รักษาความปลอดภัย : อีกความประทับใจจากกีฬาปัญญาชน


มันเป็นความเคยตัวอย่างไม่รู้ตัว เป็นข้อดีในเรื่องวินัยที่เกิดขึ้นอันเป็นผลพวงของการเข้มงวดของฝ่ายรักษาความปลอดภัยจาก มศว องครักษ์

นับตั้งแต่การได้มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย  โดยส่วนตัวของผมรู้สึกว่าที่นี่มีการจัดการเรื่องการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดกวดขันมากกว่าที่ไหน ๆ มีระบบ  มีหลักการ  เอาจริงเอาจังและเข้มแข็งอย่างน่าเคารพ

ทันทีที่มาถึงที่นี่และก้าวแรกที่ลงจากรถบัสเราทุกคนจะถูกตรวจค้นกระเป๋าสัมภาระด้วยเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด

<p> </p><p></p><p>แรกเริ่มผมเองก็อดสงสัยไม่ได้ว่า  กระบวนการรักษาความปลอดภัยของที่นี่ดูจะเข้มงวดเป็นพิเศษแต่เฉพาะช่วงการแข่งขันกีฬาหรือเปล่า ?  แต่พอได้สังเกตการณ์ทำงานของเจ้าหน้าที่และ รปภ. ติดต่อกันหลายวัน  รวมถึงการได้พบปะสอบถามผู้เกี่ยวข้อง จึงทราบว่าที่ มศว องครักษ์  เอาจริงเอาจังเป็นปกติในเรื่องนี้อยู่แล้ว </p><p>โซนที่คณะนักกีฬาจากทุกสถาบันพักอาศัยเป็นโซนที่หอพักเรียงรายกัน 10 หลัง  ทางเข้าสู่หอพักจะมีประตูเข้าออกที่ชัดเจน  มีรปภ. ประจำจุด 2 – 3  คน แต่ถ้าเป็นช่วงปกติที่ไม่ใช่ช่วงนี้เข้าใจว่ามี รปภ. มีคนเดียวเท่านั้น </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">รปภ. จุดดังกล่าวทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง  ใครก็ตามถ้าไม่มี ID การ์ด  จะไม่อนุญาตให้เข้ามาสู่บริเวณด้านในเลยแม้แต่ก้าวเดียว  ทุกครั้งที่รถวิ่งผ่าน ต้องชะลอให้ตรวจ ID การ์ด ใครไม่มีเข้าไม่ได้ !  และเป็นเช่นนี้อยู่ทุกวัน !  จนใครต่อใครถึงขั้นเปรยว่าบริเวณที่พักนักกีฬากลายเป็นค่ายทหารที่ไหนสักแห่งไปแล้วกระมัง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p> </p><p>(ประตูทางเข้าสู่โซนหอพัก 10 หลัง) </p><p></p><p>เช่นเดียวกัน,  พอจะขึ้นหอพัก  ทุกคนก็ต้องแสดง ID การ์ดต่อ รปภ.และเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง  โดยที่แปลกจากที่อื่น ๆ ก็คือ ID การ์ดจะต้องเขียนหมายเลขห้องพักลงไปด้วย  รวมถึงเซ็นชื่อเข้า เซ็นชื่อออกอย่างเป็นระบบ  ถ้าสมมุติจะออกไปเดินเล่นข้างนอกไม่คล้อง ID  การ์ดก็จะถูกทักถามทุกครั้ง ซึ่งที่ผ่านมาผมไม่พบบ่อยนักในการแข่งขันกีฬาปัญญาชน       </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จากการสอบถามผู้เกี่ยวข้องทำให้รู้ว่า มศว องครักษ์  ใช้ระบบจ้าง รปภ. จากบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งเข้ามาดำเนินการโดยมีสัญญาปีต่อปี  รปภ.คนหนึ่ง ๆ  จะเข้าเวร (กะ) จำนวน 12 ชั่วโมงต่อวัน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>ถ้าเป็นช่วงปกติหอพักจะปิดเวลา 22.00  น. และประตูทางเข้าสู่โซนหอพักก็จะปิดในเวลาเดียวกันนี้  นิสิตที่เข้าหอพักล่วงเวลาจะต้องลงชื่อ ณ ประตูทางเข้าและมาลงชื่ออีกครั้งที่หอพักต้นสังกัด  หากครบ 3 ครั้ง มหาวิทยาลัยฯ จะทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ปกครองเพื่อให้รับทราบความเคลื่อนไหวของลูกเต้าตัวเอง  ซึ่งผู้เกี่ยวข้องยืนยันว่าดำเนินการเรื่องนี้จริงจังมาก  และได้รับความพึงพอใจจากผู้ปกครองนิสิตเป็นอย่างมาก </p><p> </p><p> (นิสิต 2 ท่านกำลังเจรจาเข้าไปรับประทานอาหาร แต่ไม่ได้รับอนุญาต เพราะไม่มี ID การ์ด)</p><p>ระบบนี้เน้นการปฏิบัติที่เข้มงวดของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง  ให้ความสำคัญต่อจิตสำนึกของนิสิตเป็นที่ตั้ง  ไม่จำเป็นต้องลงทุนเม็ดเงินมหาศาลในการใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือเข้าหอพัก   </p><p>ซึ่งบางแห่งใช้ระบบนี้แต่ล้มเหลวสิ้นเปลืองงบประมาณอย่างน่าเสียดาย  ใช้ระบบเทคโนโลยีมาดูแลคน  ไม่เน้นคนดูแลคนดังที่พบใน มศว องครักษ์ </p><p>อีกทั้งระบบ รปภ. ที่มาจากบริษัทเอกชนก็อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การดูแลรักษาความปลอดภัยจริงจังและเข้มงวดเป็นพิเศษ  เพราะมีระบบประเมินการทำงานอยู่เป็นระยะ ๆ  ถ้าผลงานไม่ติดตาต้องใจสถานศึกษาก็มีอันต้องม้วนสื่อไปทำงานที่อื่นกันแทน  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p> (ทางขึ้นหอพักชายที่มีเจ้าหน้าที่และ รปภ. ดูแลเข้มงวด)  </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นี่คืออีกความประทับใจที่เกิดขึ้นกับผม ณ มศว องครักษ์  และผมก็ไม่รู้สึกอึดอัดกับระบบที่เข้มงวดเหล่านี้  ตรงกันข้ามกลับสบายใจ  ไปไหนมาไหนไม่ต้องวิตกกังวลกับสิ่งของในห้องพัก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การป้องกันที่ดี  จึงนำมาซึ่งความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">  </p><p>  อีกทั้งการเข้มงวดกวดขันเช่นนี้ก็ถือเป็นกระบวนการเสริมสร้างและพัฒนานิสิตที่พักอาศัยในหอพักได้เป็นอย่างดี  บรรดานิสิตจะได้เรียนรู้เรื่องระเบียบวินัยและความเป็นกฎเกณฑ์ของการดำเนินชีวิตในบริบทสังคมของตนเอง ซึ่งถึงแม้จะแตกต่างไปจากที่อื่น ๆ บ้างก็ตาม  และเมื่อออกไปสู่ภายนอก  ผลึกความคิดและจิตสำนึกที่เกิดขึ้นในตัวเขา  จะช่วยให้เขาเข้าใจและปรับตัวเข้ากับสังคมได้เป็นอย่างดี  </p><p></p><p>ท่านเชื่อหรือไม่,   ความเข้มงวดดังกล่าวส่งผลให้ชาว มมส หลายคนวิตกจริต ถึงขั้นเดินทางกลับมา มมส ยังเผลอคล้อง ID การ์ดมาจนถึงโคราช  แต่พอสอบถามเพิ่มเติมกลับพบว่ากลุ่มแรกที่เดินทางกลับมาก่อนหน้านั้น  เกือบครึ่งยังคงคล้อง ID การ์ดมาจนถึงมหาสารคามเลยทีเดียว..  มารู้ตัวอีกที ขำ และหัวเราะกันทั้งคันรถ ! </p><p>มันเป็นความเคยตัวอย่างไม่รู้ตัว  เป็นข้อดีในเรื่องวินัยที่เกิดขึ้นอันเป็นผลพวงของการเข้มงวดของฝ่ายรักษาความปลอดภัยจาก มศว องครักษ์   </p><p> </p><p>ขอขอบคุณ  ทีมรักษาความปลอดภัยแห่ง มศว องครักษ์  เข้มแข็ง  เข้มงวด  จริงจัง  และจริงใจ !</p> 

หมายเลขบันทึก: 74470เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2007 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

มาเยี่ยม

มีมุมนำเสนอดีมาก

การตรวจ...ทางภาคใต้เราเห็นเจอจนเคยชินไปแล้วครับ...

คือถ้าไม่มีสิ่งนี้...สิ่งนั้นก็ไม่มี...มันเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันครับ.

  • ท่าทางเข้มงวดจริง
  • ชอบ มศว ครับ
  • เลือดสีเทา แดง สู้ สู้
เห็นด้วยค่ะ ว่า บางครั้งเทคโนโลยีก็ช่วยไม่ได้ค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับการพัฒนานิสิตซึ่งเป็นปัญญาชน มีความรู้ ความคิดและความรู้สึก หรือที่เรียกกันว่า มีจิตวิญญาน
  • สวัสดีครับอาจารย์
    P
    umi
  • เรื่องนี้น่าสนใจจริง ๆ ครับเพราะเพิ่งเห็นมีการเข้มงวดอย่างจริงจัง  หรืออาจเป็นเพราะสถานการณ์ไม่ปกติของบ้านเมืองก็เป็นได้เช่นกัน
  • และจริง ๆ อาจมีอีกหลายเรื่องที่น่าสนใจ เพียงแต่ผมไปกีฬาครั้งนี้ไม่มีโอกาสตะลอนทัวร์เลย  ตื่นตี 5  พานักมวยไปชั่งน้ำหนัก กลับอีกทีเกือบ 4 โมงเช้า  เที่ยงพานักมวยไปแข่งกลับอีกทีก็เย็นย่ำเลยครับ....เลยพลาดโอกาสไปเก็บเกี่ยวเรื่องต่าง ๆ มาฝาก
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับอาจารย์
    P
  • ผมเองก็รัก มศว มาก...ไปครั้งนี้ก็อบอุ่นมากจริง ๆ
  • หอพักที่องครักษ์ ไม่มีชื่อเฉพาะ เรียกกันหอชาย, หอหญิง  แต่ที่ มมส ชื่อหอพักจะมาจากชื่อของอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดมหาสารคาม  เช่น หอพักกันทรวิชัย  , นาดูน , เชียงยืน , กุดรัง , ชื่นชม , ยางสีสุราช,  โกสุมพิสัย
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับเจ้..
    P
  • เช้านี้มาทำงานแล้ว...แต่ก็ยังไม่ได้แวะไปทักทาย
  • จิตวิญญาณ...เห็นด้วยครับ...แต่คงต้องใช้เวลาอีกนาน
  • หอพักที่โน่นปิด 4 ทุ่ม แต่ที่ มมส เราปิด 6 ทุ่มนะครับ
  • รปภ. เข้มงวดมาก  โดยไม่สนใจว่าพฤติกรรมดีจะถูกบิดเบือนนำเสนอในสายตรงฯ 
  • แต่ก็ไม่แน่ใจว่า มศว  มีสายตรงอธิการเหมือน มมส หรือเปล่า
  • สมัยผมมีชื่อเป็นดอกไม้เช่น ปาริชาติ ศรีตรัง ครับ
  • แวะมาขอบคุณครับผม

ระบบนี้ไม่ควรอยู่แค่เฉพาะ หอพัก นศ. และงานกีฬา

แต่ควรอยู่ในทุกระบบ สถานที่

มันคงไม่ใช่เรื่องลำบากอะไร ถ้าเราทุกคนต้องการความปลอดภัย

ขอบคุณกับการเล่าเรื่อง ให้ได้คิดกันครับ 

  • ขอบคุณอาจารย์ขจิต อีกครั้งนะครับ
  • ชื่อดอกไม้เหล่านั้น "คลาสสิค" มากครับ
  • มมส  แยกมาจาก มศว  แทบไม่น่าชื่อต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยยังคงเป็น "ต้นราชพฤกษ์"
  • กีฬาประเพณีระหว่างคณะที่ มมส จึงเรียกว่า "ราชพฤกษ์เกมส์"  ซึ่งตรงกับที่ มศว เรียกการแข่งขันครั้งนี้ว่า "ราชพฤกษ์เกมส์"  เช่นกัน
  • ต้นราชพฤกษ์ คือ ต้นคูน (ในภาษาอีสาน) ดอกเหลืองบานเบ่งในช่วงต้นที่จะเข้าหน้าร้อน ..ผมนึกถึงบุญผเวส นุกถึงขบวนผ้าป่า  นึกถึงสงกรานต์ ..เสมอ  เพราะทุกครั้งที่ดอกคูนบาน ผมจะรู้สึกว่าสิ่งเหล่านั้นกำลังจะมาเยือนอีกรอบ
  • สวัสดีครับอาจารย์ตาหยู
  • ขอบคุณนะครับที่แวะมาทักทาย
  • เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของอาจารย์นะครับ...

"มันควรอยู่ในทุกระบบ อยู่ในทุกสถานที่"

  •       และการใช้คนดูแลคน  ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบในการซ่อมบำรุงเหมือนเครื่องเทคโนโลยี หรือถ้าสามารถปรับมาใช้ร่วมกันได้ก็น่ายินดี
  • ขอบคุณนะครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท