ชีวิตที่พอเพียง  4389. พลังของความกำกวม


 

ผมเชื่อในพลังของความกำกวม (ambiguity) ที่ส่งผลต่อความสร้างสรรค์ (creativity)     ดังนั้นเมื่อ อ. หมอ บดินทร์ ส่งลิ้งค์เล่าการไปเข้า workshop เรื่อง Navigating Ambiguity ของ อ. ธงชัย โรจน์กังสดาล ที่ https://bit.ly/3VhcjYe    ผมรีบเข้าไปอ่าน

แล้วก็ได้เห็นวิธีฝึก Future Skills ผ่าน workshop เรื่อง Navigating Ambiguity นี้   ที่คนในวงการศึกษาควรเข้าไปเรียนรู้และหาทางนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน    ซึ่งควรทำในเด็กทุกวัย   

ผมยังคิดว่า การประชุมปฏิบัติการนี้ เป็นเพียงเบื้องต้นของการเรียนรู้เรื่องคุณค่าของความกำกวมเท่านั้น     บทเรียนที่แท้จริงอยู่ในชีวิตจริง  การเผชิญสถานการณ์จริง     

ทักษะเผชิญความกำกวม และใช้ความกำกวมให้เป็นประโยชน์ เป็นส่วนหนึ่งของ ทักษะแห่งอนาคต (Future Skills)  

เป็นทักษะที่ผมตั้งหน้าตั้งตาฝึกอยู่ในปัจจุบัน อย่างสนุกสนาน    เพราะมันเปิดอิสระในการคิดให้แก่เรา

เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๕ ผมไปสุราษฎร์ธานี    ไปสังเกตการณ์การประชุมปฏิบัติการเรื่อง Dialogic Teaching   ที่มีทีมวิทยากรมาจากหน่วยงาน CCE แห่งสหราชอาณาจักร    นำโดยคุณ Paul Collard    เมื่อได้คุยกัน ท่านบอกว่าท่านยังเอาคำพูดของผมว่า ambiguity is freedom ไปใช้ในอีกหลายโอกาส    คำพูดนี้ผมพลั้งปากพูดกับท่านในการประชุมปฏิบัติการเมื่อต้นปี ๒๕๖๕ ที่ มรภ. หมู่บ้านจอมบึง   ที่ผมเล่าไว้ที่ (๑),   (๒),   (๓) 

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ธ.ค. ๖๕

 

 

 

 

 

                   

 

หมายเลขบันทึก: 711456เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2023 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2023 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท