ยาขม ก.พ.ร. (เก็บตกการประชุมฯ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ มมส.)


ผลการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เมื่อวานนี้ (7 ก.พ. 2550) ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ครั้งที่ 1/2550 หลักใหญ่ใจความก็เป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจาก ผลการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยประธานในที่ประชุม คือ รองอธิการบดีฝ่ายแผน นโยบายและการวิจัย ได้แจ้งให้ทราบถึงผลการปฏิบัติราชการฯ ปี งบประมาณ พ.ศ. 2549  ถึงผลคะแนนที่ได้ ยังมีบางหน่วยงานที่อุธรณ์ต่อคณะกรรมการฯ และยังมีบางปัญหาที่จะต้องดำเนินการแก้ไขในปีต่อๆไป เช่น

  • จำนวนบทความวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท/เอก ปรากฏว่า การแจงนับจำนวนบทความที่ตีพิมพ์/เผยแพร่ ก.พ.ร. ไม่แจงนับบทความที่นิสิตนำเสนอในการประชุมวิจัยที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้นเอง หมายความว่า มหาวิทยาลัยจะต้องหาเวทีสนับสนุนให้นิสิตฯ ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานจากภายนอก
  • จำนวนผลงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพ์สินทางปัญญา ลดลง
  • ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ : ก.พ.ร. เสนอให้มหาวิทยาลัยจัดหาเอกสารและหลักฐานเพิ่มเติมและสัดส่งให้กับ ก.พ.ร.  ดังนั้นที่ประชุมได้เสนอแนวคิดในปีต่อๆ ไป ให้หน่วยงานในมหาวิทยาลัยจัดทำเอกสารเพื่อแสดงการมีส่วนร่วมของประชาชน
  • ระดับความสำเร้จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน : ผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมีค่าเพิ่มขึ้น 
  • ระดับความสำเร็จของแผนการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ : ผลการประเมินตัวชี้วัดนี้ ก.พ.ร. ให้คะแนนลดลง นั้นแสดงว่า ในปี พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยจะต้องดำเนินการเรื่อง การจัดการความรู้ให้ดีขึ้น
  • การจัดสรรสิ่งจูงใจ : กองแผนงานได้เสนอวาระการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2549 มติที่ประชุมให้ความเห็นชอบการกำหนดสิ่งจูงใจของระดับความสำเร็จของการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายขององค์กรสู่ระดับบุคคล ตามการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 คือ การมอบโล่รางวัลพร้อมเกียรติบัตรให้กับคณะ/หน่วยงานที่มีผลการประเมินการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองฯ ของคณะ/หน่วยงาน สูงสุด 3 อันดับโดยอาจจำแนกตามกลุ่มภารกิจของหน่วยงาน เช่น กลุ่มคระ กลุ่มสถาบัน-สำนัก กล่มกองหรือหน่วยงานเทียบเท่า

------------- 

วิชิต ชาวะหา
7 ก.พ. 2550

หมายเลขบันทึก: 77129เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2007 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • หวัดดีจ๊ะน้องวิชิต
  • เท่าที่ทราบ  ในการประชุมวิจัยที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น..ผลงานวิจัยของนิสิตที่นำไปลงจะเป็นบทคัดย่อมากกว่าหรือเปล่าคะ    

เรียนพี่วิชิต

  • ผมก็ได้มีโอกาสอยู่ในบรรยากาศการประเมิน วันนั้เช่นกัน ซึ่งลักษณะการประเมินสำหรับผมเรียกว่าเป็นแบบ "แยกส่วน" หมายความว่า กรรมการ 1 ท่านก็จะรับประเมินเป็นตัวบ่งชี้ของแต่ละคน ซึ่งไม่ได้ประเมินในลักษณะ คณะกรรมการ
  • แต่อย่างไรการตีความจากคณะกรรมการแต่ละคน การอธิบายเพิ่มเติมจากผู้ถูกประเมินนั้น ก็เป็นลักษณะของการใช้ดุลยพินิจในการตีความ ซึ่งก็เข้าใจว่าหลายตัวชี้วัดที่ให้คำจำกัดความ คำอธิบาย ก็ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร
  • ทำให้เกิดปัญหาที่ว่ายังไม่สามารถตัดสินใจในการให้คะแนนได้ในสถานการณ์นั้น ต้องใช้วิธีการอุทรธ์ เสนอต่อบอร์อ กพร. สมศ. อีกครั้ง ในการชี้ขาด
  • สุดท้ายทั้งคณะกรรมการ หรือผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดของ ม. ก็ทำตามหน้าที่ดีที่สุด ของบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมา ต้องขอขอบคุณทุกท่าน
  • ปีหน้าการประเมินผลการปฏิบัติราชการ คงจะมีรูปแบบที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ครับ ด้วยความเชื้อ โดยเฉพาะฝ่ายที่รับผิดชอบหลักของมหาลัย คือ กองแผนงานต้องสามารถถ่ายทอดความเข้าใจต่างในแต่ละตัวชี้วัด ให้หน่วยงานภายในเข้าใจได้ตรงกันกับคณะกรรมการ

ด้วยความเคารพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท