การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านยางเหล่าสวนกล้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3


ชื่อเรื่อง         การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านยางเหล่าสวนกล้วย

                     สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

ผู้วิจัย            นางสาวดวงใจ สวดมนต์

ปีการศึกษา   2562- 2563

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านยางเหล่าสวนกล้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาได้แก่ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านยางเหล่าสวนกล้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3  2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านยางเหล่าสวนกล้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านยางเหล่าสวนกล้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3  และ4. เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านยางเหล่าสวนกล้วยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3   ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R & D : Research and Development) โดยได้นำเสนอวิธีดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis: A) การสำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านยางเหล่าสวนกล้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development): การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านยางเหล่าสวนกล้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3  ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นการนำไปใช้ (Implementation:I): เป็นการทดลองใช้รูปแบบการการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านยางเหล่าสวนกล้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3  ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) การประเมินผล (Evaluation:E): เป็นการประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านยางเหล่าสวนกล้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

          ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาการบริหารสถานศึกษาตามรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านยางเหล่าสวนกล้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.23) เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย สามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ( =3.36) รองลงมาได้แก่ การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ( =3.25) รองลงมาได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ( =3.17) และด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ( =3.15) ตามลำดับ ความต้องการการบริหารสถานศึกษาตามรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านยางเหล่าสวนกล้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.60) เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย สามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ( =3.63) รองลงมาได้แก่ ด้านหลักการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ( =3.60) ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ( =3.58) ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ( =3.58) ตามลำดับ ผู้วิจัยได้กำหนดองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารบริหารสถานศึกษาตามรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านยางเหล่าสวนกล้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 สำหรับรูปแบบการศึกษาในครั้งนี้มี 6 องค์ประกอบ ที่สอดคล้องกัน ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ  2) หลักการของรูปแบบ 3) ระบบงานและกลไกของรูปแบบ  4) วิธีการดำเนินงานของรูปแบบ  5) การประเมินรูปแบบ  6) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านยางเหล่าสวนกล้วยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ในภาพรวม  ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.09) เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย สามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านหลักการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ( =4.20) รองลงมาได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ( =4.12) ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ( =4.03) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ( =4.00) ตามลำดับ และการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านยางเหล่าสวนกล้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี  เขต 3 ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ( =3.90) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยสามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ความเป็นได้ ( =4.03) รองลงมาได้แก่ ความมีประโยชน์ ( =3.99) ความถูกต้อง ( =3.89) และความเหมาะสม ( =3.69) ตามลำดับ

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 692895เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2021 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2021 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท