ผมใช้บล็อกในการสอนอย่างไร


ผมได้นำเรื่องที่มีโอกาสใช้มากๆมาลงก่อน และเรื่องอื่นๆตามลงมา และได้ดูสถานการณ์ว่าเรื่องใดควรจะลงจังหวะใด เพื่อไม่ให้พลาดหลักการทางวิชาการในการสอนของผมในทุกระดับ ตั้งแต่ปริญญาตรี โท และเอก
 ผมมีความตั้งใจที่จะใช้บล็อก Gotoknow ในการสอนของผมในทุกระดับ ตั้งแต่ปริญญาตรี โท และเอก 

ผมได้กำหนด

 

·        หัวข้อประเด็นหลักที่ผมจะต้องสอนอยู่แล้ว

 

·        นำมาเรียบเรียงไว้ในการเขียนเล่าเรื่อง

 

·        เป็นตอนๆ แต่จะไม่เรียงกัน

 

·        เพื่อไม่ให้เป็นที่สังเกตและน่าเบื่อหน่ายของบุคคลทั่วไป ที่เหมือนการอ่านตำราเรียน ที่น่าเบื่อ

 

·        ได้พยายามเน้นการแจงประเด็นทีละเรื่องในวิชาที่ผมต้องสอน

 

·        ที่เหลือให้นักศึกษาไปค้นเพิ่มเติมเอาเอง

  

โดย

 

·        การเปิดประเด็นในห้องเรียน

 

·        แล้วค้นหาหัวข้อที่ใกล้เคียงที่สุด

 

·        บรรยายตามสาระในเอกสาร

 

·        ตอบประเด็นที่ฝากไว้ และที่ถามในห้องเรียน

   

ผมได้นำเรื่องที่มีโอกาสใช้มากๆมาลงก่อน และเรื่องอื่นๆตามลงมา และได้ดูสถานการณ์ว่าเรื่องใดควรจะลงจังหวะใด เพื่อไม่ให้พลาดหลักการทางวิชาการ

 

โดยเน้น

 

·        หลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง

 

·        ปัญหาการพัฒนา ในระดับต่างๆ

 

·        การใช้การจัดการความรู้ในการทำงาน

 

·        ทางออก ทางเลือก

 

·        ความเห็นของนักปฏิบัติ นักวิชาการ และข้าราชการสายต่างๆ ให้นักศึกษามั่นใจว่าประเด็นน่าจะใกล้เคียง สิ่งที่เป็นจริงมากที่สุด

  

เมื่อเริ่มต้นสอน ผมจะนำเสนอกรอบแนวคิดนำทาง ก่อนการให้นักศึกษามีโอกาสเข้าอ่าน และค้นคว้าเพิ่มเติมให้ครอบคลุมทั้ง

 

·        ครูคน (จากผม)

 

·        ครูธรรมชาติ (จากระบบที่ตนเคยเห็นมา)

 

·        ครูเครื่อง (จากระบบฐานข้อมูลต่างๆ)

  

จากในบล็อกจะสามารถตรวจสอบพฤติกรรมการอ่านการเรียนของนักศึกษาได้ และสามารถสะท้อนให้ผู้เรียนเห็นความจริงจังกับการทำงานแบบต่อเนื่องของผม ตามหลักการของ

 

·        บอกให้รู้ 

·        ทำให้ดู

 ·        อยู่ให้เห็น

·        เย็นให้สัมผัส 

ผมเชื่อว่านักศึกษาส่วนใหญ่คงจะได้รับบทเรียนที่เป็นตัวอย่างที่ผมทำให้ดูจริงๆ

แต่ใครจะปฏิบัติได้หรือไม่ ก็คงต้องดูกันต่อไปสักพัก 

ขอบคุณครับที่ติดตาม

 

หมายเลขบันทึก: 74069เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2007 00:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
เข้ามาเรียนรู้การสอนค่ะอาจารย์
ขอบคุณครับ อาจารย์ลองใช้ดูนะครับ ลดภาระการเตรียมสอนไปมากเลยครับ
บันทึกนี้มีสองอัน รบกวนท่านอาจารย์ลบออกอันหนึ่งได้ไหมครับ สงสัยว่ากดสองครั้งครับ

ท่านเล่าฮู ครับ

บันทึกนี้ขอคาระวะ 3 จอก

เพราะมีคนสงสัยมากว่า เราใช้บล็อกเพื่อการเรียนการสอนอย่างไร? จำไม่ผิดเคยมีคนถาม

ท่านเล่าเปผ้นขั้นเป็นเข้าใจง่าย ถ้ามีการใช้ระบบนี้มากขึ้น การศึกษาไทยจะมีชีวิต ตัวหนังสือจะกระโดดออกมาสู่หน้าจอ แล้วกระโดดไปยังจอคอมฯของคนโน้นคนนี้

นานๆไปมันก็จะวิ่งไปรอบโลก ไม่รู้กี่พันก็หมื่นรอบ ไม่ต้องไปจารึกไว้ในศิลาเหมือนคนสมัยใหม่ก่อน

ยังดีใจแทนลูกศิษย์ที่นั่งเรียนในภาพ ถ้าเป็นมนุษย์ที่พร้อมเรียน เขาจะโลดทะลึ่งขึ้นจากวิธีการสอนแบบเก่า ที่เฉาเหี่ยวเหมือนมะเขือเผา สอนแบบมะเขือเผา..จะสนุกตรงไหน

  • ผมเห็นว่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เสริมทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์  สังเคราะห์ ให้ผู้เรียน
  • ถ้าผู้เรียนทุกคนทำการบ้านมาดีๆจะเรียนอย่างสนุกสนาน

จากประสบการณ์อันน้อยนิดของผม เกี่ยวกับการใช้บล็อกในชั้นเรียน บรรยากาศมันคล้ายๆ กับการสัมมนาครับ คือไม่ต้องเป็นทางการ ไม่ต้องอ้างอิงหลักฐานทางวิชาการให้ถูกต้อง สมบูรณ์ (แต่ก็ต้องบอกว่าเอามาจากไหน) วิธีการเขียน ก็เหมือนพูดกันในชั้นเรียนสัมมนา ใช้ภาษาพูดกันเลย มีหยอกล้อกันได้

ข้อดีที่ผมเห็นจากการ(บังคับ)ให้นักเรียนเขียนบล็อกคือ ได้มีการคิดต่อ คิดใหม่ และแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างกว้างขวาง นอกเหนือจากในชั้นเรียนครับ เพราะการเขียนทำให้เราได้หยุดคิด ซึ่งต่างจากในชั้นสัมมนาที่ต้องคิดเร็วพูดเร็ว บางคนมีเรื่องจะเล่าให้เพื่อนฟังในชั้น แต่จำไม่ได้หมด ก็สามารถไปหาเพิ่มเติมแล้วมาบล็อกภายหลังได้

ข้อเสียคือถ้ามีนักเรียนสักยี่สิบคน ทุกคน(ควรจะ)ตามอ่านความคิดของเพื่อนร่วมชั้นทุกคน ก็หมดวันกันพอดี ที่ผมประสบมาโดยตรงคือ นักเรียนจะเริ่มมีกลุ่มเฉพาะ แล้วก็เข้าไปตอบบล็อกของเพื่อนบางคนเท่านั้น ส่วนบางคนเขียนไป ไม่มีใครอ่าน

ผู้สอน หรือ ครูคน (ในความหมายของอาจารย์ ดร.แสวง) จึงมีความสำคัญที่สุดในการใช้สื่อนี้ (ผมว่าใช้สื่ออะไร ครูคนก็สำคัญที่สุดนั่นแหละครับ) นั้นคือ

ก่อนสอน - จะต้องกำหนดกฏให้ชัดเจน เช่น จะต้องตอบเพื่อนห้าคนต่อสัปดาห์ ต้องตอบอย่างมีสาระ ไม่ใช่ "เราเห็นด้วย" หรือ "เขียนดี ขอบคุณนะ" อะไรแบบนี้ไม่นับ ต้องมีการดึงข้อมูลมาสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ครูเครื่อง หรือครูธรรมชาติ

เริ่มสอน - ก็ต้องคอยเข้าเยี่ยมชมบล็อกนักเรียนว่าเขียนกันเป็นอย่างไร คอยกระตุ้นให้นักเรียนคิดต่อ เช่นนักเรียนเขียนว่า "หนูว่าการบล็อกดีจัง" ก็ถามต่อไปว่า "ดียังไง? แล้วดีกว่าสื่ออื่นไหม?"

หลังสอน - ก็ควรให้นักเรียนประเมินผล ว่าตัวเองคิดยังไงกับการบล็อก เพื่อนำมาพัฒนาต่อไป ทั้งตัวนักเรียนและครูคน

ผมรอติดตามห้องเรียนเครื่องของท่านอาจารย์ ดร.แสวงด้วยใจระทึกครับ

ต่ออีกนิดนะครับ

ในประเด็นการตกแต่งบล็อก หรือการใส่คำบรรยายของเจ้าของบล็อก ซึ่งสื่ออื่นเช่นกระดานสนทนา หรือการแช็ตออนไลน์ทำไม่ได้ เป็นเรื่องที่จะสนับสนุนการมีตัวตนของนักเรียนได้ด้วย นักเรียนสามารถเล่าความคิด ความสนใจ ประสบการณ์ของตัวเองให้เพื่อนร่วมชั้นฟังได้

เพื่อนรู้ว่าเราชอบอะไร สนใจประเด็นไหน ถ้าเขาไปเจอเรื่องราวเหล่านั้นก็จะมาบอกต่อกัน

นับเป็นประเด็นที่ทรงพลังมาก (ในความคิดของผมนะครับ) เพราะเราเรียนทีละยี่สิบหัว ช่วยกันเรียน ช่วยกันหาข้อมูล มันแตกกิ่งก้านสาขาไวกว่าเรียนหัวเดียวเยอะครับ

ขอบคุณครับอาจารย์วสะ

ผมยังไม่ได้ก้าวไปถึงขั้นนั้นหรอกครับ

ตอนนี้ก็แคให้อ่านและแสดงความเห็น เพื่อจะให้ทุกคนเริ่มคิด และมีคำถามบ้าง

 นักศึกษาไทยไม่ค่อยถามครับ

ใช้วิธีนี้ได้ผลพอสมควรครับ

 

เข้ามาอ่านเอาความรู้ครับ สรุปว่าบล็อกนี้เวิร์คมากๆสำหรับเป็นสื่อในการเรียนรู้ทั้งในโรงเรียน นอกโรงเรียน และตามอัธยาศัย ตามอาจารย์ ดร.แสวง ไปอ่านบันทึกนี้ ด้วยครับ

อ.ดร.แสวง ครับ

              ขอบคุณครับที่ไปให้ความเห็นที่มีประโยชน์ไว้ในบันทึกนี้

ไม่มีปัญหาครับ ด้วยความยินดีครับ

ผมทึ้งในความสามารถของอาจารย์มากครับ ที่สามารถเปลี่ยนความคิดผมแต่ก่อนได้
ขอบคุณครับที่นำมาแบ่งปัน
   ผมเคยพูดเรื่องนี้ในมุมมองของตัวเองไว้บ้าง ในบริบทที่แตกต่าง และกลุ่มนักศึกษาที่มีพื้นฐานต่างกันมาก ที่บันทึก นี้ และ นี้  ครับ
   ปัจจุบัน ผมย้ายไปใช้ learners.in.th เพื่อสื่อสารเรื่องที่เรียน - สอน ส่วนที่ GotoKnow ก็ให้เขาเปิด Blog เป็นโลกส่วนตัวเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเสรี ใครทำได้ และทำดีก็มีแต้มพิเศษให้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท