ต่อเติมดีกว่าซ้ำเติม


การซ้ำเติมสถานการณ์ให้ชาวบ้านย่ำแย่ไปกว่าเดิม ป่าหมด น้ำปนเปื้อน อาหารธรรมชาติลดลง มีระบบทรัพยากรโดยรวมแย่ลง และน้อยลงกว่าเดิม มีหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างแทบไม่มีวันใช้ได้หมด
 

ในกระบวนการพัฒนา เรามักจะมีแผนพัฒนาที่เขียนไว้สวยหรูว่าจะแก้ไข หรือพัฒนาสิ่งที่เป็นปัญหา ตั้งแต่ก่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑

  

การทำงานส่วนใหญ่มักจะอ้างว่าเป็นการแก้ไขปัญหา ที่มักใช้คำหรูๆ ที่ถูกใจคนส่วนใหญ่มาตลอด ตั้งแต่คำว่า งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข จนมาถึงการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม อย่างยั่งยืน

  แต่จนแล้วจนรอด ก็ยังเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ให้ชาวบ้านย่ำแย่ไปกว่าเดิม ป่าหมด น้ำปนเปื้อน อาหารธรรมชาติลดลง มีระบบทรัพยากรโดยรวมแย่ลง และน้อยลงกว่าเดิม มีหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างแทบไม่มีวันใช้ได้หมด จนกระทั่งรอวันตายที่จะเอาเงินฌาปนกิจมาใช้หนี้ หรือ ต้องรอจังหวะที่ โชคดี จากการเสี่ยงโชค ที่มีโอกาสน้อยมาก หรืออาการหนักมากขึ้นไปอีก  

นอกนั้นก็มีแต่รอโชคชะตาด้านต่างๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหา ให้กับตนเองและครอบครัว

  

แต่โครงการพัฒนาทั้งหลาย ก็ยังมีแนวโน้มที่จะ ซ้ำเติม ชาวบ้าน และชุมชน ในทุกระดับโดยการทำลายทั้งทรัพยากรพื้นฐาน อย่างรุนแรง และขาดความละเอียดอ่อน และความสอดคล้องกับระบบการพัฒนาที่ยั่งยืน

  

ดังนั้น จึงใคร่ขอร้องให้นักวิชาการและนักพัฒนาช่วยลองพิจารณาว่าสิ่งที่คนทำอยู่ทุกวันนั้น เป็นการช่วยลดประเด็นที่จะทำให้เป็นการซ้ำเติมความทุกข์ยากของชุมชนได้มากน้อยเพียงใด

  แต่อย่างไรก็อย่าให้มากกว่าเดิมอีกเลย ถ้าจะมาช่วยก็ขอแบบต่อเติมให้สวยงามขึ้นกว่าเดิม ได้ไหมครับ


ความเห็น (9)

นักวิชาการส่วนมากจะมองแต่ประโยชน์ส่วนตัวไม่เคยคิดเลยว่าสิ่งที่ทำนั้นจะส่งผลระยะยาวอย่างไรและไม่เคยคิดที่จะติดตามผลงานที่ทำกับคนที่รู้น้อยกว่าหรืออาจรุ้มากกว่าแต่แนะนำสิ่งที่นักวิชาการรุ้ก็ว่าตัวเองถูกกว่าชาวบ้าน

ไม่ชอบคิดอ่านแล้วคิดดีทำดีขึ้น

ประมาณว่าเหมือนจะเข้าไปแก้ไขแต่กลับสร้างเพิ่มภาระอย่างนั้นเหรอค่ะ
ไม่ใช่เป้นเพราะว่านักวิชาการไม่ได้สัมผัสถึงปัญหาที่แท้จริงรึเปล่าคะ

ประเด็นสำคัญคือ การนับถือคนอื่นพอๆกับตัวเอง

จะทำให้รู้ร้อนรู้หนาว และไม่ซ้ำเติมใครครับ

นักวิชาการเมื่อแก้ปัญหา เขาจะคิดเป็นเชิงทฤษฎีที่เรียนมา แล้วก็บอกว่าวิธีที่ตนเองคิดนั้นดี คนคิดคิดแทนคนทำ  บางครั้งทำได้บ้างไม่ได้บ้าง  แต่ส่วนมากมักทำยาก    น้อยคนนักที่จะมาสัมผัสปัญหาที่แท้จริงอย่างอาจารย์ดร.แสวง 
ถ้าไก่ไม่ออกจากเปลือกไข่ จะไม่มีวันโตครับ ความกล้าแรกสุดคือ ต้องออกจากเปลือกไข่ เหมือนที่เราออกมาจากท้องแม่นั่นแหละครับ เสร็จแล้วเดี๋ยวก็ดีเอง หรือจะยอมตายในท้องแม่ดีกว่าตรับ นี่คือความต่างครับ
คิดได้แต่ทำไม่ได้  หรือทำได้ในตอนแรก แต่ระยะยาวนั้นไม่สามารถทำได้ครับ

คนที่คิดได้ต้องทำได้โดยธรรมชาติครับ

 คนที่ทำไม่ได้ มักแค่ได้คิด แต่ยังคิดไม่ได้ครับ

อย่าปนกันในขั้นตอนการพัฒนา ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท