เก็บตก KM


เคล็ดลับ กับ เงื่อนไข และ การจัดการ
เคล็ดลับ... กับ เงื่อนไข...และ การจัดการ ระหว่างวันที่ ๙-๑๐ กันยายน ๒๕๔๙ เครือข่ายคนพิการ ได้เรียนเชิญท่านอาจารย์ทรงพล เจตนาวณิชย์ ไปเป็นในเวที ถอดบทเรียนคุณอำนวย คุณบันทึกของผู้พิการทางตา ซึ่งจัดที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดเพชรบุรี งานนี้ผู้เขียนก็ได้ติดตามอาจารย์ไปเป็นผู้ช่วยวิทยากรเหมือนเคยเป็นเวทีการเรียนรู้ครั้งที่ ๘ แล้วสำหรับเครือข่ายฯ นี้ เวทีที่ผ่านมาเป็นเวทีการเรียนรู้เพื่อฝึกคุณอำนวย คุณบันทึก โดยใช้กระบวนการ การจัดการความรู้ ครั้งนี้ เป็นเวทีรวมสำหรับผู้ที่จะไปทำบทบาทเป็น วิทยากร หรือคุณอำนวยในเวทีในการจัดเวทีการเรียนรู้ในระดับเขตพื้นที่ โดยผู้เข้าร่วมเวทีคัดจากผู้ที่เป็นคุณอำนวย คุณบันทึกและคุณกิจในเวทีที่ผ่านมา จำนวนประมาณ ๖๐ คน เพื่อมาฝึกวิทยายุทธเพิ่มเติมและถอดบทเรียน เรียกว่าเป็นเวทีรวมศิษย์เก่าของอาจารย์ทรงพลเพื่อมาเรียนรู้เคล็ดลับวิชารวมถึงเสริมความมั่นใจในการออกไปปฏิบัติการในพื้นที่เวทีครั้งนี้ พิเศษกว่าเวทีก่อนๆ ตรงที่เป็นเวทีถ่ายถอด เคล็ดลับวิชา หรือ เบื้องหลังการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ตอนแรกผู้เขียนฟังแล้วก็ต๊ก!ใจหมด เอ้า! แล้วต่อไป จะใช้กระบวนท่าอะไร (ทำมาหากินกันละเนี่ย) แฮ่ ๆ ผู้เขียนก็คิดตามประสาคนปัญญาน้อย ไม่ต้องห่วงเลย เพราะอาจารย์มีเคล็ดลับวิชาอีกตั้งมากมาย แต่คราวนี้ แหม! ฟังแล้วชักอิจฉาตาร้อนพี่น้องผู้พิการทางตาขึ้นมาทันใด อย่ากระนั้นเลยเรา ต้องถือโอกาสนี้ เป็น ครูพักลักจำ  เสร็จโจรล่ะ! ไหน ๆ อาจารย์ก็เผยเคล็ดลับแล้ว ผู้เขียนก็ขอถือโอกาสมาเผย เคล็ดที่ได้รับ ให้ท่านผู้อ่านต่ออีกทอดหนึ่ง (เผยเท่าที่จำได้ มีบางส่วนเก็บไว้เป็นเคล็ดลับส่วนตัวอีกทอดหนึ่ง) หลักการออกแบบการเรียนรู้ อาจารย์ ใช้หลักการ  ๓ หลัก คือหลักที่ ๑  หลักธรรมชาติของการเรียนรู้ของมนุษย์ (เสริมศักยภาพ เสริมความมั่นใจ)เป็นหลักที่ให้คนแสดงศักยภาพออกมา   เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีเมล็ดพันธุ์การเรียนรู้ซ่อนอยู่ในตัว รอการเติบโต แต่การเติบโตไม่เท่ากัน ที่ผ่านมาเมล็ดพันธุ์ถูกกดทับ ทำให้รู้สึกว่าคนอื่นเก่งกว่า ทำให้ต้องเชื่อผู้รู้ จริงๆ แล้วในตัวคนแต่ละคนมีประสบการณ์ชีวิต และประสบการณ์สะสมความรู้ไว้มาก ทำอย่างไรให้ความรู้ในตัวคนเบ่งบานออกมา  การทำกระบวนการตั้งคำถาม ทำให้คนแสดงความคิด แสดงศักยภาพ ให้กล้าที่คิด กล้าพูด การแสดงความคิดเห็นออกมา  คนพูดเก่ง คิดเก่ง เพราะว่ามีโอกาสที่จะฝึกฝน  ถ้าจะเสริมศักยภาพ เราจะต้องเปิดโอกาสให้เขามากที่สุด บางครั้งเราต้องแกล้งไม่รู้ เพื่อให้คนอื่นเรียนรู้  การไปเสริมศักยภาพเราไม่ได้อวดฉลาด  การเสริมศักยภาพ คือ การประคับประครองให้เขาแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง เราต้องเคารพความเป็นมนุษย์ ความเป็นคน คนมีศักดิศรีความมีศักยภาพในตัว ต้องค้นจุดดีของเขาและให้เขานำจุดดีของเขามาสำแดง เมื่อเขาได้สำแดงเขาจะมีความภาคภูมิใจ มนุษย์ต้องการยอมรับการเคารพการให้เกียรติซึ่งกันและกัน มนุษย์ต้องการการเติบโต อย่าไปกดทับเขา เราจะต้องพยายามกระตุ้นให้เขาแสดงศักยภาพ ให้เขากล้าคิดกล้าทำ เรามีหน้าที่ประครองเขา  คนเราเก่งคนละอย่าง ค้นพบจุดเด่น เสริมจุดเด่น ให้เขาเอาจุดเด่นไปทำงาน  หลักที่ ๒ หลักการเรียนรู้แบบใช้การปฏิบัตินำ ให้ลงมือทำก่อนแล้วมาจับหลัก  การเรียนรู้ต้องใช้ทั้ง หัว ใจ และมือ  ต้องเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน ความรู้ที่ใช้ได้จริงคือความรู้ที่ผ่านการปฏิบัติ เรียนแล้วต้องไปปฏิบัติจึงเกิดการรู้จริง  แต่ ! เมื่อปฏิบัติไปแล้วต้องพาจับหลัก ปฏิบัติไปแล้วมาสร้างหลัก สร้างทฤษฏีของเราเอง          หลักที่ ๓  หลักการจัดการความรู้  การจัดการความรู้ หมายถึง การทำให้ชีวิตและงานดีขึ้น โดยการจัดการความรู้ ไม่ใช่เรื่องงานอย่างเดียวรวมถึงชีวิตด้วย การจัดการที่ดี คือ การทำให้เป้าหมายบรรลุผล แต่ให้ความสำคัญกับการใช้ปัญญาในการจัดการ การจัดการ คือ การได้มาซึ่งความรู้ เก็บความรู้ และการนำความรู้ไปใช้  การเรียนรู้ที่ดีคือ ทำให้เปลี่ยนมุมมอง ขยายมุมมอง เมื่อเปลี่ยนมุมมองก็เกิดการคิดใหม่ทำไหม่ ทำแล้วมาถอดบทเรียน จะได้ทั้งคนได้ทั้งงาน ได้ทั้งความรู้ หมุนเกลียวขึ้นไปเรื่อย ๆ  ได้เคล็ดลับแล้ว ขอพูดถึงเบื้องหลังของ การจัดกระบวนการ บ้าง (แถมต่ออีกหน่อย)การจัดกระบวนการ ผู้ที่จะเป็นวิทยากรจะต้อง...·       ต้องรู้จักกลุ่มที่จะมาเรียนรู้ (วิเคราะห์คน)·       ต้องจับหลักการ  (นำหลักการไประยุกต์และพลิกแพลงไช้ตามสถานการณ์และกลุ่มเป้าหมาย ถ้าเป็นคนช่างสังเกต เป็นคนช่างคิด จะผลิกแพลงได้ สถานการ์จะบอกเราเองว่าเราจะทำอย่างไร จับหลักให้มั่นแล้วนำไปพัฒนาให้เกิดรูปแบบที่หลากหลาย เรียกว่า การเจริญงอกงามทางความรู้ อย่าจับรูปแบบ เพราะกลุ่มคนไม่เหมือนกัน ·       ต้องวางแผน  การจัดเวทีจะต้องมีแผนไว้ในใจ ต้องมีแผนไว้หลายแผน·       ต้องรู้เรา (ตัวเอง)  ต้องรู้เขา (กลุ่มที่จะมาเรียนรู้)  ต้องรู้สถานการณ์ (ที่เป็นอยู่ขณะนั้น)                      ฟังแล้วได้ความรู้ไม่มากก็น้อยใช่มั๊ยค่ะ สำหรับผู้ที่จะเป็น คุณอำนวยในเวที หรือ วิทยากร  ผู้เขียนก็คิดว่าผู้เข้าร่วมเวทีในครั้งนี้ก็คงจะได้ความรู้มากทีเดียว แต่... มีแต่ก่อนจบเวทีการเรียนรู้วันสุดท้าย แต่ละเขตต้องวางแผนการนำความรู้ไปใช้ในพื้นที่ คือจัดเวทีการเรียนรู้ระดับเขต แต่!  มีคำว่าแต่...ก็ย่อมต้องหมายถึงมีเงื่อนไขแน่นอน ใช้แล้วค่ะ องค์กรผู้ให้การสนับสนุนได้บอกจำนวนงบประมาณที่จะให้แต่ละเขตนำไปจัดเวทีว่าได้รับงบประมาณเขตละเท่าใด  เมื่อรู้ จำนวนงบประมาณ  เท่านั้นแล่ะ เหมือนจะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นมาเลยทีเดียว โอ!พระเจ้า เกิดความคิดเห็น เกิดคำถาม ทำไมน้อยจังแล้วจะจัดอย่างไร..  ให้เพิ่มอีกไม่ได้หรือ...  เรียกว่า เป็นความคิดที่จัดการอะไรไม่ได้เลย หากมีอย่างไดอย่างหนึ่งเป็นข้อจะกัดหรือเงื่อนไข ไม่คำตอบอะไรจากใครว่าจะเพิ่มจะลดงบประมาณ แต่ให้แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อวางแผนการจัดเวทีในระดับเขต   เวลาผ่านไปประมาณชั่วโมงกว่ากับการระดมความคิดเห็นและวางแผน จากนั้นให้แต่ละกลุ่มย่อยมานำเสนอแผนการจัดการเวทีระดับเขต ปรากฏว่า..ไม่มีกลุ่มไหนเลยที่สรุปออกมาว่า งบประมาณจำกัด จัดงานไม่ได้ ทุกกลุ่มย่อยคิดวางแผนการจัดการได้หมด ทั้งเรื่องวันเวลา งบประมาณ สถานที่จัด เรียกว่ารายละเอียดการจัดครบถ้วย นำเสนอด้วยความภาคภูมิใจ (สังเกตจากน้ำเสียงคนนำเสนอและกองเชียร์จากกลุ่ม)  ผมจัดได้ ที่พักผมก็ให้นอนเต็นท์ได้...ผมจะหางบประมาณเพื่มจากแหล่งทุนอื่นในพื้นที่...ผมจะไปจัดในชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วม...ผมจะให้ส่วนราชการมาร่วมเวที ให้เขาช่วยสนับสนุน ผมมีแนวทาง... เอ้า! ไหนตอนแรกบอกว่าจัดไม่ได้ไงล่ะ?  ไหงพอคุยในกลุ่มย่อยแล้ว โอ้โฮ..แต่ละกลุ่มไม่เห็นมีอะไรติดขัดเลย แถม มีการเกทับกันเล็กน้อยว่าหากจัดเมื่อไหรจะเชิญเขตอื่นไปร่วมโดยออกค่าใช้จ่ายให้อีกต่างหาก อะไรกันนี้  นี่! ก็แสดงว่า  สถานการณ์เงื่อนไขที่เป็นข้อจำกัดทำให้คนหันหน้าเข้าหากันและคิดวิธีจัดการร่วมกันได้ (หากคิดจะจัดการ) แล้วเหตุใด คนจึงชอบจะโวยวายทั้งที่ยังไม่ได้ลองคิด ไม่ได้ลองจัดการเสียก่อน  การมีเงื่อนไข การมีข้อจำกัดไม่ถือว่าเป็นอุปสรรคเสียทุกครั้งไป  หากเราใช้เป็นโอกาสเอาเงื่อนไขหรือข้อจำกัดมาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ของเรา เงื่อนไขข้อจำกัดทำให้เราเกิดการเรียนรู้ ได้ เกิดการใช้ปัญญาในการจัดการมากขึ้น  มีการคิดนอกกรอบจากที่เคยคิด  ที่สำคัญเราจะต้องมีกระบวนการคิดร่วมกัน วางแผนร่วมกัน กระบวนการกลุ่มทำให้มีการฟังกันมากขึ้น คิดกันมากขึ้น และแถมจะรักกันมากขึ้นซะด้วยซ้ำ อีกทั้งเกิดเสียงแห่งความภาคภูมิใจที่เห็นได้ชัด  แล้วคุณล่ะ จะถือเงื่อนไขข้อจำกัด เป็นอุปสรรคหรือ ถือเป็นโอกาสในการเรียนรู้. คิด ๆ ดูให้ดี คิด ๆ ดูให้ดี  **********************************
คำสำคัญ (Tags): #เก็บตก#km
หมายเลขบันทึก: 72912เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2007 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท