18: ความอดทนของผู้ป่วยกับการระงับปวดหลังผ่าตัด


ความอดทนเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ควรฝึกฝน แต่การอดทนต่ออาการปวดหลังผ่าของผู้ป่วยนั้นมากเกินไปหรือเปล่า
วันหยุดนี้ผมต้องพิจารณาผลงานวิจัยทั้งหมดที่จะนำเสนอในการประชุมเดือนหน้า
มีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจจึงนำมาเล่าให้ฟัง คือ
เรื่องความเห็นของผู้ป่วยต่ออาการปวดหลังผ่าตัด

ผู้วิจัยทำการสอบถามผู้ป่วยหญิง 112 ราย ที่จะทำผ่าตัดในช่องท้อง (ผ่าเกี่ยวกับมดลูก)

ในช่วงก่อนผ่าตัด
ผู้ป่วย 92% คิดว่าการผ่าตัดชนิดนี้จะทำให้มีอาการปวดในระดับปานกลางถึงระดับปวดมาก
ผู้ป่วย 48% บอกว่าจะขอยาแก้ปวดเมื่อมีอาการปวดในระดับมากถึงมากที่สุด
ในช่วงหลังผ่าตัด
ผู้ป่วย 50% บอกว่ามีอาการปวดมากถึงมากที่สุด (ปวดจริง)
และผู้ป่วย 48% บอกว่ามีอาการปวดมากจนทำให้รบกวนการนอน

 แต่ท่านเชื่อหรือไม่ ว่า
ผู้ป่วย 92% พอใจในการระงับปวดที่ได้รับ เหตุผลที่ตอบมากที่สุด (71%) คือ ความปวดเป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
และยังได้คำตอบอีกว่า
ผู้ป่วย 85% ไม่ต้องการยาแก้ปวดที่แรงกว่านี้
ผู้ป่วย 88% ไม่อยากได้ยาบ่อยขึ้นกว่าเดิมที่ได้รับอยู่

 ทั้งหมดนี้ แปลตรงๆ ก็คือ ผู้ป่วยต้องอดทนนั่นเอง
 งานวิจัยนี้ ตรงกับประสบการณ์ที่ผมพบเจออยู่เป็นประจำ ตัวอย่างเช่น

ผู้ป่วยเป็นพยาบาล ทำผ่าตัดคลอด (ครั้งที่ 2) เธออดทนมากไม่ขอยาแก้ปวดเลยแม้แต่เข็มเดียว ถามได้ความว่าเธอกลัวแพ้ยามอร์ฟีน
(ยาแก้ปวดไม่ได้มีแต่มอร์ฟีนอย่างเดียวครับอาจใช้ตัวอื่นแทนก็ได้)

อีกรายหนึ่งเป็นชายหนุ่ม ทำผ่าตัดนิ่วไต ปวดมาก (7-8 คะแนน) ได้รับเครื่องพีซีเอ ไว้ระงับปวดด้วย แต่ไม่ค่อยกดเอายา ถามได้ความว่า พ่อบอกว่าต้องอดทน ถามไปถามมาจึงรู้ว่าพ่อเป็นทหาร (สอนลูกได้ดีครับ)

ที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นทัศนคติที่ไม่ถูกต้องต่อการระงับปวด

แม้ว่าการอดทนเป็นสิ่งที่ดี และอาการปวดหลังผ่าตัดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็จริง

แต่เราก็พยายามช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีขึ้น ไม่ให้ต้องทนทุกข์ทรมาน มากจนเกินไปครับ
หมายเลขบันทึก: 73715เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2007 08:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีค่ะคุณหมอ  นพ. สมบูรณ์ เทียนทอง

  • เกิดมาครูอ้อยเคยผ่าตัดสดครั้งเดียวค่ะ  สงสัยใช้ยาแก้ปวดมั้ง   หมอไม่ได้บอกครูอ้อยแต่ 
  • แต่ใช้ผ้าปิดหน้า  แต่ลูกตาของครูอ้อยเห็นคุณหมอทุกคนที่รุมครูอ้อยอยู่  
  • มีมือของคุณพยาบาล  สงสัยจะเป็นคุณกฤษณามั้ง  คอยลูบมือครูอ้อยไว้  และถามครูอ้อยเสมอ  ให้ครูอ้อยพูดมากๆ  แต่ครูอ้อยไม่ชอบพูด  เธอเลยบอกว่า  ถ้าปวดมากให้บีบมือเธอ  
  • ครูอ้อยไม่ได้บีบมือเธอ  แต่บีบอย่างอื่นค่ะ  เพราะเธอจับมือครูอ้อยข้างเดียว 
  • ลองคิดดูสิคะว่า  มืออีกข้างของครูอ้อยบีบอะไร..

ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีครับ ครูอ้อย
  • คงจะเป็นการผ่าตัดเล็กๆ มัง ครับ จึงทำสดๆ (ฉีดยาชาเลยหรือเปล่าครับ)
  • มือข้างหนึ่งพยาบาลจับไว้ ครูอ้อยเลยบีบไม่ได้
  • แต่มืออีกข้างว่างอยู่ น่าจะบีบผ้าปูเตียงผู้ป่วย มังครับ
  • ขอบคุณค่ะ  ได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ค่ะ  เจ็บไข้ได้ป่วย เป็นเรื่องปกติของชีวิต
  • แต่การได้มีโอกาสรับการรักษาที่ถูกต้อง และเข้าใจในลักษณะอาการของโรคที่เป็นอยู่ ตลอดจนกรรมวิธีที่รักษา ทำให้คนไข้ตัดสินใจเลือกรับการรักษาได้ ยอมรับอาการของโรคได้ น่าจะดีกว่านะคะ
  • เก่งจัง..มันเป็นคำถามที่ถามเจ้าของบ้าน 
  • ต้องถามว่า.....ถ้าครูพบนักเรียนเดินเหยียบเศษกระดาษ  ครูต้องทำอย่างไรกับเด็กคนนั้น 

คุณหมอตอบด้วยค่ะ

คุณครูอ้อยครับ

  • ตกลงผมตอบถูกเหรอ
  • แสดงว่าเป็นมากกว่าคนคุ้นเคยเหรือเปล่าครับ
  • เอ..จะมามุขไหน นะนี่
  • เอาเป็นว่าถ้าเป็นครูอ้อยคงจะบอกให้เด็กเก็บไปทิ้ง...มังครับ

คุณ Lily ครับ

  • ขอบคุณที่แวะมาแลกเปลี่ยนครับ
  • วันนี้เว็บช้ามากเฉพาะของ gotoknow ผมเลยไม่ได้ไปแลกเปลี่ยนที่ไหน
  • ใช่ครับการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่การไปโรงพยาบาลแต่ละครั้งคนไข้จะได้รับข้อมูลเยอะมาก จนรับไม่ไหว ก็เลยไม่ค่อยสนใจ ครับ

อาจารย์ครับ ผมเองกลับเจอบ่อยที่แพทย์ครับ โดยเฉพาะแพทย์ประจำบ้าน ที่ไม่อยากให้ยาแก้ปวดโดยเฉพาะมอร์ฟีนเยอะ เพราะกลัวคนไข้ติดยาทั้งๆ ที่เป็น CA ระยะท้าย หรือไม่ก็ consult เพราะรู้สึกว่าคนไข้ปวดมากเกินความเป็นจริง พอไปดูเป็นเพราะหมอขี้เหนียวยา แต่พอเขามีประสบการณ์มากขึ้นก็ดีขึ้นครับ

คุณหมอมาโนช ครับ 

  • เรื่องความรู้ ความเข้าไม่ถูกของแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์ฝึกหัดและแพทย์ประจำบ้านนั้น มีปัญหาเช่นเดียวกัน ครับ
  • ผมแก้ไขโดยจัดชั่วโมงสอนให้แพทย์ปีที่ 1 ทุกปี ปีละ 2 รอบ เรื่องการระงับปวดหลังผ่าตัด 1 คร้ง และเรื่องการระงับปวดในผู้ป่วยมะเร็งอีก 1 ครั้ง อีกทั้งมีอาจารย์ทางแผนก med ped และ นรีเวช คอยให้ความช่วยเหลือ ปัญหาในแพทย์ฝึกหัดจึงน้อยลง
  • แต่ปัญหาที่แก้ยาก คือ อ. แพทย์ แผนกอื่นๆ ซึ่งไม่รูจะไปสอนอย่างไร อีกทั้งอาจารย์เหล่านั้นก็มีภาระอื่นที่ให้ความสนใจมากกว่า แต่ก็ดีขึ้นตรงที่เดี๋ยวนี้ ส่งคนไข้มาปรึกษาเร็วขึ้น ครับ

สวัสดีค่ะคุณหมอ..นพ. สมบูรณ์ เทียนทอง

  • ครูอ้อยลืมเล่าให้คุณหมออ่านว่า..เมื่อสองปีก่อนครูอ้อยเคยปวดหลังแบบไม่พบสาเหตุค่ะ 
  • แต่ครูอ้อยก็บำบัดไปตามที่หมอสั่งค่ะ  ขณะนี้อาการเหล่านั้นหายหมดแล้วค่ะ...

นับว่ารักษาได้ถูกต้องและตามเวลา..ใช่ไหมคะ

ครูอ้อยครับ 

  • ผมก็เคยสงสัยว่าครูอ้อยนั่งเขียนบันทึกมากมายขนาดนั้นไม่รู้สึกปวดหลังบ้างหรือไง
  • เป็นเรื่องที่ดีมากเลยครับที่รีบรักษาให้หายขาดได้ เพราะถ้าปล่อยให้ปวดเรื้อรังจะรักษาลำบาก
  • เรียนหนักอย่าลืมทานอาหารให้เป็นเวลาด้วยนะครับ จะได้ไม่เป็นโรคกระเพาะ
  • มาทักทายคุณหมอ
  • เพิ่งมาจากที่บ้านครูบาเคยไปไหมครับ
  • ว่างๆจะชวนไปเยี่ยมท่านดีไหมครับ

บางทีความรู้สึกที่เกิดขึ้น อยู่ที่ใจล้วนๆ ผมคิดว่าใช้โอกาสนี้พิจารณาความไม่เที่ยงของสังขารไปด้วย

คนเราหากสุดๆ (เจ็บ ร้อน หนาว ) ก็คงต้องอดทน มากกว่านั้นคือ เรียนรู้ให้ปัญญาบังเกิดจากสภาวะแบบนั้น

พระพุทธเจ้าก็เช่นกันครับ

  • อ. ขจิต ครับ
  • ผมยังไม่เคยไปครับ
  • แล้ว อ.ขจิต ตอนนี้อยู่ที่ไหน ทำไมถึงได้แวะไปเยี่ยมครูบา ได้ครับ
  • คุณ จตุพร ครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมบันทึกนี้
  • ในคนไข้บางคนที่ไม่รักษาให้หายได้ ต้องอยู่กับความปวดไปตลอดชีวิต (ตอนนี้ผมมีคนไข้ประเภทนี้อยู่หลายคน) คนไข้กลุ่มนี้จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีอยู่กับความปวดอย่างมิตร ไม่ให้ความปวดทำร้ายชีวิตได้
  • การสอนผู้ป่วยประเด็นนี้ ต้องอาศัยเวลา และผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งโชคดีที่มีอาจารย์พยาบาล และพยาบาลบางคนสนใจเรื่องนี้ มาช่วยในการดูแลผู้ป่วย แต่ก็ยังไม่ได้ทั่วถึง
  • ผมก็ทำเท่าที่ทำได้ครับ
เคยคุยกับผู้ป่วยหลาย ๆ คนบอกว่าอีกเหตุผลที่สำคัญที่ผู้ป่วยไม่อยากขอยาแก้ปวด คือ เกรงใจพยาบาล บ้างก็บอกกลัวพยาบาล เหตุผลที่ 1 ยังพอจะแก้เยียวยาได้แต่เหตุผลที่ 2 โอ้พระเจ้าจอร์ช...มันแย่มาก
  • ขอบคุณ คุณ P มากครับที่ช่วยเพิ่มเติม
  • การระงับปวดมีปัจจัยจากตัวบุคคลทั้ง 3 กลุ่ม ที่เกี่ยวข้องกันอย่างต่อเนื่อง
  • กลุ่มที่ 1 คือตัวผู้ป่วยและญาติ อย่างที่ ผมเขียนในบันทึก
  • กลุ่มที่ 2 คือ หมอ ทั้งศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ หรือแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
  • และกลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นกลุ่มที่สำคัญมาก ในการระงับปวดคือ พยาบาล และบุคคลากรที่ ward หากทำให้คนไข้จะเกรงใจ หรือกลัว เขาจะไม่กล้าขอยาเลย
  • คนไข้ที่มาจาก ร.พ. อื่นๆ เคยเล่าให้ฟังหลายครั้งว่า ร.พ. ที่เขาส่งมานั้น คนไข้ค่อนข้างกลัวพยาบาล ครับ
  • ขอบคุณอีกครั้งที่แวะมาทักทายครับ
  • มาขอบคุณครับผม
  • อยู่มหาวิทยาลัยแล้วครับ
สวัสดีค่ะ..ช่วงนี้กำลังเรียนทำวิจัย โดยตั้งหัวข้อเรื่องเกี่ยวกับ พฤติกรรมพยาบาลมีผลต่อการลดความเจ็บปวดของคนไข้หรือไม่ ..รบกวนคุณหมอ..ช่วยแนะนำข้อมูลที่จะสืบค้นด้วยนะค่ะ...
กำลังเตรียมเอกสารประกอบการสอนเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะปวดอยู่ค่ะ เลยเข้ามาหาข้อมูลใน website ดู เผื่อว่าจะมีข้อมูลอะไรที่เป็นประโยชน์ ซึ่งก็ไม่ผิดหวังค่ะ เพราะข้อมูลที่ได้มาจากประสบการณ์ของผู้ที่เคยดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปวดด้วยสาเหตุต่างๆ ความอดทนต่ออาการปวดของแต่ละคนเป็นสิ่งที่น่าทึ่งจริงๆ จากประสบการณ์การเป็นพยาบาลได้เจอผู้ป่วยที่มีความทนต่อความเจ็บปวดต่างๆ กัน ที่จริงก็น่าเห็นใจผู้ป่วยนะคะที่ยอมทนปวดเพราะเกรงใจพยาบาล หรือกลัวพยาบาล ดิฉันเคยเจอเหมือนกันที่พยาบาลใช้ตัวเองเป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่าผู้ป่วยปวดมากหรือน้อยแค่ไหน และจะให้ยาหรือไม่เมื่อไหร่ แต่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นนานมากตั้งแต่ดิฉันเป็นนักศึกษาพยาบาลแล้ว แต่ตอนนี้นับว่าเป็นโชคดีของผู้ป่วยที่เรามีการนำเครื่องมือวัดความเจ็บปวดแบบต่างๆ มาใช้ และใช้ pain score ในการประเมินความเจ็บปวดมากขึ้น เดียวนี้ทีมสุขภาพให้ความสำคัญกับอาการปวดมาก และพยายามหาวิธีการบรรเทาอาการทั้งการใช้ยาและไม่ใช้ยา ที่บอกว่าความทนต่อความเจ็บปวดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน และเป็นสิ่งที่น่าทึ่งนั้น ประสบการณ์หมาดๆ ที่เพิ่งผ่านมาคือ มีอาจารย์ที่คณะฯ คนหนึ่งผ่าตัดคลอดลูกทางหน้าท้อง อาจารย์เล่าว่า ขอยาแก้ปวดแค่ 1 ครั้งเท่านั้นในวันแรกหลังผ่าตัด หลังจากนั้นไม่ได้ขออีกเลย ดิฉันจึงถามว่า "แล้วไม่เจ็บแผลหรือคะ" อาจารย์ท่านนั้นตอบมาให้ดิฉันตกใจว่า "เจ็บค่ะแต่ทนได้ ถ้าคิดเป็น pain score ก็คงประมาณ 7-8 ค่ะ" ดิฉันจึงตอบกลับไปว่า "โอ้โห ตั้ง 7-8 ทนได้ยังไง ถ้าเป็นพี่คงต้องขอยาตั้งแต่เจ็บประมาณ 4-5 แล้วมั้ง" แล้วเราก็หัวเราะกันค่ะ น้องเค้าบอกว่าเค้าลุกจากเตียง เดินไปเดินมาตั้งแต่ครบ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดแล้ว ทำตามตำราเป๊ะเลย เก่งจริงๆ สรุปที่อยากแบ่งปันก็คือ ความทนต่อความเจ็บปวด (pain threshold)ของแต่ละคนต่างกันจริงๆ ถ้าผู้ป่วยร้องขอยา ก็ต้องให้เค้านะคะ และผู้ป่วยก็ไม่ควรกลัวหรือเกรงใจที่จะขอยาค่ะ ไม่ปวดจะสุขสบายกว่าทนปวดอยู่นานๆ นะคะ ไปหาหมอหรือไปโรงพยาบาลก็เพราะต้องการความสุขสบายขึ้น เพราะฉะนั้นอย่าทนปวดอยู่เลยค่ะ ถ้ารับประทานยาได้ ไม่เป็นอันตรายก็ทานเถอะค่ะ
กำลังเตรียมเอกสารประกอบการสอนเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะปวดอยู่ค่ะ เลยเข้ามาหาข้อมูลใน website ดู เผื่อว่าจะมีข้อมูลอะไรที่เป็นประโยชน์ ซึ่งก็ไม่ผิดหวังค่ะ เพราะข้อมูลที่ได้มาจากประสบการณ์ของผู้ที่เคยดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปวดด้วยสาเหตุต่างๆ ความอดทนต่ออาการปวดของแต่ละคนเป็นสิ่งที่น่าทึ่งจริงๆ จากประสบการณ์การเป็นพยาบาลได้เจอผู้ป่วยที่มีความทนต่อความเจ็บปวดต่างๆ กัน ที่จริงก็น่าเห็นใจผู้ป่วยนะคะที่ยอมทนปวดเพราะเกรงใจพยาบาล หรือกลัวพยาบาล ดิฉันเคยเจอเหมือนกันที่พยาบาลใช้ตัวเองเป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่าผู้ป่วยปวดมากหรือน้อยแค่ไหน และจะให้ยาหรือไม่เมื่อไหร่ แต่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นนานมากตั้งแต่ดิฉันเป็นนักศึกษาพยาบาลแล้ว แต่ตอนนี้นับว่าเป็นโชคดีของผู้ป่วยที่เรามีการนำเครื่องมือวัดความเจ็บปวดแบบต่างๆ มาใช้ และใช้ pain score ในการประเมินความเจ็บปวดมากขึ้น เดียวนี้ทีมสุขภาพให้ความสำคัญกับอาการปวดมาก และพยายามหาวิธีการบรรเทาอาการทั้งการใช้ยาและไม่ใช้ยา ที่บอกว่าความทนต่อความเจ็บปวดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน และเป็นสิ่งที่น่าทึ่งนั้น ประสบการณ์หมาดๆ ที่เพิ่งผ่านมาคือ มีอาจารย์ที่คณะฯ คนหนึ่งผ่าตัดคลอดลูกทางหน้าท้อง อาจารย์เล่าว่า ขอยาแก้ปวดแค่ 1 ครั้งเท่านั้นในวันแรกหลังผ่าตัด หลังจากนั้นไม่ได้ขออีกเลย ดิฉันจึงถามว่า "แล้วไม่เจ็บแผลหรือคะ" อาจารย์ท่านนั้นตอบมาให้ดิฉันตกใจว่า "เจ็บค่ะแต่ทนได้ ถ้าคิดเป็น pain score ก็คงประมาณ 7-8 ค่ะ" ดิฉันจึงตอบกลับไปว่า "โอ้โห ตั้ง 7-8 ทนได้ยังไง ถ้าเป็นพี่คงต้องขอยาตั้งแต่เจ็บประมาณ 4-5 แล้วมั้ง" แล้วเราก็หัวเราะกันค่ะ น้องเค้าบอกว่าเค้าลุกจากเตียง เดินไปเดินมาตั้งแต่ครบ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดแล้ว ทำตามตำราเป๊ะเลย เก่งจริงๆ สรุปที่อยากแบ่งปันก็คือ ความทนต่อความเจ็บปวด (pain threshold)ของแต่ละคนต่างกันจริงๆ ถ้าผู้ป่วยร้องขอยา ก็ต้องให้เค้านะคะ และผู้ป่วยก็ไม่ควรกลัวหรือเกรงใจที่จะขอยาค่ะ ไม่ปวดจะสุขสบายกว่าทนปวดอยู่นานๆ นะคะ ไปหาหมอหรือไปโรงพยาบาลก็เพราะต้องการความสุขสบายขึ้น เพราะฉะนั้นอย่าทนปวดอยู่เลยค่ะ ถ้ารับประทานยาได้ ไม่เป็นอันตรายก็ทานเถอะค่ะ

-สวัสดีค่ะคุณหมอ คือดิฉันกำลังค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวกับการลดควาเจ็บปวดของผู้หลังผ่าตัดคลอด เพื่อนำไปทดลองบนหอผู้ป่วย เป็นรายงานส่ง ก็ได้พบบทความของคุณหมอที่มีความตรงกับงานวิจัยหลายเรื่องเลยค่ะ ก็เลยอยากจะขอถาคุณหมอว่า เครื่องมือที่ใช้วัดระดับความเจ็บปวด มีแค่ pain score เพียงอย่างเดียวหรือเปล่าคะ???

-แล้วแบบวัดความรู้สึกเจ็ยปวดของจอห์นสัน จะสามารถค้นหาได้จากที่ใดได้บ้างคะ???

ขอบคุณนะคะ

(จะรอคำตอบนะคะ)

ปวดจริงปวดตลอดเวลาแต่ผมต้องอดทนให้ได้ เพราะพ่อบอกว่าถ้าเจ็บแสดงว่ายังมีชีวิตถ้ามีชีวิตก็ต้องอดทนให้ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท