วัฒนธรรมการเรียนรู้ : เรื่องเล่าเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม ป. เอก ลงพื้นที่ชุมชน


ได้ข้อคิดว่าอำนาจในชุมชนมีสองอย่าง คืออำนาจเงินและอำนาจมาจากบารมี และอำนาจฝ่ายไหนมีพวกมากก็ครอบงำสังคมท้องถิ่นนั้น

การศึกษาวัฒนธรรมศึกษาที่สอนโดย รศ. ศรีศักร  วัลลิโภดม  ในวันจันทร์  ที่ 5 ก.พ. 2550 นั้น ผมได้เข้าไปนั่งฟังด้วย  บรรยากาศเอาจริงเอาจัง 

 ท่านอาจารย์เป็นนักอ่าน  นักคิด  และนักวิเคราะห์วิจารณ์อย่างมีเหตุผลน่าฟังมาก  ท่านอาจารย์กล้าพูดแบบแรง ๆ  และชี้ให้เห็นความลื่นไหลทางวัฒนธรรม  ซึ่งเป็นองค์รวมที่เราต้องมองผ่านในหลายด้าน  และผู้รู้ก็มีอยู่ในทุกชุมชนและเป็นแกนของสังคมนั้น ๆ 

 แม้เรื่องศาสนาในสภาพปัจจุบันก็ยังมองผ่านแค่ตำนานชาดกสื่อได้เพียงแค่รูปแบบแต่ยังเข้าไม่ถึงความหมายที่เป็นสัญลักษณ์เลย 

เมื่อไม่รู้คุณค่าแทนที่จะรักษากับทำลาย...เราได้พักทานอาหารกลางวันก็บ่ายโมงเศษไปแล้ว

หลังจากนั้นท่านอาจารย์นำพวกเราลงพื้นที่ชุมชนบ้านเหนือ  ต. คูเต่า อ. หาดใหญ่  จ. สงขลา  ที่ผมกับโต้ะอิหม่ามวิสุทธิ์  บิลล่าเต๊ะนิสิต ป. เอก สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา ได้ลงพื้นที่ไว้เตรียมแล้วเมื่อสัปดาห์ก่อน...

การลงพื้นที่นี้  เราได้คุยกับชาวบ้านชุมชนมุสลิมมีชาวจีนนับถือพุทธอยูในบ้านนี้ประมาณ 5 หลังคาเรือนและที่มาร่วมคุยมีหนึ่งคน  ลูกหลานย้ายออกไปหมดแล้ว 

จากการคุยกันได้ข้อคิดว่าอำนาจในชุมชนมีสองอย่าง  คืออำนาจเงินและอำนาจมาจากบารมี  และอำนาจฝ่ายไหนมีพวกมากก็ครอบงำสังคมท้องถิ่นนั้น

ต่อมาเราลงเดินไปชมแม่บ้านทำขนม  มีน้ำใจให้ขนมเป็นของฝากพวกเราทุกคนแล้วเดินชมคลองอู่ตะเภายังอนุรักษ์ไว้ได้ดีมาก 

จนเวลาบ่ายห้าโมงเศษเราจึงลาชาวบ้านเหนือด้วยความขอบคุณในน้ำใจที่แสนดีของทุกท่าน  และผมก็ไปส่งท่านอาจารย์ที่สนามบินซึ่งกำหนดบินเวลาสองทุ่มเศษเพื่อไปลงสุวรรณภูมิครับ... 
หมายเลขบันทึก: 76907เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2007 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 07:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

มุมหนึ่งในมัดยิดบ้านเหนือ  ราคา 15 ล้าน สร้างด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น...ขอชื่นชมในความสามัคคีของทุกคน...

มัดยิดหลังนี้มองจากที่ทำงานผมบนเกาะยอ อากาศเปิดจะเห็นเลยครับโดยมองข้ามทะเลสาบสงขลา...

เราอยู่ในมัดยิดบ้านเหนือฟังโต้ะอิหม่ามวิสุทธิ์รายงานโครงสร้างและวัฒนธรรมชุมชนที่นี่...

ส่วนหนึ่งของผู้เข้าร่วมฟังทางวิชาการในวันนั้น...

เราเดินชมธรรมชาติริมคลองอู่ตะเภาสายน้ำแห่งชีวิตของชุมชนน้ำยังใสไหลเย็นเห็นตัวปลา...ที่ไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลาซึ่งอยู่ไม่ไกลจากนี้

  • ผมอ่านเรื่องสั้นของนักเขียนใต้หลายท่าน พบเห็นกลิ่นอายความลื่นไหลของผู้คนในภาคใต้ไม่น้อย
  • โดยเฉพาะการปะทะกันระหว่างวิพีเก่ากับวิถีใหม่ในงานเขียนหลายเรื่องของพี่กนกพงศ์ฯ  ....
  • บันทึกน้ช่วยให้ผมคิดถึงเรื่องสั้นอีกหลายเรื่องของพี่กนกพงศ์จริง ๆ  และเห็นทีต้องกลับไปอ่านอีกสักรอบ

สวัสดีครับ  คุณ

P

แดนใต้มีหลากหลายเรื่องราว...หลากหลายวัฒนธรรม...และหลากหลายวิถีแห่งผู้คนที่น่าสนใจยิ่ง

โดยเฉพาะน้ำใจที่มีให้ต่อกัน...ความไว้วางใจกัน...

คนใต้รักจริง...นะครับ  ฮา ๆ เอิก ๆ

ขอบคุณครับครับ

สวัสดีครับอาจารย์

มีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์อ.ศรีศักร สมัยเรียนที่คณะโบราณคดี ม.ศิลปากรครับ จำได้ว่าตอนเรียนกับอาจารย์เกร็งมาก จะตอบก็กลัวจะตอบอะไรไม่ได้เรื่องออกไป  แต่อาจารย์ท่านสอนเหมือนเล่าเรื่องต่างๆ ให้ลูกหลานฟัง สนุกถึงใจจริงๆ ครับ

 

ปล.ชอบรูปสุดท้ายครับอาจารย์ บรรยากาศสงบ น่าอยู่มาก อากาศคงดีน่าดู

สวัสดีครับ  คุณ

P

คนที่เป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์แล้วย่อมรู้แนวคิดของอาจารย์ท่านนี้นะครับ...ฮา ๆ เอิก ๆ

ขอบคุณครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท