ข้อตกลง CPTPP ไทยมีดีมีเสีย อย่างไร


ข้อตกลง CPTPP ไทยมีดีมีเสีย อย่างไร

18 ตุลาคม 2564

ในช่วงปี 2555 ทีวี ออกข่าว CPTPP ดังมาก 

ผลพวงจากนายทุน เริ่มมีการผลักดันมาตั้งแต่ สมัยรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการณ์ นายกทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยพลเอกสนธิ บุญญรัตกลิน หัวหน้า “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริน์ทรงเป็นพระประมุข” หรือ คปค. ต่อมาเปลี่ยนเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช.

 

ข้อตกลง CPTPP คือ 

Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership มีสมาชิก 11 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์  สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม 

ความตกลงนี้เริ่มมาแต่ปี 2006 เดิมเรียก TPP มีสหรัฐอเมริกาด้วย แต่ถอนตัวออกในปี 2017

เป็นข้อตกลงทางการค้ากับประเทศแถบภาคพื้นแปซิฟิก ที่มีประชากรกว่า 500 ล้านคน และ GDP กว่า 13.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ

 

ข้ออ้างว่าเป็นผลดีแก่ประเทศไทย 

โอกาสที่ไทยจะพัฒนาเป็นตลาดใหญ่ได้ ไทยจะสามารถขยายฐานการผลิตให้ใหญ่ได้ เป็นผลดีต่อนักลงทุนและการส่งออกได้มากขึ้น โอกาสเงินทุนไหลเข้าประเทศมากขึ้น ไทยสามารถสร้าง “มาตรฐานการค้าคุณภาพสูงสุดในเวทีโลก”

 

ข้ออ้างว่าเป็นผลดเสียแก่ประเทศไทย 

ในภาพรวมในระยะยาว เกรงว่าเกษตรกรไทยจะเสียเปรียบนายทุน จึงไม่ดี เนื่องจาก

(1) ถูกร่างโดยประเทศที่พัฒนาแล้ว จึงเอื้อประโยชน์ให้กับ ประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ยึดถือหลัก “กลไกทางตลาด” ระบบเศรษฐกิจปลาใหญ่กินปลาเล็ก อาจทำให้คนรากหญ้าด้อยโอกาสไม่สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค ในสินค้าจำเป็นได้ 

(2) การแก้ไขกฎหมายด้านการเกษตร ทำให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพาะปลูกเองได้ นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรและยาจะสูงขึ้น ยากที่จะเกิดแบนด์ไทย ทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาตีตลาดง่าย

(3) ประชาสังคมไทย (Civil Society) ชุมชนไทยเป็นสังคมพึ่งการเกษตร มีเกษตรกรเป็นกลุ่มอาชีพหลักที่ยังไม่เข้มแข็ง รัฐขาดการส่งเสริมองค์กรชุมชนรากหญ้า การกระจายอำนาจล้มเหลว รัฐใช้ระบบ "รัฐราชการรวมศูนย์" รัฐเชื่อฟังแต่ราชการ ปิดหูปิดตาคนรากหญ้า สร้างความเหลื่อมล้ำในหลายๆ มิติแก่ชุมชน และประชาชน โดยเฉพาะโอกาสทางเศรษฐกิจ (ไม่กระจายทุน) และ การกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นแบบเทียมๆ ที่ขาดตอนไม่ต่อเนื่องและยั่งยืน เป็นต้น

 

ข้ออ้างว่าหากไม่ร่วมมือด้วย กลุ่มจะไม่ซื้อสินค้าเกษตรไทย

ข้อเสียมากๆ คือ การผูกขาดพืชพันธุ์ทุกชนิด ให้ซื้อเมล็ดพันธุ์ของกลุ่มจากบริษัทอุตสาหกรรมเท่านั้น ไม่ซื้อเมล็ดพันธุ์ ก็จะไม่รับซื้อสินค้าเกษตรนั้น และต้องซื้อทุกๆ ปี เมล็ดพันธุ์ถูกผูกขาด เมล็ดพันธุ์ เรียกว่า เมล็ด F1 ปลูกแล้วขยายพันธุ์ไม่ได้ บังคับต้องซื้อใหม่ทุกๆ ปี ราคาแพง

พืชพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ที่ขายตามท้องตลาด ใส่ซองขาย ฯลฯ คือ F1 ปลุกได้ครั้งเดียวยายพันธุ์ ไม่ได้

ข้าวที่ชาวนาภาคกลางปลูก เพื่อการขาย ก็เช่นกันเป็น F1

ไม่ทราบเทคนิคว่าทำกันอย่างไร เพราะ ซื้อข้าวชาวนา กก.ละ 6-8 บาท แต่ชาวนาซื้อเมล็ดพันธุ์ กก.ละ 50-60 บาทและจะแพงขึ้นเรื่อยๆ เช่น อาจจะนำเอาผลผลิต F1 ที่ชาวนาปลูกและขายให้นี้ไปใช้สารกระตุ้นแล้วนำกลับมาขายให้ชาวนาปลูกก็ได้

แต่ชาวนาเอาข้าวที่ปลูก ได้ผลผลิต มาทำพันธ์ ปลูกไม่ได้หรือ ได้ผลผลิตน้อยมาก เมื่อเอา ผลผลิต F1 มาปลูก เรียกว่า  F2 ที่ต้องนำไปขาย ใช้ทำพันธุ์ไม่ได้

สรุป CPTPP ผูกขาดพันธุ์พืช บังคับซื้อแต่ของกลุ่ม สูญพันธุ์พืชสินค้าเกษตรไทย จากข้าวต่อไปอาจเป็น ทุเรียน เงาะ ลำไย ฯลฯ พืชพันธุ์ไทยทุกชนิด จะสูญพันธุ์ เป็นความชั่วร้ายของ CPTPP  ที่เกษตรกรไทยจะหายนะ

 

ข่าวชาวนาค้านร่าง พ.ร.บ.ข้าว หวั่นถูกผูกขาดเมล็ดพันธุ์(2562) ซึ่งต่อมา สนช.ยอมถอนร่างกฎหมายนี้ออก

ผลกระทบต่อข้าวโดยตรงคือ ชาวนาไทยต้องซื้อหาเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้เพาะปลูก ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีนโยบายมาแต่ก่อน แต่เป็นร่างกฎหมายใหม่

สนช. ยืนยัน “พ.ร.บ.ข้าว” ไม่กระทบเมล็ดพันธุ์ชาวนา-ก.เกษตรฯ ส่งตัวแทนหารือก่อนลงมติ

สนช.ผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.ข้าว ยืนยันร่างกฎหมายใหม่ไม่จำกัดสิทธิ์ชาวนาขายและเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว ขณะที่กระทรวงเกษตรฯ ส่งตัวแทนหารือคณะกรรมาธิการก่อนสนช.ลงมติ

ร่างพระราชบัญญัติข้าวฉบับใหม่ที่ผ่านชั้นกรรมาธิการ เพื่อเตรียมส่งให้คณะกรรมการตรวจร่างของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตรวจสอบอีกครั้งในวันจันทร์ ที่ 18 กุมภาพันธ์ ก่อนเข้าสู่การพิจารณาในวาระ 2 และ 3 ซึ่งคาดว่า จะบรรจุในวาระของการประชุมสนช.ช่วงปลายสัปดาห์หน้าหรือสัปดาห์ถัดไป

อย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.บ.ข้าว กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลายในสื่อสังคมออนไลน์ โดยส่วนใหญ่แสดงความกังวลว่า ชาวนาจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการผลิตเมล็ดพันธุ์ใช้เองไม่ได้ ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาทและจำกัดให้ต้องใช้เมล็ดพันธุ์จากบริษัทใหญ่เท่านั้น จนถึงขั้นหาช่องทางไม่รับร่างกฎหมายฉบับนี้ แต่บางความเห็นแสดงข้อมูลเห็นต่างว่า ชาวนาทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย

นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สนช.ผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.ข้าว ปฏิเสธว่า เป็นความเข้าใจผิด ร่างกฎหมายนี้ระบุให้ร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวต้องขายพันธุ์ข้าวคุณภาพที่ได้รับการรับรองและมีการสุ่มตรวจ เพื่อให้ชาวนามีเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ แต่ไม่มีผลบังคับกับชาวนา

“เป็นข่าวเท็จ ไม่มีข้อเท็จจริงในกฎหมายฉบับนี้เลยอยากจะให้ชัดเจนเลยว่า พี่น้องชาวนาปลูก ขาย แลกเปลี่ยนกับผู้เพาะปลูก หรือชาวนาด้วยกันทำได้เสรี ทำได้อย่างไม่มีขอบเขต ยกเว้นเป็นศูนย์หรือร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วต้องผ่านการรับรองเมล็ดพันธุ์จากกรมการข้าว ซึ่งปัจจุบันก็มีอยู่แล้วไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด” นายกิตติรัตน์ กล่าว

ก่อนหน้านี้ (13 กุมภาพันธ์ 2562) นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดเนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.ข้าว ที่เป็นการจำกัดสิทธิ์ในการขยายและพัฒนาข้าวของชาวนา โดยได้ส่งความเห็นคัดค้านเรื่องนี้ไปยัง สนช.แล้ว เบื้องต้นทางกรรมาธิการเตรียมนำเรื่องนี้ไปกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลเพื่อขยายเวลาการบังคับใช้ออกไป

นายกฤษฎา เชื่อว่า หลังจากหลายฝ่ายแสดงความกังวลกับเนื้อหาในร่างพ.ร.บ.ข้าว คณะกรรมการธิการและสนช.จะรับฟังความเห็นเหล่านี้ไปประกอบการพิจารณา และก่อนที่ สนช.จะมีการพิจารณาเพื่อลงมติ ร่างพ.ร.บ.ข้าว ในวาระ 2 และ 3 รัฐบาลได้ส่งตัวแทนไปหารือร่วมกับคณะกรรมาธิการเพื่อหาข้อสรุปอีกครั้ง

นอกจากนี้ นายกฤษฎา ระบุด้วยว่า หากเกิดปัญหากับพันธุ์ข้าวชนิดใดที่จะสร้างความเสียหาย กระทรวงสามารถออกกฎกระทรวงแก้ไขเป็นรายกรณี เช่น กรณีข้าวปลอมต้องออกกฎให้ชาวนาต้องมาขึ้นทะเบียนก่อนจำหน่ายพันธุ์ข้าวเพื่อดูแลคุณภาพข้าวให้ได้มีประสิทธิภาพ

“ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต่อไปมีคนมาปลอมข้าวหอมมะลิ 105 มากๆ ขึ้นมา ก็อาจจะต้องประกาศว่า ต่อไปนี้ใครจะขายพันธุ์ข้าวหอมมะลิต้องมาขึ้นทะเบียนก่อน อะไรอย่างนี้เป็นต้น” รมว.กระทรวงเกษตรฯ ระบุ

 

สาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่ มีมาตราที่น่าตั้งข้อสังเกต คือ

มาตรา 26 ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว ซึ่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 22 และไม่ได้รับการรับรองพันธุ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ความในวรรคหนึ่งมิให้บังคับแก่ชาวนา ซึ่งขายหรือแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เป็นผลผลิตในที่นาของตนเอง รวมทั้งมิให้บังคับแห่บุคคลอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด (มีการแก้ไขขยับมาตรา 26 เป็นมาตรา 27) 

 

อ้างอิง

CPTPP คืออะไร จีนจะขอเข้าร่วมสำเร็จไหม, posttoday, 17 กันยายน 2564, https://www.posttoday.com/world/663460 

เจาะประเทศ CPTPP ทำไมถึงเข้าร่วมมองเห็นประโยชน์อะไร, ไทยรัฐออนไลน์, 10 พฤษภาคม 2564, https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2087896 

สรุปรายละเอียด “” คืออะไร ถ้าไทยเข้าร่วมจะได้ประโยชน์อะไร, moneybuffalo.in.th, 28 เมษายน 2563

ร่าง พ.ร.บ.ข้าว, สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 19 ตุลาคม 2561, http://web.senate.go.th/bill/bk_data/455-1.pdf

ข้อมูลเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.ข้าว 2561, Thai PBS, https://www.facebook.com/WorkpointNews/posts/859445401091406

ชาวนาค้านร่าง พ.ร.บ.ข้าว หวั่นถูกผูกขาดเมล็ดพันธุ์, Thai PBS News, 13 กุมภาพันธ์ 2562, https://news.thaipbs.or.th/content/277694

สนช. ยืนยัน “พ.ร.บ.ข้าว” ไม่กระทบเมล็ดพันธุ์ชาวนา-ก.เกษตรฯ ส่งตัวแทนหารือก่อนลงมติ, ข่าวworkpointTODAY, 15 กุมภาพันธ์ 2562, https://workpointtoday.com/%e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b8%8a-%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b8%99%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b8%99-%e0%b8%9e-%e0%b8%a3-%e0%b8%9a-%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7-%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%81%e0%b8%a3/

ร่าง พ.ร.บ. ข้าว : ทำไมสนช.ยอมถอย ถอนร่างกฎหมาย ปัดมีใบสั่งจากนายกฯ, BBC News, 26 กุมภาพันธ์ 2562, https://www.bbc.com/thai/thailand-47303511

หมายเลขบันทึก: 692901เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2021 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2021 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท