เรียนรู้จากการ F2F : จำรายละเอียดทั้งหมดได้อย่างไร เมื่อไปพบครูอ้อยเพียง 80 นาที


เพราะมีหลักคิด มีแนวทาง เขียนโน้ตสั้นๆ เก็บมาขยายความได้

จากบันทึก บันทึกเส้นทางสู่การ F2F ระหว่างครูอ้อยกับนายบอน ..

หลังจากที่นายบอนไปพบครูอ้อยและกลับมาเขียนบันทึกเล่าเรื่องราวอย่างละเอียดยิบ

มีคำถามจากตลาดโต้รุ่ง ถามว่า จำได้อย่างไร ตั้งแต่นาทีแรกถือสมุดไปจดตลอดเลยหรือ

แล้วจำได้อย่างไรว่า ครูอ้อยคุยเรื่องอะไรบ้าง ทีในบันทึกครูอ้อยยังไม่เห็นเขียนได้ละเอียดถึงเพียงนั้น

สาเหตุที่จดจำได้มากน้อยต่างกัน อาจจะเป็นเพราะวัย อายุ และช่วงเวลาในการเขียนบันทึกครับ

ครูอ้อยท่านอายุมากกว่า อาจจะจดจำรายละเอียดไม่ได้ทั้งหมด แต่ละวันมีภารกิจหลายอย่างที่ต้องลงมือทำ


นายบอนอายุน้อย  รุ่นลูกของครูอ้อย ยังไม่ขี้ลืมไปทั้งหมด นอกจากลืมข้าวของบางอย่างเท่านั้น แต่เรื่องอื่นๆ สามารถที่จะจดจำรายละเอียดได้พอสมควร

จดจำ คือ ทั้งจด และจำ
หลังจากร่ำำลาจากครูอ้อย ช่วงนั่งรอรถออกจากหมอชิต ก็หยิบสมุดมาโน้ตไว้นิดหน่อย เพื่อทบทวนความจำ
การจดไว้ในเวลาไม่นาน ย่อมจดจำรายละเอียดได้เยอะ

ทำให้มีจุดเชื่อมโยง ขยายความรายละเอียดต่างๆ


มีคำถามตามมาว่า เพราะนายบอนใช้ MindMap เขียนแผนที่ความคิดหรือเปล่า..


... สำหรับบันทึกที่ว่านี้ ไม่เคยใช้เลยครับ แต่แนวคิดและหลักการ ใช้แนวทางของ MindMap นั่นเอง
แต่เป็นการหยิบประเด็นสำคัญ เขียนโน้ตสั้นๆที่สามารถเชื่อมโยง ขยายความได้

การหยิบกระดาษ 1 แผ่นขึ้นมาเขียนยุกยิกๆ แล้วพับเก็บไว้ ยังไงก็สะดวกกว่า การเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมา เปิดโปรแกรมแล้วนั่งเขียนแผนที่ความคิดลงไป เพราะมีหลักคิด มีแนวทาง ทำให้โน้ตสั้นๆ เก็บมาขยายความได้

หากใช้โปรแกรม MindMap เขียนแผนที่ความคิด
 นายบอนจะเขียนบันทึกได้ยาวมากกว่าที่เห็น เพราะจะเชื่อมโยงรายละเอียด เก็บตกทุกเม็ด ซึ่งย่อมจะต้องใช้เวลานาน ที่สำคัญ ไม่มีเวลานั่งเขียน นั่งพิมพ์บันทึกมากมายถึงขนาดนั้น

หลักการสำคัญคือ มองภาพรวมออก เก็บประเด็นสำคัญไว้ได้ และขยายผลตามที่ต้องการสื่อสารออกมา

หมายเลขบันทึก: 77103เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2007 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีครับ
  • นี่คือบันทึกที่สะท้อนให้เห็นการจัดการความคิด ความจำชั้นเลิศในนำมาสู่การเขียนบันทึก
  • ผมเองมักจดจำเป็นหลัก (เพราะยังหนุ่มแน่น)  แต่ก็พกสมุดบันทึกติดตัวเสมอ
  • แต่ถ้าต้องเขียนเป็นเรื่องเป็นราว  จะต้องพิมพ์ในคอมฯ เลย  ไม่งั้นสมองไม่รื่นไม่ไหล  ไม่สามารถร่างข้อความด้วยปากกา หรือดินสอ..
  • ซึ่งนี่คือกระบวนการที่ชัดเจนที่ผมเห็นภาพการทำงานของคุณบอนที่ละเอียดอ่อนและแจ่มชัดครับ...การหยิบกระดาษ 1 แผ่นขึ้นมาเขียนยุกยิกๆ แล้วพับเก็บไว้ ยังไงก็สะดวกกว่า การเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมา เปิดโปรแกรมแล้วนั่งเขียนแผนที่ความคิดลงไป เพราะมีหลักคิด มีแนวทาง ทำให้โน้ตสั้นๆ เก็บมาขยายความได้
  1. เพราะนายบอนเป็นคนเบี้ยน้อยทรัพย์จางครับ ไม่มีคอมพิวเตอร์หิ้วติดตัวไปไหนมาไหน มีแต่กระดาษ ปากกา ดินสอเท่านั้นเอง
  2. ไม่ว่าจะเขียนลงกระดาษ หรือ พิมพ์ใส่คอมพิวเตอร์ อยู่ที่วิธีการครับ ถ้าคิดไม่ออก จะพิมพ์ใส่คอม หรือนั่งเขียน ยังไงก็ไม่มีประเด็นจะถ่ายทอดออกมา
  3. สมุดบันทึกพกสะดวกครับ
  4. พอนึกได้ ก็รีบจดไว้ครับ ถ้าไม่จดไว้ นายบอนก็จะลืมเช่นกัน ไม่ได้มีความจำชั้นเลิศแต่อย่างใด แต่ถ้าบอกว่า มีการจดชั้นเลิศ ก็พอจะว่าได้ครับ
  • แต่ผมว่าคุณบอนนี่ล่ะ รวดเร็วฉับไว..และเจ้าแห่งตัวเลข (สถิติ) 
  • ตรงกันข้ามกับผม  , คิดนาน จำนาน ,...เขียนอะไรก็ใช้เวลานานเนิ่นนานจนรำคาญความเป็นศิลปินในตัวเอง
  1. ถ้ามีเวลามากสีักหน่อย นายบอนก็อยากจะัเขียนในแบบศิลปินบ้างนะครับพี่พนัส
  2. แต่ช่วงนี้มีประเด็นที่อยากบันทึก เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่กลุ่มผู้อ่้านเป้าหมายหลักคือ รุ่นน้องที่อยู่ในวัยนิสิต เลยเขียนๆๆๆ ขาดความเป็นศิลปินน้อยไปหน่อย
  3. เรื่องสถิติก็มีน้องช่วยทำด้วยนะครับ ถ้าทำคนเดียว คงไม่รวดเร็วปานนี้ ทั้งเขียนบันทึก ทั้งรวบรวมสถิติ ถ้าทำคงเดียวคงไม่ต้องหลับนอนกันเลยล่ะครับ

สวัสดีค่ะคุณบอน

  • ครูอ้อยไม่ได้ย่อยความคิดออกเป็น MIND MAP
  • แต่ครูอ้อยจะคิดออกมาเป็น CONCEPT  เช่น  เรื่องที่ได้พบคุณบอน  ก็ย่อยออกมาเป็นความคิดรวบยอดว่า  " ไม่เคยพบแต่ก็รู้ว่าเป็นเขา " จ
  • ดบันทึกไว้แค่นี้ก็สามารถจำได้
  • และเขียนบันทึกออกมาได้เป็นหลายๆฉบับ

ค่ะ คุณบอน

  1. หลายๆฉบับหรือครับ เท่าที่ได้อ่านยังไม่อิ่มเลย
  2. มัวแต่เอาไปเล่า นินทาใน chat room เฮ้อ
  3. concept แบบกว้างๆกับแบบ mind map ทำให้บันทึกถึงอกถึงใจต่างกันนะครับ
  4. แค่ครูอ้อยคิดเป็น concept นายบอนก็แทบจะเป็นลิงหลับ ขนาดคิดเป็น concept ยังโม้...เอ๊ย เล่าตั้งแต่โลตัสบางกะปิ ยันถึงโรงเรียนแบบแผ่นเสียงไม่มีตกร่อง... เชื่อแล้วล่ะครับว่า เขีัยนได้หลายๆฉบับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท