ภาษาอังกฤษและการศึกษา(English and Education)


อยากทราบว่าท่านคิดอย่างไรเกี่ยวกับการศึกษาไทย

  กำลังอ่านหนังสือเกี่ยวกับโครงงาน(Project-Based Learning) และเขียนวิทยานิพนธ์  มาสะดุดตอนพบว่ามีหลายท่านให้คำนิยามไว้อย่างน่าสนใจ  ลองดูอันนี้นะครับ  <p align="justify"> </p><p align="justify"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">      “Tell me, and I will forget. Show me, and I may remember. Involve me, and I will understand.”</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p align="center">    (Confucius around 450 BC)  </p><p></p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify">      อยากแปลครับ แต่ผมแปลไม่ค่อยไพเราะ เดี๋ยวหาคนช่วยแปลดีไหมครับ บางทีเราอย่าคิดว่าที่เราสอนนักเรียนแล้วนักเรียนเข้าใจนะครับ นักเรียนอาจจะฟังเฉยๆให้ผ่านไปวันๆก็ได้  การสอน(Teaching)และการเรียนรู้(Learning) เป็นคนละอย่างกัน  ทำอย่างไรที่จะทำให้สิ่งที่เราสอนแล้วนักเรียนได้เรียนรู้ ฝรั่งเขาเรียกว่า Involve me, and I will understand.    แต่ผมชอบของคนนี้ครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify"></p><p align="justify">   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify">      “The principle goals of education in the schools should be creating men and women who are capable of doing new things, not simply repeating what other generations have done.”</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center">(Jean Piaget, 1896-1980)</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p><p align="justify">       ทำอย่างไรที่จะให้คนรุ่นใหม่ ทำสิ่งใหม่ๆ มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่แต่ทำแต่ในกรอบและระเบียบที่คนรุ่นเก่าทำไว้ บางกรอบและระบบต่างๆเช่น ระบบราชการของเราเก่าและไม่ทันสมัย เชื่องช้า อืดอาด น่าจะทิ้งไปได้แล้ว และทำสิ่งที่สามารถบริการประชาชนให้ได้รวดเร็วกว่าเดิม  ระบบการศึกษาบ้านเราก็เหมือนกัน  มีหลายส่วนน่าจะปรับได้ ถ้าเป็นผู้อ่าน ผู้อ่านคิดว่าน่าจะแก้ไข ตรงส่วนไหนก่อนครับ    (อยากทราบว่าคนรุ่นใหม่ และ สว.คิดอย่างไร)  </p><p align="justify"><div align="center" style="text-align: center"></div></p><p align="center">                                </p><p align="justify"> Moursund, D.G(2006) Computer in Education for Talented and Gifted Students: A Book for Elementary and Middle School Teachers</p>

หมายเลขบันทึก: 74469เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2007 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2013 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สำหรับคนรุ่นใหม่ คิดว่า สิ่งแรกที่ควรแก้ปัญหา คือ ระบบการศึกษาค่ะ เพราะการศึกษาเป็นรากฐานของการทำงานของคนรุ่นใหม่ ถ้ามีพื้นฐานการศึกษาที่ดี การทำงานและบริหารงาน ก็จะดีตามไปด้วย ซึ่งอันนี้ก็ไม่อยากโทษระบบพื้นฐานการศึกษาของบ้านเรานะคะ

เนื่องจากเราไม่สามารถปฎิเสธได้ว่าปัจจุบัน ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาต่างประเทศหลายๆภาษา ที่เป็นภาษาสากลที่ทั้งโลกยอมรับ แต่ไทยยังให้ความสำคัญในส่วนนี้น้อยเกินไป

อันนี้แค่ยกตัวอย่างนะคะ

 

  • น้องแป้นมาอย่างรวดเร็วจนตกใจ
  • คาดว่าเราได้ความคิดดีจากคนรุ่นใหม่ๆอีก
  • ขอบคุณมากครับ

อีกอย่างที่อดบอกไม่ได้นะคะ คือ ระบบการศึกษาไทย และสังคมไทยก็ยังไม่นิยมสอนให้ลูกหลานคิดเอง

  • ขอบคุณมากครับคุณแป้น
  • คงต้องสอนระบบการคิดสร้างสรรค์ด้วยครับมากว่าที่จะสอนผลลัพท์ ควรสอนขั้นตอนในการคิดของการทำงาน

มาเยี่ยม

อ่านแล้ว...นึกถึงคำกล่าวของท่านพุทธทาสภิกขุที่ว่า

การศึกษาคือหมาหางด้วนครับผม...

หวายยยย แวะมาอ่านเจอข้อความของอาจารย์ดร.อุทัย หนิงตกใจเลยอ่ะค่ะ นี่หนิงอยู่กับวงการหมาหางด้วนหรือนี่ ตายหละ แล้วหมาหางด้วนตาบอดนี่ ล้มลุกคลุกคลานซะมอมแมมเลย เราจะทำไงดีหนอ อิอิ ขำขำ ค่ะ

นิวชอบให้อาจารย์ขจิต สอนเรื่องแบบนี้ด้วยคะ  ถ้าอาจารย์ขจิตมีโอกาสเขียนเรื่องประมาณนี้อีกนะคะ  แล้วนิวจะได้เข้ามา comment หรือฝากร่องรอยไว้ด้วยคะ

 

สำหรับความคิดเห็นของนิวนั้น  การที่ให้ผู้เรียนสามารถคิดได้เอง  เป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้น   ทั้งนี้นิวไม่แน่ใจว่า การส่งเสริมให้ผุ้เรียนรู้จักคิดได้เองนั้น  เค้าเรียกว่า  การเรียนรู้อย่างมีความหมาย ?? ใช่หรือเปล่า (อันนี้ต้องให้นักการศึกษามาช่วยเฉลย) 

การเรียนรู้อย่างมีความหมาย  จะช่วยสนับสนุนแรงจูงใจภายในของผู้เรียน  และทำให้ผู้เรียนเกิดความท้าทายที่อยากจะเรียนรู้   แบบนี้จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีการคิดหรือเปล่า  ???

 

บางครั้งการที่มีหลักสูตรที่ดี  เนื้อหาที่ดี  กระบวนการเรียนที่ดี  แต่มันไม่ได้บ่งบอกว่าผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุด   มันต้องมีปัจจัยอะไรบางอย่างเข้ามาช่วยกระตุ้น หรือช่วยส่งเสริมเพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

 

ขอเสริมอีกนิดนะคะ  ปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่า  นักการศึกษาทั้งหลาย  พยายามจะสร้างบทเรียน  หรือออกแบบบทเรียน  ให้สอดคล้องกับลักษณะของผู้เรียน  หรือแม้แต่กระทั้งมีการจัดบทเรียนให้สอดคล้องกับแรงจูงใจภายใน  หรือให้สอดคล้องกับอะไรก็แล้วแต่  ??

ทั้งนี้เราจะเห็นได้ว่า  เราไม่ควรยึดติดกับกรอบการเรียนแบบเดิม  ๆ  ที่ให้ครูเป็นผู้ดำเนินการ  แต่ผู้เรียนจะเป็นผู้ดำเนินการและเลือกเส้นทางการเรียนของตนเอง 

 

อืมม !!  พิมพ์มาซะเยอะเชียวว  ไม่รุ้ว่าจะเข้าใจกันเปล่าเน๊าะ....หรือว่างง ๆ  หว่า  แหะ ๆ นิวเขียนเอง..ยัง งง ๆ เองเลยค๊า....อิอิ...

  • ขอบคุณท่านอาจารย์UMI มากครับที่แวะมาทักทาย
  • พี่หนิงตกใจลยใช่ไหมครับ ผมยังตกใจเลย ท่านพุทธทาสท่านกล่าวไว้จริงๆครับ
  • ขอบคุณพี่หนิงมากครับ
  • ขอบคุณน้องนิวมากครับ
  • รู้แล้วว่าชอบเรื่องแบบนี้ ไม่พอใจเขียนสองความคิดเห็นเลย การสอนทักษะกระบวนการคิดต้องใช้เวลาครับ แต่ข้อสอบบ้านเราเป็น multiple choice ไม่ได้คิดอะไรเท่าไร คนสอบมหาวิทยาลัยได้บางทีก็ทำข้อสอบเก่ง เราสอนเพื่อสอบไม่ได้เพื่อความรู้เลยครับ

 

อ ขจิต

อยากให้ อ ขขจิต เขียนเรื่องเกี่ยวกับ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร โดยใช้เทคนิคการแสดงละครนะคะ เอาแบบเด็กๆ ประถม นะคะ

ช่วยหนูด้วย หนูต้องการข้อมูล

Thanks

กาเหว่า_สวย

  • คำโบราณกล่าวไว้ว่า   ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่  ผูกอู่ตามใจผู้นอน
  • กระบวนการจัดการศึกษา   ก็น่าจะนำแนวคิดนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบการเรียนรู้
  • ยินดีต้อนรับ สู่  มหาชีวาลัยอีสาน   ครับ

อ.ขจิต....

  • แวะมาเยี่ยมค่ะ   กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับนักศึกษาอยู่พอดี  ตอนเราสอนก็คิดว่าเราสอนดีแล้ว  มีสื่อe-learning ให้นักศึกษาค้นคว้า   ให้นักศึกษาลองหัดคิดเอง  หัดเขียนบล็อก  แต่พอตอนสอบ.......(เห็นผลสอบหลายคนแล้วอึ้งเลยค่ะอาจารย์)    สงสัยคงจะต้องคุยกับนักศึกษาแล้วว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน
  • หนูกาเหว่าครับ ครู บัวทองกระไลย เขียนไว้แล้วครับ
  • ลองค้นดูนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ ผอ อยู่ที่นี่สบายดีครับ
  • ขอบคุณครูลูกหว้าครับ คงต้องคุยกับเด็กๆนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท