SAR-ON-BLOG : ดัชนีที่ 7.5


องค์ประกอบที่ 7

ปฏิบัติการที่ดี

     สถาบันอุดมศึกษา พึงจัดวางระบบการบริหารที่มีความคล่องตัว มีความสามารถในการปรับเปลี่ยนระบบ มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ในการบริหารมาใช้ มีโครงสร้างและระบบที่สนับสนุนพันธกิจหลัก ซึ่งได้แก่การสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และคุณภาพ


  7.1 โครงสร้างและระบบการบริหาร
  7.2 อำนาจหน้าที่และขอบข่ายงาน
  7.3 ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล
  7.4 ระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ
  7.5 การมีส่วนร่วมในการบริหาร

ดัชนีที่ 7.5 การมีส่วนร่วมในการบริหาร
ปฏิบัติการที่ดี

     สถาบันอุดมศึกษาเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหาร มีการจัดระบบเพื่อให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนและการตัดสินใจในภารกิจที่สำคัญของสถาบัน


เกณฑ์การตัดสิน หลักฐานอ้างอิง
1. นโยบายให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหาร ที่เป็นลายลักษณ์อักษร 7.5.1 (01) แผนกลยุทธ์คณะมนุษยศาสตร์ พ.ศ.2547-2551 (แผนงานบริหาร หน้า 10 -17)
  7.5.1 (02) นโยบายด้านการบริหารจัดการ
  7.5.1 (03) แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 (นโยบายด้านการบริหารจัดการ หน้า 10)
2. มี (1) + มีระบบหรือกลไก เพื่อให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนและการตัดสินใจ 7.5.1 (04) โครงสร้างองค์กร โครงสร้างการบริหารงานคณะมนุษยศาสตร์ (ภาควิชา,สำนักงาน)
  7.5.1 (05) การเน้นการบริหารจัดการแบบกระจายอำนาจ บันทึกมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะมนุษยศาสตร์ ครั้งที่ 15/2548 วันที่ 29 กันยายน 2548 วาระที่ 4.1 ข้อ 5 การประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ให้รองหัวหน้าภาควิชา (หัวหน้าสาขาวิชา)เข้าร่วมประชุมทุกครั้ง
  7.5.1 (06) หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาคณะกรรมการประจำคณะ พ.ศ. 2535
3. มี (2) + บุคลากรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในภารกิจที่สำคัญ 7.5.1 (07) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 19/2547 วันที่ 2 ธันวาคม 2547 มติวาระที่ 1 (เรื่องกำหนดภาระงานสอนและการวิจัยของอาจารย์
  7.5.1 (08) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ , - รายงานการประชุม ภาควิชา / สาขาวิชา
  7.5.1 (09) เอกสารประชุมบุคลากรประจำภาคเรียนที่ 1/2548 , ภาคเรียนที่ 1/2549
  7.5.1 (10) สรุปผลการประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศ
  7.5.1 (11) สรุปผลการประเมิน “ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานและคุณลักษณะในการปฏิบัติงานของผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ ในทัศนะของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  7.5.1 (12) สรุปรายงานผลการประเมินความพึงพอใจการให้บริการสำนักงานเลขานุการคณะฯ
4. มี (3) + มีการประเมินผลการมีส่วนร่วมของบุคลากร 7.5.1 (13) สรุปการประเมินการมีส่วนร่วมของบุคลากรสำนักงานเลขานุการคณะ
  7.5.1 (14) สรุปผลประเมินการมีส่วนร่วมของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์ ประชุมประจำภาคเรียน ปี 48,49
5. มี (4) + มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนา 7.5.1 (15) แบบประเมินผู้บริหาร, แบบประเมินหัวหน้างาน, แบบประเมินเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน (เอกสารการประเมินผู้บริหาร,หัวหน้างาน)


การประเมินตนเอง (SAR)

ผู้กำกับดูแล : รองคณบดีฝ่ายบริหาร
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล : รัตนาภรณ์ กุลจันทร์
เบอร์โทรภายใน : 2009
ปีที่แล้ว : ในครั้งนี้ : ปีต่อไป :
ผลการดำเนินงาน :
1. มีนโยบาย แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการซึ่งใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการและดำเนินงานของบุคลากรทุกระดับ

2. คณะฯกำหนดให้จัดให้บุคลากรสายสนับสนุนมีส่วนร่วมในการบริหารงานโดยผ่านที่ประชุมบุคลากรสายสนับสนุนม บุคลากรสายวิชาการมีการประชุมสาขาวิชาและภาควิชาแล้วนำเสนอกรรมการประจำคณะฯ และบุคลากรบริหารมีการประชุมเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อให้มีความร่วมมือในการบริหารงานจากทุกฝ่ายทุกระดับ

3. บุคลากรทั้งหมดมีส่วนร่วมในการบริหาร (ตามข้อ 2) ดังที่เห็นได้จากผลการประเมิน และจำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมทุกระดับ

4. มีการประเมินการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ

5. ปรับปรุงพัฒนาระบบการจัดให้มีส่วนร่วมฯ โดยปรับปรุงรูปแบบการประเมินและการจัดการการประเมิน


TOWS Analysis :
ภาวะคุกคาม T : - บุคลากรสายวิชาการมีความถนัด ความรู้ และประสบกาณ์ด้านการบริหารจัดการน้อย ทำให้ไม่สนใจจะรับหน้าที่ผู้บริหาร หรือให้ความสนจที่จะมีส่วนร่วม
โอกาส O : - โดยระบบการบริหารของมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะฯสามารถกำหนดและจัดการภายในให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารอย่างเป็นอิสระ
จุดอ่อน W : - บุคลากรสายวิชาการจำเป็นต้องใช้เวลามากในการสอนและงานวิจัยทำให้ไม่มีเวลามากในการมีส่วนร่วมในการบริหาร
จุดแข็ง S : - ผู้บริหารสนับสนุนอย่างสมำเสมอ ให้บุคลากรมีส่วนร่วม โดยการแสดงข้อมูลผลงานและแผนงาน และเปิดโอกาสให้แสดงความเห็นและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการประชุม และการสำรวจต่างๆ

โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป :
- ดำเนินการต่อเนื่องเกี่ยวกับการประชุมทุกระดับ การสำรวจ และการประเมินต่างๆ

- จัดประชุมระดมสมองและสำรวจประชามติในการตัดสินใจที่สำคัญเกี่ยวกับการบริหารที่จะเกิดขึ้น


การประเมินตรวจสอบ (CAR)

ปีที่แล้ว : ในครั้งนี้ : ปีต่อไป :
ข้อสังเกต/เสนอแนะ :

-หลักฐานในเกณฑ์ข้อ 5 เป็นเอกสารการประเมินผู้บริหารและประเมินเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะไม่ตรงกับเกณฑ์การตัดสินในข้อนี้ ที่ต้องการให้แสดงผลการประเมินมาปรับปรุงการมีส่วนร่วมของบุคลากร แต่จากการสัมภาษณ์พบว่ามีการประเมินและปรับปรุงแล้ว จากการประชุมบุคลากรประจำภาคเรียนในปี2548,2549 จึงขอปรับเพิ่มหลักฐานให้ตรงกับเกณฑ์ในข้อนี้ด้วย
- คณะสามารถจัดรูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารผ่านทางการประชุมของคณาจารย์ในแต่ละภาควิชาได้ ซึ่งโดยปกติจะมีการประชุมเป็นประจำอยู่แล้ว ในวาระการประชุมอาจจะมีการสอบถามเพื่อประเมินผลการมีส่วนร่วมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาได้
คำสำคัญ (Tags): #sar-on-blog
หมายเลขบันทึก: 74660เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2007 18:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท