ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

เมื่อนักศึกษาโข่งเจอพระอาจารย์ที่ปรึกษาไร้เทียมทาน


การเรียนในระดับบัณฑิตศึกษานั้นใครๆ ก็เรียนได้ แต่การเรียนแล้วได้อาจารย์ที่ปรึกษาที่ดีนับเป็นโชคสองชั้น

วันนี้นับเป็นวันมงคลอย่างยิ่งของพวกเราชาวพัฒนบูรณาการศาสตร์ ที่ได้ร่วมกันทำบุญเนื่องในในโอกาสพิธีเปิด และรับมอบอาคารพัฒนบูรณาการศาสตร์ จากบริษัทเครือซิเมนต์ไทย ที่ได้กรุณาสร้างให้เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และศูนย์สารสนเทศในระดับชุมชน ณ มหาชีวาลัยอีสาน (สวนป่าครูบาสุทธินันท์   ปรัชญพฤทธิ์) โดยท่าน ศ.ดร.อภิชัย   พันธเสน คณบดีคณะบริหารศาสตร์ เป็นผู้รับมอบ จากเครือซิเมนต์ไทย

พิธีทำบุญเลี้ยงพระ 

พิธีรับมอบอาคาร

เมื่อนักศึกษาโข่งเจอพระอาจารย์ที่ปรึกษาไร้เทียมทาน เป็นการเสวนาเกี่ยวกับการเรียนการสอนด้านพัฒนบูรณาการศาสตร์ ว่ามีบรรยากาศของการเรียน การสอน เป็นอย่างไร ผู้เรียน อาจารย์ที่ปรึกษาคิดอย่างไรกับนักศึกษา ตลอดทั้งผู้ที่สนใจได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อหลักสูตร นับว่าเป็นบรรยากาศที่ดี ที่นักศึกษาได้เปิดใจ และอาจารย์ที่ปรึกษาก็ได้ให้ข้อคิด และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเดินไปในแนวทางที่ตนเองต้องการศึกษา ตลอดทั้งผู้สนใจทั่วไปได้ร่วมแสดงความคิดเห็นนับว่าเป็นการเรียนรู้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่าน ที่มีประสบการณ์และความคิดเห็นที่หลากหลายจึงนับว่าเป็นการเรียนที่ไร้กระบวนท่าอย่างแท้จริง

การนำเสนอความก้าวหน้าในการเรียน หลังจากพิธีการได้เสร็จสิ้นในตอนบ่ายเป็นการนำเสนอความก้าวหน้าของการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาโท 2 คน ปริญญาเอก 2 คน โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาครบทั้ง 4 ท่าน โดยมีท่าน ศ.ดร.อภิชัย   พันธเสน คณบดี คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นประธาน นอกจากนั้นยังมีอาจารย์จาก ม. อุบลฯ อีก 3 ท่าน และกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายอโศก 4 ท่านร่วมรับฟังและให้ข้อเสนอแนะในครั้งนี้ด้วย

การจัดการความรู้เกษตรกรรมแบบประณีตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหัวข้อที่ผมทำวิทยานิพนธ์ ที่ได้เคยนำเสนอไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากที่นำเสนอตามกรอบให้กับคณะอาจารย์ที่ปรึกษาฟังแล้ว ท่าน ศ.ดร.อภิชัย  พันธเสน ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าควรที่จะเพิ่มระดับความพอเพียงของเกษตรกรเข้ามาร่วมด้วย ว่าผลิตในระดับใดจึงจะมีความพอเพียงต่อครอบครัว และนอกจากนั้นท่าน ผศ.ดร.แสวง   รวยสูงเนิน ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่ากรอบที่จะทำการศึกษานั้นต้องประกอบด้วย 6 ปัจจัย 4 ประเด็น ประกอบด้วย

1. ปัจจัยการจัดการความรู้เรื่องดิน

2. ปัจจัยการจัดการความรู้เรื่องน้ำ

3. ปัจจัยการจัดการความรู้เรื่องแสง

4. ปัจจัยการจัดการความรู้เรื่อแรงงาน

5. ปัจจัยการจัดการความรู้เรื่องพืช

6. ปัจจัยการจัดการความรู้เรื่องสัตว์

และ ศึกษาในระดับ แปลง ครัวเรือน นิเวศน์ และชุมชน

บรรยากาศการฟังการนำเสนอความก้วหน้าวิทยานิพนธ์

จึงนับว่าเป็นการชี้แนวทางสว่างในการเรียนของผมเป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญการ Comment ของอาจารย์แต่ละท่านเป็นComment ที่ดีมีความเป็นกัลยาณมิตร จึงเป็นบุญของผมโดยแท้ที่ได้อาจารย์ที่ปรึกษาดี และหลักสูตรให้ความสนใจมากขึ้น

ขอคุณมากครับ

อุทัย   อันพิมพ์

2 ก.พ.50

 

หมายเลขบันทึก: 76017เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2007 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ทำบุญปุ๊บ  ได้กุศลปับ ทันตาเห็น เมื่อเช้านี้ ดร.ฝากประเด็นมาให้พิจารณา

  • มาให้กำลังใจครับ
  • ขอโทษด้วยครับที่โทรศัพท์รบกวน
  • โชคดีที่ได้ที่ปรึกษาเก่งมากครับ

ขอบคุณมากครับ

ท่านอาจารย์ขจิต อย่าได้เป็นกังวลใจนะครับ ผมและชาวบูรณาการศาสตร์ทุกคน ยินดีต้อนรับอาจารย์ตลอดเวลา 24 ชั่วโมงครับ แม้กระทั่งที่อาจารย์จะกรุณามาเยือน หรือส่งสัญญาณมาเยือนเราเต็มใจครับ

ขอบคุณครับ

อุทัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท