บทบาทนักกิจกรมมบำบัดในการให้คำปรึกษาผู้ป่วยกลัวการกลืนได้ใน 21 วัน ทำอย่างไร?


      ภาวะกลืนลำบากเป็นอาการที่สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัยโดยสามารถเกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ 

1.โรคหรือกลไกการทำงานของร่างกายผิดปกติ มีการทำงานที่ไม่สัมพันธ์ของการหายใจเเละการกลืน

 2.ความกลัวจากประสบการณ์ไม่ดี เช่น เคยสำลักอาหารเเล้วจำฝังใจ หรืออาจเรียกว่าอาการกลัวการกลืน 

      อาการกลัวการกลืน สามารถนำมาสู่ผลกระทบมากมาย เช่น ขาดสารอาหาร ความวิตกกังวลที่นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า ปัญหาการเข้าสังคมโดยรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นได้ เป็นต้น

       นักกิจกรรมบำบัดมาบทบาทในผู้รับบริการที่มีอาการกลัวการกลืนเป็นอย่างมาก โดยเริ่มต้องเเต่การหาสาเหตุของความกลัว การประเมินความสามารถในการกลืน เเละร่วมกันวางเเผนการฝึกเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถกลืนอาหารได้ปกติหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด เเละสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

บทบาทนักกิจกรมมบำบัดในการให้คำปรึกษาผู้ป่วยกลัวการกลืนได้ใน 21 วัน ทำอย่างไร?

วันที่ 1

     นักกิจกรรมบำบัดสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการผ่านการพูดคุยอย่างรับฟังเเละไม่ตัดสิน ใช้ therapeautic use of self เพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกผ่อนคลายในการบำบัดโดยอาจสังเกตจากสีหน้าท่าทาง อารมณ์ จากนั้นจึงใช้ CBT ในการหาสาเหตุของภาวะกลืนลำบาก โดยเริ่มจากการกำหนดจุดประสงค์ในการพูดคุยเเละให้ผู้รับบริการเล่าปัญหาที่เกิดขึ้น หากผู้รับบริการไม่สามารถหาสาเหตุได้ ให้คำปรึกษาเเบบ counsellor คือช่วยเเยกเเยะปัญหาชีวิตเเละชี้นำให้ผู้รับบริการกล้าคิดริเริ่มเเก้ปัญหา

     นอกจากนี้ นำMIมาช่วยเพื่อใ้ห้ผู้รับบริการได้ไตร่ตรองเเละเกิดmotivationจากเเรงจูงใจภายใน อยากเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรมเพื่อจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น อาจให้ประเมินความตั้งใจเเละความพร้อม จาก0-10

     จากนั้นจึงประเมินความสามารถในการกลืน โดยเริ่มจากทดสอบการกลืนน้ำลายเเละการกลืนน้ำ 3ml 5ml 10ml 20ml ตามลำดับ (หากสามารถกลืนน้ำ 20ml ได้จะสามารถฝึกกลืนอาหารได้)

 

วันที่1-7 

ให้ home program กับผู้รับบริการดังนี้

1.เทคนิคลดความกังวล โดยให้ผู้รับบริการทำการเคาะอารมณ์, ทุกวัน 3 นาที หลับตาหายใจเข้าออกช้าๆ นิ่งคิดว่าเรากังวลเรื่องอะไร เรามั่นใจเรื่องอะไร เเละ Body scan

2.ท่าบริหารที่ช่วยพัฒนาการกลืน ดังนี้

   -ท่าบริหารกล้ามเนื้อปาก โดยให้ผู้รับบริการออกเสียง ”อา-อู” สลับกัน 5 ครั้ง, “อู-อี” สลับ    กัน 5 ครั้ง 

  -ท่าบริหารกล้ามเนื้อลิ้น โดยให้เเลบลิ้นเเละดึงลิ้นกลับ,ตวัดไปที่มุมปากซ้าย-ขวา,เอาลิ้นเเตะริมฝีปากล่างสลับกัน ท่าละ 5 ครั้ง

   -ใช้ลิ้นเเตะกระพุ้งเเก้มซ้ายขวา 5 ครั้ง

   -บริหารกล้ามเนื้อโดยการออกเสียง ลาลาลาลาลา, ทาทาทาทาทา, กากากากากา อย่างละ 5 ครั้ง

   -บริหารกล้ามเนื้อลำคอ โดยการหนีบลูกบอลไว้ใต้คางเเละกดคางลงค้างไว้ นับ1-20 ทำ 5 ครั้ง, กดคางลงเพื่อหนีบลูกบอลเเละปล่อย 10-20 ครั้ง

 

วันที่8

     ผู้รับบริการมาพบนักกิจกรรมบำบัด ก่อนเริ่มฝึก ผู้บำบัดให้ผู้รับบริการเล่าถึงสิ่งที่กลับไปฝึกช่วง 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา มีความกังวลเรื่องอะไร รู้สึกอย่างไร เป็นต้น จากนั้นจึงให้ความรู้เกี่ยวกับการเเบ่งประเภทอาหารเเละเครื่องดื่ม โดยเเบ่งตามความยากง่ายในการกลืนเพื่อให้ผู้รับบริการมีความรู้ความเข้าใจ 

     เริ่มฝึกการกลืนเเบบใช้อาหารโดยเริ่มจากโจ๊ก เเละ โยเกิร์ต (ที่มีความหนืดเพื่อป้องกันการไหลที่เร็วจนเกินไป ซึ่งอาจทำให้สำลัก) โดยเเนะนำเทคนิค เช่น ให้ผู้รับบริการเริมจากคำเล็กๆ, วางไว้บริเวณปลายลิ้น, ฝึกกลืนซ้ำ 2 ครั้งเพื่อไม่ให้อาการตกค้าง, modifying food placement โดยการสัมผัสบริเวณริมฝีปากล่างด้วยช้อนก่อนกินอาหารเพื่อลด bite reflex เป็นต้น

     สอบถามอาหารที่ผู้รับบริการชอบ เพื่อช่วยคักรองว่าอาหารชนิดนั้นสามารถนำมาช่วยฝึกได้หรือไม่ (การที่ผู้รับบริการได้รับประทานอาหารที่ชอบจะทำให้ผู้รับบริการมีเเรงจูงใจในการฝึกมากยิ่งขึ้น เเตกต้องคัดกรองความหนืดของอาหารว่าเหมาะสมกับความสามารถในการกลืน ณ ปัจจุบันของผู้รับบริการหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้รับบริการ)


วันที่8-20

ให้ผู้รับบริการฝึกการกลืนที่บ้าน โดยการบริหารกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการกลืน เเละฝึกกลืนของเหลวหนืดเเละอาหารหนืด โดยอาจเเบ่งมื้ออาการเป็นวันละ 5 มื้อ เพื่อผู้รับบริการจะได้ฝึกอย่างสม่ำเสมอจนเป็นกิจวัตร


วันที่ 21 

     ผู้รับบริการมาพบนักกิจกรรมบำบัด สอบถามความพึ่งพอใจของผู้รับบริการเเละชื่นชม อาจมีการพูดคุยสะท้อนความคิดเเละให้ผู้รับบริการประเมินความมั่นใจในว่าจะกลืนได้จาก 0-10  ทดสอบเพื่อดูความสามารถในการกลืนของเหลวหนืดของผู้รับบริการ หากสามารถกลืนได้ดีมากขึ้น เพิ่มความเหลวของอาหาร เเละมีผิวสัมผัสในอาหารมากขึ้น เพื่อฝึกให้ผู้รับบริการเพิ่มความสามารถในการกลืนอาหาร ให้เทคนิค เช่น เคี้ยว 20 ครั้งให้ลเอียดก่อนกลืน จากนั้นจึงให้ home program เพื่อให้ผู้รับบริการมีโอกาสไปฝึกการกลืนที่บ้านโดยมีความม่นใจเเละมีความชำนาญในการกลืนมากยิ่งขึ้น


เขียนโดย จงรัก อังศุวิรุฬห์ นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 6223017

 

อ้างอิง

1.เอาชนะความกลัวการกลืนอาหาร (18 ธ.ค. 61) https://youtu.be/HCmhvyTPM34  

2.Rama Square : ท่าบริหาร ภาวะการกลืนลำบาก ที่สามารถทำได้เองที่บ้าน : ช่วง Rama DNA 5.6.2562 https://youtu.be/Z0FGU6MsPqo 

3.32 Service [by Mahidol] กลืนไม่เข้า คายไม่ออก https://youtu.be/HMwoWRGDEtc 

4.หนังสือกิจกรรมการดำเนินชีวิตจิตเมตตา ผศ.ดร.ก.บ.ศุภลักษณ์ เข็มทอง บทที่5 เเละ 6

5.กลืนอย่างไร...ไม่ให้กลัว https://www.gotoknow.org/posts/400478 

หมายเลขบันทึก: 692564เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2021 08:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2021 08:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท