ความรุนแรงไม่ใช่คำตอบ


เชื้อเพลิงแห่งความขัดแย้ง

    สถานการณ์ในภาคใต้ตอนนี้ไม่ต่างจากกองไฟที่กำลังใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ   เนื่องจากมีการสาดน้ำมันเข้าไปอย่างต่อเนื่อง   ความรุนแรงที่ฝ่ายรัฐได้ใช้ทั้งโดยเปิดเผยและปิดลับ  โดยเฉพาะในกรณีกรือเซะ ตากใบ และการอุ้มทนายสมชาย นีละไพจิตร ได้ทำให้สถานการณ์ในภาคใต้เลวร้ายลงเป็นลำดับ     ผู้ไม่หวังดีเข้าใจในเรื่องนี้เป็นอย่างดีจึงพยายามทุกอย่างเพื่อยั่วยุให้ เจ้าหน้าที่รัฐใช้ความรุนแรง  เพราะจะยิ่งทำให้รัฐบาลมีศัตรูและถูกโดดเดี่ยวมากขึ้น    ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อใดก็ตามที่ใช้ความรุนแรงอย่างแพร่หลาย  ประชาชนผู้บริสุทธิ์ยิ่งจะได้รับเคราะห์  และถึงแม้จะกระทำถูกตัว แต่หากทำเกินเลยไป (ซึ่งมักเกิดขึ้นเสมอ)  ก็ย่อมได้รับความโกรธแค้นชิงชังและถูกต่อต้านจากมหาชน  ดังกรณีผู้ชุมนุมที่ตากใบซึ่งมีความผิดอย่างมากก็แค่ถูกจับกุม ไม่ถึงกับต้องตายอย่างน่าอเนจอนาถ

    ความรุนแรงนั้นขจัดได้แค่ตัวบุคคล แต่ไม่สามารถขจัดรากเหง้าของปัญหาได้     แม้“ผู้ร้าย” จะตายไป แต่ถ้ารากเหง้าของปัญหายังคงอยู่  ก็จะมีผู้ร้ายอีกหลายคนเกิดขึ้นตามมา    แต่ปัญหาหรือข้อจำกัดของวิธีรุนแรงมิใช่มีแค่นั้น   ที่ร้ายกว่านั้นก็คือในกรณีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้    แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่รัฐเองก็ยังไม่รู้ว่า ใครบ้างที่เป็นผู้ร้าย  แม้แต่จะจำแนกว่า เหตุร้ายที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งเป็นฝีมือของผู้ต้องการแบ่งแยกดินแดน หรือผู้มีอิทธิพล หรือผู้ค้ายาเสพติด หรืออาชญากรธรรมดา (หรือคนในเครื่องแบบ) กันแน่  ก็ยังยากที่จะทำได้   รัฐบาลเองก็ยอมรับว่ากำลังสู้กับศัตรูที่มองไม่เห็นตัว   เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว  จะใช้ความรุนแรงให้ได้ผลได้อย่างไร  ยิ่งใช้ก็ยิ่งเกิดผลเสียสะท้อนกลับมา  เพราะมีโอกาสที่จะพลาดมากกว่าทำถูก  และเมื่อพลาดแล้วก็ไม่อาจแก้ไขได้เพราะชีวิตที่ตกล่วงไปแล้วย่อมไม่สามารถ เอากลับคืนมาได้

    เมื่อปีที่แล้วได้เกิดเสียงปืนดังขึ้นหลายนัดกลางเมืองยะลา  ปรากฏว่ามีคนถูกยิงได้รับบาดเจ็บ  คาดว่าโจรใต้เป็นผู้ก่อเหตุ ทหารพรานพร้อมอาวุธครบมือซึ่งลาดตระเวนอยู่ใกล้ ๆ ได้รุดไปยังที่เกิดเหตุทันที  และพบชายสองคนวิ่งผ่านมาโดยคนหนึ่งถือปืน    ทหารพรานได้ยิงปืนขึ้นฟ้าหลายนัดพร้อมกับสั่งให้หยุดวิ่ง ทั้งสองคนจึงหยุดวิ่งและนั่งลงกับพื้น  เมื่อทหารพรานมาถึงได้สั่งให้ทั้งสองหมอบลงพื้น พร้อมกับยิงหนึ่งในสองคนนั้นตายคาที่  แต่ไม่นานความจริงก็ได้เปิดเผยว่าทั้งสองคนไม่ได้เป็นผู้ก่อเหตุร้ายแต่ อย่างใด  แต่ที่วิ่งผ่านมาก็เนื่องจากได้ทะเลาะกับชายคนหนึ่งและถูกชายคนนั้นชักปืน ไล่ยิง   หนึ่งในสองคนนั้นจึงชักปืนพกเพื่อป้องกันตัวหากถูกชายคนนั้นวิ่งตามมายิงซ้ำ   บังเอิญทหารพรานผ่านมา ทั้งสองจึงรับเคราะห์ไป  กรณีนี้ทหารพรานสังหารคนกลางวันแสก ๆ เพราะมั่นใจว่าเป็นคนร้ายแน่ แต่กลายเป็นการฆ่าผู้บริสุทธิ์    หากทหารพรานใช้วิธีที่ละมุนละม่อม ไม่ใช้อาวุธสถานเดียว  เรื่องก็คงจบลงด้วยดี    ที่น่าคิดก็คือนี้คงไม่ใช่ความผิดพลาดกรณีเดียวที่เกิดขึ้น และทั้ง ๆ ที่เห็นกับตากลางวันแสก ๆ ก็ยังทำผิดพลาดได้ถึงขนาดนี้  เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า การ “อุ้ม” ผู้คนจำนวนนับสิบนับร้อยเพียงเพราะได้รับการแจ้งจากสายข่าวตลอดหลายปีที่ ผ่านมาน่าจะกวาดเอาผู้บริสุทธิ์ติดร่างแหไปด้วยเป็นจำนวนไม่น้อย  จึงไม่แปลกอะไรที่ผู้คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เกลียดชังเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นอย่างมาก

    ถึงที่สุดแล้วกรณีความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้   คำถามว่า “ใครทำ ?”   สำคัญน้อยกว่าคำถามว่า “ทำไมเขาถึงทำ?”  และ “อะไรเป็นเงื่อนไขให้เขาทำได้?”    ตรงนี้ทำให้สันติวิธีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากสำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน& ; ; nbsp;   เพราะในขณะที่ความรุนแรงจะใช้ได้ต่อเมื่อรู้ว่าใครเป็นผู้ร้าย (ซึ่งรัฐเองยังมืดแปดด้าน)   แต่สันติวิธีนั้นมุ่งที่การขจัดเงื่อนไขแห่งความรุนแรงยิ่งกว่าการขจัดตัว บุคคล   ดังนั้นถึงแม้ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร  แต่ก็มีช่องทางอีกมากที่จะเปลี่ยนสถานการณ์จากร้ายกลายเป็นดีได้หากรู้ว่า ทำไมเขาถึงก่อความไม่สงบ และอะไรที่เป็นเงื่อนไขให้กระทำการดังกล่าวได้

    ความไม่สงบในภาคใต้นั้นมีรากเหง้าความเป็นมาจากอดีตที่สั่งสมสืบทอด กันมานับศตวรรษ   แต่นั่นก็ไม่สำคัญเท่ากับสภาวการณ์ในปัจจุบันซึ่งสร้างความทุกข์ยากและความ อึดอัดคับข้องใจด้วยสาเหตุทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการศึกษา    อำนาจรัฐที่รวมศูนย์และไม่สามารถให้ความยุติธรรมตลอดจนสวัสดิภาพแก่ประชาชน ก็ดี   วัฒนธรรมจากส่วนกลางที่นิยามความเป็นไทยอย่างคับแคบจนปฏิเสธวัฒนธรรมท้อง ถิ่นก็ดี  กลุ่มทุนและธุรกิจอิทธิพลที่ร่วมกับหน่วยงานรัฐในการแย่งชิงทรัพยากรของชุม ชนท้องถิ่นก็ดี  เหล่านี้ล้วนเป็นเงื่อนไขให้หน่วยงานรัฐสูญเสียความสนับสนุนจากประชาชน ขณะเดียวกันก็ขยายแนวร่วมให้แก่ขบวนการแบ่งแยกดินแดนมากขึ้น   พร้อมกันนั้นอำนาจรัฐที่ถดถอยก็เปิดพื้นที่ให้กลุ่มผู้มีอิทธิพลสามารถ เคลื่อนไหวและสร้างสถานการณ์ได้ง่ายขึ้น    

    กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้อาศัยสภาพการณ์ดังกล่าวเป็นเงื่อนไขในการ สร้างความรุนแรงทั่วทุกหัวระแหง   ทั้งนี้โดยมีปัจจัยอีก ๓ ประการเป็นเครื่องสนับสนุนได้แก่

๑. อุดมการณ์    ได้แก่อุดมการณ์ชาตินิยมควบคู่กับหลักความเชื่อทางศาสนาอิสลาม

ที่ตีความมาใช้เป็นเครื่องมือปลุกระดมให้ลุกขึ้นต่อต้านรัฐ

๒. ยุทธปัจจัย  ได้แก่อาวุธ  เงิน  รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์ก่อความไม่สงบ  รวมไปถึงสถานที่ในการฝึกอาวุธ

๓. แนวร่วม ได้แก่ประชาชนที่มีความคับแค้นใจและต่อต้านอำนาจรัฐ  อาจรวมไปถึงผู้มีอิทธิพลที่ค้าของเถื่อน ยาเสพติด หรือสิ่งผิดกฎหมาย

หมายเลขบันทึก: 78720เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2007 12:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ผมเหนื่อยจังคุณเก๋....แล้วเมื่อไหร่มันจะสงบเสียทีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท