ชะตากรรมของปลา


แล้วปลาที่มีลักษณะอย่างไรจึงจะจัดการความรู้แล้วเป็นประโยชน์ต่อตนเอง เพื่อนฝูง ลูกหลาน และปลาอื่นๆ

เมื่อวาน ผมมีโอกาสได้ไปทานอาหารเย็นในโอกาสวันคล้ายวันเกิดของเพื่อนที่จังหวัดขอนแก่น

และได้พบสถานการณ์ที่น่าสนใจด้าน KM ดังนี้

 

ปลาที่อยู่ในตู้ปลาของร้านอาหารนี้ จะจัดการความรู้อย่างไรก็ยากที่จะรอดไปได้

 

กุ้งมังกรสองตัวนี้คงไม่มีโอกาสที่จะว่ายน้ำอีกต่อไป

ปลาตัวนี้แม้จะมีครบ ทั้งหัว ทั้งตัว และหาง ก็ว่ายน้ำไม่ได้

แล้วปลาที่มีลักษณะอย่างไรจึงจะจัดการความรู้แล้วเป็นประโยชน์ต่อตนเอง เพื่อนฝูง ลูกหลาน และปลาอื่นๆ

  • ต้องมีชีวิตจริง ในสภาพจริงของตนเอง ไม่มีระบบอื่นใดมาครอบงำปิดกั้นความคิด
  • ต้องไม่แยกส่วนเป็นชิ้นๆ แบบนักวิชาการสายเดี่ยว
  • ต้องไม่มีกรอบอะไรมาครอบ ทำให้ขาดอิสระของกระบวนการจัดการความรู้
  • ต้องมีอิสระทางการพัฒนาความคิด และการหาความรู้
  • ต้องมีอิสระในการทดสอบ และขยยผลการใช้ความรู้
  • ต้องมีโอกาสในการใช้ และขยายผลการใช้ความรู้จริงๆ ในชีวิตจริง
  • ต้องมีโอกาสถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้
  • ฯลฯ

ท่านเห็นว่าอย่างไรครับ ช่วยเติมให้ด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 70944เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2007 03:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียน อาจารย์ดร.แสวง   รวยสูงเนิน

  • การที่นำปลามาตัวหนึ่งเพื่อมาอธิบายให้เห็นเป็นส่วนๆ ว่าส่วนนี้คืออะไรนั้น เป็นเพียงการยกตัวอย่างให้เห็นภาพที่ชัดเจน ง่ายต่อการทำความเข้าใจครับ
  • สำหรับในชีวิตแห่งความเป็นจริงนั้นทุกส่วนต้องบูรณาการกันอยู่แล้วครับ จึงจะทำให้การจัดการความรู้สมบูรณ์ และเกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร และชุมชน

ด้วยความเคารพ

อุทัย   อันพิมพ์

แต่ปลาในตู้ก็ไปไหนไม่รอดครับ

ไม่ทอดก็ต้มครับ ปลาไม่ต้องจัดการความรู้ก็ได้ครับ

  • นอกจากจะต้องมีชีวิตจริง โอกาส และอิสระฯลฯ  สิ่งที่จะขาดไม่ได้ก็น่าจะเป็นพื้นที่จริงๆ ในการ ลปรร.ด้วยนะครับ ซึ่งก็อาจจะเป็นบ่อ-สระ-ห้วย-หนอง-คลอง-บึง ฯ ที่มีน้ำให้แวกว่ายได้อย่างอิสระ
  • สวัสดีปีใหม่ครับ

ท่านสิงห์ป่าสัก

นี่ก็เป็นอีกหวังหนึ่งของผมที่อยากจะเห็นจริงๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท