เรื่องดีวันละเรื่อง : (8) กรมการขนส่งทางบก


         นี่คือเรื่องราวของหน่วยราชการหน่วยที่ 3 ในหน่วยงานต้นแบบที่ "โครงการต้นแบบการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม"  สำนักงานส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  สำนักงาน กพร.    นำมายกย่องและเชิญมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีดำเนินการในการประชุมเมื่อวันที่ 25 ม.ค.50

         คุณรณยุทธ  ตั้งรวมทรัพย์  รองอธิบดี  เล่าเรื่องการริเริ่มสร้างสรรค์รูปแบบการให้บริการใหม่ ๆ    เป็นที่เลื่องลือจนญี่ปุ่นขอมาดูงานวิธีการจัดการสอบข้อเขียนสอบใบขับขี่เป็น E-Exam แห่งแรกของโลก

         โครงการอื่น ๆ เช่น "โครงการเลื่อนล้อต่อภาษี" (Drive Through for Tax) แห่งแรกของโลก   คือคล้าย ๆ ขับรถผ่านด่านเก็บค่าผ่านทาง   พอถึงตู้บริการก็ยื่นเอกสาร  จ่ายเงิน  แล้วขับรถไปตามเส้นทาง  วนกลับมารับใบเสร็จและป้ายวงกลมได้เลย   มีรถมารับบริการวันละกว่า 1,200 คัน

         โครงการ "ช็อปให้พอ แล้วต่อภาษี"  ให้บริการที่ศูนย์การค้าในวันหยุดราชการ   โดยผู้ต่อภาษีจ่ายในอัตราปกติ   และได้รับป้ายวงกลมและใบเสร็จเดี๋ยวนั้นเลย

         มีการสร้างบรรยากาศความคึกคักสร้างสรรค์โดยการแต่งกายตามเทศกาล   เช่น  ชุดกี่เพ้าในวันตรุษจีน   ชุดฮาวายในวันใกล้สงกรานต์  ชุดคริสต์มาส  เป็นต้น

         เสียดายที่ไม่มีเวลาซักถามวิธีการเอาชนะแรงต้านการเปลี่ยนแปลงซึ่งบางขั้นตอนขัดความรู้สึกของคนอย่างแรง   เช่น การเปลี่ยนให้คนระดับหัวหน้าที่เคยนั่ง "คุม" รอเซ็นอยู่แถวหลัง   ให้เปลี่ยนมาทำหน้าที่ตรงหน้าเคาน์เตอร์

         กรมการขนส่งทางบกคือหน่วยราชการที่ประชาชนประทับใจเป็นที่เลื่องลือ

                       

ท่านรองอธิบดีรณยุทธ ตั้งรวมทรัพย์ กำลังเล่าเรื่องอย่างสนุกสนานเร้าใจ  ขนาบด้วยนักวิจัยในโครงการ คือ รศ. พัชรา พัชราวณิช (ขวา) และ ดร. สมบัติ กุสุมาวลี (ซ้าย)

วิจารณ์  พานิช
 25 ม.ค.50

หมายเลขบันทึก: 75223เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2007 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เล่าต่อจากจดหมายฉบับที่แล้ว บังเอิญคลิกถูกปุ่มส่งจดหมายก่อนที่จะเขียนจบ

 ดิฉันได้โดยสารรถทัวร์จากจังหวัดนครราชสีมาไปบุรีรัมย์ รอบ 2 ทุ่ม หมายเลขตั๋วที่ขายให้ทุกคนในวันนั้นจะอยู่ราว ๆ หมายเลข 36103 เขาขายราคา 90 บาทสำหรับทุกคน และขายไปเรื่อย ๆ ขายให้กับทุกคน โดยไม่มีการระบุเลขที่นั่ง  ดิฉันเป็นคนแปลกหน้าสำหรับที่นั่นและมาทราบภายหลังว่ารถทัวร์ที่ดิฉันจะโดยสารเป็นรถเที่ยวสุดท้ายของบริษัทนี้ในคืนนั้น และความจริงมีรถทัวร์สายยาวจากกรุงเทพรับส่งผู้โดยสารจากนครราชสีมาไปบุรีรัมย์หลัง 4 ทุ่มไปแล้วเยอะมาก

พนักงานจะเปิดประตูรถตอนสองทุ่ม ประกาศว่าให้ผู้หญิงเข้าไปก่อน ถ้าที่นั่งเต็มก็ให้ยืน ส่วนใหญ่ผู้ชายได้ยืน เมื่อทุกคนเข้าไปในรถแล้ว พนักงานถามว่าใครไม่อยากเดินทางให้คืนตั๋วได้ (ทำไมไม่ถามก่อนขายตั๋ว)

เมื่อรถออกเดินทาง รถก็จะทะยอยปล่อยผู้เดินสารไปเรื่อย ๆ รถจะเริ่มว่างพอมีที่ให้นั่งไปก็กลางทางแล้ว

เรียนปรึกษาว่า ถ้าเจตนาดีจะช่วยส่งทุกคนให้ได้กลับบ้านเหมือนกัน ราคาตั๋วยืนควรจะถูกกว่าราคาตั๋วนั่ง 

 กรมการขนส่งมีวิธีการกำกับการให้บริการรถโดยสารต่าง ๆ เหล่านี้หรือไม่  ถ้าสภาพการโดยสารยังต้องเป็นแบบนี้จะมีทางแก้อย่างไร

 

ที่เขียนมาเล่านี้เพราะเป็นความรู้สึกที่จดจำมานานว่าการบริการเรื่องการเดินทางในสายอีสานนี่ไม่ดี (อยากใช้คำว่า "แย่"จะเหมาะกว่า) ไม่ว่าจะเป็นการบริการสาธารณะทางรถยนตร์ รถไฟ ทำไมดูถูกคนอีสานนัก  20-30 ปีมานี่ไม่ได้เจริญขึ้นเลยหรือ? ทำเหมือนหมูเหมือนสุนัข  ทำเหมือนโง่ดักดาน ต้องทนรับการกระทำทุกเรื่อง  ถ้าจะว่าไปพนักงานรถก็คนอีสานนั่นแหละ  สมองเขาอาจยังไม่พัฒนา ท่านมีอำนาจในการกำกับดูแล ช่วยสงเคราะห์หน่อยเถิด ถ้าท่านหย่อนการกำกับดูแล คนประเภทนี้จะปรากฏตัวเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ

 

ความจริงดิฉันอยากฟ้องกรมการขนส่งทางบกต่อศาลปกครองด้วยซ้ำแต่ดูจะเป็นการทำรุนแรงไป (ความจริงกำลังศึกษาช่องทางว่าอยู่ในข่ายทำได้หรือไม่ ไม่อยากฟ้องหรอก เข้าใจว่าการดูแลให้ทั่วถึงทำได้ยากแต่อยากให้เข้มขึ้นบ้าง) จึงขอความกรุณาช่วยดูแลทุกข์สุขคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบบ้างเถิด

 

ขอบพระคุณอย่างสูงหากท่านใส่ใจจดหมายของดิฉัน

วลัยอร

 

 

 

           ผมไปทำเรื่องโอนรถที่ขนส่งหมอชิตมา เจ้าหน้าที่ที่นั่งอยู่ counter 3 การบริการแย่มากๆเลย แถมยังพุดกระแทก ไม่รู้ว่าถูกบังคับให้มาทำงานหรือเปล่า อีกเรื่องก็คือตัวต้นเรื่องในการโอนจากขนส่ง3 มายังหมอชิตใช้เวลาเป็นครึ่งเดือน  จะต้องส่งเรื่องสัปดาห์ละ1ครั้ง ยุคนี้ยุคไหนแล้วครับท่านอธิบดีฯ
กราบเรียนท่านอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ผมมีอาชีพขับรถเท็กซี่ขอความกรุณาจากท่านช่วยปรับราคาค่าโดยสารให้พวกกระผมด้วยเป็นเวลากว่า ๑๐ กว่าปีแล้วที่ไม่มีการปรับราคาเลย จึงขอความอนุเคราะห์จากท่านช่วยพพิจารณาปรับราคา ดังนี้ สตาร์สที่๓๕ บาทเหมือนเดิม กม.ที่ ๒.๔๔ - ๒๐.๒๐ กม.ละ ๓ บาท กม.ที่ ๒๐.๒๐ - ๒๖.๐๐ กม.ละ ๔ บาท กม.ที่ ๒๖.๐๐ - ๓๐.๓๖ กม.ละ ๕ บาท กม.ที่ ๓๐.๓๖ -๔๐.๕๔ กม.ละ ๖ บาท ๔๐.๕๔ - ๕๐.๐๐ กม.ละ ๗ บาทกม.ที่ ๕๐.๐๐ - ๗๕.๐๐ กม.ละ ๘ บาท กม.ที่ ๗๕.๐๐ - ๑๐๐ กม.ละ ๙ บาท กม.ที่ ๑๐๐ ขึ้นไป กม.ละ ๑๐ บาท และช่วยกรุณาส่งเจ้าหน้าที่เข็มงวดกับรถที่ผิดระเบียบ เช่น รถป้ายแดง รถหมดอายุ ผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต อย่าปล่อยให้เฉพาะตำรวจท่านช่วยส่งคนของท่านมาร่วมดูแลด้วย ช่วยกันกวดขัน และปรับให้หนัก

ผมจะนังรถเท็กซี่ จากรัชดา(หลังจัสโก) ไปอยุธยา (โรจนะ) ค่าโดยสารเท่าไหร่ครับ

คัยรู้ช่วยบอกที

[email protected]

0866316269

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท