" ทำยังไง เราจะเพิ่มพื้นที่ป่าให้มากขึ้น " คำถามจากผู้นำชาวบ้าน


" ดีนะ การขยายพื้นที่ ให้มีส่วนร่วม ในการดูแลป่า ทั้งภาครัฐและชาวบ้าน "

    ในวงการพูดคุย ระหว่าง แกนนำชุมชน

 บ้านแสลงพันธ์ กับ อาจารย์จาก

ม.ราชภัฏสุรินทร์ ทำให้มีแนวคิด

จาก อดีตผู้ใหญ่บ้าน ว่า

 

ผมว่า ป่าของเรา มันเล็กไป ...ป่าใหญ่ ที่นี่

มันแค่ร้อยกว่าไร่ ทำยังไง เราจะเพิ่มพื้นที่ป่า

ให้มากขึ้น...

 

พ่อประดับ อดีตผู้ช่วย ผญ.

   ที่มีอยู่ เราไม่ไปทำอะไรมัน ป่ามันก็ทึบเอง

 อยากจะไปปลูก ดูแลในพื้นที่ใกล้ๆนี้อีก

อย่าง ...สวนป่าที่มีแต่ยูคาฯ ของ ออป.

ที่อยู่ติด หมู่บ้านเราน่ะ...

 

พ่อสมบัติ  กรรมการกองทุนเงินล้าน ว่า

   สวนป่า มีแต่ต้นยูคาฯ กลัวว่า ถ้าเราไปขอ

ปลูกอย่างอื่น ชนิดอื่น จะไม่ขึ้น  ยูคา ดูดน้ำ

เยอะมาก

 

สุนันทา ผู้ช่วย ผญ. 

กลัวว่า เขาจะไม่ให้ เราช่วยปลูก

เพราะเจ้าหน้าที่ ก็ชินแต่ดูแลยูคา

เท่านั้น

 

อ.ปุณ    ผมว่า น่าจะดีนะ การขยาย

พื้นที่ ให้มีส่วนร่วม ในการดูแลป่า

 ทั้งรัฐและชาวบ้านถ้า พวกเราทำได้

ก็จะเป็นพื้นที่ตัวอย่างของการทำงาน

ที่มีความร่วมมือกันอย่างดี

 

ผู้ใหญ่ตุ๋ย

  ผมว่า พวกเราทำได้ เราจะไปคุยกับ

สวนป่าดีๆ ...

 

พ่อประดับ

  ใช่ๆ  ผม อยากเห็นมากเลย

เอา ปลูกป่า ปี 50 นี่แหละ เราเอากล้าไม้

หลายอย่างไปปลูกแซมในสวนป่า

 และก็ชวนชาวบ้านไปกันเยอะๆ ห่อข้าว

ไปด้วยไปกินข้าวป่า นั่งกันเป็นแถว

ยาวในป่า

 

พี่ละเมียด อบต.

  โห..พ่อ ปีนี้เลยเหรอ

แล้วจะเตรียมงานยังไง ต้องไปคุยกับ

เขาดูก่อน…”

 

ผู้ใหญ่ตุ๋ย

   งั้น ประชุมกรรมการครั้งต่อไป

ค่อยประชุม เรื่องนี้ต่อ ....

 

       

           

 

           

          

 

 

หมายเลขบันทึก: 74453เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2007 07:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

(^_____^)

แม้แต่การที่จะปลูกป่า...ยังต่อรอ..."ประชุม" นะคะ

แหม...ฟังแล้ว...ก็รู้สึกคันๆ...หัวใจยังงัยพิกลค่ะ...

ปลูกป่า...ปลูกป่า...

จะรอตาม..รายงานการประชุมครั้งต่อไปนะคะ

Y__*

กะปุ๋ม

  • ให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการ คือ กระบวนการที่สำคัญอันจะช่วยให้ป่าคงอยู่  โดยเฉพาะแนวคิดป่าชุมชนนั้นสำคัญมาก
  • กรณีแนวคิดของชุมชนเรื่องป่าลูคาฯ นั้นผมเห็นด้วย มันเป็นภาพสะท้อนที่สะท้อนใจไม่น้อย  ป่าละแวกหมู่บ้านของผม  ซึ่งเดิมใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น เลี้ยงสัตว์  เก็บเห็ด  แต่พอส่วนราชการเอายูคาฯ ไปปลูก  กลับกลายเป็นว่าต้นไม้และหญ้าอื่น ๆ ตายเรียบเลย...

ขอถามแบบคนไม่รู้เรื่องค่ะ

ทำไมการปลุกป่าต้องเข้าไปปลูกที่สวนป่าของอปป.

อปป.คืออะไรคะ

ทำไมที่นั่นจึงมีแต่ยูคาลิปตัส

 

ดีจังคะ คุณกระปุ๋มมาเยี่ยม   ....พอดีพื้นที่  ชาวบ้านอยากขยายไปปลูก เป็นของ ออป.

( องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้)...ประทานโทษ เขียนย่อผิด ( อปป. )

ก็เลยต้องปรึกษากันหลายขั้นตอนน่ะคะ  เพราะ องค์การนี้จะอยู่แบบ ต่างคนต่างอยู่กับ

ชาวบ้านน่ะคะ  ป่าก็เป็นพันกว่าไร่ ดูแลยากด้วย

คนขโมยตัดไม้ก็เยอะคะ  ป่าธรรมชาติลดน้อย มีแต่ป่าปลูก เยอะ ( ยูคาฯ ) น่ะคะ 

หวัดดีคะ คุณแผ่นดิน....เรื่องสร้างกระบวนการกับชุมชน

เป็นเรื่องที่ต้องทำงาน อยู่ในทุกพื้นที่คะ....บางที เราไปนำเขาทำตัวอย่าง หรือ จับมือทำ  อยู่ๆไปเขาก็ทำงานไม่ต่อเนื่อง 

   เวลา อยู่ในหมู่บ้าน ต้องทำงานแบบชาวบ้านคะ

เป็นชาวบ้าน และไปเรื่อยๆยอมรับความคิดเห็น

และค่อยแทรกความคิดไปเรื่อยๆ และหาแนวร่วม

ให้เขา หาโอกาสการเรียนรู้ให้เขา
 

สวัสดีคะ  คุณกันยามาส

         ขอบคุณที่มาเยี่ยมที่นี่ค่ะ......คุณกันยามาส ดีจังคะ

ด ิฉัน เขียนคำย่อผิด น่ะคะ...ต้อง ขอประทานโทษอย่างสูง  ต้องเป็น " ออป. "

ชื่อของ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้.........

( ถ้ามีผู้รู้ ก็ช่วยขยายความ

ให้ด้วยนะคะ ..จริงๆ รู้ไม่เยอะคะ )

ที่องค์การนี้จะให้ สัมปทานป่า บริษัทต่างๆที่มาก็จ่ายเงินรัฐ ค่าเช่าที่ดิน และปลูกต้นไม้ที่เป็นเศรษฐกิจ อย่าง ต้นยูคาลิปตัส

เป็นต้นไม่ที่ทน  ไม่ต้องดูแล โตเร็ว  ขายราคาดี ขายง่าย  เงินดี

แต่เดิมที่นี่ เป็นป่าไม้ที่ มีความหลากหลาย สมบูรณ์

เนื้อที่กว่าพันไร่ แต่ก็ให้ สัมปทานไป  เขาก็จะตัด ไม่ธรรมชาติลง และปลูกไม่ทดแทนก็เลย เป็นป่ายูคา 

 

    ชาวบ้าน อยู่เฉยๆก็ได้คะ   ปลูกป่าชุมชน ดูแลแต่ป่า

เล็กๆของตัวเอง  114 ไร่  ไป..แต่ ในวงประชุม จากที่มีข้อสรุป การทำงานกับป่าเล็กๆ   แล้ว ฮึกเหิม

คะ   อยากทำงานที่ใหญ่กว่านั้น  ก็เลยไปคิดถึง ป่า ที่ไกล ออกไป นิดหนึ่ง   ห่างไปจาก หมู่บ้าน   3 ก.ม.

  แต่เป็นของรัฐ   ก็เลยต้องมีขั้นตอนตามรัฐด้วย

 

     ชาวบ้านก็เหมือนเด็กๆน่ะคะ   ถ้า มีอาการอยากทำงาน แล้วก็ พลังเยอะคะ   ถ้าชาวบ้านอยากทำ  เราก็คอยช่วยคะ

 

     เวที แบบนี้ดีคะ    เขาก็เหมือน ทีมงานในบริษัทๆหนึ่ง ที่มาคุยเพื่อพัฒนางาน

ของตนเอง   เป็นการ ค่อยๆเรียนรู้   และค่อยๆ

สร้างกิจกรรม
 

ขอบคุณมากเลยค่ะ...คุณดอกแก้ว...

เข้าใจแล้วค่ะ...ไม่มีความรู้เรื่องนี้จริงๆ เลยค่ะ

เมื่อตอนหัวค่ำก็เลยนั่งคุยกับพี่เขย...ซึ่งเป็นป่าไม้..

และได้กลับเข้ามาอ่านที่นี่อีกครั้ง...ค่ะ

(^_____^)

กะปุ๋ม

คะ คุณกะปุ๋ม... พี่ที่เป็นป่าไม้จะมีข้อมูลเยอะ..มากกว่าเรา

   ข้อขัดแย้งเื่รื่องป่า เรื่องการดูแล เป็นปัญหา

ห นักมาก  จากอดีตถึงปัจจุบันเป็นเรื่องราว

 แต่ปัจจุบัน

ดิฉันคิดว่า ข้อขัดแย้งเรื่องป่าไม้ที่ดิน ถ้าเราจร่วมกันแก้ปัญหา  ทำอย่างไรที่เราจะสร้าง ความสมานฉันท์ ขึ้นในสัีงคม และมอง ป่า ทุกป่า อย่างความเป็นจริง  ช่วยกันสร้างจิตสำนึกการดูแลอย่างลงราก ถ้าเราตายไป  ขอให้รากนั้นคงอยู่.......

 

ชอบคุณค่ะ คุณดอกแก้ว

ที่ถามนี่คือไม่รู้เรื่องเหล่านี้จริงๆค่ะ 

ทีนี่ขอถามต่อว่า แล้วป่าตรงที่ของออป.นั้น สัมปทานหมดหรือยังค่ะ ถ้าสัปทานหมดเขามีแนวทางจะทำอย่างไรต่อ เปิดประมูลใหม่หรือยังไง

 

เคยไปที่เขาแผงม้า มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าเข้าไปช่วยฟื้นฟูเขาหัวโล้นตรงนั้น จนปัจจุบันสัตว์ป่าเข้ามาอยู่อาศัยแล้ว โดยเฉพาะกระทิงค่ะ

 

จริงๆแล้วพื้นฐานท่านนายกคนปัจจุบันเป็นคนรักป่า น่าจะเป็นแนวทางใหม่ที่ราชการควรปรับเปลี่ยนตามไป

พื้นที่ป่า ก็ยังมีไม้ธรรมชาติ ด้วยคะ  และมียูคาฯ เป็นส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ก็คอยดูแล ยูคาฯค่ะ และก็มีพื้นที่โล่งเป็นหย่อมๆ .....

เรื่องข้อมูลสัมปทาน ว่ายังมีอีกหรือไม่ อันนี้ไม่ทราบ

เลยคะ  ต้องไปที่ สำนักงานป่าไม้ ในเมืองสุรินทร์ หรือ กรมป่าไม้ 

      คะ เขาแผงม้า ดีมากเลยคะ มี มูลนิธิฯคอยดูแลสนับสนุนโครงการ  

     ประเด็น ของชาวบ้าน สนใจแค่ว่า อยากช่วย เจ้าหน้าที่ สวนป่า ปลูกไม้ธรรมชาติ แซม หรือปลูกที่โล่งๆ....ก็คิดว่า ส่งกรรมการไปพูดคุยแบบชาวบ้านคุยกัน ก็รอฟังผลงานของชาวบ้านก่อนน่ะคะ...(ระดับที่หนึ่ง)

      คือ ทุกปี ของ หมู่บ้านนี้ เขาจะปลูกป่าทุก 12 สิงหาคม น่ะคะ  แล้ว เขาก็อยากไปปลูกที่อื่น...เพราะ

ป่าชุมชนของหมู่บ้านก็พอเป็นตัวอย่างได้บ้าง

     และ ตัวแทนอบต. ( องค์การบริหารส่วนตำบล )

ข องหมู่บ้านนี้ ก็จะไปคุย เสนอ โครงการปลูกป่า ที่

สภา ของ อบต.( ระดับที่ สอง ) ด้วยคะ  ที่ว่ารอได้ ...คือ โครงการของชาวบ้านนั้นจะเกิด เดือนสิงหาคม ชาวบ้านจะปลูกป่า ก็ช่วงฤดูฝน 

  

     

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท