อุดมศึกษาถึงจุดเปลี่ยน


 

          "อุดมศึกษาถึงจุดเปลี่ยน"   คือ ข้อสรุปของ  รศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์    รองอธิการบดี  ม.ธุรกิจบัณฑิตย์   ในคำกล่าวปิดการประชุมเรื่อง   "การสร้างการใช้   และการเผยแพร่องค์ความรู้ในสังคมไทย"   ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์   เมื่อวันที่  ๖ ก.พ. ๕๐

          ข้อสรุปนี้ เข้าใจยากสำหรับผู้ไม่ได้อยู่ในที่ประชุมในวันนั้น   ซึ่งมีการบรรยายพิเศษเรื่อง  "การสร้างและใช้ความรู้ในสังคมไทย"   โดยผม และตามด้วยการอภิปรายกลุ่ม  เรื่อง "การเผยแพร่ความรู้ : เทคนิคการเขียน และการนำเสนอผลงานเพื่อคุณภาพ  และการตีพิมพ์"  โดย  ศ.ดร.นราศรี   ไววนิชกุล   บรรณาธิการ  Sasin Journal of Management,   ศ.ดร.ม.ร.ว.ชิษณุสรร   สวัสดิวัตน์   บรรณาธิการ  Science Asia,   ศ.ดร.สุวิมล   ว่องวาณิช   บรรณาธิการวารสารวิธีวิทยาการวิจัย,  ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์   สมบัติสมภพ   หัวหน้าศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย,   รศ.ดร.ไพฑูรย์   สินลารัตน์  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย  ม.ธุรกิจบัณฑิตย์,   และ อ.ดร.สุรเดช   โชติอุดมพันธ์   รองบรรณาธิการวารสาร Manusya

          จากสาระทั้งหมด   รศ.ดร.ไพฑูรย์   จึงสรุปว่า  อุดมศึกษาไทยพ้นยุคลอกความรู้จากต่างประเทศมาสอนนิสิตนักศึกษาแล้ว   เราจะต้องสร้างความรู้ขึ้นใช้เองในทุกๆ ด้าน   รวมทั้งใช้ในการสอนนิสิตนักศึกษาด้วย

          เป็นยุคที่อุดมศึกษาไทยต้องเปลี่ยนวัฒนธรรม   จากวัฒนธรรมรับความรู้   รับความรู้จากฝรั่ง   เอามาส่งต่อให้เด็ก   เปลี่ยนเป็นวัฒนธรรมสร้างความรู้   อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันสร้างความรู้  

          วิถีชีวิตของอาจารย์จะต้องเปลี่ยนไป

วิจารณ์   พานิช
๖ ก.พ. ๕๐

 

หมายเลขบันทึก: 77446เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2007 17:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมเห็นด้วยว่า การอุดมศึกษาไทยต้องเปลี่ยนวัฒนธรรม   จากวัฒนธรรมรับความรู้   รับความรู้จากฝรั่ง   เอามาส่งต่อให้เด็ก   เปลี่ยนเป็นวัฒนธรรมสร้างความรู้   อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันสร้างความรู้

และที่สำคัญความรู้ที่สร้างขึ้นจะต้องตอบสนองและรับใช้สังคมได้ โดยเกื้อกูลให้เกิดความดีงามในสังคม

แต่กระบวนการนี้จะต้องพิจารณาโดยรวมทั้งหมด  หากการบริหารจัดการยังอิงค่านิยม จากต่างชาติ โดยไม่ลืมหูลืมตา  เช่น เน้นการประเมินที่จำนวนตีพิมพ์  โดยไม่สนใจคุณค่าต่อสังคม  หรือแม้กระทั้งการทำวิจัยตามกระแสโลกโดยไม่คำนึงถึงสังคมไทยเลย  ก็ไม่อาจที่จะสร้างความรู้ที่ยืนบนฐานของสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน  และสังคมไทยก็ยังขาดซึ่งความรู้ที่จะเกื้อกูลการแก้ปัญหาของตนเองต่อไป 

สำหรับมหาวิทยาลัยเอง คงจะต้องดูการจัดการของตนเองมากขึ้นว่า การจัดการที่มีเอื้อต่อเป้าหมายที่ตั้งหรือไม่  และคงต้องมองสังคมในแง่การเกื้อกูลกัน และช่วยซึ่งกันและกันในการพัฒนาการเรียนรู้ และสร้างความรู้ร่วมกัน  ไม่ใช้ระบบแข่งขัน ซึ่งทำให้คนที่รอดมีน้อย และส่วนที่พ่ายแพ้ในการแข่งขันถูกทำลายคุณค่าไป  แต่ต้องมองว่าให้ทุกคนร่วมทำงานได้อย่างไร และดึงศักยภาพของทุกคนออกมาใช้อย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท