การตรวจพิเศษทางรังสีวิทยาของระบบทางเดินอาหาร


ระบบทางเดินอาหารเป็นระบบที่มีระยะทางยาวมาก วิธีการตรวจทางรังสีวิทยาจึงมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น Barium swallowing, Upper GI, Long GI, Barium Enema

Barium swallowing

     คือ การตรวจพิเศษทางรังสีของหลอดอาหารและอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงที่มีผลกระทบต่อหลอดอาหาร โดยดื่มสารทึบรังสีในระหว่างการตรวจและบันทึกภาพส่วนต่างๆ

ข้อบ่งชี้ในการตรวจ

Esophagitis, Dysphagia, Varices, Neoplasm, Pre&Post treatment, Dyspepsia

ข้อระวัง

- คนไข้ CVA& esophageal obstrution ไม่ทำการตรวจ

- คนไข้ Esophageal perforation หรือ F/u ใช้ water soluble contrast media

การเตรียมตัวผู้ป่วย

ไม่จำเเป็นต้องเตรียมตัวมาล่วงหน้า

เทคนิคการตรวจ

         Upright AP(ผู้ป่วยอยู่ในท่ายืน)

- ให้ผู้ป่วยอม Barium แล้วให้ผู้ป่วยกลืนเพื่อดูการเคลื่อนไหวของ Esophagus

- ให้ผู้ป่วยอม Barium แล้วกลืนอีกครั้ง Spot Esophagus AP

- เลื่อน Image Intensifier ลงมา Spot EG junction AP

- กลืน Barium อีกครั้งแล้ว Spot  Esophagus LPO

- กลับมา Spot Oropharynx AP, ObliQue, Lateral และ AP Valsava (โดย ผู้ป่วยเป่าปาก)

     %%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

Upper GI Study

   คือ การตรวจพิเศษทางรังสีของทางเดินอาหารส่วนต้น ตั้งแต่ Pharynx, Esophagus, Stomach และ Duodenum โดยดื่มสารทึบรังสีในระหว่างการตรวจและบันทึกภาพส่วนต่างๆ

ข้อบ่งชี้ในการตรวจ

Abdominal pain, GI bleeding, Peptic ulcer, Varices, Malignancy, Mass

ข้อระวัง

- คนไข้ Gut obstruction ไม่ทำการตรวจ

- คนไข้ Gut perforation ใช้ water soluble contrast media

การเตรียมตัวผู้ป่วย

รับประทานอาหารอ่อนๆ ก่อนตรวจ 2 วัน, NPO 6-8 ชั่วโมง, งดสูบบุหร่และเคี้ยวหมากฝรั่งหลังที่ยงคืน, ผู้ป่วยที่ท้องผูกให้ทานน้ำมันละหุ่ง 30 มล. ก่อนนอนในคืนก่อนตรวจ 

เทคนิคการตรวจ (Double Contrast)

- Upright  ท่า LPO  ให้ผู้ป่วยกลืนแล้วทำการ Spot Esophagus และ EG junction

- Supine ให้ผู้ป่วยหมุนรอบตัวเองประมาณ 3 รอบไปทางซ้าย Spot Fundus/Barium Fill, Boby/Air Fill

- Supine LPO  Spot Gastic or Antrum, Duodenum bulb/Air Fill

- Prone Spot Fundus/Air Fill, Body Antrum/Barium Fill

- Prone RAO Spot Duodenum bulb,C loop/Braium Fill

- Overhead ท่า AP และ LPO

     %%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

Long GI Study (GI Follow Trough)

     คือ การตรวจพิเศษทางรังสีของระบบทางเดินอาหารตั้งแต่ระดับหลอดอาหารไปจนถึงลำไส้เล็กทั้งหมดจนผ่าน ilocecal valve โดยดื่มสารทึบรังสีในระหว่างการตรวจและบันทึกภาพส่วนต่างๆ

ข้อบ่งชี้ในการตรวจ

Chronic abdominal pain, Mass, Persistent diarrhea

ข้อระวัง

- คนไข้ Colonic obstrution ไม่ทำการตรวจ

- คนไข้ Colonic perforation  ใช้ water soluble contrast media

การเตรียมตัวผู้ป่วย

รับประทานอาหารอ่อนๆ ก่อนตรวจ 2 วัน, NPO 6-8 ชั่วโมง, งดสูบบุหร่และเคี้ยวหมากฝรั่งหลังที่ยงคืน, ผู้ป่วยที่ท้องผูกให้ทานน้ำมันละหุ่ง 30 มล. ก่อนนอนในคืนก่อนตรวจ , ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยสวนทวารหนักเนื่องจากจะเป็นสาเหตุให้มีการอุดตันของลำไส้เล็ก

เทคนิคการตรวจ

- ให้ผู้ป้วยดื่ม Barium ประมาณ 150 มล. หลังการตรวจ Upper GI study

- ถ่ายภาพ Plain abdomen หลังจากผู้ป่วยรับประทาน Barium เพิ่ม 15 นาที่ และถ่ายทุกๆ 15 นาที จนครบ 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นถ่ายภาพทุกๆ 30 นาที จนกระทั่งเห็น Barium Reflux เข้าไปที่ Terminal ileum

-  หลังจาก Barium Fill  ให้ Spot ภาพ Iliocacal vale

     %%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

Barium enema

     คือ การตรวจพิเศษทางรังสีของ ของลำไส้ใหญ่เพื่อดูความผิดปกติ โดยการสวนแบเรียมและลมเข้าไปทางทวารหนัก และบันทึกภาพส่วนต่างๆ

ข้อบ่งชี้ในการตรวจ

CA colon, Diverticulum/Diverticulosis, Mass, Lower GI Bleeding

ข้อระวัง

- คนไข้ Colon perforation ใช้ water soluble contrast media

- Severe diarrhea, Colonic obstruction

การเตรียมตัวผู้ป่วย

รับประทานอาหารอ่อนๆ ก่อนตรวจ 3-4 วัน, NPO 6-8 ชั่วโมง, งดสูบบุหร่และเคี้ยวหมากฝรั่งหลังที่ยงคืน, ผู้ป่วยที่ท้องผูกให้ทานน้ำมันละหุ่ง 30 มล. ก่อนนอนในคืนก่อนตรวจ , สวนทวารหนักด้วยน้ำสบู่ในตอนเช้า ก่อนตรวจ 30 นาที่

เทคนิคการตรวจ

 - ปล่อย Barium เข้า Rectum ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายลง เมื่อ Barium ถึง Splenic flexer ให้หยุดปล่อย

- ให้ผู้ป่วยนอนหงานแล้ว บีบลมตามเข้าไป แล้วทำการ Flu. ดูเป็นช่วงๆจน Barium ถึง Cecum แล้ว Colon distend ดี

- เริ่ม Spot Rectum และ Sigmoid พยายามตะแคงผู้ป่วยให้ Sigmoid คลี่ออกให้มากที่สุด (เพราะบริเวณนี้เกิด Lesion บ่อย)

- จัดท่าให้ผู้ป่วยหัวสูง Spot Desending, Splenic flexor, Transverse, Hepatic flexor, Ascending และ Cecum/Barium Fill

- จัดท่าให้ผู้ป่วยหัวต่ำ Spot Cecum/Air Fill

- ถ่าย Overhead AP, Bilateral decubitus, Lateral rectum prone, PA, Post evacuation

     %%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

หมายเลขบันทึก: 72583เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2007 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ขอบคุณมากนะคะ  สำหรับการกลั่นประสบการณ์การฝึกงานออกมาเป็นบันทึกดีดีเช่นนี้
  • ที่สำคัญ คือเป็นความคิดริเริ่มในการทำเอง ไม่ใช่โดยคำสั่งของอาจารย์  ไม่ใช่งานที่ต้องส่งเพื่อเอาคะแนน
  • ขอชื่นชม และเป็นกำลังใจให้ค่ะ

ไหนๆ อาจารย์ก็เข้ามาเยี่ยมเยียนแล้ว ขอความรู้เพิ่มเติมอีกสักหน่อยนะคะ คือ

  1. อยากทราบว่า  บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ ของนักรังสีเทคนิคในห้องตรวจพิเศษทางรังสีของระบบทางเดินอาหารที่ได้กล่าวข้างต้น  มีด้านใดบ้างค่ะ  เท่าที่ทราบ (มาแต่เก่าก่อน ) โรงพยาบาลบางแห่ง  นักรังสีเทคนิคมีบทบาทหน้าที่มากมายหลายอย่าง  บางแห่งก็ไม่มากนัก เพราะรังสีแพทย์ทำเอง คุณจีรศักดิ์ประสบกับแบบไหนค่ะ  เล่าให้ฟังหน่อย ว่าทำอะไรบ้าง ?
  2. อยากขอความเห็นด้วยว่า  ถ้าจะให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นผลดีต่อผู้ป่วยจริงๆ  นักรังสีเทคนิคที่ดี  ต้องมีความรู้ และทักษะในเรื่องใดบ้างที่จำเป็นสุดยอด ขาดไม่ได้  และที่สำคัญรองๆ ลงมา ได้แก่เรื่องอะไรบ้าง ? (เฉพาะในห้องตรวจพิเศษทางรังสีของระบบทางเดินอาหารที่ได้กล่าวข้างต้น)  

ตอนเข้ามาเขียนข้อคิดเห็นข้างบน  ไม่ทันได้สังเกตว่า คุณจีรศักดิ์ เปิด Blog ใหม่ชื่อว่า บันทึกความรู้ ความประทับใจและประสบการณ์ ต่างๆ ขึ้นอีก Blog หนึ่ง ก็เลยถามคำถามไป 2 ข้อ

พอได้อ่านใน Blog บันทึกประสบการณ์นั้น อาจารย์ก็ได้คำตอบอย่างที่อยากจะรู้ อย่างที่ถามไป

การบันทึกเรื่องเล่าที่เป็นประสบการณ์ตรง ทำให้อ่านได้อย่างมีอรรถรส  และได้ความรู้จากการปฏิบัติจริง ที่ดีจริงๆ ค่ะ  ขอบคุณมากค่ะ

อ้อ....แบ่งการบันทึก เป็นเรื่องๆ จะทำให้ค้นคว้าได้ง่ายกว่าการบันทึกลงไปในข้อคิดเห็นนะคะ

 

  • ขอบคุณมากครับอาจารย์สำหรับคำแนะนำ คร่าวหลังก็จะพยายามจัดหมวดหมู่ให้ดีขึ้นเพื่อความสะดวกในการค้นคว้าอย่างที่อาจารย์ว่าครับ
  • พอดี คือว่าเจ้าตัวบันทึกความรู้ ความประทับใจและประสบการฝึกงานเป็นงานที่อาจารย์ประจำวิชาได้มอบหมายให้ทำเป็นงานส่ง ผมก็เลยเอามาขึ้น Blog ไว้ด้วยนะครับ

 เพราะว่าถ้าเมื่อใดที่ได้เปิดอ่านมันอีกผมว่ามันก็จะทำให้นึกถึงประสบการณ์ที่เคยฝึกงานอยู่ที่นี้และคิดถึงอาจารย์และพี่ๆ ที่ฝึกงาน ด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท