SAR-ON-BLOG : ดัชนีที่ 7.1


องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและจัดการ 

ปฏิบัติการที่ดี


     สถาบันอุดมศึกษา พึงจัดวางระบบการบริหารที่มีความคล่องตัว มีความสามารถในการปรับเปลี่ยนระบบ มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ในการบริหารมาใช้ มีโครงสร้างและระบบที่สนับสนุนพันธกิจหลัก ซึ่งได้แก่การสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และคุณภาพ


  7.1 โครงสร้างและระบบการบริหาร
  7.2 อำนาจหน้าที่และขอบข่ายงาน
  7.3 ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล
  7.4 ระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ
  7.5 การมีส่วนร่วมในการบริหาร

ดัชนีที่ 7.1 โครงสร้างและระบบการบริหาร
ปฏิบัติการที่ดี

     สถาบันอุดมศึกษามีการกำหนดโครงสร้าง และระบบการบริหารที่สอดคล้องกับเป้าประสงค์และพันธกิจของสถาบัน มีระบบการสรรหา พัฒนาและประเมินผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษามีภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์และคุณธรรม จริยธรรม


เกณฑ์การตัดสิน หลักฐานอ้างอิง
1. มีโครงสร้างองค์กรและโครงสร้างการบริหารงาน 7.1.1 (01) โครงสร้างองค์กรคณะมนุษยศาสตร์
  7.1.1 (02) บันทึกข้อความ ที่ศธ.0527.03.01(1) /0335 ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2548
  7.1.1 (03) มติสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 120 (4/2548) เมื่อวันที่ 24 กันยายน
  7.1.1 (04) โครงสร้างการบริหารงานคณะมนุษยศาสตร์
  7.1.1 (05) โครงสร้างองค์กรสำนักงานเลขานุการคณะมนุษยศาสตร์
  7.1.1 (06) โครงสร้างการบริหารงานสำนักงานเลขานุการคณะมนุษยศาสตร์
2. มี (1) + ที่สอดคล้องกับพันธกิจ 7.1.1 (07) เป้าประสงค์ และพันธกิจคณะมนุษยศาสตร์
  7.1.1 (08) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 15/2548(วาระที่ 4.1 เรื่องการขอจัดตั้งภาควิชา)
  7.1.1 (09) โครงสร้างการบริหารงานคณะมนุษยศาสตร์ (ส่วนภาควิชา)
3. มี (2) + มีระบบการได้มาและพัฒนาผู้บริหาร 7.1.1 (10) พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2533
  7.1.1 (11) ข้อบังคับฯ ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาคณบดี พ.ศ. 2546
  7.1.1 (12) ข้อบังคับฯ ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาหัวหน้าภาควิชา พ.ศ. 2539
  7.1.1 (13) หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาคณะกรรมการประจำคณะ พ.ศ. 2535
  7.1.1 (14) ประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง แนวปฏิบัติการประเมินผู้เข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง และเลขานุการคณะ ประกาศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2544
  7.1.1 (15) คำสั่งมหาวิทยาลัยฯ เรื่อง แต่งตั้งคณบดีคณะมนุษยศาสตร์
  7.1.1 (16) คำสั่งมหาวิทยาลัยฯ เรื่องแต่งตั้งรองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์
  7.1.1 (17) คำสั่งมหาวิทยาลัยฯ เรื่องแต่งตั้งหัวหน้าภาควิชา
  7.1.1 (18) คำสั่งมหาวิทยาลัยฯ เรื่องแต่งตั้งรองหัวหน้าภาควิชา
  7.1.1 (19) คำสั่งมหาวิทยาลัยฯ เรื่องแต่งตั้งเลขานุการคณะมนุษยศาสตร์
  7.1.1 (20) คำสั่งมหาวิทยาลัยฯ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการประจำคณะมนุษยศาสตร์
  7.1.1 (21) คำสั่งมหาวิทยาลัยฯ เรื่องแต่งตั้งหัวหน้างานในสังกัดคณะมนุษยศาสตร์
  7.1.1 (22) แฟ้มรวมการสรรหาผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ (เอกสารอยู่ในแฟ้ม)
  7.1.1 (23) แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ (หน้า 22 โครงการงานบริหารคณะ
  7.1.1 (24) แฟ้มบันทึกรายงานการการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนาของผู้บริหาร (เอกสารอยู่ในแฟ้ม)
4. มี (3) + มีการประเมินผู้บริหาร 7.1.1 (25) แผนปฏิบัติการสำนักงานแลขานุการคณะฯ พ.ศ. 2549 (หน้า 63-66)
  7.1.1 (26) สรุปผลการประเมิน “ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานและคุณลักษณะในการปฏิบัติงานของผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ ในทัศนะของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  7.1.1 (27) เอกสารการประชุมบุคลากรประจำภาคเรียนที่ 1/2549 (หน้า 7)
  7.1.1 (28) เอกสารการประเมินหัวหน้างาน (เอกสารอยู่ในแฟ้ม)
5. มี (4) + มีการนำผลประเมินมาปรับปรุงการบริหารงาน 7.1.1 (29) บันทึกแจ้งผลการประเมิน.ให้ผู้ถูกประเมินทราบ
  7.1.1 (30) บันทึกแจ้งการปรับปรุง
  7.1.1 (31) ค่าเฉลี่ยผลประเมินผู้บริหารเปรียบเทียบจากปีก่อน


การประเมินตนเอง (SAR)

ผู้กำกับดูแล :     นายอนุวัทย์  เรืองจันทร์
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล :   นางสาวสุพรรษา มะริด
เบอร์โทรภายใน : 6237
ปีที่แล้ว : ในครั้งนี้ : ปีต่อไป :
ผลการดำเนินงาน :
คณะมนุษยศาสตร์ ผลการดำเนินงานในรอบปีดังนี้
- มีโครงสร้างองค์กรและโครงสร้างการบริหารงาน ระดับ คณะ ภาควิชา และสำนักงานเลขานุการ

- เป็นโครงสร้างที่ เป็นลายลักษณ์อักษรที่สอดคล้องกับเป้าประสงค์และพันธกิจหลัก

- โครงสร้างได้รับการปรับเปลี่ยน เมื่อมีการจัดตั้งภาควิชา และแยกเป็นสาขาวิชา และเมื่อมีหน่วยงานพิเศษเพิ่มขึ้น

- มีระบบการได้มาซึ่งผู้บริหารคณะทุกระดับ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ.2533 และตามข้อบังคับฯประกาศฯ ของมหาวิทยาลัยนเรศวร

- มีการพัฒนาผู้บริหาร ตามโครงการพัฒนาผู้บริหาร (1.103 โครงการพัฒนางานบริหารคณะมนุษยศาสตร์)
จัดส่งผู้บริหารเข้าร่วมอบรม สัมมนา ดูงาน เพื่อพัฒนางานบริหารคณะ

- มีการติดตามและประเมินผลการบริหารงานคณะ อย่างต่อเนื่อง โดยได้นำผลการประเมินในปีที่ผ่านมาแจ้งในที่ประชุมกรรมการประจำคณะ และในการประชุมพบปะบุคลากรประจำภาคเรียน

- แจ้งผลการประเมินการปฏิบัติงานของผู้บริหารแต่ละคนให้เจ้าตัวได้ทราบเพื่อปรับปรุงในข้อที่ด้อย และเพื่อรับทราบข้อเสนอแนะที่เป็นความเห็นเพิ่มเติมของผู้ประเมิน เพื่อการปรับปรุงและพัฒนา

- ปรับรูปแบบวิธีการประเมินให้เป็นระบบมากขึ้น โดยให้มีผู้รับผิดชอบการประเมินจัดทำเป็นโครงการวิจัยสถาบัน เรื่อง “ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานและคุณลักษณะในการปฏิบัติงานของผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ ในทัศนะของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร” เป็นการประเมินด้านการบริหารของคณะผู้บริหารโดยภาพรวม และการประเมินตามตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งและงานที่ได้รับมอบหมาย

- ผลการประเมิน มีค่าเฉลี่ย ระดับคุณภาพ มีแนวโน้มสูงขึ้น จากปี 2547 แสดงให้เห็นว่ามีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนา

TOWS Analysis :
ภาวะคุกคาม T :  
โอกาส O : การนำระบบประกันคุณภาพมาใช้ ทำให้บุคลากรทุกระดับตระหนักและให้ความร่วมมือในการประเมินบุคลากร และกระบวนการบริหารจัดการของคณะ ส่งผลถึงการทำงานที่เป็นระบบ และปรับปรุงพัฒนาอย่างถูกทิศทาง
จุดอ่อน W :  
จุดแข็ง S : - บุคลากรในคณะมนุษยศาสตร์ให้ความร่วมมือในการประเมินฝ่ายบริหาร ทำให้คณะผู้บริหารมีข้อมูลในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน
- การที่ผู้บริหารได้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตนเองในคะแนนการประเมิน กับค่าเฉลี่ยรวมของผู้บริหารทั้งคณะเป็นรายข้อ ทำให้ทราบชัดเจนว่าควรปรับปรุงในข้อใด ทำให้การปรับปรุงกระบวนการบริหารเป็นไปอย่างถูกทิศทาง

โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป :
1. ปรับปรุงระบบการประเมินผุ้บริหาร โดยจัดวิเคราห์ข้อคำถาม และกระบวนการจัดการในการประเมิน
2. จัดให้มีการประเมินครบทุกทิศทาง โดยเพิ่มการประเมินจากด้านบน ให้คณบดีประเมินรองคณบดีและเลขานุการคณะ
3. ดำเนินโครงการพัฒนาผู้บริหารในทิศทางที่ได้รับในผลการปรเมิน ในลักษณะการประชุมให้คำปรึกษาแนะนำโดยวิทยากรที่เหมาะสม


การประเมินตรวจสอบ (CAR)

ปีที่แล้ว : ในครั้งนี้ : ปีต่อไป :
ข้อสังเกต/เสนอแนะ :


วิธีการประเมินผู้บริหาร จัดทำอยู่ในรูปแบบของโครงการวิจัยทำให้มีแนวทางในการประเมินและมีวัตถุประสงค์ในการประเมินที่ชัดเจน  ซึ่งเป็นข้อที่ดีมากของงานวิจัย    แต่สำหรับงานประกันคุณภาพจำเป็นต้องมีการประเมินผู้บริหารเป็นประจำทุกๆปี จึงอาจจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องความคล่องตัวจากรูปแบบของงานวิจัยได้ ทางคณะจึงอาจจะต้องหารูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินงานในปีต่อๆไป

 



คำสำคัญ (Tags): #sar-on-blog
หมายเลขบันทึก: 74658เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2007 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท