เรื่องเล่าการประหยัด


บางคนอยู่ในสังคมที่ทุกคนมองว่าการประหยัดเป็นเรื่องที่แปลกและไม่มีความหนักแน่นพอ..คนๆ นั้นก็อาจกลายเป็นคนไม่ประหยัดหรือเป็นคนสิ้นเปลืองไป..... ในทางกลับกันหากคนๆ เดียวกันอยู่ในสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนมองว่าการประหยัดเป็นเรื่องธรรมดาและเป็นสิ่งที่ควรทำ คนๆ นั้นก็จะกลายเป็นคนประหยัดและเห็นความสำคัญของสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ได้

            วันนี้ weekly meeting มีวาระการเรียนรู้วิธีการประหยัดใน สคส. ซึ่ง อ.วิจารณ์ ให้ สมาชิก สคส. แต่ละคนเล่าวิธีการประหยัดของตนเองมาคนละ ๑ เรื่อง  พวกเราก็ยกตัวอย่างวิธีประหยัดแบบเล็กๆ น้อยๆ ของตน เช่น ปิดไฟเมื่อไม่ใช้แล้ว, ใช้กระดาษ reuse สำหรับเอกสารที่ไม่สำคัญ, ใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อประสานงานในช่วงเวลาที่เป็นโปรโมชั่นของมือถือ   และก็มีวิธีประหยัดแบบหนึ่งที่พอเล่าแล้วทำให้ผู้เข้าร่วมประชุม ฮา กันคือ เมื่อมีโทรศัพท์ติดต่อมาแล้วเราไม่อยู่เค้าฝากข้อความให้โทรกลับ..เราก็ไม่โทร.. รอให้เค้าโทรมาใหม่เอง เช่นนี้เป็นต้น

           อ.วิจารณ์ จึงสรุปว่า สิ่งที่พวกเราพูดเป็นการประหยัดเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีในการปลูกฝังให้ทุกคนรู้จักการประหยัด    แต่การประหยัดที่ได้ผลนั้นต้องรู้ต้นเหตุของการสิ้นเปลืองนั้นก่อน แล้วประหยัดให้ถูกจุดและเหมาะสม การประหยัดนั้นจึงได้ประโยชน์สูงสุด  เช่น ค่าไฟส่วนใหญ่ในองค์กรต่างๆ เป็นค่าแอร์ แต่เรากลับประหยัดค่าไฟสำหรับให้แสงสว่างซึ่งเป็นส่วนที่สิ้นเปลืองน้อย..และไฟส่วนนี้มีผลต่อคนทำงาน... เมื่อประหยัดไฟส่วนนี้แล้วทำให้คนทำงาน..ทำงานไม่สะดวก  เป็นต้น

           การประหยัดในอีกมุมมองหนึ่งของดิฉันก็คือ บางคนประหยัดให้กับตนเองแต่เอาภาระนั้นไปให้คนอื่น.. แล้วบอกว่าตัวเองเป็นคนประหยัด.. ดิฉันคิดว่าไม่ใช่การประหยัดเพราะสิ่งๆ นั้นยังคงถูกใช้อยู่เหมือนเดิมไม่ได้ลดลง.... หรือ การประหยัดเวลา กับ การประหยัดเงิน เราจะเลือกประหยัดอะไร  เช่น การเดินทางไปปฏิบัติงาน.. ถ้าประหยัดเงินแล้วเดินทางหลายต่อแต่เสียเวลาและเสียความสดชื่น (เพราะใช้เวลาเดินทางนาน)  กับ ประหยัดเวลาโดยเดินทางต่อเดียวแต่เสียเงินมากขึ้นอีกนิด..แต่ยังคงสดใส (เพราะใช้เวลาเดินทางน้อย) ... เมื่อนำผลลัพธ์จากการปฏิบัติงานครั้งนี้มาเปรียบเทียบกันท่านคิดว่าผลจะออกมาอย่างไร

            เมื่อเล่าถึงเรื่องการประหยัดแล้ว..... ถ้าถามว่าทุกท่านรู้วิธีการประหยัดในเรื่องต่างๆ หรือไม่ เช่น การประหยัดไฟทำอย่างไร, ประหยัดน้ำทำอย่างไร, ประหยัดน้ำมันทำอย่างไร... ดิฉันคิดว่าทุกท่านคงรู้วิธีการประหยัดเหล่านั้นเพียงแต่จะปฏิบัติตามนั้นหรือไม่... บางคนอยู่ในสังคมที่ทุกคนมองว่าการประหยัดเป็นเรื่องที่แปลกและไม่มีความหนักแน่นพอ..คนๆ นั้นก็อาจกลายเป็นคนไม่ประหยัดหรือเป็นคนสิ้นเปลืองไป..... ในทางกลับกันหากคนๆ เดียวกันอยู่ในสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนมองว่าการประหยัดเป็นเรื่องธรรมดาและเป็นสิ่งที่ควรทำ คนๆ นั้นก็จะกลายเป็นคนประหยัดและเห็นความสำคัญของสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ได้

 

คำสำคัญ (Tags): #km#ประหยัด#kmi
หมายเลขบันทึก: 73171เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2007 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอขอบคุณอาจารย์ uraiman...

  • อ่านแล้วได้ข้อคิดว่า ทำอะไรให้มองจนตลอดสาย และพยายามป้องกันปัญหาย้อนสายไปหาต้นเหตุ

เรื่องนี้ทำให้นึกถึงคำกล่าวของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่านหนึ่งที่ว่า "คนมากขึ้น จะให้อุบัติเหตุลดลง เป็นไปไม่ได้"

  • นี่เป็นตัวอย่างของคนอับปัญญา มองปลายเหตุ และมองแง่ร้าย
  • ทว่า... ความจริงในเมืองไทยกลับมีท่านที่มีปัญญา มองตลอดสาย และมองแง่ดี
  • ท่านและคณะ (อีกหลายคณะ) รณรงค์ให้เมืองไทยมีอุบัติเหตุลดลงได้...
  • นี่ก็ประหยัดชีวิต ประหยัดค่าใช้จาย ประหยัดน้ำตาและน้ำลายไปได้อย่างน้อยหลายสิบ หลายร้อยลิตร

ขอขอบคุณครับ...

ดีจังค่ะที่มีบันทึกนี้..เป็นความจำเป็นที่ต้องคิดและทำค่ะ ชอบที่อาจารย์หมอวิจารณ์กล่าว ที่ว่า แต่การประหยัดที่ได้ผลนั้นต้องรู้ต้นเหตุของการสิ้นเปลืองนั้นก่อน แล้วประหยัดให้ถูกจุดและเหมาะสม การประหยัดนั้นจึงได้ประโยชน์สูงสุด

เอาเรื่อง การลดค่าใช้จ่ายเพื่อชาติ มาร่วมแจมค่ะ..

  • ชอบที่ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ มีโจทย์มาให้..หลายท่านได้คิดหาคำตอบ..นี่คือการสอนให้รู้จักคิด...
  • ซึ่งพอเราเอาเรื่องแบบนี้ไปคุยกับนิสิตในชั่วโมงเรียน...นิสิตบอกว่านอกเรื่อง..ให้สอนเนื้อหาวิชา
  • พอนัดเวลานอกเหนือจากชั่วโมงเรียน ก็มีงานเยอะ..เดี๋ยวโน่นนี่...เดี๋ยวนี้เขาไม่ค่อยมีเวลาว่างกันหรอกครับ.....
  • การคิดแบบค้นหาต้นเหตุของปัญหา เป็นการสืบค้นแบบ อิทัปปัจยตาครับ..คนไทยต้องฝึกคิดแบบนี้ให้มาก..
  • ประเด็น "ประหยัดชีวิต" ของท่านอาจารย์หมอวัลลภน่าสนใจครับ..
  • น่าจะยกมาเขียนต่อยอดได้อีกบันทึกหนึ่งครับ..คุณอุ..
  • แหม... อ่านบันทึกนี้ของอุแล้วคลายความสงสัยที่ว่า "เมื่อก่อนโทรหาคุณธวัช สคส. แล้วไม่รับสายจะไม่ค่อยได้รับโทรฯ กลับมา" วันนี้เข้าใจและเลิกน้อยใจแล้วเพราะพี่เค้าประหยัดนี่เอง ... คิคิ .. ล้อเล่น ... (ยิ้ม ยิ้ม)  ... อุอย่าไปฟ้องนะจ้ะ  
  • พูดถึงการประหยัด ... ข้อหนึ่งที่เจอกับตัวเอง  แล้วรู้สึกว่าน่าจะมีประโยชน์ คือ ในการประสานงานหรือติดต่องานกับคนอื่น  น่าจะมีการคิดถึงความสะดวกของผู้อื่นให้มากๆ และคิดให้ครอบคลุมในหลายๆ เรื่องแล้วจึงถ่ายทอดให้ครบถ้วนในครั้งเดียว หรือน้อยครั้งที่สุด เพื่อประหยัดพลังงานคน  ประหยัดเวลาและงบประมาณในการประสานงาน  แทนที่จะต้องติดต่อกันไปมาหลายๆ ครั้ง
  • อ่านแล้วงงมั้ย  ... ทำไมคนพิมพ์งงจัง  :P
  • จากที่ อาจารย์หมอวัลลภ และ อ. beeman กล่าวถึงประเด็น "ประหยัดชีวิต" นั้น .... จำได้ว่า อ.วิจารณ์ เคยเล่าให้ พวกเราชาว สคส. ฟังว่า "คนป่วยที่กำลังจะตาย หรือรู้แล้วว่าต้องตายแน่ๆ แต่ญาติหรือคนใกล้ชิดยังยื้อให้คนๆ นั้นมีชีวิตอยู่จนคนป่วยคนนั้นมีสายระโยงระยางเต็มตัวไปหมด เสียค่ายา ค่าใช้จ่าย อีกมากมาย.... แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถช่วยชีวิตได้"...ให้ลองคิดดูว่า ค่ายา ค่าใช้จ่าย จำนวนมากที่เสียไปนั้น...หากนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคมในด้านต่างๆ จะเกิดคุณค่ามากขึ้นเพียงไร
  • การเขียน blog เป็นวิธีการประหยัดค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีหนึ่งนะคะ... ไม่ต้องเสียค่าเดินทาง ค่าโทรศัพท์ แต่ได้ความรู้มากมาย
  • ตูน...เห็นด้วยกับวิธีประหยัดในแบบของตูนนะ....และรับรองไม่เอาเรื่องนี้ไปฟ้อง พี่วัช หรอก.....

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท