"เรื่องเล่าจากดงหลวง" 10 ความเชื่อต่อเจ้าที่ของไทโซ่ 2


เราก็พบข้อมูลจาก “หอแก้ว” ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ของจังหวัดที่กล่าวถึงชนเผ่าต่างๆพร้อมประวัติศาสตร์ของเมืองมุกดาหารสร้างโดยท่าน สุรจิตต์ จันทรสาขา ท่านเป็นตระกูลเจ้าเมืองมุกดาหารคนสุดท้าย และเป็นพี่น้องต่างมารดากับท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เราพบหนังสือประวัติเมืองมุกดาหารที่วางขายที่โรงแรมซึ่งเรียบเรียงโดยท่านสุรจิตต์ จันทรสาขา

 

 1.             สิ่งบอกเล่าจากคนนอก: เมื่อจะทำงานกับชาวโซ่ ก็ถามเพื่อนข้าราชการหลายคน หลายหน่วยงาน บางคนบอกว่า....พวกโซ่ดงหลวงเป็นคนป่าคนดง เป็นพวก สกย.  เป็นพวกผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย  เป็นพวกขี้เกียจ  ไม่ยอมรับการพัฒนา  เป็นพวกมีการศึกษาต่ำ มีแต่ขอนั่นขอนี่ ยากจน.....ล้วนแต่เป็นคำที่มองออกไปในทางลบทั้งสิ้น ไม่ได้พูดอะไรที่เป็นศักยภาพของคนในการพัฒนาเลย โดยเฉพาะข้าราชการที่รับผิดชอบพื้นที่อำเภอดงหลวง ??? 

2. กะโซ่คือใคร? สิ่งที่คนนอกบอกเล่ามานั้นเราคัดค้านอยู่ในใจ เพราะเราเห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า คนพัฒนาได้ไม่ว่าจะเป็นคนยากจนที่ไหนก็ตาม จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับเราเมื่อทางโครงการ และ ส.ป.ก.ให้โจทก์มายากๆเช่นนี้ เราก็ไม่รู้สึกอะไร ตรงข้ามกลับชอบ ผู้เขียนกับเพื่อนร่วมงานต่างสนใจเหมือนๆกัน ต่างตั้งคำถามแรกว่า โซ่คือใคร ??? เราต้องรู้จักโซ่ให้ได้ ต่างจึงระดมหาข้อมูลกันทุกทาง แล้วเราก็พบข้อมูลจาก หอแก้ว ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ของจังหวัดที่กล่าวถึงชนเผ่าต่างๆพร้อมประวัติศาสตร์ของเมืองมุกดาหารสร้างโดยท่าน สุรจิตต์ จันทรสาขา ท่านเป็นตระกูลเจ้าเมืองมุกดาหารคนสุดท้าย และเป็นพี่น้องต่างมารดากับท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เราพบหนังสือประวัติเมืองมุกดาหารที่วางขายที่โรงแรมซึ่งเรียบเรียงโดยท่านสุรจิตต์ จันทรสาขา  เราพบรายงานจังหวัดที่มีเรื่องเกี่ยวกับรายละเอียดทั้งหมดของจังหวัดตามแบบฟอร์มราชการที่มีข้อมูลตัวเลขมากมาย   เราจึงทราบที่มาที่ไปของโซ่ดงหลวงพอสมควรตามเอกสาร 

3.  ดงหลวงคือเขตปลดปล่อย: ผู้เขียนนึกขึ้นได้ว่าเคยซื้อหนังสือรวมเล่มของมติชนเรื่องหนึ่งคือ สู่สมรภูมิภูพานเขียนโดย พ. เมืองชมพู  หรือ อุดม สีสุวรรณ หรือบรรจง บรรเจิดศิลป์อดีตคณะกรมการกลาง พคท.  เนื้อหาสาระเป็นการบันทึกความทรงจำของคุณอุดม สีสุวรรณสมัยเป็นผู้นำ พคท. และอาศัยอยู่ในพื้นที่ดงหลวงโดยมีพี่น้องไทโซ่ปกป้องชีวิตและดำเนินการการเมืองภายใต้กลุ่มพี่น้องไทโซ่ เป็นประวัติศาสตร์ดงหลวงช่วงสมัยที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่ง ใครที่ทำงานดงหลวงควรที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วจะเข้าใจ สำนึกของคนดงหลวงได้พอสมควร เพราะโลกทัศน์ และชีวทัศน์ของผู้นำในปัจจุบันยังคงเป็นผลมาจากการอยู่ภายใต้การปกครองของ พคท.  ประมาณ 10-15 ปีก่อนที่นโยบาย 66/25 จะออกมาให้ทุกคนมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย หนังสือเล่มนี้ให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากคนนอกบอกกล่าวเรื่องราวของไทโซ่ เพราะการดิ้นรนต่อสู่ในป่านั้นมันสร้างระบบคิดและวิธีคิดจากไทโซ่ที่เป็นคนป่าคนดงมาสู่ไทโซ่ที่รู้สิทธิอันพึงมีพึงได้จากหน่วยงานราชการ

4. ความเชื่อเรื่องผี เจ้าที่ สมัยอยู่ป่า: พคท.ไม่อนุญาตให้ใครก็ตามพูดคุยหรือแสดงความเชื่อเรื่อง ผี หรือ เจ้าที่ ออกมาเพราะเป็นเรื่องงมงาย ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ และจะทำให้พลังมวลชนไขว้เขว กรณีตัวอย่างสตรีนางหนึ่งที่บ้านพังแดง ผู้เล่ากล่าวว่าเป็นคนหน้าตาดี มีสามีมาหลายคน แต่เป็นคนที่สนใจการเป็น นางเทียมหรือเป็นคนทรง เป็นสื่อให้วิญญาณต่างๆเข้ามาสถิต แล้วทำนายทายทักต่างๆ นางนี้ได้อยู่ภายใต้การปกครองของพคท.เหมือนกับพี่น้องบ้านพังแดงทั้งหมด แต่ยังเข้านางเทียมอยู่ ซึ่งมีพี่น้องไทโซ่จำนวนมากสนใจและมาพึ่งพาการทำนายทายทักของทางเทียมผู้นี้ พคท. ส่งคนมาเจรจาตักเตือนถึง 3 ครั้ง ในที่สุดนางก็ถูกยิงตายคาบ้านพักที่บ้านพังแดง ปัจจุบันลูกสาวนางเทียมผู้นี้ชื่อ ดาว แต่งงานกับ อบต.คนหนึ่งในปัจจุบัน เมื่อพฤติกรรมความเชื่อถูกกดด้วยกติกาของ พคท. เช่นนี้จึงไม่มีใครแสดงออก แต่ลึกๆแล้วชาวไทโซ่ก็ยังเชื่ออยู่ เพราะความเชื่อไม่ได้ถูกล้างด้วยกฎ กติกาใดๆได้ จะเห็นได้จาก เมื่อสิ้นยุค พคท. การแสดงออกของความเชื่อคืนมาทันที เช่นพิธี ก๊วบ, พิธีไหว้เจ้าปู่องค์ดำที่บ้านมะนาว, พิธี 3 ค่ำเดือน 3, พิธีไหว้เจ้าปู่ตาก่อนดำนาและเกี่ยวข้าว, พิธีเหยา และการเข้านางเทียม เป็นต้น 

5  พิธี “ก๊วบ ของไทโซ่: ก๊วบเป็นภาษาโซ่ แปลว่า ครอบพิธีครอบของไทโซ่ที่บ้านพังแดง(รวมถึงบ้านอื่นๆด้วย) นั้นถูกอธิบายว่าเป็นพิธีที่ชาวบ้านแสดงต่อ เจ้าที่ให้รับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในหมู่บ้าน เช่น มีคนเข้ามาอาศัยในหมู่บ้านเป็นระยะเวลานาน  หากมาพักเพียง 2-3 วันก็ไม่ต้องทำพิธีได้ หรือมีสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ เช่น โครงการ คฟป.สร้างระบบชลประทานสูบน้ำด้วยไฟฟ้า พิธีเริ่มจากผู้ที่จะต้องการทำต้องแจ้งต่อผู้นำชุมชน ผู้หลักผู้ใหญ่ในชุมชน ผู้เฒ่าผู้แก่ชุมชน(ขาดไม่ได้) และชาวบ้านทั่วไป(ไม่บอก ไม่เชิญใครจะมาร่วมพิธีก็ยินดี) โดยเฉพาะ ผู้ทำพิธีคือ เจ้าจ้ำ จะต้องบอกกล่าวและปรึกษาหารือรายละเอียดของการจัดงาน เจ้าจ้ำจะสอบถามว่าเนื่องในเหตุอะไร  แล้วเจ้าจ้ำจะไตร่ตรองแล้วเสนอสิ่งที่จะต้องประกอบพิธี ซึ่งมักจะหมายถึงหมูที่จะต้องหามาเซ่น ไหว้ เจ้าที่ ขนาดของหมูใหญ่เล็กขึ้นกับขนาดของพิธี หรือความสำคัญของสิ่งที่ต้องการทำพิธี เช่นเจ้าหน้าที่เข้ามาพักอาศัยในหมู่บ้านคนเดียวก็เอาหมูขนาดราคา 800-1000 บาท แต่ในการทำพิธีระบบชลประทานงานสูบน้ำห้วยบางทรายนั้นใช้หมูขนาดใหญ่ราคา 3000 บาท  เมื่อกำหนด วันดี ได้แล้วผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้นำชุมชนต่างก็มาร่วมพิธีกันพร้อมหน้า(โดยเฉพาะเจ้าโคตรของทุกสายเครือญาติในชุมชน)ที่ ดงเมียง หรือสถานที่อยู่ของเจ้าที่ ของบ้านพังแดงก็มีสถานที่เฉพาะอยู่ทางทิศเหนือของชุมชน ชาวบ้านที่เป็นมือฆ่าหมูก็จะเอาหมูไปทำการชำแหละ เจ้าจ้ำจะจัดขันธ์ห้าคอยทำพิธี เมื่อทุกคนพร้อมเจ้าจ้ำจะประกอบพิธีแรกคือการบอกกล่าวสาระวันนี้ที่มาชุมนุมกันที่นี่ด้วยเหตุใด ขอให้ เจ้าที่ รับรู้  เมื่อการเตรียมอาหารจากหมูเสร็จก็นำชิ้นส่วนไปเซ่นไหว้ พร้อมเหล้าขาว เจ้าจ้ำจะบอกกล่าวให้เจ้าที่กินอาหารที่มาให้อิ่มหนำสำราญ ระหว่างที่เจ้าจ้ำบอกกล่าวนั้น ผู้เฒ่า ผู้นำชุมชนต่างก็พูดเซ็งแซ่กันทุกคนถึงวันนี้วันดี มีเจ้าหน้าที่เข้ามาอาศัยในหมู่บ้าน จะมาทำงานพัฒนาบ้านเราให้เจริญงอกงาม อยู่เย็นเป็นสุข ขอให้เจ้าที่รับทราบและช่วยปกปักรักษาผู้ที่มาอยู่ใหม่ให้อยู่รอดปลอดภัย อยู่เย็นเป็นสุข เสมือนผู้นั้นเป็นคนในหมู่บ้านนี้ เป็นลูกหลานคนบ้านนี้ เป็น เชื้อคำฮด เหมือนคนบ้านนี้ เสร็จแล้วผู้มาร่วมงานทุกคนก็กินข้าวกินอาหารที่ประกอบจากหมูตัวนั้นกันอิ่มหนำสำราญเป็นเสร็จพิธี             

6  ทำพิธีคารวะเจ้าที่ หรือ พิธีก๊วบ ทุกครั้งที่มีเจ้าหน้าที่ใหม่เข้าประจำพื้นที่: เราทำชุดใหญ่ไปแล้ว และเมื่อมีเจ้าหน้าที่ใหม่เข้ามาเราก็ทำเช่นกัน โดย ทุกครั้ง จะให้เจ้าหน้าที่ใหม่นั้นรับทราบถึงวัตถุประสงค์ของพิธีนี้และการปฏิบัติตัวของเขาต่อชุมชน ซึ่งน้องใหม่ก็เข้าใจและไม่รังเกียจที่จะปฏิบัติตัวต่อพิธีกรรมดังกล่าว 

7. เรื่องเล่าขานจากบ้านพังแดง: บ้านพังแดงมีโรงเรียนระดับมัธยมระดับตำบลอยู่ ครูทุกคนที่ย้ายเข้ามาและออกไปจากพื้นที่ต้องทำพิธี ก๊วบ ทุกคน มีครูคนหนึ่งถูกย้ายออกไปประจำพื้นที่อื่น แล้วไม่ได้ทำการ ร่ำลาต่อเจ้าที่ ก็มีอันเป็นไปให้เจ็บไข้ได้ป่วยจนรักษาอย่างไรก็ไม่หาย นึกขึ้นได้ว่าไม่ได้ทำพิธี จึงกลับมาทำพิธีนี้  แล้วอาการเจ็บป่วยต่างๆก็หายไป ??? และมีอาจารย์ใหญ่โรงเรียนแห่งนี้เช่นกันขับรถชนกันตายบนเส้นทางเข้าเมืองมุกดาหาร เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2547 ไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับพิธีก๊วบนี้หรือไม่  นอกจากนี้ใครๆก็เล่าขานกันว่าเรื่องไสยศาสตร์ในพื้นที่ดงหลวงนี้มีอยู่ โดยเฉพาะพี่น้องโซ่ รวมทั้งผีปอบ ผีโพง ต่างๆ แม้วันนี้ก็มีคนป่วยและกล่าวกันว่าเป็นปอบ

หมายเลขบันทึก: 74077เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2007 00:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

เป็นอีกเรื่องดีๆนาคะที่น่าศึกษา

แต่น่าเสียดายที่มีคนให้ความสน

ใจน้อยอยู่มากความดิบของมนุษย์

ของพวกเราถ้าศึกษาให้ถึงแก่นแท้

ก็จะลดความทะยานอยากที่โสมมใน

จิตใจของมนุษย์ได้ด้วยตนเองอะนะ

ดีดีดีดีดีดีดีมากๆๆๆอะที่จะรู้อะไรเจอะๆๆ

อย่าเครียดๆๆๆๆๆๆๆๆฮาๆๆคับ

คนจัดทำคงเวิร์คน้อ

สวัสดีครับคุณวรา

 

มันเป็นพิธีกรรมของชาวบ้านที่เราเข้าไปทำงานแล้วพบเห็น และเข้าร่วมพิธีกรรมนั้นๆด้วยความเคารพและสนใจครับ

มีเรื่องทำนองนี้ก็เล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

บทความทีคุณบางทรายได้ทำขึ้นมาน่าสนใจค่ะ เพราะโดยส่วนน้อยที่คนที่มาพักอาศัยในแถบนั้นจะมองเห็นความเป็นตัวของตัวเองในชาวบ้านแถบนั้น คุณบางทรายคงเป็นอาจารย์สอนที่นั่นใช่ไหมค่ะ คนส่วนมากที่ไปประจำแถบนั้นจะชอบมองเราเป็นคนป่า แต่ไม่เป็นไรค่ะ ส่วนมากคิดไปเช่นนั้น ไม่น้อยใจเลย แต่เราก็ยึดถือปฏิบัติตามธรรมเนียมวัฒนธรรมของเราค่ะ ขอบคุณที่ให้ความสำคัญค่ะ

สวัสดีครับนู๋นิด

  • ผมไม่ได้เป็นครูครับ แม้จะเรียนครู
  • ผมทำงานพัฒนาชนบทครับ วนเวียนที่ดงหลวงอันเป็นถิ่นชนเผ่าไทยโซ่มา 7 ปีแล้วครับ
  • เขาเคารพนับถือผี หรือสิ่งเหนือธรรมชาติอยู่ค่อนข้างมาก
  • คนรุ่นใหม่ออกไปทำงานข้างนอก เหมือนคนชนบททั่วไปที่ยากจน ก็อาจจะมีส่วนที่ทำให้วัฒนธรรมส่วนนี้คลายตัวลงไป
  • มีตัวอย่างที่บ้านหนองหมู ต.พังแดง อันเป็นหมู่บ้านที่เป็นที่อยู่ของผีใหญ่ของตำบล ทุกปีหมู่บ้านต่างๆในตำบลต้องหมุนเวียนกันมาเป็นเจ้าภาพทำบุญ ไหว้ผีที่นี่  คนหนุ่มๆออกไปทำงานกรุงเทพหลายคน เมื่อวัน 3 ค่ำเดือน 3 อีสานจะมีพิธีตาม ฮีต คอง ถ้าเป็นไทยโซ่ก็เรียกตรุษโซ่ มีพิธีต่างๆที่น่าสนใจ ปีก่อน คนหนุ่มจะรวมตัวกันจัดรำวงกลางหมู่บ้าน โดยขออนุญาติผู้ใหญ่ในหมู่บ้านีท่เคารพนักถือกันว่าจะขอจัดงาน เงินที่ได้จะเอาเข้าหมู่บ้าน เคยจัดแล้ววัยรุ่นก็ตีกัน ผู้ใหญ่จึงไม่อนุญาติ แต่ปีที่ผ่านมานั้น ผู้ใหญ่อนุญาติโดยเขาวางแผนมิให้เกิดเรื่องตีกัน  วัฒนธรรม รำวงนั้นเป็นของข้างนอก ไม่ใช่ของไทยโซ่ แสดงว่ามีการนำวัฒนธรรมใหม่เข้าไป... ผมไปสังเกต เห็นว่ามันล่อแหลมที่จะมีเรื่องระหว่างวัยรุ่น ยิ่งกินเหล้าเข้าไปก็ไม่กลัวเกรงกันแล้ว.....
  • ยินดีที่รู้จัดนู๋นิดครับ 

หมู่บ้านมะนาว เป็นสถานที่ฟูลมูนปาร์ตี้ ยาบ้า และกัญชาได้เป็นอย่างดี สนใจเอ๋ยถาม คนชื่อเล่นว่าไรเอเยนต์ใหญ่มีลูกน้องนำส่งให้อย่างดี ปปส.อย่างผมอุตสาห์ลงสืบพื้ที่ตั้งนานแต่ยังไม่ได้ของกลางจำนวนมาก ได้ข่าวมีเจ้าหน้าที่เลวคอยเป็นสายให้ แต่เวรกรรมที่

บ้านไรได้รับมันเยอะมากตกสู่พ่อแม่พี่น้องลูกทั้งครอบครัวของไร มันเป็นเรื่องของกรรมที่หลวงปู่ดำประทานพรให้กับครอบครัวไร ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ขอให้บาปกรรมนี้ตกสู่ครอบครัวไรนาน ลูกเมียใครมันก้อคอยสมสู่โดยให้ยาบ้าเสพ และเล่นของต่ำทำเสน่ห์ใส่ฝ่ายหญิง นรก18คุมคงไม่พอสำหรับไร

คุณปปส ตอนนี้ได้กำนันคนใหม่แล้วครับ เป็นกำนันเคี้ยง จากบ้านมะนาว ผมไม่ทราบว่าที่นั่นคือฟูลมูนปาร์ตี้ยาบ้า กัญชา รู้แต่ว่า กัญชาดงหลวงชั้นหนึ่งเลย ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่าเขาปลุกกันในถุงดำ ซึ่งสามารถโยกย้ายได้  คุณปปส คงรู้ดีกว่าผม 

 

นี่ผมตั้งใจเร็วๆนี้ว่าอยากจะให้ชาวบ้านพาไปดูถ้ำเสรีไทยที่นั่นนะครับ  ว่างๆแวะมาพบกันที่ สปก.มุกดาหารซิครับ

  • สวัสดีค่ะคุณบางทราย แวะมาทักทายค่ะ
  •  ข้อมูลยังแน่นปึกเหมือนเคยนะคะ
  •  ขอให้มีความสุขกับงานที่รับผิดชอบค่ะ

สวัสดีครับเอื้องแซะครับ

คิดถึงครับ ไม่ได้พบกันนานนะครับ

เป็นข้อมูลเก่าครับที่ post ไว้นานแล้ว คุณ ปปส เพิ่งเข้ามาคุยด้วยน่ะครับ

 

ขอให้มีความสุขตลอดไปด้วยนะครับ

อย่างที่คุณบางทรายกล่าวบอกครับ กำนันเคี้ยง อยู่ในกลุ่มสามประสานครับจะหวังอะไรได้ครับ มีครั้งหนื่งตร.สนดงหลวงจับคนในหมู่บ้านนี้ข้อหาจำหน่าย ยาบ้า ผมลงไปตามพบที่ สนดงหลวง รตท. น้องรองนายก อบต.หนองแคน เรียกรับเงิน 15000 เปลี่ยนข้อหาเป็นเสพให้แทน นี้ละครับโจรในเครื่องแบบตำรวจ คนที่โดนโจรในเครื่องแบบตอนนี้พ้นโทษบำบัดยาเสพติดออกมาแล้ว เพราะเขาจ่ายเงิน15000ให้กับ รตท. เบ่งว่าเป็นน้องชายรองนายก แค่อบต.หนองแคน เตือนระวัง คนในพื้นที่ อ.ดงหลวงไม่น่าไว้วางใจครับ

อย่าเชื่อเขาในทันใด ไม่เข้าใจจริงครับว่าทำไมคนพื้นที่ชนบท อ.ดงหลวงจะเป็นอย่างนี้ โกหกเก่ง ทำสิ่งผิดกฎหมายเยอะ เป็นเจ้าหน้าที่โจร

ขอบคุณมากครับ ปปส ที่แบ่งปันข้อมูลครับ

สวัสดีครับคุณบางทราย น่ายินดีครับที่ช่วงนี้กลุ่มข้าราชการ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร เริ่มทำงานปราบปรามยาเสพติดอย่างแท้จริงคงไม่นานครับคนในหมู่บ้านมะนาวจะได้รับการพัฒนาไปในทางที่ดี เลิกทำตัวเป็นกลุ่มชอบประกอบสัมมาอาชีพผิดกฎหมาย

ทราบข่าวด้วยความยินดีครับที่ข้าราชการเราเร่งแก้ไขปัยหาที่เป็นภัยร้ายแรงของสังคมเรานะครับ  ขอบคุณครับที่ให้ข้อมูล

น่าจะปราบปรามให้ยาเสพติดหมดไปจากบ้านมะนาวนะคับ

ผมอยากเห็นคนไทยไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

ยินดีครับที่มีความร่วมมือกันปราบปรามยาเสพติด พิษร้ายของสังคม

ข้อมูลในดงหลวงยังมีที่น่าสนใจอีกเยอะนะครับ ไม่ใช่มีแต่เรื่องทางลบ ว่างๆจะลองเอามาร่วมนำเสนอ ไม่ใช่อะไรหรอกครับ เคยมาทำงานอยู่ที่ดงหลวงหลายปี พอรู้อะไรดีๆก็อยากมาแจมด้วยเท่านั้นเอง

ผมคิดว่าข้อมูลเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องทางลบครับ ผมเองไม่คิดว่าลบครับ หากเป็นไปได้กรุณาแนะนำตัวให้ผมรู้จักหน่อยครับจักขอบคุณมากครับ

ตอนนี้มีนักศึกษาปริญญาโทกำลังจะเข้าไปทำการศึกษาพื้นที่นี้ คุณอาจจะช่วยให้ข้อมูลได้มากครับ

ข้อความคุณ ปปส. หนักมากสำหรับคนสีกากี (ตำรวจ) เครื่องแบบอาจทำให้ลืมหลงบ้าง เปลี่ยนแปลงพัฒนาได้ครับ การสร้างเงื่อนไขสงครามนั้น ระดับนี้น่าจะเข้าใจความหมาย สำหรับคนไทยโซ่ดงหลวง ยังรักธรรมชาติ เรียบง่ายเช่นเดิม ยังถูกเอาเปรียบอย่างเคย (พอมีให้เห็น) แต่ผมก็รักคนดงหลวงครับเพราะมีญาติ ชาวภูไทย มีเพื่อนเรียน และผองเพื่อนร่วมอุดมการณ์เดียวกัน

ผมเคยเข้าไปสำรวจบ้านมะนาว ซึ่งครั้งหนึ่งเป็นสถานที่ตั้งอโรคยาอาศรม รักษาผู้ป่วยเอดส์และอื่นๆ เพื่อนผมชื่อสมภพ ซึ่งเป็น ส.ก็เคยมาใช้ชีวิตที่นี่ ตอนนี้อาศณมเลิกไปนานแล้ว ผมแวะเวียนมาที่บ้านมะนาวบ่อยเพราะเป็นที่ตั้งของเจดีย์เจ้าปู่องค์ดำที่พี่น้องไทโซ่เคารพนับถือยิ่งนัก ผมศึกษาประวัติท่านและเฝ่าดูความเชื่อของพี่น้องโซ่ หากเดินทางเข้าไปหุบเขาบ้านมะนาวทางด้านทิศเหนือ เป็นที่ทำกินขอวชาวบ้านและหลบลี้จากถนนเปรมพัฒนาเข้าไปอีกลึก ตรงนั้นอาจเป็นพื้นที่การค้ายาเสพติดก็ได้ ผมเดาเอานะครับ แต่เรื่องนี้ทางราชการรู้ดีครับ นายอำเภอคนปัจจุบันเป็นนักพัฒนา เป็นคนดีมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท