คำแนะนำทางวิชาการสหกรณ์แก่สหกรณ์ประเภทสหกรณ์บริการใช้ได้กับทุกสหกรณ์


                    คำแนะนำทางวิชาการสหกรณ์แก่สหกรณ์ประเภทสหกรณ์บริการใช้ได้กับทุกสหกรณ์

                   สหกรณ์บริการ............ จำกัด ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นในรายงานผู้สอบบัญชีอย่าง
ไม่มีเงื่อนไข

  1. สหกรณ์บริการ..............จำกัด จดทะเบียน เมื่อวันที่ ………………….. ในวันสิ้นปี
    มีสมาชิกสามัญทั้งสิ้น........ คน  มีสมาชิกสมทบ....... ราย

                   2. สหกรณ์บริการ.......... จำกัด เป็นสหกรณ์ประเภท สหกรณ์บริการ เป็นสหกรณ์อเนกประสงค์ตามหลักวิชาการสหกรณ์ สามารถที่จะรับสมาชิกสหกรณ์ได้หลากหลาย และให้บริการสมาชิกสหกรณ์ได้อย่างหลากหลาย  ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ 

                   มาตรา ๔๖ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการ ดังต่อไปนี้ได้ 

                   (๑) ดำเนินธุรกิจการผลิต การค้าการบริการและอุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ของสมาชิก 

                   (๒) ให้สวัสดิการหรือการสงเคราะห์ตามสมควรแก่สมาชิกและครอบครัว

                   (๓) ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิก 

                   (๔) ขอหรือรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากทางราชการ หน่วยงานของต่างประเทศ หรือบุคคลอื่นใด 

                   (๕) รับฝากเงินประเภทออมทรัพย์หรือประเภทประจำจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่น หรือสมาคมฌาปนกิจ สงเคราะห์ซึ่งมีสมาชิกของสมาคมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน ทั้งนี้ตาม ระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์ 

                   (๖) ให้กู้ให้สินเชื่อ ให้ยืม ให้เช่า ให้เช่าซื้อ รับจำนองหรือรับจำนำ ซึ่งทรัพย์สินแก่สมาชิกหรือของสมาชิก 

                   (๗) จัดให้ได้มา ซื้อ ถือกรรมสิทธิ์ หรือทรัพยสิทธิ ครอบครอง  กู้ยืม เช่า เช่าซื้อ รับโอนสิทธิการเช่าหรือ สิทธิการเช่าซื้อ จำนอง หรือจำนา ขาย หรือ จำหน่ายด้วย วิธีอื่นใดซึ่งทรัพยสิน ทรัพย์สิน 

                   (๘) ให้สหกรณ์อื่น กู้ยืม เงินได้ตามระเบียบของสหกรณ์ ที่ได้รับความเห็นชอบจาก
นายทะเบียนสหกรณ์

                   สหกรณ์ประเภทสหกรณ์บริการจะเป็นสหกรณ์ที่เหมาะสมกับอนาคตที่มีเทคโนโลยี่ทันสมัย และการสื่อสารที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น สหกรณ์ควรดำเนินการตามหลักวิชาการสหกรณ์ถูกต้องครบถ้วน 
เพื่อความยั่งยืนของสหกรณ์เอง....................................................................................................................... 
                   3. สหกรณ์บริการ.............. จำกัด สหกรณ์ให้บริการสมาชิกสหกรณ์ในเรื่อง การให้เงินกู้แก่สมาชิกสหกรณ์ ให้บริการรับฝากเงินจากสมาชิกสหกรณ์ ให้บริการรวมกันซื้อ............แบ่งปันจัดสรรให้แก่สมาชิกสหกรณ์ ให้บริการรวมกันขาย และบริการสวัสดิการสังคมอื่น ๆ แก่สมาชิกสหกรณ์...........................
                   การให้บริการสมาชิกของสหกรณ์ตามปรัชญาของการสหกรณ์ “ช่วยตน ช่วยกัน self help mutual help”  คือ การให้บริการของสหกรณ์ ที่ให้สมาชิก (เจ้าของสหกรณ์) ได้มาแบ่งปันโอกาสการใช้เงินระหว่างกัน  โดยสมาชิกสหกรณ์ผู้ถือหุ้น และสมาชิกสหกรณ์ผู้ใช้บริการรับฝากเงินจากสหกรณ์ 
เป็นผู้มีโอกาสในการใช้เงินที่เหลือเกิน ได้นำโอกาสการใช้เงินดังกล่าว มาแบ่งปันให้สมาชิกสหกรณ์ผู้ใช้บริการเงินกู้  ซึ่งขาดโอกาสการใช้เงิน ได้ใช้บริการเงินกู้เพื่อนำเงินที่ได้รับจากการแบ่งปันนั้นไปใช้ในการสร้างชีวิต สร้างครอบครัว ด้วยความพอเพียง ตามความจำเป็น และได้จ่ายค่าตอบแทนในรูปดอกเบี้ยเงินกู้ และค่าบริการแก่สหกรณ์ สหกรณ์นำค่าตอบแทนนั้นไปจ่ายให้กับผู้ฝากเงินในรูปดอกเบี้ยเงินฝาก (interest) และให้ผู้ถือหุ้นในรูป เงินปันผล (dividend) ตามสมควร...............................................................................................................
                    การให้บริการรวมกันซื้อ และการให้บริการรวมกันขาย ของสหกรณ์ นั้นทำให้เกิด Economies of  scale จากการรวมกัน ทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่อง logistics เกิดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ทั้งในการรวมกันขาย หรือ ห่วงโซ่อุปทาน (supply chain)  และการรวมกันซื้อ ห่วงโซ่อุปสงค์ (demand chain)                   
                      ในระหว่างการดำเนินการเมื่อสิ้นปีแล้วสหกรณ์มีส่วนเกิน (surplus) จากการให้บริการสมาชิก ก็สามารถจ่ายเงินเฉลี่ยคืน (patronage refund) ให้แก่สมาชิกสหกรณ์ทั้งสมาชิกผู้ใช้บริการรับฝากเงิน และสมาชิกผู้ใช้บริการเงินกู้ได้ ตามหลักวิชาการสหกรณ์ ในหลักการสหกรณ์สากลที่ 3 : การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิกสหกรณ์ พึงมีความเที่ยงธรรมในการให้ และควบคุมการใช้เงินทุนในสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย ทุนของสหกรณ์อย่างน้อยส่วนหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินส่วนร่วมของสหกรณ์ สมาชิกจะได้รับผลตอบแทนสำหรับเงินทุนตามเงื่อนไขแห่งสมาชิกภาพในอัตราที่จำกัด (ถ้ามี) มวลสมาชิกเป็นผู้จัดสรรผลประโยชน์ส่วนเกินเพื่อจุดมุ่งหมายประการใด ประการหนึ่งหรือทั้งหมด จากดังต่อไปนี้ คือ เพื่อการพัฒนาสหกรณ์ของตนโดยจัดให้เป็นทุนของสหกรณ์ ซึ่งส่วนหนึ่งของส่วนเกินนี้ต้องนำมาแบ่งปันกัน เพื่อเป็นผลประโยชน์แก่สมาชิกตามส่วนของการใช้บริการของสหกรณ์ (transactions with the co-operative ) 
และเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอื่นใดที่มวลสมาชิกเห็นชอบ (3rd Principle: Member Economic Participation  : Members contribute equitably to, and democratically control, the capital of their co-operative. At least part of that capital is usually the common property of the co-operative. Members usually receive limited compensation, if any, on capital subscribed as a condition of membership. Members allocate surpluses for any or all of the following purposes: developing their co-operative, possibly by setting up reserves, part of which at least would be indivisible; benefiting members in proportion to their transactions with the co-operative; and supporting other activities approved by the membership.)                 

                   4. สหกรณ์ควรให้ความรู้ในเรื่อง “หลักวิชาการสหกรณ์” แก่สมาชิกสหกรณ์ และผู้เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง ตามหลักการสหกรณ์สากล ที่ 5 การศึกษา อบรม และข่าวสาร : พึงให้การศึกษา การฝึกอบรม แก่มวลสมาชิกผู้แทนจากการเลือกตั้ง ผู้จัดการ พนักงาน เพื่อบุคคลเหล่านั้น สามารถช่วยพัฒนาสหกรณ์ของตนได้อย่างมีประสิทธิผล และสามารถให้ข่าวสาร แก่สาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่เยาวชน และผู้นำทางความคิดในเรื่อง คุณลักษณะและคุณประโยชน์ของสหกรณ์ได้

                   4.1 ลักษณะของสหกรณ์ (nature) ตามนิยามสหกรณ์สากล : สหกรณ์เป็นองค์การอิสระ ของบุคคล ซึ่งรวมกันด้วยความสมัครใจ เพื่อสนองความต้องการอันจำเป็น (needs) และความมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจร่วมกัน เป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุม
ตามแนวทางประชาธิปไตย สมาชิกของสหกรณ์ ตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์ เปิดเผย รับผิดชอบต่อสังคม 
และเอื้ออาทรต่อผู้อื่น      

                   4.2 คุณประโยชน์ของสหกรณ์ (benefit)

                   4.2.1 คุณประโยชน์ของสหกรณ์ที่เป็นตัวเงิน (tangible benefit) เช่น เงินปันผล (dividend) เงินเฉลี่ยคืน (patronage refund) ดอกเบี้ยรับ ฯลฯ

                   4.2.2 คุณประโยชน์ของสหกรณ์ที่ไม่เป็นตัวเงิน (intangible benefit) เช่น การพึ่งพาและรับผิดชอบตนเอง ประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม ความสามัคคี การแบ่งปัน การเอื้ออาทร
ต่อสังคม ฯลฯ

                 5. สหกรณ์สามารถให้บริการในการประชุมใหญ่สมาชิกสหกรณ์ เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์เข้าถึงโอกาสในการประชุมใหญ่และโอกาสในการเข้าถึงการเลือกตั้งผู้แทนของสหกรณ์ ได้โดยสะดวกและประหยัด ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมการให้บริการในปัจจุบัน ด้วยการประชุมใหญ่ และการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือให้บริการสมาชิกสหกรณ์ในการประชุมแบบผสม ออนไลน์ ออฟไลน์ 
ได้ เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันมีความพอเพียงต่อการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และมีพระราชกำหนดการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 รองรับ และตามพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  มาตรา ๙ ในการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้มีหน้าที่จัดการประชุมต้อง

                   (๑) จัดให้ผู้ร่วมประชุมแสดงตนเพื่อร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก่อนร่วมการประชุม

                   (๒) จัดให้ผู้ร่วมประชุมสามารถลงคะแนนได้ ทั้งการลงคะแนนโดยเปิดเผยและการลงคะแนนลับ

                   (๓) จัดทำรายงานการประชุมเป็นหนังสือ การจัดให้ผู้ร่วมประชุมสามารถลงคะแนนได้ ทั้งการลงคะแนนโดยเปิดเผยและการลงคะแนนลับ นั้นสามารถใช้ในการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ได้ 

6. สหกรณ์ควรปรับอัตราดอกเบี้ยการให้บริการสมาชิกสหกรณ์ทั้งสมาชิกผู้ใช้บริการเงินกู้ 
และบริการเงินฝาก (ถ้ามี) ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากแนวโน้มการเคลื่อนไหว ของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อมิให้เงินไหลเข้าสหกรณ์มากเกินพอเพียง การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 คณะกรรมการฯ มีมติ 4 : ๓ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี คณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติ 4 ต่อ 3 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี โดย 3 เสียงเห็นควรให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี  และตามหลักวิชาการสหกรณ์ ในหลักการสหกรณ์สากลที่ 3 สหกรณ์สามารถจ่ายเงินเฉลี่ยคืน แก่ผู้ใช้บริการฝากเงินได้                  

                    7. สหกรณ์ควรส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์ผู้ใช้บริการเงินกู้ ใช้บริการเงินกู้แบบ refinance 
ให้เพิ่มขึ้น และส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์ใช้บริการเงินกู้แบบ roll over ให้ลดลง เพื่อกระจายการใช้บริการเงินกู้แก่สมาชิกสหกรณ์ผู้ใหม่นำไปใช้สร้างครอบครัว

                   8. สหกรณ์อาจลดการส่งหุ้นของสหกรณ์ของสมาชิกสหกรณ์ลง ในกรณีที่สหกรณ์เงินล้นระบบ เกินพอเพียงที่จะให้บริการสมาชิกสหกรณ์  ตามหลักวิชาการสหกรณ์เป็นองค์การ ไม่แสวงหากำไร (non profit organization) เป็นองค์การรวมคนเพื่อมาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งเอื้ออาทรต่อสังคม 

                   9. สหกรณ์ ควรให้ความรู้ในเรื่อง “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” แก่สมาชิกสหกรณ์และผู้เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้สมาชิกสหกรณ์สามารถใช้จ่ายเงินได้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ

                   9.1 สมาชิกสหกรณ์สามารถใช้จ่ายเงินได้อย่างพอประมาณ 

                   9.2 สมาชิกสหกรณ์สามารถใช้จ่ายเงินได้อย่างมีเหตุผล

                   9.3 สมาชิกสหกรณ์สามารถใช้จ่ายเงินได้อย่างมีภูมิคุ้มกัน

                   9.4 ใช้จ่ายเงินตามเงื่อนไขหลักวิชาการที่ถูกต้อง

                   9.5 ใช้จ่ายเงินตามเงื่อนไขหลักธรรมของศาสนา  อันจะก่อให้เกิดเสถียรภาพและความยั่งยืนของสหกรณ์

                   10. สหกรณ์ควรตั้งกองทุน สงเคราะห์สมาชิกผู้ค้ำประกันเงินกู้สามัญขึ้น กองทุนนี้สามารถนำมาใช้แบ่งเบาบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ค้ำประกันและครอบครัวได้  โดยจัดสรรจากกำไรสุทธิประจำปี 
ตั้งเป็นกองทุนกองทุนสงเคราะห์สมาชิกผู้ค้ำประกันเงินกู้สามัญขึ้น พร้อมทั้งกำหนดระเบียบว่าด้วยการใช้กองทุน ฯ นี้ขึ้นเพื่อ บรรเทาความเดือดร้อนของผู้ค้ำประกันและครอบครัว กรณีสมาชิกผู้ใช้บริการเงินกู้ผิดนัดชำระหนี้จนเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันต้องเข้ามาชำระหนี้แทนผู้กู้  เป็นภาระของผู้ค้ำประกันและครอบครัวของ
ผู้ค้ำประกัน และกองทุนนี้จะช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ค้ำประกันได้ดียิ่งขึ้น โดยพัฒนาระเบียบการใช้เงินกองทุนนี้ให้เหมาะสมกับ ภูมิสังคมของสหกรณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ........................................................
                   11. สหกรณ์ควรเตรียมการให้บริการสมาชิกสหกรณ์ ในสภาพแวดล้อม Decentralized Finance (DeFi) ด้วย ทรัพย์สินดิจิทัล เช่น Cryptocurrency , Utility Token , Investment Token 
โดยศีกษาแนวทาง การกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับดิจิทัล จากธนาคารแห่งประเทศไทย
                     12. สหกรณ์ควรพิจารณาจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ที่ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และเป็นไปตามหลักการสหกรณ์สากลที่ 2 เพื่อความเป็นธรรมแก่สมาชิกสหกรณ์ (เจ้าของสหกรณ์)...................................................................................
 2nd Principle: Democratic Member Control

Co-operatives are democratic organisations controlled by their members, who actively participate in setting their policies and making decisions. Men and women serving as elected representatives are accountable to the membership. In primary co-operatives members have equal voting rights (one member, one vote) and co-operatives at other levels are also organised in a democratic manner.

หลักการที่ 2 : การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย

สหกรณ์เป็นองค์การประชาธิปไตยที่ควบคุมโดยมวลสมาชิก ผู้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ บุรุษและสตรีผู้ที่ได้รับการเลือกเป็นผู้แทนสมาชิกต้องรับผิดชอบต่อมวลสมาชิก ในสหกรณ์ขั้นปฐมสมาชิกมีสิทธิในการออกเสียงเท่าเทียมกัน (สมาชิกหนึ่งคนหนึ่งเสียง) สำหรับสหกรณ์ในระดับอื่นให้ดำเนินไปตามแนวทางประชาธิปไตยด้วยเช่นกันการสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการดำเนินการสหกรณ์นั้น 
เป็นการเสียสละของสมาชิกสหกรณ์ (เจ้าของสหกรณ์) เข้ามาเป็นตัวแทนเพื่อนสมาชิกในการบริหารสหกรณ์ วางนโยบายให้สหกรณ์ เป็นจิตอาสาเข้ามาทำงานแทนเพื่อนสมาชิก การเลือกตั้งในสหกรณ์จึงมิใช่การแข่งขัน แต่เป็นการเสียสละเข้ามาทำงาน เพื่อให้สหกรณ์ได้บริการสมาชิกสหกรณ์ ให้ช่วยเหลือตนเอง (self help)
และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (mutual help)  ให้มีความสุขความเจริญ ยิ่ง ๆ ขึ้นไปจากบริการของสหกรณ์ที่ตนเองเป็นเจ้าของ จึงควรที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักการสหกรณ์สากล  ที่ใช้กันเป็นมาตรฐานทั่วโลก 

                   13. ตามหลักวิชาการสหกรณ์ หุ้นของสหกรณ์จะมีมูลค่าคงที่ เพราะสหกรณ์สามารถออกหุ้นได้ตลอดเวลา หากมีผู้สมัครใจเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ และจะมีการตั้งบัญชีทุนรับโอนหุ้นไว้รับซื้อหุ้นคืนจากสมาชิก ในกรณีที่สมาชิกจะพ้นสภาพจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ หรือคืนหุ้นบางส่วน (ตามหลักวิชาการสหกรณ์ ) 

                   14 สหกรณ์ควรบริหารจัดการ  NIM (Net interest margin) จากการให้บริการสินเชื่อแก่สมาชิกสหกรณ์ และบริการรับฝากเงินจากสมาชิกสหกรณ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่สมาชิกสหกรณ์โดยรวม รอบด้าน อย่า

 

                                           https://www.gotoknow.org/blog/peeraphong-varasen                                                                  (นายพีระพงศ์  วาระเสน)

กระทู้ที่เกี่ยวข้องกับสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
https://www.gotoknow.org/posts/689179

เหมาะสำหรับใช้ในการวางแผนการพัฒนาสหกรณ์ประเภทสหกรณ์บริการในประเทศไทย 

หมายเลขบันทึก: 703065เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2022 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2022 09:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท