วันนี้ มีโอกาสได้เข้าร่วมฟังสัมมนาวิชาการ ที่จัดโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มข.
ช่วงเช้าบรรยายโดยองค์ปาถกฐาพิเศษ คือ อ. นิติภูมิ นวรัตน์ และการบรรยายรวมวิทยากรพิเศษ อีกหลายท่าน
ก่อนอื่น เลยต้องขอชื่นชมหลักสูตรนี้ดีมากๆ เลย ที่จัดงานนี้ขึ้นมา เพราะมองว่ามันเป็นการจัดการเรียนการสอนนอกห้องเรียนที่มีประโยชน์ และสร้างประสบการณ์อันทรงคุณค่าแก่นักศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพราะในมุมมองของผู้บันทึกมองว่า น้อยมากเลยที่นักศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้มีโอกาส มีส่วนร่วมในงานหรือโครงการแบบนี้ ซึ่งมันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนต่อไปในอนาคต เพราะสิ่งที่ได้ มันได้ตั้งแต่การเตรียมงาน การจัดงาน รวมถึงความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากวิทยากร และประสบการณ์อื่นๆ
และสิ่งที่ชื่นชอบแต่ก็มีประเด็นที่ติดใจ-คาใจเล็กน้อย ก็คือประเด็นที่วิทยากรพูดถึง การบริหารเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
ประเด็นหนึ่ง หรือบทบาทหนึ่งที่สำคัญและมีส่วนในการสร้างสังคมสันติสุขได้ คือ สื่อ
วิทยากรบอกว่า สื่อต้องทำหน้าที่ของสื่อ และต้องเสนอข่าวที่ขายได้ น่าสนใจ ซึ่งฟังแล้ว มันก็ขัดกับความต้องการให้สื่อมีส่วนช่วยให้สังคมสันติสุข แต่วิทยากรก็เสนอทางออกนะคะ ว่าผู้บริโภค นักศึกษา หรือคนเราๆ นี้แหละ จะต้องรู้เท่าทันสื่อ
ฟังแล้วเหนื่อยมากเลย แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะ จึงจะรู้เท่าทันสื่อได้ เราจะตัดสินได้อย่างไร ว่าข่าวอันใหนเชื่อถือได้ เชื่อถือไม่ได้
นักศึกษา หรือคนเราๆ ยังไม่สามารถรู้เท่าทันสื่อได้ แล้วชาวบ้าน ที่มีโอกาสรับสื่อ รับข่าวสารจากทีวีอย่างเดียวล่ะ เค้าจะจัดการและรู้เท่าทันสื่อได้อย่างไร
แต่ก็มีวิทยากรอีกท่านนะคะ ได้เสนอว่า การที่ประเทศไทยในปัจจุบัน ใช้ blog ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ดี (เช่น gotoknow แห่งนี้) เป็นอีกหนึ่งช่องทางของการสื่อสารที่สามารถช่วยให้เราแพร่กระจายข่าวสาร อ้างอิงข้อมูลได้ หรือตรวจสอบข้อมูลได้
แต่อย่างไรก็ตาม blog ก็ยังถือว่าอยู่ในวงแคบๆ และไปได้ไม่ทั่วถึง การที่จะทำให้คนไทยอีกส่วนมากรู้เท่าทันสื่อก็ยังคงเป็นเรื่องที่ยากมากๆ อยู่เช่นเดิม
แล้วจะทำอย่างไรดีน้อ.....
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Kawao_กัลยา มิขะมา ใน Kanlaya-Dissertation
คำสำคัญ (Tags)#การบริหารเพื่อสร้างสังคมสันติสุข#การรู้เท่าทันสื่อ
หมายเลขบันทึก: 75801, เขียน: 01 Feb 2007 @ 17:17 (), แก้ไข: 11 Feb 2012 @ 17:14 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 4, อ่าน: คลิก
สวัสดีค่ะ คุณkawao
ดิฉันเข้ากูเกิ้ล คีย์คำว่าการรู้เท่าทันสื่อ อ่านไปเรื่อยๆจนมาเจอบล็อกของคุณค่ะ ชอบที่คุณบอกว่า นศ.ป.ตรี มีโอกาสร่วมโครงการลักษณะนี้น้อยมาก ดิฉันสอนที่ ม.ราชภัฏ ทางใต้ ก็รู้สึกแบบนี้เหมือนกันค่ะ
บังเอิญว่าดิฉันก็สอนในสายนิเทศศาสตร์เสียด้วย รู้สึกระทมมากเลยที่ได้เห็นความจริงที่อยู่เบื้องหลังสื่อที่ขับเคลื่อนด้วยกลไกธุรกิจ ทำให้หัวใจหายไป และหายใจเข้าออกเป็นผลประโยชน์อย่างเดียว
สอนเด็กไปก็กลุ้มไป แต่ก็สู้ค่ะ ไหนๆก็มาเลือกเป็นเรือจ้างแล้ว..
แล้วจะแวะเข้ามาอ่านอะไรหนุกๆอีกนะคะ ป้ายต่อไปคือ ความขี้เกียจชนะทุกอย่าง
แค่อ่านป้ายก็โดนใจแล้วอ่ะค่ะ....
ขอให้เรียนหนังสือและทำวิจัยอย่างมีความสุขนะคะ