Competency…วิสัญญีพยาบาล (1)


ฉันได้มีโอกาสพบปะเพื่อนๆชาววิสัญญีบ่อยครั้ง...บางคราวมีการโทรศัพท์ถามถึง... “Competency ของวิสัญญีพยาบาล” ...รพ.ศรีนครินทร์ มข. ทำไหม?

ผู้เขียนได้มีโอกาสพบปะเพื่อนๆชาววิสัญญีบ่อยครั้ง...บางคราวมีการโทรศัพท์ถามถึง

...  “Competency ของวิสัญญีพยาบาล...รพ.ศรีนครินทร์  มข.  ทำไหม?    

 Competency ของพยาบาลนั้น....ฝ่ายการพยาบาล รพ.ศรีนครินทร์ ได้จัดทำและใช้แล้วค่ะ....

แต่  Competency ของวิสัญญีพยาบาล...เรายังมิได้จัดทำให้เป็นเรื่องเป็นราวค่ะ.....เนื่องจากสายบริหารต่างกัน...เราขึ้นตรงกับภาควิชาวิสัญญีวิทยา เป็นสายวิชาการ  จึงเป็นช่องว่างระหว่าง..วิชาชีพพยาบาล...กับ..งานวิสัญญีพยาบาล.... 

 

 เราทำได้คือพยายามหาความรู้ด้วยตนเอง  ผู้เขียนสนใจเรื่องนี้มานานพอควร..เกือบจะได้ทำร่วมกับทีมวิสัญญีพยาบาล  ...แต่แล้วก็มีอันต้องหยุดชะงักไป...  พอนำมาทยอยพูดคุยให้เพื่อนๆวิสัญญีพยาบาลทราบได้บ้างเล็กน้อย...พอเข้าใจค่ะ....   

 

 เริ่มจากการอ่านแนวคิดจากแหล่งข้อมูลเหล่านี้ก่อนก็แล้วกันค่ะ  เพื่อเป็นทุนแห่งปัญญา  

 

 

Competency ของวิสัญญีพยาบาล โดย คุณกานดา เลาหศิลป์สมจิตร์ ในปี 2547 ศึกษาไว้ ที่นี่ ค่ะ

 

  ท่านได้ศึกษา "สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลวิสัญญีโรงพยาบาลรัฐ กระทรวงสาธารณสุข"  (A study of nurse anesthetists' competencies, hospitals under the jurisdiction of the Ministry of Public Health)   

 

 

 ผลการวิจัยพบว่า  "สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลรัฐกระทรวงสาธารณสุข " ประกอบด้วย 4 สมรรถนะหลัก ดังนี้  

 

 1. ด้านการพยาบาลวิสัญญี ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่

 1.1 การประเมินผู้ป่วยก่อนให้ยาระงับความรู้สึก

 1.2 การเฝ้าระวังผู้ป่วยระหว่างให้ยาระงับความรู้สึก

 1.3 การประเมินผู้ป่วยในระยะพักฟื้นหลังให้ยาระงับความรู้สึก

 1.4 การตัดสินใจแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤต และ

  1.5 ทักษะการทำหัตถการ   

2. ด้านทักษะทางสังคม ประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่

2.1 การประสานงานระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ และทีมงานวิสัญญี และ

2.2 การประสานความร่วมมือกับผู้ป่วยและญาติ  

3. ด้านวิชาการ ประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่

3.1 ความรู้ และ

3.2 การใช้เทคโนโลยี

4. ด้านคุณลักษณะ(Personal characteristics) 

นอกจากนั้น  ผู้เขียนได้อ่าน  หน้าที่รับผิดชอบหลักและสมรรถนะวิสัญญีพยาบาลโดย สำนักการพยาบาล  กรมการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข  ร่วมกับ  ชมรมวิสัญญีพยาบาลแห่งประเทศไทย  สิงหาคม  2549   น้องที่มีโอกาสได้เข้าร่วมประชุม...มีน้ำใจงามเอามาฝาก

  

 .....อ่านแล้วรู้สึกดีใจ..ที่ได้เห็นบทบาทของวิสัญญีพยาบาลไทยชัดเจนขึ้น....

อยู่ที่พวกเรา...ชาววิสัญญีพยาบาลแล้วค่ะที่จะทำอย่างไรจึงให้ความชัดเจนในบทบาทนี้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยให้มากที่สุด  

 

.....ส่วนบทบาทของวิสัญญีพยาบาลในโรงเรียนแพทย์นั้น...ยังไม่เห็นความชัดเจนที่เป็นส่วนร่วมของทุกโรงเรียนแพทย์ค่ะ.....

หากทำได้น่าจะเกิดประโยชน์ต่อวงการวิชาชีพเพราะได้ใช้เป็นแนวทางนำมาซึ่งการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้  

นอกจากนั้นมี www. ที่น่าสนใจที่เกี่ยวกับ Competency เช่น

1.     ของสำนักงาน กพ. ที่นี่

2.     สยามHR.com ที่นี่

3.     นายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านตาก จ.ตาก วันที่ 25 ตุลาคม 2548. ที่นี่

4.     ส่งศรี กิตติรักษตระกูล  สํานักการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข ที่นี่ ค่ะ

5.     มาตรฐานบริการพยาบาลในศูนย์อุบัติเหตุ   ที่นี่

และมีอีกมาก  หากสนใจอ่านค่ะ 

(ขอขอบคุณทุกท่านที่กล่าวมา ตลอดจน www. ต่างๆค่ะ....)

หมายเลขบันทึก: 79198เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2007 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 06:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

เป็นประโยชน์มากค่ะคุณติ๋ว

ปัจจุบันในทุกมหาวิยาลัยได้มีการศึกษาในการจัดทำ competency ในแต่ละตำแหน่งงาน ถ้านำมาใช้ได้จริง ก็จะเกิดประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาระบบประเมินด้วยค่ะ

  • ขอให้กำลังใจวิสัญญีพยาบาลนะคะ
  • ต้องเริ่มคิดด้วยตนเอง ว่าสมรรถนะที่ควรจะเป็นจะเป็นอย่างไร
  • แล้วเราก็จะสามารถยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับวิชาชีพข้างเคียงได้เป็นอย่างดี
  • ที่ต่างประเทสวิสัญญีพยาบาล เขาให้ความสำคัญมาก
  • เป็นส่วนหนึ่งของ    พยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูง (Advanced Practice nurse)
สวัสดีค่ะ คุณsompornp....ดิฉันกำลังพยายามทำให้เกิดขึ้นในวงการวิสัญญีพยาบาล มข.ค่ะ...คอยอยู่เคียงข้างและให้กำลังใจกันนะคะ....ขอบคุณค่ะ
สวัสดีค่ะ พี่แก้ว...สิ่งนั้นเป็นความฝันที่ดูเหมือนอยู่ไกลเหลือเกินค่ะ...พวกเรากระจัดกระจายกันตามที่ต่างๆ..นี่ดีขึ้นมากแล้วค่ะ มีการพบปะกันพอสมควร เสียแต่ดิฉันไม่ได้ไปเพราะเพิ่งทราบทีหลัง...คราวนี้จัดที่ มอ...แต่ไม่เห็นจะมีใครในทีมจะใส่ใจเป็นเรื่องเป็นราวค่ะ...คงต้องใช้เวลาและมานะอีกนานค่ะ
การกำหนด competency เหมือนกับการบอกว่าเราต้องการผู้ที่คุณสมบัติอย่างไรบ้าง ซึ่งปกติแล้ว คำว่า competency จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
  • core competency ซึ่งเป็นสมรรถนะหลัก หมายถึงว่าเราต้องการให้ในวิชาชีพของเรา ต้องมีคุณลักษณะอะไรบ้าง แล้วก็หาวิธีประเมินออกมาว่าเรามีสมรรถนะในเรื่องนั้นๆ ในระดับไหน ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่ต้องการหรือไม่ หากไม่ผ่านเกณฑ์ ต้องทำอย่างไรให้ผ่านเกณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นการให้การฝึกอบรมในเรื่องที่ยังขาด หรืออะไรก็ตามในการทำให้เขามีความรู้ในเรื่องที่ขาดนั้นมากขึ้น
  • functional competency เป็นความสามารถในงานที่ทำ หรือความรู้ในสายงานวิชาชีพที่ปฎิบัติ ซึ่งต้องใช้ข้อสอบหรือแบบประเมินว่า เรามีเกณฑ์ความรู้ขั้นต่ำเพียงพอที่จะใช้ในการปฏิบัติงานได้
     การประเมิน core competency อาจใช้แบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ จากบุคคลต่างๆที่อยู่แวดล้อมเรา ไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชาก็ตาม แล้วประเมินว่าเรามีความสามารถในเรื่องนั้นๆมากน้อยเพียงใด ดังนั้นการกำหนดเกณฑ์ให้ชัดเจนและการทำความเข้าใจต่อผู้ที่เกี่ยวข้องจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อให้สามารถประเมินออกมาได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงให้มากที่สุด หากผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องไม่สนใจในเรื่องนี้ ก็คงบอกได้ว่าป่วยการที่จะทำในเรื่อง competency เพราะหากการประเมินไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงออกมาได้ การทำ competency ก็จะไม่เป็นที่ยอมรับครับ ไม่ต่างจากการที่บอกว่าอยากได้คะแนนเท่าไรก็เขียนกันเอง ไม่ต้องมาประเมินให้เสียเวลา
     การประเมิน functional competency ในบางแห่งอาจใช้การออกข้อสอบ เหมือนที่เราเรียนกันในสายวิชาชีพ มีการสอนเสริม มีการติว หากสร้างบรรยากาศให้เป็นที่สนุกสนานได้ ก็เป็นเรื่องที่น่าสนุกครับ แต่หากไม่สามารถสร้างบรรยากาศให้สนุกได้ ก็ดูเหมือนกับจะสร้างความอึดอัดได้มากทีเดียว เพราะหลายคนจะคิดว่า แก่จนป่านนี้แล้ว ทำไมต้องกลับไปอ่านหนังสือสอบอีก   ผมเคยเห็นพนักงานบริษัทที่ผลิตชุดทดสอบทางห้องปฏิบัติการ มีการสอบภาษาอังกฤษ เวลาสอบเขาก็เอาข้อสอบภาษาอังกฤษชั้น ม. 6 มาสอบ สนุกดีครับ ผลการสอบ functional competency และ มีการโยงกับการพิจารณาความดีความชอบด้วยครับ
ผลการสอบ functional competency และ core competency มีการโยงกับการพิจารณาความดีความชอบด้วยครับ เห็นแล้วก็สนุกดีครับ
     ขอโทษด้วยครับ มือไวไปหน่อย กดผิดไปนิดเดียว ส่งไปเสียแล้ว

ขอบคุณ คุณไมโตเหลือเกินค่ะ

  • ฉันเห็นคุณมาเยี่ยมทีไร  ก็ต้องมีอะไรติดไม้ติดมือมาฝากเหมือนเคย...
  • ฉันจะขออนุญาตคุณนำข้อมูลเหล่านี้ขึ้นบันทึกเรื่องนี้ต่อ..ในภาคถัดๆไปค่ะ...เพราะไม่อยากแต่ให้อยู่ในcomment ของฉันซึ่งประโยชน์จะได้เพียงไม่กี่คน...ฉันอยากให้วิสัญญีพยาบาลท่านอื่นๆได้อ่านด้วยค่ะ..
  • ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
  • ..ชอบค่ะ..มือไว..ได้อีกหนึ่งแต้มค่ะ..อิ...อิ....
เป็นพยาบาลวิสัญญีอยู่ร.พ.ชุมชน มีบทบาทในการดมยาค่อนข้างน้อย ต้องทำงานทั่วไปทั้งงาน ER LR OPD ทำให้ไม่ค่อยได้ทำงานเกี่ยวกับวิสัญญี มีวิสัญญีพยาบาลคนเดียว ดมยาคนเดียว เวลาเกิดปัญหาไม่รู้จะปรึกษาใคร เพราะไม่มีใครเข้าใจงานดมยา

สวัสดีค่ะ คุณ kartaี

  • หากเป็น elective case แล้วได้ไปดูและประเมินคนไข้ก่อน  คงพอทราบระดับความรุนแรงของปัญหาก่อนตัดสินใจให้บริการได้ค่ะ  ไม่มั่นใจก็บอกไปได้เลยว่า ขอrefer....เป็นการผ่องถ่ายความเสี่ยง
  • หากมีปัญหาอื่นที่หากพอจะช่วยได้ก็กรุณาสอบถามมาได้นะคะ  จะถามผู้รู้แถวๆนี้ให้ได้ค่ะ....ยินดีค่ะ

อยากได้“หน้าที่รับผิดชอบหลักและสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล โดย สำนักการพยาบาล  กรมการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข  ร่วมกับ  ชมรมวิสัญญีพยาบาลแห่งประเทศไทย  สิงหาคม  2549  บ้างค่ะ ไม่ทราบว่าจะหาเอกสารได้ที่ได้ที่ไหนคะ...รบกวนหน่อยค่ะ...ขอบพระคุณมากๆค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณหน่อง

  • เคยมีน้องที่ไปร่วมประชุมที่ชมรมจัด  และได้หนังสือมาเล่มนึง...เป็นสิ่งที่คุณกำลังอยากได้ค่ะ...
  • จะลองไปค้นดูแล้วจะส่งข่าวค่ะ

พบรายนามคณะทำงานรวบรวมและเรียบเรียง "หน้าที่รับผิดชอบหลักและสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล" ค่ะ

1. ดร.ดนุลดา  จามจุรี  สำนักงานการพยาบาล  กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

2. นางพรรทิพา  อินทรภิรมย์ โรงพยาบาลนครปฐม

3. นางนิ่มนวล  มันตาภรณ์  ภาควิชาวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลศิริราช

4. พ.ต.ท.หญิง เบญจรัตน์  สมเกียรติ โรงพยาบาลตำรวจ

5. นางระยอง  บรรจงศิลป์  โรงพยาบาลนครชัยศรี

6. นางวารุณี  สงวนหมู่  โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

7. นางสะน้อย  แสงหิรัญ  โรงพยาบาลลพบุรี

8. นางศิริมา  ลีละวงศ์  สำนักงานการพยาบาล  กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

9. นางนันท์นภัส  ต้อยติ่ง สำนักงานการพยาบาล  กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

สะดวกที่ไหน...ใกล้ใคร...  เชิญท่านที่สนใจลองติดต่อดูนะคะ...โชคดีค่ะ

 

-ต้องการทราบว่าใน USA มีการให้ certified และการเตรียมสมรรถนะของวิสัญญีพยาบาลในบทบาทขั้นสูงและมีความรับผิดชอบใดบ้าง กรุณาตอบด่วนนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณpeerin

  • ขอบคุณค่ะที่ให้ความสนใจ
  • ลองเข้าไปค้นพอได้ nurse anesthetists และเคยได้เห็นตำราที่ใช้สอนวิสัญญีพยาบาลเลยค่ะ  สอนสามปี...รายละเอียดต้องกลับไปอ่านใหม่ค่ะ  อ่านพบหลายปีแล้ว
  • จะพยายามหามาเพิ่มเติมค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะที่พี่เป็นธุระหา"หน้าที่รับผิดชอบหลักและสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล"ให้ค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณหน่อง

  • วันนี้พี่มาประชุม 9th. HA National Forum ได้มีการบรรยายเรื่องของกลยุทธ์องค์กร  ที่เกี่ยวข้องกับCompetency พอสมควรค่ะ...ทำให้เข้าใจมากขึ้น 
  • กลับไปจะพยายามถอดเท่าที่จะเก็บได้นิดหน่อยมาเล่าเพิ่มเติมค่ะ
  • ขอบคุณนะคะที่สนใจช่วยกันพัฒนาวิชาชีพของเรา

ขอขอบพระคุณ คุณมากๆค่ ะที่ช่วยรวบรวมแหล่งความรู้ต่างๆให้กับพวกเราชาววิสัญญีพยาบาลขออานิสงค์ผลบุญที่ท่านได้ให้ปัญญาทานแก่บุคคลทั่วไปจงส่งผลให้ท่านและครอบครัวจงประสบแต่ความสุขความเจริญตลอดไปและถ้ามีโอกาสดีๆ อยากให้คุณช่วยรวบรวมความรู้ในด้านต่างๆด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณ  pu

  • ทั้งดีใจและมีกำลังใจค่ะที่ทราบว่าสิ่งที่เล่าให้ฟังเกิดประโยชน์กับพวกเราชาววิสัญญีพยาบาล
  • ...เพียงอยากให้ผู้ปฏิบัติงานในหน้างานที่แท้จริงอย่างพวกเราได้เป็นกระจกสะท้อนในกิจกรรมต่างๆด้วย  เพราะงานที่เราทำภายใต้การดูแลรับผิดชอบโดยวิสัญญีแพทย์นั้น  ในหลายโรงพยาบาลที่ยังไม่มีวิสัญญีแพทย์ให้เราได้ปรึกษา  จะมีก็เพียงแพทย์ผ่าตัดซึ่งอาจจะไม่สามารถทราบเชิงลึกในวิชาชีพวิสัญญีได้ ก็ป็นความลำบากสำหรับพวกเรา(วิสัญญีพยาบาลในประเทศไทย)เหมือนกัน  ยังเป็นภารกิจที่ได้รับมอบหมายที่หนักหน่วง  รับผิดชอบสูง...แต่ยังขาดการดูแลใส่ใจในด้านขวัญและกำลังใจที่เพียงพอ 
  • การไม่กำหนดบทบาทที่ชัดเจนอาจเพราะหลายๆ รพ.ยังคงก้ำๆกึ่งๆเพราะไม่มีวิสัญญีแพทย์ วิสัญญีแพทย์ยังเป็นสาขาขาดแคลนอยู่  แต่พอไม่ชัดเจนก็ทำให้วิสัญญีพยาบาลอึดอัดใจว่าบทบาทของวิสัญญีพยาบาลให้ทำอะไรได้บ้าง...มากน้อยเพียงใด
  • แต่จะอย่างไรเสีย  ดิฉันก็ยังเชื่อมั่นว่าวิสัญญีพยาบาลเราทำได้  ในกรณีเสี่ยงสูงเราก็ใช้ระบบส่งต่อจะดีที่สุดค่ะ... ยุคเราสมัยเราคงต้องอยู่ในวังวนนี้ไปก่อนค่ะ  คิดเสียว่าช่วยผู้ป่วยที่น่าสงสาร ทำได้ดีที่สุดคือต้องขวนขวายหาความรู้พัฒนาตนเองเพิ่มขึ้นมากๆ  ไม่งั้น...อันตรายค่ะ
  • อย่างน้อยที่สุดเวทีนี้ยังพอเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนแนวคิดและความรู้สำหรับพวกเราได้บ้างค่ะ...ช่วยๆกันบอกต่อนะคะ  จะได้เพิ่มเครือข่ายให้วิชาชีพเราได้พัฒนาศักยภาพ
  • เห็นราชวิทยาลัยร่วมกับสภาการพยาบาลจับมือกันช่วยดูแลพวกเราโดยสร้างหลักสูตร APNให้แล้วก็รู้สึกมีกำลังใจขึ้นบ้างค่ะ..แต่ก็ยังไม่ทั้งหมดเพราะยังไม่เปิดโอกาสให้ชาวอำเภอไกลๆ...
  • ยังไงก็มาช่วยๆกันนะคะ อย่างน้อยก็เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย  เท่านั้นเอง
  • ขอบคุณนะคะ

ไม่ทราบว่าพี่กฤษณา หรือมีใครได้อ่าน หนังสือกระทรวงสาธารณสุข ด่วนที่สุด ที่ สธ. 0201.042.1/ ว 100 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 หรือไม่ซึ่งตามหนังสือได้มีการปรับค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ใหม่ตามรายละเอียดดังนี้

  • กลุ่มวิสัญญีแพทย์ได้รับค่าตอบแทนตามคุณภาพและปริมาณงานจากรายละ 400 บาท เพิ่มเป็น 600 และ 800 บาท ในรายให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปและในรายที่ซับซ้อน ตามลำดับ ส่วนในรายที่ผ่าตัดหัวใจหรือ รายหลอดเลือดแดงโป่งพอง เพิ่มเป็น 2000 บาท ซึ่งการเพิ่มดังกล่าวคิดเป็น 50 – 400 %
  • ในขณะที่วิสัญญีพยาบาลได้รับค่าตอบแทนในส่วนของทีมผ่าตัดโดยเพิ่มจากรายละ100 บาทเป็น 120 บาท ในรายผ่าตัดเล็ก และ จากรายละ 200 บาท เป็น240 บาท ในรายผ่าตัดใหญ่ ซึ่งการเพิ่มดังกล่าวคิดเป็น 20 %
  • ให้การทบทวนบทบาทหน้าที่ของวิสัญญีพยาบาลให้ชัดเจนก็น่าจะเป็นการดีเพราะทุกวันนี้วิสัญญีพยาบาลสามารถให้ยาระงับความรู้สึกแบบGA ได้ภายใต้การกำกับดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม มันกว้างมากกกกก
  • ผู้ป่วยphysical status 1-5 E วิสัญญีพยาบาลก็สามารถทำได้จริงเหรอ หากแพทย์อนุญาติ เราเก่งขนาดนั้นเหรอ ถ้าใช่ทำไมค่าตอบแทนที่เพิ่มมันต่างกัน ราวฟ้ากะเหว เช่นนี้หละ เก็บกดเช่นกันคะ อยู่รพ.ระดับตติยภูมิ ให้การระงับความรู้สึกภายใต้ความรู้สึกเดียวกันกับรพช.อยู่เวรแบบรับ orderทางโทรศัพท์ เนื่องจากวิสัญญีแพทย์ไม่สามารถ offเวรในวันรุ่งขึ้นเหมือนพยาบาลได้
  • หากมีCASE ที่แย่ๆ มาในช่วงเวลาวิสัญญีแพทย์ไม่อยู่รับ orderทางโทรศัพท์  tracrium fent off tubeไม่ได้ on tube กลับเลย แย่จัง เฮ้อ.. หลานของลูกเมียน้อยมันยังได้ดีกว่าเราอีก

ตอบแล้วที่บันทึกนี้ค่ะ

...ขอบคุณแทนวิสัญญีพยาบาลทุกคนนะคะ..คุณรัชนี 

เป็นพยาบาลวิสัญญีในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ลำบากมากเลย ถูกลดค่าความสำคัญ ถูกให้วิ่งทำงานทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับงานของตนเองเลย หัวหน้าพยาบาลก็คอยแต่จะรังเกียจว่า เราได้รับเงินเท่ากับเขา ขาดความยุติธรรมมาก ๆ เลย ไม่ยอมส่งไปอบรมฟื้นฟูอะไรทั้งสิ้น ต้องการได้ Functional compretency มาก

สวัสดีค่ะ คุณสุกานดา เดชตระกูล

  • น่าเห็นใจวิสัญญีพยาบาลที่ตกอยู่ในสภาพเช่นที่คุณกล่าวมาจริงๆค่ะ
  • อยากให้สมัครเป็นสมาชิกชมรมค่ะ... โหลดใบสมัครได้ที่นี่ค่ะ ...อย่างน้อยๆเราก็ไม่เหงาค่ะ
  • ...website ชมรมวิสัญญีพยาบาลดูแห้งแล้งไปหน่อย... ใจเย็นๆนะคะ  ตอนนี้ผู้เขียนกำลังได้รับการทาบทามให้ไปช่วยwebsiteชมรม...รอคำสั่งแต่งตั้งเป็นกรรมการจากทางชมรมเพื่อจะขออนุญาตทางคณะฯอยู่ค่ะ ถ้าได้มาจะรีบดำเนินการเลย 
  • ระหว่างนี้ศึกษาหาความรู้แล้วคุยกับเพื่อนๆผ่าน Blog นี้ก็ได้ค่ะ...ยินดีค่ะ
  • ขอให้กำลังใจ...ให้มีพลังทำงานให้ผู้ป่วยได้ไม่มีหมดนะคะ...สักวันทองที่ปิดหลังพระคงมากพอที่จะล้นออกมาให้ผู้คนได้รู้ได้เห็นค่ะ
  • ...สู้ๆๆๆค่ะ.....
  • ขอบคุณค่ะ

เรื่อง การเป็น APN-ของกลุ่มวิสัญญีพยาบาล

ทางคณะกรรมการชมรมวสัญญี มีแนวทาง หรือนโยบายที่จะช่วยให้คนกลุ่มนี้เป็น APN ได้ง่ายกว่านี้หรือไม่ ?

เนื่องจากปัจจุบันกลุ่มงานพยาบาลอื่นมี APN มากมาย จากโอกาสอำนวยคือไปเรียนปริญญาโทด้านการพยาบาลจบแล้วก็สามารถขอสอบเป็น APN ได้ 1.ในขณะที่กลุ่มวิสัญญีฯต้องเรียนเพิ่มเติมมากมายตามเงื่อนไขที่สภาสร้างขึ้น 2.หลักสูตรที่กำหนดให้เรียนเพิ่มเติมไม่ต่อเนื่อง คือช่วงเวลาที่เปิดสอนไม่แน่นอน , ขาดการประชาสัมพันธ์ ,3. บางวิชาไม่มีการเปิดสอนนอกเวลาราชการให้เฉพาะกลุ่มวิสัญญีพยาบาลต้องเรียนร่วมกับนศ.ปริญญาโทในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอน ทำให้เป้าหมายของเนื้อหาการสอนกว้างไม่เหมาะกับกลุ่มวิสัญญีพยาบาล.

ขอความกรุณาพิจารณาช่วยเหลือให้คนกลุ่มนี้มีโอกาสมากขึ้น...ขอบพระคุณอย่างสูง

คุณวรรณี [IP: 202.28.183.10]  

ขณะนี้มีหลักสูตรที่ให้โอกาสวิสัญญีพยาบาลเรียนเพิ่มเติมเพื่อเป็น APN ที่มีความก้าวหน้าทางวิชาการ อ่านได้ที่นี่ค่ะ APN : วิสัญญีพยาบาล

...และขณะนี้มีความเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงอีก คอยติดตามการนำเสนอผ่าน

ทาง website นี้ได้ค่ะ Website>> APN Nurse Anesthetist

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท