ข้อสอบ MCQ และการวิเคราะห์ ๒


กลับไปเริ่ม ข้อสอบ MCQ และการวิเคราะห์ ๑

เอกสารอ่านเพิ่มเติม (update 3 ธ.ค. 2551)

โครงสร้างของข้อสอบ MCQ  แบบ 1 best choice ประกอบด้วย

  1. Item: ข้อสอบทั้งข้อ  ( 1 ข้อ เรียกว่า 1 item)
  2. Stem: โจทย์ 
  3. Lead-in: ตัวคำถาม
  4. Answer set / Option / Alternatives: ชุดคำตอบ, ชุดตัวเลือก ทั้งชุด ซึ่งแบ่งเป็น
    1. Key answer: คำตอบที่ถูกต้อง
    2. Distractor / Foils: ตัวลวง

หลักในการสร้างข้อสอบ MCQ

  1. ต้องสามารถวัดผลการเรียนรู้ที่สำคัญ : อย่าสอบตามที่สอนทั้งหมด ต้องเลือก contet ที่สำคัญออกมา
  2. ต้องวัดในสิ่งที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของแต่ละวิชา : โดยอาจารย์ต้องเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละวิชาก่อน แล้วนำเนื้อหากับวัตถุประสงค์มาทำ Table of Specification อาจารย์ต้องแบ่งข้อสอบตาม Table of Spec  ไม่ใช่แบ่งจำนวนข้อสอบตามชั่วโมงที่ Lecture    
  3. เนื้อหาต้องเหมาะสมกับระดับผู้ถูกทดสอบ : หรือเรียกว่ามี construct validity ในกรณีที่บางสาขาสอนเด็กต่างขั้นปีด้วยเรื่องเดียวกัน  ไม่ควรใช้ข้อสอบชุดเดียวกันสอบทุกชั้นปีที่สอน ต้องเลือก content ให้เหมาะกับพื้นความรู้ของเด็กแต่ละชั้นปี 
  4. ข้อสอบแต่ละข้อควรเป็นอิสระจากกัน : อย่าถามคำถามโยงกันที่หากตอบข้อ 1 ผิด ทำให้ข้อ 2 ผิดตาม ความอิสระจากกัน จะทำให้ครอบคลุมเนื้อหาได้มากกว่า ไม่เทไปเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
  5. เรียงลำดับจากข้อง่ายไปหายาก : จะเรียงได้ก็ต้องประเมินข้อสอบก่อนว่าข้อไหนยาก ข้อไหนง่าย ซึ่งเราเรียกว่า วิเคราะห์ข้อสอบ เราควรวิเคราะห์ข้อสอบก่อน  อย่าเพียงนำข้อสอบของผู้สอนแต่ละท่านมาเรียงต่อๆ กัน 
  6. ความยาวต้องเหมาะสมกับเวลาที่กำหนดให้ทำ มีเวลาเผื่อสำหรับการทบทวน โดยปกติควรใช้เวลาทำนาน 1 นาที ต่อ 1 ข้อ ดังนั้นถ้าสอบ 1 ชั่วโมง (60 นาที) ก็ควรออก 50 ข้อ เหลือ 10 นาทีให้ทบทวน  ถ้าอาจารย์ไม่สามารถนำไปทดลองจับเวลาทำกับเด็กได้เพราะกลัวข้อสอบรั่ว ก็อาจให้อาจารย์ด้วยกันลองทำดู อาจารย์มักใช้เวลาประมาณ 2/3 ของเด็ก ดังนั้น ถ้าอาจารย์ใช้เวลา 1 นาที แสดงว่าเด็กจะทำไม่ทัน
  7. จำนวนข้อสอบที่จะให้ความเที่ยงสูงคือ 80 ข้อขึ้นไป ดังนั้น โดยทั่วไปก็จะใช้จำนวนข้อสอบ 100 ข้อ ในเวลา 2 ชั่วโมง
  8. ความยากง่ายพอเหมาะ : ซึ่งควรมีสัดส่วนดังนี้  ง่าย 25%, ปานกลาง 50%, ยาก 25%  (ยาก 25% เอาไว้จับช้างเผือก) จะวัดความยาก-ง่าย ก็ต้องด้วยการ วิเคราะห์ข้อสอบ  แต่ถ้าเป็นข้อสอบ complehensive ไม่ควรใช้ข้อสอบที่ยาก เพราะเราไม่ต้องการจับช้างเผือก แต่เราต้องการวัดสิ่งที่เด็กต้องรู้  โดยออกข้อสอบที่ง่าย ถึง ปานกลาง และข้อสอบที่ง่าย ไม่ควรมากกว่า 25% เพราะข้อสอบที่ง่ายเกินไปก็จะไม่สามารถแยกแยะประเมินผลได้
  9. ไม่ควรสร้างข้อสอบที่โจทย์สั้น แต่คำตอบยาว  ข้อสอบที่ดีโจทย์ต้องยาว คำตอบต้องสั้น

ต่อ ข้อสอบ MCQ และการวิเคราะห์ ๓

หมายเลขบันทึก: 73855เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2007 07:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 00:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
สวัสดีครับอาจารย์มาลินี แวะเข้ามาทักทายเลยได้ทราบหลักทั้งเก้าข้อไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ชอบรูปที่ใส่ไว้ด้วยครับ ...ขออนุญาตนำรูปไปใช้ได้ไหมครับ?

          ได้แน่นอนค่ะ  ก็อาจารย์เคยบอกว่า ยิ่งให้ยิ่งได้ไม่ใช่เหรอคะ  อย่างนี้ต้องโลภมากไว้ก่อน..... : )

ชื่นชมกับอาจารย์มากได้ความรู้มากค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท