ดาริกา ภักดีกุล
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์
- งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาความเชื่อและพฤติกรรมการสอนและความสัมพันธ์(ถ้ามี) ระหว่างความเชื่อและพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศในระดับมหาวิทยาลัย งานวิจัยเช่นนี้นับว่ามีความสำคัญ เนื่องจากความรู้เกี่ยวกับความเชื่อและพฤติกรรมการสอนของครูรวมทั้งความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ดังกล่าว ทำให้เราสามารถเข้าใจลึกซึ้งถึงเหตุผลและปัจจัยของสิ่งที่ครูตัดสินใจทำ หรือไม่ทำในห้องเรียน
วิธีการวิจัย
- กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือ ครูสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วยครูต่างชาติและครูไทย จำนวน 19 คน จากมหาวิทยาลัยโคปแลนด์ (นามแฝง)
- เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เดี่ยว การสัมภาษณ์กลุ่ม และการสังเกตการสอน รวมถึงเอกสารเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยโคปแลนด์
ผลการศึกษา
- ในด้านการจัดการในห้องเรียน ครูในกลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มในการจัดการกับพฤติกรรมของนักเรียน ข้อผิดพลาดของนักเรียน และปฏิกิริยาของนักเรียนตามความเชื่อของครูเหล่านั้น
- ในด้านการสอน ครูในกลุ่มตัวอย่างสอนนักเรียนตามแนวทางที่ครูได้เรียนมา และเชื่อว่าแนวทางนั้นเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
สรุป
- จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ สรุปได้ว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและพฤติกรรมการสอนของครู นอกจากนั้น ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า ระดับความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและพฤติกรรมการสอนของครูอาจจะไม่คงที่ จากข้อมูลงานวิจัย พบว่า การเปลี่ยนแปลงระดับความสัมพันธ์ดังกล่าวเกิดจากปัจจัยอื่น อาทิ เช่น หลักสูตร จุดประสงค์ของรายวิชา สื่อการสอน จำนวนนักเรียน ข้อจำกัดด้านเวลา และสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องเรียน
จากการประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
30-31 มกราคม 2550 ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นายบอน@kalasin ใน keep in mind by bon
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก