อาหารปลอดภัย .... เมื่อไรจะถึงที่หมาย


ทำการรับรองให้เป็นเมนูชูสุขภาพ

 ผมขอเล่าเรื่องการประเมินงานอาหารปลอดภัยต่อจากตอนที่แล้วนะครับ  ในปี  2550  นี้กรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข  ได้ตั้งเป้าหมายการอาหารปลอดภัย   ไว้เป็นระดับของการพัฒนาดังนี้ครับ 

                     เป้าหมาย ร้านจำหน่ายอาหาร

                           1.ร้านอาหารได้มาตรฐานท้องถิ่น ร้อยละ 100

2.ร้านอาหาร ได้มาตรฐาน Clean Food Good Taste ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60

3.ร้านอาหารที่ได้มาตรฐาน Clean Food Good Taste มีรายการอาหารที่ผ่านการรับรองเป็น เมนูชูสุขภาพ ร้อยละ 15

                 เป้าหมาย แผงลอยจำหน่ายอาหาร ปี 2550

                       1. แผงลอยจำหน่ายอาหารได้มาตรฐาน ท้องถิ่น ร้อยละ 100

                       2. แผงลอยจำหน่ายอาหาร ได้มาตรฐาน Clean Food Good Taste ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60

                มาตรฐาน CFGT (Clean Food Good Taste ) หมายถึง

ร้านอาหาร  ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 15 ข้อ และ ผ่านการตรวจสอบความสะอาด โดย ใช้ SI-2 ร้อยละ 90 (ตรวจอาหาร 3/ภาชนะ 2 /มือ 1)

แผงลอย  ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 12 ข้อ และ ผ่านการตรวจสอบความสะอาด โดย ใช้ SI-2 ร้อยละ 90 (ตรวจอาหาร 3/ภาชนะ 2 /มือ 1)

                เมนูชูสุขภาพ

            ดำเนินการใน ร้านอาหาร CFGT โดยทำการส่งรายละเอียด ของส่วนประกอบต่างๆ ในรายการอาหารที่เป็นเมนูเด็ดของร้าน โดยระบุส่วนประกอบต่างๆ เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ น้ำมัน น้ำตาล พริก ฯลฯ และ ระบุด้วยว่าเมนูนี้ใช้สำหรับผู้บริโภคกี่คน ส่งไปที่ศูนย์อนามัยเขตต่างๆ เพื่อรับการคำนวณสูตรโดยนักโภชนาการ เพื่อทำการรับรองให้เป็นเมนูชุสุขภาพหรือ อาจให้ข้อเสนอแนะปรับตำรับอาหารต่างๆ ให้ได้มาตรฐานต่อไป

            มาตรฐานท้องถิ่นมาตรฐานที่กำหนดโดย เทศบาล/อบต. เกี่ยวกับร้านอาหารและแผงลอยในรูปแบบของเทศบัญญัติ ข้อกำหนด ข้อบังคับ จะมีกี่ข้อก็ได้ ออกเพื่อใช้ควบคุม กำกับดูแล สถานประกอบการร้านอาหารและแผงลอย **ร้าน/แผงใดที่ขออนุญาตเปิดกิจการ หรือ แจ้งจด กับท้องถิ่นแล้วถือว่าผ่านข้อกำหนดท้องถิ่นนั้นๆ แต่ละท้องถิ่นไม่จำเป็นว่าต้องเหมือนกัน

            จะเห็นว่ากว่าจะพัฒนาให้เข้าเกณฑ์อาหารปลอดภัยนั้นก็ต้องปฏิบัติกันหลายข้อที่เดียวและต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องด้วย   จากประสบการณ์การทำงานในชุมชนของเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการอาหารปลอดภัยของผมที่ผ่านมา  พบว่ายังมีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานอยู่บ้าง  ในส่วนของประชาชนเองนั้นส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องอาหารปลอดภัยค่อนข้างดี  แต่พฤติกรรมการบริโภคยังไม่ค่อเปลี่ยน ไม่ตระหนักเท่าที่ควร  ยังคงยึดติดกับรสชาดของอาหาร   ความสะดวก  ความเคยชิน  การไม่เห็นโทษในระยะสั้น  การเลือกซื้อหรือบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจึงมีความจำเป็นในลำดับรอง   ในส่วนของผู้ประกอบการร้านอาหารหรือแผงลอยนั้นส่วนใหญ่มีความรู้จากการได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่  มีการพัฒนาปรับปรุงตามเกณฑ์ต่างๆได้ดีในระดับหนึ่งแต่ยังขาดความต่อเนื่อง  เรื่องของความสะอาดของอาหารที่นำมาปรุงและภาชนะใส่อาหารยังมีปัญหาอยู่   ในด้านของการบังคับใช้กฏหมายนั้นส่วนใหญ่ไม่ได้มีการบังคับใช้จริงจัง  เพราะข้อบัญญัติของท้องถิ่นนั้นถ้าบังคับใช้จริงจะส่งผลกระทบต่อฐานเสียงทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นเอง  เพราะฉะนั้นคงต้องพัฒนากันต่อไปตามสังคมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา .....

คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 78325เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2007 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 12:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท