เมื่อวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2550 ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนองได้จัดอบรมตามโครงการป้องกันแก้ไขการค้ามนุษย์และคุ้มครองเด็กสตรีที่ถูกทารุณ ณ ห้องประชุมอินทนิล โรงพยาบาลระนอง ที่จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการจัดอบรมถึง 2 วันเนื่องจาก การอบรมจะเป็นในรูปแบบกรอภิปรายกลุ่มย่อย เปิดเวทีสนทนาและร่วมหาแนวทางช่วยเหลือพบเด็กและสตรีที่ถูกทารุณ ซึ่งหากมองแล้วนี่เป็น... "ปัญหาใกล้ตัวที่ หลายคนมองว่ามันเป็นเรื่องไกลตัว " สำหรับตน แต่เนื่องจากเราเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (หมออนามัย) ที่ถือว่าเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับชุมชน เราจะเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างไร เมื่อเกิดกรณีเหล่านี้ขึ้น หรือจะมองข้ามมันไปเพียงเพราะ ปัญหาที่เกิดไม่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยตรง ????
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550 วันแรกของการอบรม เริ่มด้วยสถานการณ์ปัญหาด้านเด็กและสตรีที่ถูกกะทำทารุณ และเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ จังหวัดระนอง โดยอาจารย์สุลีลา จันทนู หนึ่งในคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดระนอง โดยท่านได้เปิดเผยข้อมูลบางส่วนว่า ปัญหาเหล่านี้ เป็นปัญหาที่เรื้อรังมายาวนาน หากแต่ถูกปกปิดข้อมูลเอาไว้และในฐานะที่ ท่านเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสำนัก ท่านกล่าวได้น่าประทับใจว่า....
"โรงเรียนบ้านสำนักเป็นโรงเรียนที่มีปัญหา ท่านพร้อมที่จะเปิดเผยปัญหา เพราะเมื่อมองเห็นปัญหาก็จะรู้ว่าควรหาแนวทางแก้ไขอย่างไร แต่หากแอบซ่อนปัญหาไว้ มันก็จะไม่มีทางแก้ไข หลายต่อหลายโรงเรียนแก้ไขปัญหาโดยการ ไล่ เด็กนักเรียนออก ซึ่งนั้นหมายถึงการปัด ปัญหาไปให้ไกลจากตัวเอง.. แต่ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาเลย"
และต่อกันด้วยการอภิปรายกระบวนการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและสตรี และปัญหาการค้ามนุษย์ โดย คุณ ศสิธร แม้นนทนันท์ วิทยากรจาก สนง.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ที่ได้แนะนำแนวทางในการดำเนินงาน หรือกระบวนการที่ต้องดำเนินสำหรับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ และประชาสัมพันธ์หมายเลยโทรศัพท์อัตโนมัติ สายด่วนพัฒนาสังคม กด 1300
ช่วงบ่ายเริ่มด้วยการพูดถึงกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กและสตรี โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมซักถามถึงปัญหาและข้อสงสัยในกรณีที่เคยพบเจอ โดย วิทยากรจากจากสำนักงานอัยการจังหวัดระนอง และประเด็นที่ถูกกล่าวถึงมากคงหนีไม่พ้นกรณี ของหญิงที่ถูกสามีตนเองทำร้าย ว่าควรทำอย่างไร ความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมอบรมก็มีความแตกต่างหลากหลายออกไป แต่ท้ายที่สุดก็คือควรให้ทางผู้เสียหายมีการแจ้งความดำเนินคดีเอาไว้ อย่างน้อยๆ ก็เป็นการปรามไว้ในระดับหนึ่ง
มีคำกล่าวทิ้งท้ายน่ารักแบบสั้นๆว่า.. "อัยการเป็นที่พึ่งของประชาชน"
ปิดท้ายรายการของวันนี้ด้วยเวทีสนทนาแนวทางการช่วยเหลือคุ้มครองเด็กและสตรี ของศูนย์พึ่งได้โรงพยาบาลระนอง โดยคุณราตรี มังสาทองโดยทางศุนย์ได้เริ่มก่อตั้งและดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และได้เล่าถึงกระบวนการดำเนินงานของศุนย์เพื่อเป็นแนวทางในการจัดตั้งศุนย์พึ่งได้ ในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งของจังหวัดระนอง ซึ่งจะมีการประชุมกลุ่มกันต่อในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 (หรือวันที่สองของการประชุม)
สำหรับในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 ก็เป็นกระบวนการของการแบ่งกลุ่มระดมความคิดในการกำหนดแนวทางปฏิบัติการช่วยเหลือคุ้มครองเด็กและสตรีในพื้นที่ โดยแบ่งกลุ่มจัดทำแผนปฏิบัติการระดับอำเภอ และให้มีการนำเสนอ รวมถึงร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรม โดยจะเห็นได้ชัดว่าแต่ละคนพยายามสะท้อนถึงความต้องการที่จะเข้าไปมีส่วนช่วยเหลือคุ้มครองเด็กและสตรีในพื้นที่ของตน มุ่งเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการสร้างเครือข่ายในชุมชน ในการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น..

อรุฎา นาคฤทธิ์
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย อรุฎา หงดิษฐาราม ใน เรื่องเล่า_เรื่องราวของอรุฎา
คำสำคัญ (Tags)#หมออนามัย#นักวิชาการสาธารณสุข#เด็กและสตรี#ศูนย์พึ่งได้#เก็บตกจากการประชุม
หมายเลขบันทึก: 76974, เขียน: 07 Feb 2007 @ 17:47 (), แก้ไข: 06 Sep 2013 @ 17:47 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 13, อ่าน: คลิก
น้องเปิ้ล ครับ