วันนี้(28 มกราคม 2550) มีภารกิจในการนำนักศึกษาปริญญาตรี หลักสูตรสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ศูนย์เรียนรู้บ้านเม็กดำ ในโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครกับสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ลงพื้นที่เพื่อเรียนวิชาวิทยากรกระบวนการ แผนแม่บทชุมชน ความจริงของชีวิต เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ บางท่านอ่านแล้วอาจจะงงว่ามันเรียนวิชาอะไรกันแน่ แต่เราคิดว่าทุกพื้นที่มีความเป็นสหวิทยาการ ดังนั้นเวลาจะลงพื้นที่นักศึกษากลุ่มนี้จึงมีโจทย์หลายข้อติดมือไป
พวกเราได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง การเปลี่ยนสิ่งที่รับรู้เป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้ก็มีมากบ้างน้อยบ้างตามพลังของแต่ละคน ซึ่งโดยเจตนารมณ์ของหลักสูตรนี้เราต้องการเกิดและมีผู้นำท้องถิ่นที่ดี เราไม่มีเจตนารมณ์ที่จะผลิตบัณฑิตที่เห็นคุณค่าการศึกษาแค่การได้ปริญญา เราต้องการคนที่มีการพัฒนาสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
วันนี้ได้เห็นภาพแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านฐานการใช้แนวคิดการจัดการความรู้อย่างชัดเจน แต่เป็นความชัดเจนบนฐานการใช้ชุดความรู้ในท้องถิ่น ซึ่งกิจกรรมวันนี้มีหลายวง แต่มีอีกหนึ่งวงที่ขอเล่าสู่กันฟัง ด้วยดูเหมือนไม่ค่อยได้ยินเรื่องแบบนี้เท่าไรนัก
สายทอง พันธุวร เป็นนักศึกษาปริญญาตรี หลักสูตรสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิและทำหน้าที่ประธานกลุ่มปุ๋ยอินทรียชีวภาพ บ้านหนองบัวแปะ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
บุญเรือง ยางนอก เป็นหัวหน้ากลุ่มเกษตรกรลำพังชู บ้านเม็กดำ อำเภอพยัคฆภูม จังหวัดมหาสารคาม
ประหยัด โมกศรี เป็นครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนบ้านเม็กดำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ทั้งสามคนเปรียบเป็นสามหนุ่มสามมุม แต่มาพบกันในวงเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้ และช่วงบ่ายได้ส่งสายมากระซิบบอกผมว่าจะมีการลงนามในความร่วมมือใต้ร่มมะม่วงข้างวัด จึงเชิญท่านเป็นสักขีพยานด้วย เมื่อถึงเวลาทั้งสามท่านพร้อมด้วยทีมงานของแต่ละฝ่ายนั่งล้อมวงคุยกัน สรุปว่า สายทอง มีปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรใหม่อยากให้มาลองใช้ที่เม็กดำโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่มีข้อตกลงดังนี้
1. สายทอง ให้ปุ๋ยมาใช้ทั้งในโรงเรียนและสวนที่ลำพังชู โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายด้วยเหตุว่าได้มาพึ่งความร่มเย็น
เป็นนักศึกษาที่เม็กดำ
2. บุญเรือง บอกว่ายินดีและไม่มีอะไรตอบแทน นอกจากข้าวสาร ให้ชาวบ้านหนองบัวแปะ ได้หุงกินพร้อมบันทึกความทรงจำดีๆไว้ในสองหมู่บ้าน
3. ประหยัด บอกว่ายินดีแต่ไม่มีข้าวสารเหมือนพ่อใหญ่เรือง จึงขอรับอาสาเรื่องรถขนปุ๋ย
เรื่องที่เล่ามาไม่ใช่นิยายแต่เป็นเรื่องจริง ที่เกิดขึ้นในวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพวกเราในวันนี้ที่ประชุมตกลงว่า จะมีการเอาข้าวสารไปแลกปุ๋ยในวันที่ 31 มกราคม 2550 ทุกคนบอกว่าต้นตอมาจากการเรียนแต่สิ่งที่คิดและทำเป็นของจริงไม่มีสิ่งอื่นแอบแฝง
โดยส่วนตัวผมเองนั่งฟังเขาเหล่านั้นคุยกันรู้สึกว่าสิ่งที่หายหน้าไปจากสังคมไทยเริ่มหวนกลับแล้วหรือนี่ สังคมไทยที่เอื้ออาทร สังคมไทยที่มีการให้และรับอย่างมีเหตุผล บนสถานการณ์ที่วุ่นวายรอบด้านในปัจจุบัน ผมคิดว่ายังมีเรื่องราวดีๆเช่นนี้เกิดขึ้นเช่นกัน
พวกเราได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง การเปลี่ยนสิ่งที่รับรู้เป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้ก็มีมากบ้างน้อยบ้างตามพลังของแต่ละคน ซึ่งโดยเจตนารมณ์ของหลักสูตรนี้เราต้องการเกิดและมีผู้นำท้องถิ่นที่ดี เราไม่มีเจตนารมณ์ที่จะผลิตบัณฑิตที่เห็นคุณค่าการศึกษาแค่การได้ปริญญา เราต้องการคนที่มีการพัฒนาสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
วันนี้ได้เห็นภาพแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านฐานการใช้แนวคิดการจัดการความรู้อย่างชัดเจน แต่เป็นความชัดเจนบนฐานการใช้ชุดความรู้ในท้องถิ่น ซึ่งกิจกรรมวันนี้มีหลายวง แต่มีอีกหนึ่งวงที่ขอเล่าสู่กันฟัง ด้วยดูเหมือนไม่ค่อยได้ยินเรื่องแบบนี้เท่าไรนัก
สายทอง พันธุวร เป็นนักศึกษาปริญญาตรี หลักสูตรสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิและทำหน้าที่ประธานกลุ่มปุ๋ยอินทรียชีวภาพ บ้านหนองบัวแปะ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
บุญเรือง ยางนอก เป็นหัวหน้ากลุ่มเกษตรกรลำพังชู บ้านเม็กดำ อำเภอพยัคฆภูม จังหวัดมหาสารคาม
ประหยัด โมกศรี เป็นครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนบ้านเม็กดำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ทั้งสามคนเปรียบเป็นสามหนุ่มสามมุม แต่มาพบกันในวงเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้ และช่วงบ่ายได้ส่งสายมากระซิบบอกผมว่าจะมีการลงนามในความร่วมมือใต้ร่มมะม่วงข้างวัด จึงเชิญท่านเป็นสักขีพยานด้วย เมื่อถึงเวลาทั้งสามท่านพร้อมด้วยทีมงานของแต่ละฝ่ายนั่งล้อมวงคุยกัน สรุปว่า สายทอง มีปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรใหม่อยากให้มาลองใช้ที่เม็กดำโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่มีข้อตกลงดังนี้
1. สายทอง ให้ปุ๋ยมาใช้ทั้งในโรงเรียนและสวนที่ลำพังชู โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายด้วยเหตุว่าได้มาพึ่งความร่มเย็น
เป็นนักศึกษาที่เม็กดำ
2. บุญเรือง บอกว่ายินดีและไม่มีอะไรตอบแทน นอกจากข้าวสาร ให้ชาวบ้านหนองบัวแปะ ได้หุงกินพร้อมบันทึกความทรงจำดีๆไว้ในสองหมู่บ้าน
3. ประหยัด บอกว่ายินดีแต่ไม่มีข้าวสารเหมือนพ่อใหญ่เรือง จึงขอรับอาสาเรื่องรถขนปุ๋ย
เรื่องที่เล่ามาไม่ใช่นิยายแต่เป็นเรื่องจริง ที่เกิดขึ้นในวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพวกเราในวันนี้ที่ประชุมตกลงว่า จะมีการเอาข้าวสารไปแลกปุ๋ยในวันที่ 31 มกราคม 2550 ทุกคนบอกว่าต้นตอมาจากการเรียนแต่สิ่งที่คิดและทำเป็นของจริงไม่มีสิ่งอื่นแอบแฝง
โดยส่วนตัวผมเองนั่งฟังเขาเหล่านั้นคุยกันรู้สึกว่าสิ่งที่หายหน้าไปจากสังคมไทยเริ่มหวนกลับแล้วหรือนี่ สังคมไทยที่เอื้ออาทร สังคมไทยที่มีการให้และรับอย่างมีเหตุผล บนสถานการณ์ที่วุ่นวายรอบด้านในปัจจุบัน ผมคิดว่ายังมีเรื่องราวดีๆเช่นนี้เกิดขึ้นเช่นกัน
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย เม็กดำ 1 ใน การจัดการความรู้ในท้องถิ่น
คำสำคัญ (Tags)#มหาชีวาลัยอีสาน#โรงเรียนบ้านเม็กดำ
หมายเลขบันทึก: 75140, เขียน: 29 Jan 2007 @ 18:00 (), แก้ไข: 22 May 2012 @ 20:26 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 4, อ่าน: คลิก
สมัยก่อน "ข้าวบ้านเหนือ เกลือบ้านใต้"
สมัยต่อมา "หนุ่มนาข้าว สาวนาเกลือ"
สมัยนี้ "ปุ๋ย แลกข้าว"
สมัยหน้า "ครู แลก ครู"