การประเมินตามสภาพจริง (14)


การเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสามารถของผู้เรียน ในการประยุกต์ใช้ทักษะที่เรียนรู้มาให้เข้ากับชีวิตจริงและสภาพแวดล้อมที่เป็นบริบท

บันทึกฉบับที่แล้วครูอ้อยเขียนเรื่อง  การวัดผลการเรียนรู้ด้านความรู้  ท่านผู้อ่านสนใจและอ่านได้ที่  การประเมินตามสภาพจริง (13)

ครูอ้อยได้กล่าวในบันทึกที่แล้ว  เรื่อง  การวัดและประเมินผลด้านเจตคติ  (Attitude)  การวัดและประเมินผลด้านนี้  เป็นไปเพื่อการพัฒนานักเรียนมากกว่าการตัดสิน  ทั้งนี้ด้วยความมุ่งหวังว่า  นักเรียนมีข้อบกพร่องในเรื่องความสนใจ  เจตคติ  การเห็นคุณค่า  หรือคุณธรรมจริยธรรม 

ผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือกัน  เพื่อให้ความช่วยเหลือและปรับปรุงแก้ไขทันที  ดังนั้น  การจะได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงของนักเรียนแต่ละคน  จึงต้องใช้เครื่องมือที่หลากหลาย  และเน้นนักเรียนได้ใช้เพื่อตรวจสอบการประเมินตนเอง  หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน  โดยประเมินอย่างต่อเนื่องจนเป็นวิถีชีวิต  เครื่องมือวัดผลที่สามารถนำมาใช้ได้แก่  การสังเกตพฤติกรรม  ซึ่งแบ่งออกเป็น  แบบตรวจสอบรายการ  แบบประเมินค่า  การทดสอบ  แฟ้มผลงาน  

 พอมาถึงบันทึกนี้  ครูอ้อยต้องเขียนรายละเอียดของแบบสังเกตพฤติกรรม  ความจริงครุอ้อยน่าจะสร้างแบบบันทึกพฤติกรรมและนำเสนอ เป็น PDF ให้ท่านผู้สนใจได้ศึกษาอย่างละเอียด แต่เนื่องจากระยะนี้  ครูอ้อยมีภารกิจมากมาย  ซึ่งครูอ้อยรับปากว่าจะทำ  แต่คงจะเป็นระยะหลังจากนี้ไปค่ะ 

1. การสังเกตพฤติกรรม....เป็นการเฝ้าสังเกต ดูแล เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์จากการแสดงออกของนักเรียน  ในช่วงระยะเวลาที่ต่อเนื่อง  แล้วนำข้อมูลที่สังเกตได้มาบันทึกเป็นหบักฐาน  แบ่งออกเป็น

     1. 1 แบบตรวจสอบรายการ  กำหนดพฤติกรรมที่แสดงถึงตัวบ่งชี้คุณธรรมที่พึงประสงค์ไว้ล่วงหน้า  แล้วคอยสังเกตการแสดงออก  ในช่วงเวลาที่ต่อเนื่อง  ตามความเหมาะสม  เพื่อดูความสม่ำเสมอของการแสดงพฤติกรรมดังกล่าวก่อนการสรุปผล  เช่น  การเอื้อเฟื้อ  การเสียสละ 

     1.2  แบบประเมินค่า  ใช้เมื่อต้องการจัดอันดับคุณภาพของพฤติกรรมบางประการที่นักเรียนทุกคนประพฤติปฏิบัติอยู่แล้ว  เช่น  การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา  การทำงานกลุ่ม  เป็นต้น 

2. การทดสอบ .....เป็นการทดสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์  ไม่เกี่ยวกับการตัดสิน  เช่น  การวัดบุคลิกภาพ  โดยใช้แบบทดสอบบุคคล-สังคม  สำหรับตรวจสอบบุคลิกภาพ  และการปรับตัวของนักเรียน  ข้อมูลจากการสอบวัด  จะเชื่อถือได้เพียงใด  ขึ้นอยู่กับแบบทดสอบว่ามีคุณภาพได้มาตรฐานหรือไม่  และมีการควบคุมกระบวนการในการสอบวัดให้ได้มาตรฐานด้วย  ซึ่งผู้สอนอาจติดต่อขอใช้แบบทดสอบของหน่วยงานบางหน่วยงานที่ได้จัดสร้างขึ้นอย่างมีมาตรฐาน 

3.  แฟ้มผลงาน.....ผู้เกี่ยวข้องกับแฟ้มผลงาน  (ผู้สอน  นักเรียน  ผู้ปกครอง)  สามารถตรวจสอบคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยม  ของนักเรียนได้  จากหลักฐานข้อมูลที่สะสมไว้ในแฟ้มผลงานบางประเภท  ได้แก่ 

     3.1  แฟ้มรวมเรื่อง (Comprehension Portfolio)  ที่ได้แสดงความก้าวหน้าและผลสำเร็จในภาพรวมของบุคคล  เช่น  ผลงานที่นักเรียนได้บูรณาการวิชาต่างๆ  หรือเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของวิชา  รวมทั้งนำเสนอประสบการณ์ต่างๆนอกห้องเรียน 

    3.2   แฟ้มสะสมงานหลายชั้นเรียน  (Multi-Class Portfolio)  สำหรับเจ้าของแฟ้มผลงาน  ผู้เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบพัฒนาการเรียนรู้  รวมทั้งคุณธรรม  จริยธรรม  จากผลงาน  หลักฐานที่สะสมไว้ในช่วง 2 ปี  หรือ 3 ปี  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มองเห็นความก้าวหน้า  และเกิดความประทับใจในตนเอง 

    3.3  แฟ้มพหุปัญญา (Multiple Intelligences Portfolio)  เป็นแฟ้มผลงานที่แสดงความหลากหลายทางสติปัญญาด้านต่างๆ  อันเป็นองค์รวม  และคุณธรรม  จากหลักฐานผลงานที่นักเรียนสร้างสรรค์ขึ้น  และคัดเลือกเป็นตัวแทน 

ทั้งหมดที่ครูอ้อยกล่าวมานี้  เป็นการวัดและประเมินผล  การเรียนรู้ด้านเจตคติ  ด้วยการสังเกตพฤติกรรม  การทดสอบ  และแฟ้มผลงาน 

ต่อไปครูอ้อยจะศึกษาและเขียนบันทึกเรื่อง  การวัดผลด้านเจตคติ  ในการสำรวจ..โปรดติดตามค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 74090เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2007 07:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
วันนี้ไปสัมมนาการสอนภาษาอังกฤษ.....วิทยากรได้พูดถึง.....การประเมิตามสภาพจริงบ่อยครั้งมากทีเดียว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท