เริ่มเดินทาง


เสวนา ก่อนทำงาน

โครงการคัดกรองเบาหวาน/ความดันของอำเภอเขาสมิง มีเป้าหมายในการทำงานก็คือ การคัดกรองโรคตามระบบของกระทรวงสาธารณสุข แต่เป้าหมายแฝงก็คือ ต้องการฝึกฝนและเรียนรู้ในการที่จะทำงานร่วมกัน 5 ปีที่มาอยู่ที่เขาสมิงไม่เคยเห็นการร่วมทำงานกันอย่างเป็นระบบ ไม่เคยเห็นการร่วมคิด การแสดงความคิดเห็นไม่ค่อยเกิดในกลุ่มคนหน่มสาว แต่ในครั้งนี้เกิดความแสดงความคิดเห็นกันอย่างแพร่หลายในการประชุมวางแผนการทำงานครั้งแรก เริ่มที่ว่าจะให้บริการอะไรบ้าง ให้ประชาชนมารับบริการแล้วคุ้มค่าต่อการมารับบริการ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่คุ้มค่า เก็บแต่ตัวแลขรายงานโดยไม่สนใจความรู้สึกของประชาชน คำตอบก็คือ เจาะเลือดแล้ว นอกจากตรวจน้ำตาลในเลือดก็ตรวจอย่างอื่นที่ศักยภาพหมออนามัยทำได้ไปเลย ได้แก่ ความเข้มข้นของเลือด กรุ๊บเลือด สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (เจ็บครั้งเดียว แต่ได้ตรวจหลายอย่าง) นอกจากนี้ยังบริการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินดัชนีมวลกาย รอบเอว ตรวจเต้านม มะเร็งปากมดลูก และที่สำคัญคือการบริการสรุปผลการตรวจและให้คำแนะนำเป็นรายบุคคล ขอย้ำรายบุคคลจริงๆ ที่ผ่านมาผู้รับบริการครั้งละ 200-250 คน เราใช้เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ 5- 6 คน เฉลี่ยคนละ 20-30 คน เหนื่อยแต่รู้สึกยินดี เพราะประชาชนมีความสุขที่ได้คุยกับหมอถึงแม้จะเป็นหมออนามัยก็ตาม เพราะที่ผ่านมาเวลาไปรับบริการจะมีโอกาสคุยกับเจ้าหน้าที่ค่อนข้างน้อย

กลับมาที่รูปแบบการประชุม เรานั่งคุยกันง่ายๆไม่มีประธาน แต่มีพี่ที่สสอ.เป็นผู้จัดการโครงการ ที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา น้องๆหลายคนที่ไม่เคยพูดให้คำแนะนำที่ดีเช่น รูปแบบการจดบันทึกผลการตรวจ ต้องใช้ 2 ใบควบคู่กัน เราเป็บไว้ใบหนึ่ง ให้ประชาชนใบหนึ่งเค้าจะได้นำกลับไปดูได้ว่าผลตรวจเป็นอย่างไรเพราะเราแปลผลให้เสร็จ รูปแบบการเดินเข้ารับบริการเริ่มที่บัตรคิดเป็นป้ายห้อยคอ แล้วมาเจาะเลือด แล้วไปวัดความดัน เพื่อที่จะเผื่อให้คนที่หิวข้าวได้ไปกินข้าวก่อนมารับบริการต่อ

จุดสำคัญ ของขั้นตอนร่วมคิดก็คือ คนที่เสนอขั้นตอน วิธีการทำงาน มักจะต้องมาทำงานเองๆในช่วงแรกๆ รู้สึกมีความเข้าใจงาน อยากแก้ไขกรณีที่ไม่สำเร็จลุล่วง และที่สำคัญในการพูดคุยไม่ควรใช้ความเป็นพี่หรือหัวหน้าสรุปโดยไม่สนใจความรู้สึกของน้องๆ

คำสำคัญ (Tags): #เริ่มต้น
หมายเลขบันทึก: 77135เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2007 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีระบบดีครับ แต่ผมว่า

           กิจกรรมเยอะไปหรือไม่ แต่ก็เข้าใจว่ากว่าจะได้เป้าหมายมาอาจจะลำบากมากทำให้ต้องเก็บงานให้ได้มาก หรือก็คือให้ประชาชนคุ้มค่ามากที่สุด ที่จริงต้องถามประชาชนด้วยว่า เขายินดีใช้เวลาตรวจกับเรามากขนาดนั้นหรือไม่ครับ

          ทีมใหญ่เคลื่อนที่ลำบากหรือไม่ครับ แต่ที่จริงมีจุดแข็งเยอะเหมือนกัน เป็นลักษณะ โมบายคลินิค หรือโมบาย แลบ  เป็นทีมสุขภาพถึงบ้านแบบดิลิเวอรี่  เจ๋งครับ  แต่บางพื้นที่อาจไม่จำเป็นต้องใช้ทีมใหญ่เช่นนี้ เพราะไม่คล่องตัวและอาจใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่าก็ได้

            ในเรื่องการทำงานเชิงรุกนั้นผมคิดว่าส่วนหนึ่งเราก็พายเรือในอ่าง เพราะที่จริงเราเคยรุกเพื่อให้เกิดการยอมรับ  และเราก็รุกไปตั้งสถานบริการในหมู่บ้านด้วย      ที่จริงเรารุกอยู่ตลอดตามบทบาทและภาระงานอยู่แล้ว

           ปัญหาคือผมว่าเรากำลังจะทำแบบรุกแต่เรารับโดยไม่รู้ตัว  หมายถึงเรามีจุดมุ่งหมายบริการเข้าถึงตัว แต่ ลืมบทบาทด้านรุกของคนไข้หรือศักยภาพของคนไข้ วัฒนธรรมแบบเชิงรุกจะทำให้เราล้าในที่สุด เหมือนครั้งหนึ่งเราเคยรับในสถานบริการจนล้ามาแล้ว

           ครั้งหนึ่งเราเคยรุกและรับแบบสมดุลโดยใช้กลยุทธ์สาธารณสุขมูลฐาน เพิ่มศักยภาพของบุคคลและชุมชน  แต่ตอนนี้เรากลับมาพูดเรื่องล้าหลังคือการให้บริการเชิงรุกและด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ทั้งที่ควรสอนกันในโรงเรียนแพทย์และพยาบาล

           ยุทธศาสตร์ในชุมชนควรเป็นแบบสมดุลระหว่างการรุกและรับ การเพิ่มศักยภาพของบุคคลของชุมชน  แพทย์คนหนึ่งกล่าวในที่ประชุมว่าในเมืองนอกที่เจริญแล้วเขาไม่ต้องไปเยี่ยมบ้านเพราะคนไข้เขามีความรู้มากและติดตามการรักษาด้วยตนเอง

          วันนี้หากเรายังป้อนข้าวเด็กต่อไปเรื่อย ๆ โดยไม่สอนวิธีกินข้าวให้เด็กกินเอง วิธีหุงข้าว วิธีทำกับข้าว   เราก็ต้องหาให้พวกเขา ป้อนให้เขาเรื่อยไป

           พวกเราพัฒนาแบบแยกส่วนเสมอ  ทั้งที่พูดแบบองค์รวมแต่ไม่มองระบบใหญ่   แค่เครื่องมือ ไม่กี่อย่างอธิบายบริบทของชุมชนไม่ได้หรอก

           เวลานี้ชุมชนต้องการศักยภาพด้านความรู้ เครื่องมือ การจัดการด้วยตนเอง  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท