KM นักศึกษา (2) : หอพักและการจัดการความรู้


ต่อจากบันทึกเรื่อง   KM นักศึกษา (1) : ไปร่วมงานในฐานะ "คุณอำนวยน้อย"   ช่วงแรกของงาน  "กรรมการหอพักกับการพัฒนานิสิตนักศึกษา"      เป็นการกล่าวบรรยายเปิดงาน  โดยท่านรองอธิการบดี  อ.พิชิต เรืองแสงวัฒนา   ท่านได้กล่าวถึงที่มา  ประโยชน์และกระบวนการของการจัดการความรู้    ไว้ดังนี้      (การนำเสนอในที่นี้  ไม่ใช่การถอดเทปค่ะ    แต่เป็นการประมวลจาก   ฟังและจด-จำ  ตามที่เข้าใจ... )


การจัดการความรู้  มาจากคำสองคำ  คือ  การจัดการและความรู้    กล่าวคือนำความรู้มาจัดการ (นั่นเอง) ซึ่งที่ผ่านมานั้นเราอาจทำโดยใช้สามัญสำนึก   อาจทำมานานโดยที่ไม่รู้ว่านี่คือการจัดการความรู้   แต่เมื่อมีผู้รู้มาประมวล    ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นศาสตร์ ๆ หนึ่ง   


ก่อนหน้านี้เป็นยุคของ  IT    ปัจจุบันถือเป็นยุคของการจัดการความรู้   เป็นสังคมที่มีความรู้เป็นฐาน      ปัจจุบันนักศึกษาที่มีความรู้ด้าน IT  ไม่ใช่สิ่งที่ได้เปรียบคนอื่น  ( เพราะทุกคนรู้เหมือน ๆ กัน)     แต่การใช้ “ความรู้”   เป็นสิ่งที่แตกต่าง    ทำให้องค์กรแข่งกับคนอื่นได้     แล้วความรู้มันอยู่ตรงไหน     เอามาได้อย่างไร   นั่นล่ะ   คือประเด็น


สิ่งที่ ม.อ.  คาดหวังในส่วนที่เกี่ยวกับนักศึกษา  คือ   ต้องการให้นักศึกษา....

  1. เก่ง   คือมีทั้งความรู้   ทำเป็น  และทำได้ดี
  2. เป็นคนดี   ของสังคม (ใช้ความเก่งให้ถูกทาง)     ถ้าคนเรามีคุณธรรม    ก็คาดหวังได้ว่าโดยรวมแล้วสังคมน่าจะดีขึ้น


แต่ในปัจจุบัน   ดูเหมือนนักศึกษาบางส่วนจะ “อ่อนลง”   อาจเพราะปัญหาหลายๆ อย่างในพื้นที่    ซึ่งตรงนี้ทาง ม.อ.  ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดูแล     คือต้องมีกระบวนการ “จัดการ”    ให้ได้บัณฑิตที่เก่งและดี

ม.อ. เริ่มงาน KM   ประมาณ  ปี 47   โดยเน้นการนำความรู้มาใช้ประโยชน์ (ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง)    เมื่อก่อนเมื่อใครอยากรู้อะไร  สิ่งที่ทำคือเชิญผู้รู้  มาอบรมให้  นั่นเป็นการนำความรู้จากภายนอกมาประยุกต์ใช้  

แต่มีความรู้อีกประเภทหนึ่งเป็นความรู้จากประสบการณ์   จากทุกคนในองค์กร   (เมื่อก่อนไม่มีวิธีที่ชัดเจนในการนำความรู้เหล่านี้มาใช้)     เช่น  เจ้าหน้าที่ที่ดูแลหอพัก   มีประสบการณ์จากการดูแลหอพักมาหลายปี    ถ้านักศึกษามีปัญหาแบบนี้ๆ  รู้ว่าจะจัดการยังไง    จริงอยู่ว่าหอพักมีกฎระเบียบที่เขียนไว้ชัดเจน   แต่...ปัญหาของแต่ละคนไม่เหมือนกันและมีรายละเอียดปลีกย่อยหลากหลาย     ฉะนั้นวิธีการจัดการจึงแตกต่างกัน   (ซึ่งวิธีการเหล่านี้ถือเป็น “ประสบการณ์”  ที่มีคุณค่า)


การแลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือการส่งต่อความรู้แบบนี้   มีการทำมาเป็นปกติ     แต่ยังไม่เป็นระบบมากนัก   เช่น  มีการส่งต่องาน   การจัดอบรมพนักงานใหม่     ซึ่งก็จะจำกัดคนที่รู้เฉพาะที่อยู่ในที่เดียวกัน   ทำอย่างไรคนที่ไม่ได้อยู่ในวงนั้น  จะมีโอกาสได้รับรู้และนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้    ระบบ IT  ได้เข้ามาให้คำตอบตรงนี้  (เช่น gotoknow.org)


และนั่นก็คือวัตถุประสงค์การจัด workshop ครั้งนี้      เพื่อให้นักศึกษาที่เป็นกรรมการหอพัก   เจ้าหน้าที่ที่ดูแลหอพัก    ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน     เพราะแต่ละที่มีบริบท   มีรายละเอียด  มีการดูแลที่แตกต่างกัน    เมื่อแลกเปลี่ยนแล้วก็หวังจะให้มีการบันทึกเป็นขุมความรู้ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา   และจัดตั้งเป็นเครือข่ายเพื่อ ลปรร. กันต่อไป   


*** เพราะแต่ละวันนักศึกษาใช้เวลาอยู่ในหอพักค่อนข้างมาก     ถ้ามีการจัดการที่ดีและเหมาะสม  หอพัก   น่าจะเป็นแหล่ง “บ่มเพาะ”   ให้นักศึกษาเป็นคนเก่งและดี  ของสังคมได้ ***

หมายเลขบันทึก: 70281เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2006 07:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

คุณนิดหน่อย ครับ

  • เพราะแต่ละวันนักศึกษาใช้เวลาอยู่ในหอพักค่อนข้างมาก     ถ้ามีการจัดการที่ดีและเหมาะสม  หอพัก   น่าจะเป็นแหล่ง “บ่มเพาะ”   ให้นักศึกษาเป็นคนเก่งและดี  ของสังคมได้ ใช่เลยครับ
  • สวัสดีปีใหม่ครับ ...ขอให้คุณนิดหน่อยและบริวารมีความสุขกันทั่วถ้วนนะครับ
ขอบคุณครูนงค่ะ
  • ถ้า  จัดการให้หอพัก  ไม่ใช่แค่  ที่นอนพักผ่อน  แต่เป็นบ้านที่อยู่อย่างมีความสุข  เป็นแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม   น่าจะดีไม่น้อยเลยค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับพรปีใหม่ค่ะ     ขอให้พรนี้กลับไปหาครูนงเช่นกันค่ะ
  • ขอชื่นชมกับกระบวนการที่เกิดขึ้นนะครับ
  • เห็นด้วยในกระบวนการ เพราะส่วนตัวมองว่านิสิตในหอพัก คือ กลุ่มสำคัญมาก เพราะอยู่ประจำ ถ้าจะพัฒนาคุณภาพชีวิตก็สามารถเริ่มต้นอย่างจริงจังกับกลุ่มนี้ก่อน โดยกระทำอย่างต่อเนื่อง
  • ทำให้หอพักเป็นแหล่งแลกเปลี่ยน เรียนรู้
  • ทำหอพักให้เป็น "บ้านหลังที่สอง"
  • สวัสดีปีใหม่ครับ
ขอบคุณค่ะ นิดหน่อย...เก่งจัง....ความต่างของเราฟังอย่ด้วยกัน....นิดหน่อยเก็บประเด็นได้หมดเลย...
ขอบคุณคุณแผ่นดิน และคุณเมตตาค่ะ
บันทึกต่อๆ ไปจะเล่าเรื่องที่เด็กๆ เค้าเล่ากันในวงค่ะ
แต่ละที่มี "ดี"   ไม่เหมือนกัน
....ถ้าน้องๆ นักศึกษาเอาเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ ....รับรอง "ไปโลด" เลยครับ ....เพราะกลุ่มนี้มีพลังมากจริงๆ ...ขอบคุณทุกท่านที่ "ส่งต่อ" สิ่งดีๆ เหล่านี้ให้กับสังคมไทย ....จะติดตามอ่านคุณ nidnoi ต่อไปครับ
  • เยี่ยมเลยครับ
  • คาดว่าจะได้นักศึกษาที่ขวนขวายในการเรียนรู้ครับ
  • ขอบคุณครับ
อาจารย์ประพนธ์    คุณขจิต คะ
ยังไม่ทราบว่าจะได้ผลแค่ไหนค่ะ     (ต้องตามดู)
นักศึกษากลุ่มนี้เป็นเด็กกิจกรรมอยู่แล้ว    ถ้ามีการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้ "ซึมซาบ"  อยู่เรื่อยๆ   รับรองว่าไปได้ไกลค่ะ
นักศึกษาม.อหาดใหญ่ กลุ่มนี้เป็นคุณอำนวยให้กรรมการหอพักวันที่ 26-28 มกราคม 50 นี้ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท