บทเรียนที่เรายังไม่เคยเรียนในการทำแผนพัฒนาประเทศ


เราก็ไม่เคยให้ความสนใจว่า การกระทำดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดความเสียหายมากน้อยเพียงใด และยิ่งไปกว่านั้นแทบจะไม่เคยเห็นแผนที่ออกมาแก้ไขปัญหาอย่างตรงไปตรงมา

ในแวดวงวิชาการ เรามีแต่บ่นกันว่าแผนพัฒนาประเทศไม่ค่อยจะสอดคล้องกับความต้องการของคนที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก หรือแม้แต่จะมีแผน การปฏิบัติก็ยังไม่ตอบสนองความต้องการของชุมชนอยู่ดี และมักจะทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความต้องการของชาวบ้าน จนทำให้เกิดสภาพความเสื่อมโทรมของทรัพยากร ระบบสังคม และคุณภาพชีวิตของคนที่ด้อยโอกาส

  

เราพยายามทำแผนเพื่อการพัฒนาสิ่งเหล่านี้มาจนถึงแผน ๑๐ แต่เราก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความทุกข์ยาก ความยากจนของประเทศได้

  

สาเหตุที่สำคัญก็คือ

  

เราไม่เคยทบทวนอย่างจริงจังกับแผนที่เคยทำไปแล้ว ว่า พลาดในเรื่องอะไร โดยเฉพาะความเชื่อมโยงระหว่างปัญหาแต่ละระดับ แต่ละระบบ ที่จะต้องมีแผนแก้ไขกันอย่างไร

  

 มีแต่ทำไปเรื่อย ๆ การแก้ไขต่างๆ ก็แก้เฉพาะสิ่งที่พบเห็นในระดับผิวเผิน ไม่เคยเข้าไปแก้ไขโครงสร้าง แนวคิด กระบวนการทำงานที่สามารถจะแก้ไขปัญหาได้จริง

  

เช่น สาเหตุแห่งความยากจนในภาคประชาชนและชนบท ซึ่งเกิดจากกระแสบริโภคนิยม และระบบการสร้างหนี้ในภาคประชาชน ที่ทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนาทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว

  

แต่แทบไม่เคยมีแผนการแก้ไขปัญหาสิ่งเหล่านี้แต่อย่างใด มีแต่แผนระดับยาหม่อง ยาดม เพื่อแก้ปัญหาเล็กๆ เฉพาะหน้าเท่านั้น

  

นอกจากนี้ นโยบายของรัฐบาลหลาย ๆ รัฐบาลที่ผ่านมา ก็เน้นประชานิยม ทำให้ชาวบ้านรู้สึกพอใจโดยไม่สนใจว่าจะเป็นการแก้ปัญหาจริงหรือไม่ เพื่อหวังผลความนิยมของชาวบ้านต่อคนที่กำหนดนโยบายเท่านั้น

  ฉะนั้น แนวทางออกที่สำคัญ ก็คือ เราต้องมาสรุปบทเรียนว่าสิ่งที่ผ่านมา อะไรที่ทำให้เกิดปัญหาในระบบของสังคม เศรษฐกิจ วิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อม  

 

โดยพยายามทำความเข้าใจ ผลกระทบที่สะท้อนกลับไปกลับมา จนทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง ต่อระบบทรัพยากร ทุนทางสังคม มากกว่าที่จะเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบทำลายฐานรากแต่เพียงอย่างเดียว

  

ทั้งนี้ เนื่องมาจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาเป็นการใช้ต้นทุนทางทรัพยากรและสังคมค่อนข้างมาก ที่ทำให้เกิดความเสียหายในทั้งสองระบบดังกล่าวข้างต้น

  

แต่เราก็ไม่เคยให้ความสนใจว่า การกระทำดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดความเสียหายมากน้อยเพียงใด และยิ่งไปกว่านั้นแทบจะไม่เคยเห็นแผนที่ออกมาแก้ไขปัญหาอย่างตรงไปตรงมา ถึงลูกถึงคน เสมือนหนึ่ง เราไม่เคยสรุปหรือมีบทเรียนในการทำแผนพัฒนาประเทศ ทำให้เรามีปัญหาสะสม ทับซ้อน จนทำให้ไม่ทราบว่าจะเริ่มแก้ไขปัญหาที่จุดใดเป็นการเริ่มต้น

  

ไม่ว่าจะเป็นแผนการพัฒนาทรัพยากร  แผนการพัฒนาการศึกษา   แผนการพัฒนาสังคม  และแผนการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

  

ดังนั้น ในปัจจุบัน สภาพการพัฒนาของประเทศไทย จึงอยู่ในลักษณะล้มลุกคุกคลาน ไม่ทราบใครจะเป็นคนแก้ และแก้อย่างไร

  

เราจะมีโอกาสกลับมาทบทวนกันใหม่ไหมครับ

หรือเราจะไม่สนใจว่าความเสียหายเกิดขึ้นอย่างไร ก็จะขออยู่ไปเรื่อย ๆ อย่างนี้แหล่ะ

โดยหวังว่าวันหนึ่งพระศรีอาริย์ จะมาโปรด  แล้วทุกอย่างก็จะดีขึ้น และเราก็จะรอดกันหมด โดยไม่ต้องทำอะไรเลย อย่างนั้นหรือครับ..

หมายเลขบันทึก: 71873เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2007 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เรื่องนี้มีคำอธิบายครับ

ราชการมีวัฒนธรรมราชการ

ชาวบ้านมีวัฒนธรรมชาวบ้าน

ต่างคนต่างทำ แล้วก็อ้างเพื่อกันและกัน

ในความเป็นจริงไม่ใช่ พายงัดคนละด้าน

ส่วนข้ออ้างเป็นยันต์กันผี

ต้องรอให้วัฒนธรรมล่มสลายกระมัง มันถึงจะเต๊าะแต๊ะ

เกิดแผนพัฒนาที่เป็นกลางเป็นจริงไม่อิงผลประโยชน์ แต่อิงประเทศชาติ อิงสังคม

เรื่องนี้บ่นเกิดประโยชน์น้อย

ถ้าจะให้เกิดผลต้องลงมือทำ

ภาษาKM.บอกว่า ต้องมาจากการปฏิบัติ

ยังสงสัยว่าทำไมเล่าฮูถึงพูดเรื่องนี้ช้าจัง

ปล่อยมาจนถึงแผน10

ถ้าพูดถึงเรื่องแผน  แล้วเอา Swot  จับ

กับพูดเรื่องแผน  แล้วเอาอริยสัจ 4  มาเป็นต้นคิด

แผนเมืองไทยกับทฤษฏีใครก็ไม่รู้

แผนเมืองไทยกับทฤษฏีไทย อย่าง อริยสัจ 4

อะไรน่าจะดี.......คร้บอาจารย์

ผมก็เพิ่งเกิดครับครูบา

อันนี้ขอโยนให้พ่อแม่ผมครับ

และก็เพิ่งรู้

อันนี้ขอรับผิดเองครับ

ข้าน้อยสมควรตาย ๑๐๐๐ ครั้ง แต่คราวนี้ขอชีวิตไว้ก่อนนะครับ

 

ศิริลัคนา เปี่ยมศิริ

๑) ราชการมีวัฒนธรรมแบบราชการ

ชาวบ้านมีวัฒนธรรมแบบชาวบ้าน

ต่างคนต่างทำและอ้างว่าเพื่อกันและกัน??

สงสัยอยู่ค่ะ

คิดว่า คนหนึ่งทำ คนหนึ่งถูกกระทำ มากกว่า

๒) เห็นว่าช่วงสองสามปีให้หลังมานี้ มีการพูด การอภิปรายที่หนาหูมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน ว่าความ  เป็นกลาง  ที่เคยเชื่อมั่นนั่นหนา มันสิ่งที่ไม่เคยมี มีแต่คนเอามาพูดให้โก้หรู ดูรักสงบเท่านั้นเอง

ทีหลังคุณตุ๊กรุณาเข้าระบบก่อนนะครับ

ไม่งั้นคนอื่นจะไม่รู้จักคุณตุ๊ครับ

ตอบ

แล้วเรามีระบบราชการไว้ทำไมครับ

  • เอาไว้ดูเล่นงั้นหรือครับ
  • ผมคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยครับ

เราต้องปรับเข้าหากัน ใครมีทรัพยากรมากกว่า ก็ต้องปรับมากกว่า ในทุกเรื่อง

  • บางเรื่องชาวบ้านมีมากกว่า
  • บางเรื่องระบบราชการมีมากกว่า

ค่อยๆปรับไป แบบเรียนรู้ร่วมกัน เดี๋ยวก็จะเข้าใจกันมากขึ้น แล้วก็น่าจะดีขึ้นครับ

เราต้องรีบ แต่ต้องไม่ใจร้อนครับ

คุณตุ๊เป็นคนหนึ่งที่ช่วยได้ครับ

ขอฝากความหวังด้วยนะครับ

เรื่องนี้ไม่ควรคิดทำนอง เหมือนโทษกันไปมา

อุเบกขา แล้วมาทบทวนดูจะเห็นว่า

เมื่อก่อนราชการเป็นเสาหลัก แต่ทุกวันนี้ไม่ใช่

โดนการเมืองครอบงำ เราจึงไม่มีแผนที่บริสุทธิ์ แผนทุกแผนแปดเปื้อนเพราะฝ่ายการเมืองล้วงลูก

ไม่ควรโทษ ไม่ควรโหยหา เพราะเราทำเอง ขายสิทธิเอง เลือกเขาไปเอง จึงควรทำสะติ๊กเกอร์ คำว่า

"สมน้ำหน้าตัวเอง" ที่มันไม่อบรมสอนลูกสอนหลานให้เห็นค่าของสิทธิหน้าที่พลเมืองดี

ต่อไปยิ่งยาก อยู่ในสังคมที่หลอแหลกันจนเป็นปกติ ต่างคนต่างรู้ๆกันอยู่แต่พูดไม่ได้ เพราะหลังมืดที่ครอบงำมันแข็งแรงขึ้นเรื่อยจนเราฝ่อ ลีบ เหี่ยว หุบ แล้วก็แห้ง เหมือนเขียดตากแดด ตากลม แรมปี

ตรงนี้ตอบประเด็นท่านเล่าฮูแล้วนะครับ

เจริญพร อาจารย์

บันทึกของอาจารย์ สื่อ ถึงพลังบางอย่างออกมา นะครับ...

นอกประเด็นนะครับ แต่อาจารย์อาจโยงเข้าเป็นเรื่องเดียวกันได้

หลังจากประกาศตั้ง สภาฯ (ชุดปัจจุบันนี้แหละ ทั้งชื่อยาวชื่อย่อสั้น นึกไม่ออก เกรงจะผิด) ไม่มีใครแสดงจุดยืน ไม่รับตำแหน่งเลยนะครับ มีแต่รู้สึกเป็นเกียรติ ..ทำนองนี้...ไม่มีใครพูดถึงว่า เงินเดือนเท่าไหร่ เบี้ยประชุมเท่าไหร่ ...

เจริญพร

กราบนมัสการ ท่านพระมหาชัยวุธครับ

ตอนนี้ก็เริ่มเห็นลายแล้วครับว่าด้วยเกียรติ์นั้นท่าจะไม่รอด จะต้องไปตามกรรมซะแล้วครับ

แล้วคนที่จะมาใหม่จะมาด้วยเกียรติ อีกหรือเปล่าไม่ทราบครับ

การเมืองก็มีปัญหา การบ้านก็มีปัญหา และระบบราชการก็มีปัญหา

คงต้องอยู่ไปแบบนี้แหละครับท่าน

ครูบาครับ

ในฐานะที่ผมอยู่ในระบบราชการผมเห็นอะไรภายในที่เราไม่ค่อยกล้าพูดกัน

เดี๋ยวผมจะนำมาแจงอีกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท