การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ที่ต้องใช้เวลา


การเปลี่ยนความเคยชินจากการการเรียนการสอน มาเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่ใช่เรื่องงายนัก

    ตอนนี้ได้พยายามทดลองปรับกระบวนการอบรม ซึ่งเปลี่ยนจากวิธีการเดิมที่เคยทำกันมา คือการอบรมในห้องเรียน ซึ่งภาพที่เห็นชินตาสำหรับการอบรมคอมพิวเตอร์คือ ผู้เรียนนั่งประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ตั้งเป็นแถวหน้ากระดานในห้อง โดยมีผู้สอนยืนอธิบายหน้าห้อง มาเป็นวิธีการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้น กลุ่มทดลองในครั้งนี้ คือ นักศึกษาฝึกงาน เรียนทางด้านคอมพิวเตอร์ ในระดับปริญญาตรี ภาคเรียนสุดท้าย จำนวน 5 คน เนื้อหาในการเรียนรู้ครั้งนี้คือ การสร้างสื่อ ประกอบบทเรียนในระบบ e-Learning 
     กระบวนการที่พยายามให้แตกต่างจากการอบรมที่ผ่านๆมา คือ พยามยามไม่ให้คิดว่าครูเป็นศูนย์กลาง  คือ ไม่ยืนสอนหน้าห้อง แต่ห้องเรียนยังคเหมือนเดิม เนื่องจากขยับโต๊ะคอมพิวเตอร์ไม่ได้ เนื่องจากติดตั้งตายตัวกับพื้น และเชื่อโยงกับระบบไฟ และสาย LAN จึงตั้งโต๊ะเป็นหน้ากระดาน ดังนั้น ผู้สอน จึงเปลี่ยนมายืนบ้าง นั่งบ้าง อยู่ในกลุ่มเดียวกับนักศึกษา โดยเดินไปเดินมาที่โต๊ะผู้เรียน หรือนั่งข้างๆผู้เรียน กระบวนการอลรม ก็เปลี่ยนเป็นการบอกกรอบเนื้อหาว่า เรากำลังจะทำอะไร เพื่ออะไร แล้วเริ่มกระบวนการ เรียนรู้ ด้วยการพูดคุยกันมากกว่าเป็นการบรรยาย มีสื่อให้ศึกษา เนื่องจากผู้เรียนมีน้อยคน แต่ละคนก็เรียนรู้ โดยมีครูช่วยแนะนำ เวลาใครมีปัญหา ทำไม่ได้ เพื่อนที่ทำได้ ก็จะช่วยกัน ถ้าทุกคนทำไม่ได้ ผู้สอนจะช่วย บางเรื่องผู้สอนก็ไม่รู้ แต่ละคนช่วยกันหาคำตอบ
    ผลที่เกิดคือ ผลงานแต่ละคนออกมาหลากหลาย ต่างกับที่เคยทำมา ผลงานทุกคนจะออกมาเหมือนกันหมด เพราะทำตามตำรา หรือตามที่ผู้สอนบอก และการเรียนจะเป็นการต่อยอดกัน คือ คนแรกทำได้ระดับหนึ่ง คนต่อไปมาเรียนรู้ และพัฒนาต่อไปอีก จึงเป็นการเรียนรู้ และพัฒนาความรู้ที่ไปเรียนรู้มาจากเพื่อน
   ความสำเร็จ ดีขึ้นกว่าวิธีการเดิม แต่ยังไม่มากนัก เพราะยังสลัดวิธีการเรียนแบบเดิมออกจากความคิดไม่ได้ โดยสังเกตุพฤติกรรมที่เกิดขึ้นดังนี้
    1 เมื่อเกิดปัญหา ไม่พยายามที่จะเรียนรู้และแก้ปัญหาด้วยตนเองก่อน หรือเรียนรู้จากเพื่อนก่อน  แต่จะถามผู้สอนทันที  เพราะเป็นวิธีที่ง่าย ผลก็คือ เกิดปัญหาซ้ำๆ และก็ต้องถามทุกครั้ง เพราะเมื่อแก้ปัญหาได้ง่ายๆ ก็ลืมง่าย
     2 ยังยึดติดคำสั่งผู้สอน ให้ทำอะไร ก็ทำแค่นั้น ถ้าไม่บอกให้ศึกษาเรื่องต่อไปก็จะไม่ทำ รอให้สั่ง ต้องใช้เวลาค่อนข้างมากกว่าจะเริ่มคุ้นเคยว่า อยากเรียนรู้ หรือปฏิบัติเรื่องอะไรก็ทำไปได้เลย ไม่ต้องคอยคำสั่งจากผู้สอน
     3 กลัวจะทำผิด วิธีการแก้ปัญหาทำได้หลายวิธี แต่ถ้าไม่ใช่วิธีการที่ผู้สอนบอก ก็จะคิดว่า เป็นวิธีการที่ผิด ทั้งๆ ที่วิธีการแก้ของตยเองนั้นดีกว่าวิธีการที่ผู้สอนบอก

    จากประมวลประสบการณ์ระยะสั้น ในช่วง 2 วันที่ผ่านมากอาจจะยังสรุปไม่ได้ว่าผลเป็นอย่างไร แต่อย่างน้อยๆ ก็ทำให้เห็นธรรมชาติของการเรียนการสอนหรืออาจจะเรียนว่าวัฒนธรรมการเรียนการสอนในปัจจุบันว่า ผู้เรียนก็ยังเคยชินการหารที่มีครูเป็นศูนย์กลาง ครูก็ยังเคยชินกับความรู้สึกว่า ครูเป็นผู้รู้ เป็นผู้ให้ ไม่ใช่เป็นผู้สร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูยังเป็นผู้สอน ไม่ใช่เพื่อนเรียนรู้

     ยังมีเวลาที่จะปรับพฤติกรรมทั้งผู้สอนและผู้เรียนอีก 1 เดือน จะพยายามต่อไป 

คำสำคัญ (Tags): #เพื่อนเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 71680เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียน...ท่านอาจารย์ศรีเชาวน์ 

        เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับอาจารย์... เพราะเท่าที่ดูดูแล้ว คำว่า "ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง" นั้นเขียนไว้ให้สวยหรูเสียเป็นส่วนใหญ่ หากมาดูในทางปฏิบัติ ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา จนถึงระดับมหาวิทยาลัยก็ยังคงใช้ครูผู้สอนเป็นสำคัญอยู่ครับ...

        กรณีนักศึกษาฝึกงานที่ กศน.เมืองนครศรีฯก็มีครับเป็นนักศึกษาวิชาเอกพัฒนาชุมชน... 3  คน ครับ  กลุ่มน้ีให้เรียนรู้ในเรื่องการเขียนบล็อก เพื่อที่จะติดต่อแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ผู้นิเทศ และพัฒนาการทำงานของนักศึกษาเอง การเปิดบล็อกนักศึกษาก็ศึกษาเรียนรู้เองจากเอกสารที่ให้

        เปรียบเทียบผู้เรียนตอนน้ี  เหมือนลูกไก่  กับลูกนก  ซึ่งมีพัฒนาการในการอยู่รอดต่างกัน           ผมขอยกเอาคำคม ศ. ดร. เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์ ที่กล่าวว่า  "จงเป็นลูกไก่ที่ใฝ่รู้" คือคุ้ยเขี่ยหาความรู้ หรืออาหารได้ด้วยตัวเอง  อย่ามัวรอเหมือน "ลูกนกที่รอรู้" คือ ต้องคอยให้พ่อแม่นกหามาป้อน ไม่ได้คุ้ยเขี่ยหรือศึกษาเอาเอง   เหมือนกันไหมครับ  ระหว่างผู้เรียนที่ศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง  กับผู้เรียนที่รอให้ครูเข้ามาบอกมาสอนอยู่ตลอด  

         แต่ก็ยังสนับสนุนอาจารย์นะครับว่า กระบวนทัศน์   วัฒนธรรม  ต้องค่อย ๆ เปลี่ยน  แต่ขณะเดียวกันก็ต้องให้ผู้ที่ต้องการจะรู้  มีใจที่อยากจะเปลี่ยนด้วยความสมัครใจ   อย่างน้ีจะรอได้ไหมครับ...อาจารย์

                 ด้วยความเคารพ

                               ครูราญเมืองคอน คนนอกระบบ
 

วันนี้ไปพบเนื้อหาที่น่าสนใจ เรื่อง การบริหารบุคคลตามทฤษฎี competency เป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึง จึงเอามาแนะนำไว้

เรียน...อาจารย์ศรีเชาวน์

        ขอบพระคุณมากๆ ครับอาจารย์ที่ส่งบันทึกดีๆ มา ลปรร  เป็นประโยชน์มากเลยครับ bookmarks เพื่อความสะดวกในการอ่าน และบริการผู้ที่สนใจ

        บันทึกที่นำมาให้อ่านเป็นแนวทางในการที่จะใช้ ในการ พัฒนาสมรรถนะทีมทำงาน  ตามบทบาทของ ตัวละคร  KM ในการที่จะลงไปทำกระบวนการ ส่งเสริมและ สนับสนุนคุณกิจในพื้นที่ ของโครงการ จัดการความรู้ แก้จนเมืองนคร

                 เป็นพระคุณอย่างสูงครับ

                          ครูราญเมืองคอน คนนอกระบบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท