beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ย้อนรอยผู้ประสบอุทกภัยที่บ้านด่านนาขาม


มีภาพปัจจุบัน, อนาคต และ อดีด..

   เอาภาพ panorama มาให้ชมก่อนครับ..ก่อนเล่าเรื่อง ชมภาพกันได้เลย (แบบว่าใช้เทคนิค..ไม่ใช้โปรแกรมแต่งภาพแบบ Photoshop เลยได้ภาพออกมาไม่สวย..เน้นใช้งานมากกว่าครับ

 

panorama บ้านใหม่ประชาชนที่ประสบอุทกภัย
ภาพที่ ๑ อนาคตของผู้ที่ประสบภัยจากน้ำบ้านเรือนหายไปทั้งหลัง
ต้องมาอยู่ที่นี่ (บ้านหัวฝาย) ส่วนหนึ่ง จำนวน ๑๕ หลังครับ..
(เข้าใจว่าสร้างให้โดยมูลนิธิชัยพัฒนา)

   ต่อไปเป็นเรื่องเล่าครับ...

  •  เช้าของวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๐ เวลาประมาณ ๘.๓๐ น. ผมกับอาจารย์วิบูลย์ ลงจากรถทหาร (เป็นคร้งแรกที่เราใช้รถบัสทหาร 2 คัน ขนชาวโมบายไปออกหน่วยฯ เนื่องจากรถบัสคณะแพทย์ ที่ใช้เป็นประจำ ยางรถเสื่อมสภาพ ไม่สามารถใช้เดินทางไกลได้) ไปถ่ายรูปเต้นท์ที่พัก ของผู้ประสบภัยจากน้ำ (ภาพชุดที่ ๑)
  • ระหว่างที่เรากำลังเก็บภาพ ลุงสวัสดิ์ (ภาพที่ ๕ ในชุดที่ ๑) สุทธิกรณ์ อายุ ๖๕ ปี กับป้าลิ้ว สุทธิกรณ์ อายุ ๗๓ ปี (ผมสงสัยว่าทำไมอยู่บ้านเดียวกัน และใช้นามสกุลเหมือนกัน..สังสัยว่าจะเป็นคู่กัน จึงถามแบบอ้อมๆ และได้คำตอบว่าเป็นสามีภรรยากันจากปากคุณป้าลิ้ว..ที่ตอบแบบยิ้มๆ) ก็ออกมาเล่าเรื่องราวเชิงคำอุทธรณ์ เล็กน้อย
  • ลุงสวัสดิ์จะออกไปทำงาน..เรื่องเล่าจึงออกจากปากป้าลิ้ว...มาอยู่ที่เต้นท์นี้ ๘ เดือนแล้ว...คุณสองคนจะลองเข้าไปอยู่ในเต้นท์ไหม...กลางคืนมันหนาวเหน็บ...ส่วนกลางวันมันร้อน..เหมือนเตาอบอยู่ไม่ได้ ต้องไปอาศัยอยู่ตามร่มไม้นอกๆ แถวนี้
  • บ้านเราอยู่ 6 คน เสียหายบางส่วน พอมาอยู่เต้นท์อยู่ได้ ๒ คน ที่เหลือไปอาศัยบ้านญาติอยู่..ทางการ (ราชการ) ว่าจะให้เงินค่ารื้อถอน และให้ไปปลูกบ้านใรที่จัดหาให้...จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้เงิน...เราต้องทนอยู่ที่นี่ตั้ง ๘ เดือนมาแล้ว..คุณลองเข้าไปอยู่ในเต้นท์ไหม (ป้าแกคะยั้นคะยอให้เข้าไปอยู่เป็นคำรบสอง..ท่านอาจารย์วิบูลย์ทนการรบเร้าไปไหวก็เปิดเต้นท์เข้าไป..เปล่า..ไม่ได้เข้าไปอยู่หรอกครับ...เข้าไปถ่ายภาพว่าป้าแกมีสมบัติอะไรอยู่ในเต้นท์บ้าง..ไม่ทราบว่าจะได้ชมภาพจากกล้องของท่านไหม)
  • หลังจากเก็บภาพกันพอสมควรแล้ว..เราก็กลับมาที่ภัตตาคารของโรงเรียน เพื่อมาทานอาหารเช้า..และมีการชักชวนทีมงาน.."ย้อนรอย" เพื่อไปบันทึกภาพ..และเก็บเกี่ยวเรื่องราว "สกู๊ปชีวิต" ของผู้คนบ้านด่านนาขาม ที่ประสบชตากรรม "ภัยจากน้ำ"
  • หลังอาหารเข้า ทีมงานของเรา ๓ คน ประกอบด้วยท่านอาจารย์วิบูลย์, คุณบุญเลิศ จักร์เพชร, และผม beeman ก็ออกเดินทางไปยัง..บ้านอนาคตของพวกเขา (ภาพที่ ๑ และภาพชุดที่ ๒)
  • ถ้าดูจากภาพที่ ๑ และภาพที่จะมาประกอบภายหลัง จะเหมือนกับภาพของบ้านจัดสรรเลยครับ...วิวถ่ายภาพก็ดูออกจะสวย..แต่ถ้าเป็นกลางวันก็จะร้อนชมัดเลย..ต้องใช้เวลาสัก ๒-๓ ปีจึงจะร่มเย็นเป็นสุข...ท่านอาจารย์วิบูลย์เขาไปดูบ้านใกล้ๆ รู้สึกว่ามันเล็กมาก..ไม่เหมาะกับการอยู่เป็นครขอบครัวใหญ่ แต่ทางการเขาก็ให้พื้นที่ในการขยายบ้านออกไปคนละ ๑ งาน
  • ภาพที่ ๑ นี้ เขาปลูกบ้านให้ ๑๕ หลัง สำหรับ ๑๕ ครอบครัวที่บ้านถูกน้ำพัดไปทั้งหลัง (จากจำนวนทั้งหมด ๓๖ หลัง) ตรงจุดที่เราไปถ่ายทำ เรียกว่า "บ้านม่อนหัวฝาย" จะมีบ้านที่ทางการสร้างให้ ๑๕ หลัง และที่เหลือได้กันพื่นที่สร้างบ้านไว้ให้ พร้อมทั้งจัดสาธารณูปโภค เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปาไว้ให้ (ศัพท์เทคนิคเขาเรียกว่า Infrastructure)
  • อีกแห่งหนึ่ง (เป็นคล้ายๆ หมู่บ้านอพยพ) ซึ่งมีลักษณะการจัดการคล้ายกัน เรียกว่า "บ้านม่อนทุ่งช้าง" (แต่เราไม่ได้ไป)
  • พอเราถ่ายทำที่นี่ (อนาคต) เสร็จ เราก็ไปถ่ายทำที่ภาพอดีต (ส่วนภาพปัจจุบันเราถ่ายกันก่อนทานข้าวเช้าไปแล้ว)
  • ตรงภาพอนาคตนี้เราเดินทางไปโดยรถจักรยานยนต์ ๓ คัน โดยมี อปพร. เป็น พขร. ส่วนภาพอดีตนั้นเราไปโดย on feet..
  • ตรงภาพอดีต..เราไปตามถนนและข้ามลำธารไปดูบ้านที่ถุกพัดไปทั้งหลังและถูกพัดไปบางส่วน รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๒๐ หลังนะครับ...แต่เป็นภาพหลังเหตุการณ์ที่ผ่านไป ๘ เดือนแล้ว...
  • ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ต่อ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙..น้ำป่าได้ไหลเข้ามาใน    หมู่ที่ ๕ กับ ๑๑ บ้านด่านนาขาม
  • ..มันมาตอน ๒ ทุ่ม...พวกเราเข้าใจว่าน้ำคงขึ้นเท่านี้..พวกเราช่วยกันเก็บของ...แม้ว่าจะมีการเตือนให้ขึ้นไปที่สูง แต่พวกเราห่วงของก็ช่วยกันเก็บ...และอยู่เฝ้าของ...พอช่วงตีสอง น้ำก็พัดพาพวกเราไป...(หายและตายไปรวม ๘ ศพ..พบศพทั้งหมด)
  • บางบ้านก็ไปเกาะต้นมะขามอยู่ ๔ คน พ่อแม่ลูก...
  • ทางพวกเราส่วนมากต้องการสร้างบ้านในที่เดิม...แต่บางคนต้องย้ายเพราะพื้นที่เดิมเสี่ยงอันตราย...
  • พวกเราต้องการเงินมาย้ายบ้าน...และจ้างแรงงานชาวบ้านในการสร้างบ้านใหม่....ฯลฯ...และนี่คือเสียงสะท้อนจากชาวบ้าน...ครับ
  • เชิญชมชุดภาพย้อนรอย...ต่อไปนี้ 

ภาพชุดที่ ๑ : ที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน
                        (อยู่มาแปดเดือนแล้ว)
                       

เต้นท์ที่พักที่ประสบภัย รถทหารและป้ายบอกทางแม่เฉย-ม่อนหัวฝาย 
เข้าใกล้..เต้นท์ที่พักของผู้ประสบภัย
อ.วิบูลย์กำลังคุยกับลุงสวัสดิ์ ลงสวัสดิ์, ป้าลิ้ว และเพื่อนบ้าน (เสื้อแดง)
ป้าลิ้วเชิญอ.วิบูลย์เข้าไปเยี่ยมชมบ้าน อีกมุมหนึ่งของเต้นท์
รถของหน่วยทันตกรรม อ.วิบูลย์ขอความอนุเคราะห์รถจากนายกอบต.ให้ไปส่งที่บ้านม่อนหัวฝาย
   

                ภาพชุดที่ ๒ : ที่อยู่อาศัยในอนาคต

จุดเริ่มต้นที่รถ.ไปจอด เห็นที่จ่ายน้ำประปา พาหนะ ๓ คัน พร้อมพลขับ อปพร.
ภาพบ้านใหม่..จากมุมสูง มุมภาพบ้านใหม่ต่อมา
ทีมอปพร. ระหว่างรอทีมอาจารย์ อีกภาพหนึ่ง..แสดงภาพวิวด้านหลัง
ภาพมุมบนอีกชุดหนึ่ง
ดินลูกรังและถนนสร้างใหม่บ้านม่อนหัวฝาย
มุมล่าง ที่เห็นบ้านเรียงตามแนวโค้ว ภาพต่อเนื่องจากภาพซ้ายมือ
ภาพนี้ต่อด้านซ้ายของภาพบน
บ้านที่ยังสร้างไม่เสร็จดี ถนนที่ยังสร้างไม่เสร็จดี

 

 

 รายงานการย้อนรอยโดย beeman

หมายเลขบันทึก: 73757เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2007 19:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พอดีผมก็ได้ไปออก mobile Unit ครั้งนี้เป็นครังแรก มีโอกาสได้ไปเรียน Photoshop จากทางคณะศึกษาศาสตร์ เลยขอถือโอกาสเอาความรู้ Photoshop ที่เรียนมาลองแต่งภาพให้ อ. BeeMan ซักหน่อยครับ

  • ขอบคุณ คุณทวีสินครับ
  • ภาพสวยมากครับ..แต่งงๆ ว่า ที่ต้นฉบับท้องฟ้าไม่มีเมฆ..
  • แต่ภาพที่คุณทวีสินทำมา กลับมีเมฆครับ..เยี่ยมครับ และภาพที่ต่อกันก็เนียนดี ไม่เห็นรอยต่อเลยครับ ขอบคุณมาก
  • ท่านผู้อ่านลองสังเกตนะครับว่า เวลาเอาภาพ size original ที่ยาวเกิน 512 มาลง ภาพจะยาวมาก..จนภาพเจ้าของบล็อกไปอยู่ด้านล่าง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท