังอยู่เสมอๆ....นี่แหละค่ะผลของการที่คอยบอกกับตัวเองอยู่เสมอว่าจะต้องไม่เบื่อที่จะต้องพูด จะต้องอธิบาย ต้องใส่ใจ ตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนเองอยู่เสมอ....ทั้งๆที่ นู๋ทิม นั้นเป็นคนที่ไม่ค่อยพูดและพูดไม่เก่งเลย ส่วย คุณอ้อ นั้นเขามีพรสวรรค์เรื่องการพูดมาตั้งแต่เรียกแม่ได้แล้วค่ะ...ขอบอกว่าค่ะว่าเราบรรลุวัตถุประสงค์ย่อยๆแล้วข้อหนึ่งค่ะ...เรายังคงต้องพัฒนางานของเราต่อไปค่ะ

นู๋ทิมเล่าเรื่อง

หมายเลขบันทึก: 79207เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2007 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ขอชื่นชมกับการทำหน้าที่ของพยาบาลเวชศาสตร์ครอบครัวได้เต็มรูปแบบและนำหลักการให้คำแนะนำปรึกษามาใช้โดยเริ่มต้นจากการสร้างสัมพันธภาพที่ดีจนทำให้คนไข้ได้มองเห็นปัญหาของตัวเองและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน ดีมากเลยค่ะ หนู อ้อ แค่นี้ก็ถือว่าคุ้มมากเลยค่ะ เป็นกำลังใจพัฒนางานต่อไปค่ะ
อ้อ ! ลืมบอกไปว่าเป็นบันทึกที่ดีมากเลยค่ะ อ่านแล้วมองเห็นภาพการทำหน้าที่ของพยาบาลชุมชนที่เป็นหมอพูดมากกว่าหมอยา อิอิอิ....
  • มาให้กำลังใจครับ ผมว่าเรื่องเท้าออกจะเป็นเรื่องใหญ่แต่หาผู้เชี่ยวชาญเรื่องเท้าได้ยากจริง ๆ ครับ
  • background blog ทำให้อ่านยากนิดนึงครับ มันกลืน ๆ กับสี font ไปหน่อย :>
     เป็นบันทึกที่ดีนะหนู ดีใจนะที่เห็นน้องๆมุ่งมั่นทำงานอย่างเต็มที่  การทำงานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความปรารถนาดีคละเคล้าอยู่เช่นนี้จึงเป็นการทำงานที่มีความสุข เราว่าหนูกับอ้อเข้าใจละนะว่าการทำงานด้วยใจเป็นสุขนั้นเป็นอย่างไร
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจ และความห่วงใย เอื้ออาทรที่พี่โต้งมีกับน้องๆเสมอมา มีกำลังใจทำงานต่อไปค่ะ
  • นู๋ทิมค่ะ
  • ขอบคุณ คุณ
    P
    ค่ะที่มาเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเรา
  • เรายังคงต้องศึกษาเรียนรู้งานเรื่องเท้านี้อีกมากมาย ทั้งจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษาจากผู้รู้ ตำรา และอื่นๆ เพื่อจะนำมาพัฒนางานของเราอย่างต่อเนื่องค่ะ 
  • เรื่อง background กับ font  จะรับไปปรับปรุง ขอบคุณที่กรุณาให้คำแนะนำค่ะ
  • ขอบคุณ อาจารย์นิพัธ ที่ทำให้ลูกน้องมีวันนี้ที่ดีกันถ้วนๆหน้า จากทั้งกำลังใจ โอกาส แรงผลักดัน ความมุ่งมั่น ความห่วงใยที่มีให้ลูกน้องเสมอมา พวกเรายังคงต้องพัฒนางานของเราต่อไปค่ะ

อ่านบทความแล้วสนใจมากค่ะ ขอปรึกษาด้วยนะคะ มีคนไข้รายหนึ่งมาหาที่ศสช.แล้วพบว่ามีแผลเนื้อตายเน่าเหม็นที่นิ้วเท้านิ้วกลาง เกิดจากหนามตำแล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่ปวดแผล แต่บวมแดงทั้งเท้า จึงตัดแต่งแผลให้ตัดเนื้อตายทิ้ง พบว่า เป็นเบาหวาน ความดัน ไขมันสูง น้ำตาล ตั้ง 182 ค่ะ จึงให้ยาฆ่าเชื้อและนัดทำแผลทุกวัน ทำแผล3วันแล้ว ไม่เหม็นเน่า ตัดเนื้อตายท้งทุกวัน แผลลึกถึงboneแล้ว อาการอื่นๆดีขึ้นมาก ไม่อักเสบ ปวดแผลมากขึ้น เลือดมาเลี้ยงที่แผลมากขึ้น ชีพจรหลังเท้าคลำได้ คนไข้ไม่ยอมไป รพ.บอกว่าไม่สะดวกไม่มีค่ารถค่ารา ขอทำต่อ จะทำต่ออย่างไรดีค่ะ ช่วยตอบด้วยค่ะ

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านและสนใจในแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนะคะ ส่วนในรายคนไข้ของคุณปาลีรัตน์นั้น อ้อเกรงว่าการติดเชื้อจะไปถึงกระดูกแล้ว จึงอยากแนะนำว่า อับดับแรกคุณคงต้องคุยกับผู้ป่วยถึงความจำเป็นที่คนไข้รายนี้ต้องไปพบกับแพทย์ที่ รพ. สักครั้งเพื่อตรวจดูว่าระดับการติดเชื้อนั้นถึงกระดูกแล้วหรือยัง เพราะถ้าการติดเชื้อนั้นถึงกระดูกแล้วการทำแผลอย่างเดียวไม่สามารถทำให้แผลหายได้ แต่ถ้าการติดเชื้อนั้นยังไม่ถึงกระดูก ก็ควรมีการแต่งแผลให้เอาเนื้อตายออกให้หมดอย่างเร็วที่สุด ถ้ามีเนื้อตายมากๆ อาจต้องอาศัยแพทย์ให้ช่วยตัดแต่งแผลให้ แต่ถ้าคุณสามารถเอาออกเองได้ทั้งหมดก็ดีค่ะ

ส่วนการทำแผลถ้ายังมีเนื้อตายหรือ slape มาก ก็ควร pack แผลด้วย PVD จนแผลแดงดีแล้วหลังจากนั้นเปลี่ยนเป็น pack ด้วย NSS แทน และแนะนำให้คนไข้นอนยกเท้าสูง เดินให้น้อยที่สุด พยายามลงน้ำหนักที่เท้าข้างที่เป็นแผลให้น้อยที่สุด พยายามลดระดับน้ำตาลในอยู่ในเกณฑ์ปกติให้ได้ ถ้าเขาสูบบุหรี่ก็ควรงดสูบให้ได้จะเป็นการดีเพื่อส่งเสริมการหายของแผล แนะนำการนวดเท้า การบริหารเท้าเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของหลอดเลือดที่เท้าด้วยคะ

อ้อหวังว่าประสบการณ์ของอ้อคงจะมีประโยชน์ในการดูแลคนไข้รายนี้บ้างนะคะ ขอเป็นกำลังใจให้คุณปาลีรัตน์ในการดูแลคนไข้กลุ่มนี้ด้วยนะคะ และดีใจแทนคนไข้ในความดูแลของคุณด้วย ที่มีหมอที่เอาใจใส่ต่อสุขภาพคนไข้ขนาดนี้

สุดท้ายต้องขอโทษที่ตอบช้าเพราะไม่ค่อยได้เข้ามาใน Blog เท่าไร แต่ไม่รู้ว่าจะช้าไปหรือเปล่า ถ้ามีอะไรอยากติดต่อด่วนไปที่ [email protected] ได้เลยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท