ศึกษาก่อนจะพิพาท บริษัทชินแซทแทลไลท์


หากเกิดกรณีพิพาททางกฎหมายกับSSA

      อย่างที่เราได้ทราบและติดตามการขายหุ้นชินคอร์ปให้ทางเทมาเส็ก หากมีข้อพิพาททางกฎหมายกับ บริษัทชินแซทแทลไลท์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือชินคอร์ปแล้ว การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งแล้วคู่กรณีจะต้องไปขึ้นศาลที่สิงค์โปร อย่างที่เราทราบกันแล้วว่าปัจจุบัน ชินแซทแทลไลท์  หรือ SSA ได้เป็นบริษัทสัญชาติจดทะเบียนและถูกซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สิงค์โปรไปแล้ว ซึ่งปัจจุบันการบริหารจัดการนั้นก็ตกอยู่กับทางเทมาเส็ก ซึ่งมีคดีความที่จะต้องเกิดการเรียกร้องต่อความเสียหายแล้วจะต้องฟ้องร้องกับทางศาลสิงค์โปรจึงน่าจะดีที่สุดโดยเฉพาะหากคดีที่ฟ้องร้องนั้นมีค่าเสียหายสูง

        แต่หากเป็นทางอาญานั้นอาจเรียกฟ้องร้องกับทางศาลในประเทศไทยได้เช่นกันและอาจฟ้องร้องต่อ กทช.หรือ กระทรวงไอซีที ได้เช่นกัน เพราะหากเรามองไปแล้วจะพบว่าถึงแม้ว่าการขายหุ้นทั้งหมดที่ผ่านมานั้นเป็นเพียงขายกรรมสิทธิ์ที่ผูกพันธุ์เฉพาะการบริหาร แต่ถ้าหากว่าบริษัทชินแซทแทลไลท์ ได้กระทำผิดกฎหมายที่อาจเกี่ยวข้องกับความมั่นคงหรือเสรีภาพของประชาชนแล้ว ในฐานะผู้กำกับดูแล กทช.หรือกระทรวงไอซีทีที่เป็นผู้ดูแลคู่สัญญาสัมปทาน อีกทั้งวงโคจรดาวเทียมและตัวดาวเทียมนั้นที่ยังเป็นสมบัติของชาติอยู่ ชินแซทแทลไลท์ในฐานะผู้รับสัมปทานก็มีสิทธิ์ที่จะโดนฟ้องร้องในศาลไทยได้อยู่เช่นกัน ซึ่งในจุดนี้เองเทมาเส็กก็ต้องยิ่งควรระวังเป็นอย่างมากในการดำเนินธุรกิจ เพราะอาจถูกถอนสัมปทานได้เหมือนกรณี โรงไฟฟ้า ในสเปนเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนของกฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งเอกสิทธิทางด้านการทูตที่จะคุ้มครอง SSA เนื่องจากปัจจุบัน SSA ได้กลายเป็นบริษัทสัญชาติสิงค์โปรไปแล้ว รวมถึงปัญหาขัดกันของกฎหมายสัดส่วนการถือหุ้นของกฎหมายไทย/สิงค์โปรอีก ยังไงเรื่องนี้ก็คงจะยังต้องรอทิศทางของนักกฎหมายและรัฐบาลทั้ง 2ประเทศ ว่าจะมีทางออกร่วมกันอย่างไร (ปัจจุบันนี้สถานการณ์ก็ยังอึมครึมอยู่) 

                  

หมายเลขบันทึก: 71126เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2007 08:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท