กลืนอย่างไร...ไม่ให้กลัว


ขอบคุณกรณีศึกษาที่ได้รับประสบการณ์กลัวการกลืนอาหารที่ต้องเคี้ยวหลังจากสำลักหมูชิ้นแล้วดื่มน้ำตามและรับการตรวจประเมินและแนะนำวิธีการทางกิจกรรมบำบัด

ขอบคุณกรณีศึกษาที่ได้รับประสบการณ์กลัวการกลืนอาหารที่ต้องเคี้ยวหลังจากสำลักหมูชิ้นแล้วดื่มน้ำตามในหนึ่งเดือนที่ผ่านมา...โชคดีที่แฟนของกรณีศึกษาค้นข้อมูลพบ Blog ของ ดร.ป๊อป ก็เลยโทรมาหาผมเพื่อรับคำแนะนำและดีขึ้นตามลำดับจนมาตามนัดหมายยืนยันการตรวจประเมินและแนะนำวิธีการทางกิจกรรมบำบัด

ลองติดตามบทสนทนาดังนี้

ดร.ป๊อป: เป็นอย่างไรบ้างที่เมื่อ 3 อาทิตย์ที่แล้ว ได้แนะนำการลดความรู้สึกด้วยการแปรงลิ้นจากโคนมาสู่ปลายอย่างช้าๆ ก่อนและหลังมื้ออาหาร และต้องค่อยๆ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายลิ้นหลังจากเหตุการณ์ที่น่ากลัวของการรับประทานอาหาร คือ กินอาหารอย่างรวดเร็วและกลืนอาหารที่เคี้ยวไม่ละเอียด จนรู้สึกอาหารชิ้นใหญ่ติดคอจนกลัวและไม่คายออกมา ทำให้เร่งรีบดื่มน้ำให้อาหารชิ้นใหญ่ตกลงไปในหลอดอาหารอย่างรวดเร็ว มีการสำลักไอเล็กน้อยเมื่อน้ำที่ดื่มอย่างเร็วกระเด็นเข้าหลอดลม

นส. ร: รู้สึกดีขึ้น แต่ยังกล้าๆ กลัวๆ เคี้ยวข้าวและหมูชิ้นอย่างช้าๆ มากๆ บางครั้งไม่อยากทาน เลยเลือกทานนม โยเกิร์ต และอาหารอ่อนแทน

ดร.ป๊อป: เอาหละ เดี๋ยวเรามาทดลองกัน โดยให้คุณ ร. เดินไปซื้ออาหารที่ชอบมา 1 อย่าง 

นส. ร: เลือกทานโยเกิร์ตคำเล็กๆ ด้วยช้อนชา [บังเอิญผมเหลือบเห็นแฟนคุณ ร. ซื้อขนมปังก้อนและน้ำเปล่ามาด้วย ผมเลยให้ลองทานดังนี้ - โยเกิร์ตเพิ่มปริมาณมากขึ้น แล้วกลืนทันที จากนั้นลองเคี้ยวขนมปังอย่างละเอียดจนมั่นใจก็กลืนทันที ตามด้วยดูดน้ำเปล่าแล้วกลืนทันที]

ดร.ป๊อป: ผมสังเกตและใช้ไม้กดบริเวณกระพุ้งแก้มและกล้ามเนื้อรอบคอหอยสองข้างของคุณ ร. พบว่า มีการกลืนซ้ำมากเกินไปขณะกลืนอาหาร และเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีอาหารที่ต้องเคี้ยวแล้วกลืนทันที ยังคงมีอาการกลัวและลังเลในการกลืนน้ำเปล่าตอนท้ายด้วย ผมเลยแนะนำให้เปรียบเทียบกับการทานแบบเคี้ยวขนมปังด้วยฟันข้างขวา (ข้างถนัด) อย่างรวดเร็ว แล้วปัดมาเคี้ยวด้วยฟันข้างซ้ายอย่างช้าๆ สลับกันไปเรื่อยๆ จนรู้สึกว่ากลืนได้ทันที จากนั้นให้ดูดน้ำเปล่า แล้วค้างไว้นับในใจ 1-5 พร้อมสัมผัสกดกล้ามเนื้อรอบๆ คอหอยเบาๆ 3 ครั้ง แล้วกลืนน้ำทันทีลงหลอดอาหาร ถือว่าเป็นการสื่อสารให้อวัยวะกินและกลืนอาหารเตรียมพร้อมโดยจิตสำนึก ไม่ต้องกลืนน้ำพร้อมขนมปัง เพราะน้ำลายได้คลุกเคล้าขนมปังจนนิ่มและพร้อมกลืนได้อย่างง่ายแล้ว...ผมแนะนำให้ทำแบบนี้ในสามคำแรกของมื้ออาหาร จากนั้นก็ทานตามปกติ ค่อยๆ ให้รู้สึกมั่นใจขึ้นจากเหตุการณ์กลัวในหนึ่งเดือนที่ผ่านมาของการกลืนอาหารลำบากที่เรียกว่า Distressed swallowing และน่าจะดีขึ้นตามธรรมชาติในอีก 2 เดือน หากไม่ดีขึ้นก็คงต้องนัดหมายมาตรวจประเมินและแนะนำวิธีการทางกิจกรรมบำบัดใหม่

นส. ร: ทดลองฝึกกินและกลืนอาหารอีกสองรอบ และรู้สึกดีขึ้นจนตอบว่า กลืนสบายขึ้น ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดและเคี้ยวตอนแรกก่อน ดร.ป๊อป แนะนำ ขอบคุณมากและจะลองนำไปปฏิบัติดู น่าจะดีขึ้น

ดร.ป๊อป: ขอบคุณเช่นกันที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า "กิจกรรมบำบัดช่วยเหลือการกลืนได้...ถ้าทดลองวิธีการด้วยความคิดที่มีระบบ"   

หมายเลขบันทึก: 400478เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2010 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

วันนี้ผมได้ดูกรณีศึกษาที่กลืนน้ำแล้วสำลัก เพราะความบกพร่องในการทำงานของก้านสมอง ซึ่งตรวจประเมินแล้วพบว่า มีการหายใจเข้าเพื่อกักออกซิเจนได้น้อยกว่าปกติ ไม่มีการหายใจได้ลึกด้วยกระบังลม ไม่มีการหายใจออกได้ราบเรียบ มีการกลืนน้ำที่ซ้ำและเสี่ยงสำลักลงหลอดลมเพราะกลไกการป้องกันการสำลักทำได้ช้า ลิ้นคับปากและสีคล้ำ และตั้งใจไอไม่ดีนัก นอกจากนี้มีการพูดไม่ชัดจากการทำงานของสมองที่ช้า

ผมจึงแนะนำนักกิจกรรมบำบัดให้ทดสอบโปรแกรมที่ให้ไปแล้วว่าต้องเพิ่มเติม 1. ใช้ของเหลวที่หนืดกว่าน้ำเปล่าเพื่อให้ฝึกกลืนได้ปลอดภัยขึ้น เช่น น้ำผลไม้ 2. ใช้น้ำเปล่าได้เล็กน้อย แต่ให้ดูดกับหลอดที่งอได้ที่ริมฝีปากข้างที่แข็งแรง (ขวา) อมค้างไว้ แล้วหันศรีษะไปทางขวา 45 องศา กลืนแล้วหันหน้าตรง เพื่อชดเชยให้กล้ามเนื้อการกลืนทำงานด้านที่แข็งแรงขวา พร้อมหายใจได้สะดวกกว่าการก้มศรีษะ 3. ฝึกเกร็งท้องป่อง กดดันลมให้ท้องแฟบ พร้อมหายใจเข้าทันทีกลั่น 5 วนาที แล้วหายใจออกทางปาก 4. หายใจออกแลบลิ้นเข้าออก 3 ครั้ง แล้วตั้งใจไอดังๆ แล้วเปล่งเสียงเช็คว่าเปียกปนน้ำลายหรือไม่ ถ้าเปียกก็กลืนน้ำลายแล้วฝึกไอใหม่ และ 5. ฝึกการออกเสียงแบบต่ำไปสูงจากความเร็วปกติและช้าเรื่อยๆ ตามเสียงผู้ฝึก

เมื่อทดสอบโปรแกรมข้างต้น พบว่า ใช้ได้ผลดี ทำให้กรณีศึกษามั่นใจในการกลืนมากขึ้น

คือผมคิดว่าประสบปัญหานี้อยู่ครับแต่ไม่หนักขนาดกรณีตัวอย่างเท่าไร ผมกลัวการกลืนอาหารเพราะคิดว่ามันจะไปอุดหลอดลมครับ

สาเหตุเกิดจากเวลาทานอาหารแล้วรู้สึกค้างอยู่ในลำคอเลยเริ่มที่จะกลัวขึ้นมา แต่ยังกินอาหารได้ปกติมีกลัวๆอยู่บ้าง เคยไปหาหมอเค้าบอกว่าผมเป็นกรดไหลย้อนและผมชอบดื่มกาแฟมากงดไม่ได้สักที Dr.Pop พอจะมีคำแนะนำให้ผมไหมครับสำหรับการรักษาโรคกลัวการกลืน ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

ขอบคุณมากครับคุณพงษ์เทพ

ข้อแนะนำเพื่อลดอาการกลัวการการสำลักขณะกลืนอาหาร คือ

1. ทบทวนความคิดให้รู้สึกสบาย ผ่อนคลาย และเริ่มต้นด้วยอาหารที่ชอบมากๆ และใช้ช้อนส้อมแบ่งเป็นคำเล็กๆ เช่น 1 ช้อมโต๊ะแบ่งเป็น 2 คำเล็ก

2. ก่อนตักอาหารคำเล็กเข้าปาก ให้ซ้อมขยับฟันบนสบฟันล่าง ลิ้นแตะนับฟันบนล่าง 3-5 รอบ

3. จิบน้ำสักเล็กน้อยแล้วก้มคอกลืน 2 ครั้ง

4. ตักอาหารคำเล็กเข้าปาก หลับตาแล้วค่อยๆ ใช้ลิ้นตวัดอาหารไปที่ฟันกรามล่างข้างซ้ายสลับขวาอย่างช้าๆ นานข้างละ 5 วินาที (นับ 1-5) รวม 10 วินาทีแล้วกลืนลงขณะก้มคอ

5. ตักอาหารคำเล็กเข้าปาก ลืมตาแล้วทำแบบข้อ 4 เพื่อเตรียมพร้อมระบบการกิน-เคี้ยว-กลืนอาหาร และระบบการย่อยอาหารเป็นจังหวะช้าๆ (ถ้ารู้สึกมีกรดไหลย้อย อาจต้องฝึกสหสัมพันธ์ของการกลืนและการหายใจภายหลังกับนักกิจกรรมบำบัด)

6. จากนั้นก็ได้ต่อได้เรื่อยๆ เมื่อรู้สึกกลัวขณะกลืน ก็ก้มคอลงเล็กน้อย หรือพักจิบน้ำก่อน

7. ทำแบบนี้เรื่อยๆ จนกว่าจะรู้สึกมั่นใจ ไม่กลัวกลืนสำลักแล้ว ก็ทำตัวกินแบบสบายๆ ตามสไตล์คุณพงษ์เทพได้เลยครับ

หากไม่ได้ผล ให้ติดต่อมานัดหมายที่คลินิกที่ [email protected]

ขอบพระคุณ คุณหมอมากนะครับ หลังจากที่ทำตามคำแนะนำก็ดีขึ้นมาก ทานได้เป็นปกติแล้ว จากการที่สังเกตุดูอาการผมคิดว่าอาจเป็นความกังวลหรือความกลัวที่สร้างขึ้นมาเองครับและไม่รู้วิธีแก้ที่ถูกต้องเลยทำให้มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่พอได้ลองทำตามคำแนะนำคุณหมดดูทำให้ผมมั่นใจขึ้นมากได้ผลจริงๆครับถึงแม้จะยังกังวนในบางครั้งแต่คิดว่าคงกินได้ปกติในเร็วๆนี้ครับ ขอบคุณครับ

ยินดีด้วยครับคุณพงษ์เทพที่ฝึกฝนตนเองจนทานได้อย่างมีความสุข

คุณหมอครับคือผมมีเรื่องสงสัยอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการกลืนอาหารครับ ผมอยากทราบว่าในการรับทานอาหารปกติแล้วเศษอาหารที่เคี้ยวไม่ค่อยละเอียด มันสามารถลงไปอุดหลอดลมได้ไหม คือผมเป็นคนที่ทานเร็วครับแล้วฟันกรามถอนออกไปข้างละซี่จึงมีบางครั้งที่เผลอกลืนอาหารที่ไม่ค่อยละเอียดลงไป เช่นเศษข้าวที่เป็นก้อนๆหรือเนื้อสัตว์ที่เหนียว หรือกล้วยที่เวลาเคี้ยวมันจะเหลือเศษระหว่างซี่ฟันที่ถอน ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

ขอบคุณสำหรับคำถามของคุณพงษ์เทพครับ

การกลืนอาหารที่ไม่ละเอียด หากมีจังหวะการเคี้ยว การกลืน และการหายใจไม่สัมพันธ์กัน เช่น ทานเร็วจนสำลัก ทานไปพูดไปจนสำลัก เป็นต้น บางคนทานเร็วจนเคยชิน ตัวลิ้นกั้นปิดหลอดลมกับหลอดอาหารก็ทำงานได้ทันกัน แม้ว่าจะไม่มีฟันกราม แต่ถ้าอมอาหารจนเป็นก้อน (ประมาณ 5-10 วินาที แปรผันตามขนาดและความข้นของก้อนอาหาร) ก็สามารถเลื่อนลงหลอดอาหารได้อย่างไม่สำลัก หรือบางครั้งไม่สำลัก แต่รู้สึกอยากไอหรือกลืนติดคอ แสดงถึงอาการสำลักเงียบได้ หากมีอาการแบบนี้นานไป อาจติดเชื้อในปอดได้ครับ

ดังนั้น แนะนำว่า ควรเคี้ยวไปมาอย่างช้าๆ เป็นจังหวะๆ ระหว่างฟันทั้งด้านบนล่างซ้ายขวา นับในใจ 1-5 วินาที สำหรับชิ้นอาหารเล็กและเหนียว และนับในใจ 1-10 วินาที สำหรับชิ้นอาหารใหญ่และเหนียว หรือใช้เวลานานกว่านี้ เมื่อใช้ลิ้นดุนสัมผัสอาหารแล้วรู้สึกว่ายังไม่ละเอียด ทั้งนี้ลองประเมินเปรียบเทียบระหว่างการทานตามปกติของคุณพงษ์เทพกับวิธีที่แนะนำข้างต้นว่า อาหารละเอียดและทานได้ง่ายขึ้นหรือไม่ มีอาการสำลักหรือไม่ เป็นต้น

ขอบคุณ คุณหมออีกครั้งนะครับ ทุกคำตอบของคุณหมอมีประโยชน์มากครับ ผมจะนำไปปรับใช้ตามคำแนะนำของคุณหมอนะครับ

ดิฉันก้อเปนโรคกลัวกลืนอาหารเหมือนกันค่ะ

ทานอะไรไม่ได้เลยเพราะกลัวจะสำลัก

ทรมานมากค่ะทำไงดีลองทำตามแต่ไม่ได้ผล..

เรียนคุณหมอครับ คือผมกลืนอาหารแล้วเศษอาหารมันไม่ลงคือกลืนไปแล้วมันติดที่คอแล้วผมก็เหมือนทำตัวไม่ถูกจะอวกมันก็ไม่ออกแล้วหัวใจมันก็เต้นแรงและเร็วขึ้นมาคือผมรำคาญเศษอาหารที่ติดอยุ่กินน้ำก็แล้วไม่ลงเลยใช้วิธีกลืนน้ำลายแต่มันก็ระคายไม่สบายตัว แต่ผมก็ปล่อยให้มันเป็นแบบนั้นคือมันระคาย คือผมก็กินข้าวปกติแต่กลัวกลืนอาหารติดเหมือนเดิมพอหลายวันผ่านไป มันมีอาการแปลกๆเหมือนหายไม่สะดวกจุกแน่นที่คอแต่เศษอาหารที่ติดมันก็หายไปละแต่รุ้สึกหายใจเหมือนมันไม่โล่ง มันจะเกี่ยวกับอาการตอนที่ผมตกใจที่เศษอาหารมันติดคอใจเต้นแรงเร็วคือความรุ้สึกนั้นมันยังอยุ่เลยอะครับจะแก้ไขยังไงดีครับคุณหมอ ผมไม่มีความสุขเลยหายใจเหมือนไม่สะดวก

ขอบพระคุณคุณนิรมลและคุณสมบัติติดต่อมานัดหมายผมที่คลินิกที่ [email protected]

เวลากินน้ำซุป หรืออะไรที่เผ็ดๆ หนูไม่ค่อยกล้ากลืนอาหารค่ะ เพราะกลัวสำลัก อยากทราบว่าเป็นเพราะอะไรหรอคะ?? แต่บางครั้งถ้าไม่นึกถึงเรื่องที่ว่า ก็กินอาหารได้ปกติอะค่ะ บางครั้งก็ต้องหาอะไรจับแล้วพยายามกลืนค่ะ กังวลมากค่ะ กินอาหารก็ไม่ค่อยอิ่ม 

ขอบคุณมากครับคุณ ต. การกลัวสำลักเพราะคุณ ต. น่าจะมีประสบการณ์เดิมที่เคยสำลักจากการทานซุปหรือเผ็ดๆ หรือมีภาวะวิตกกังวลในบางความคิดที่กำลังพยายามกลืนจนทำให้กินอาหารไม่อิ่ม ควรปรึกษาจิตแพทย์และนัดหมายมาคลายความกังวลกลัวการกลืนกับผมที่คลินิกได้ครับ ผมลงคลินิกอีกครั้งเดือนต.ค.

สวัสดีค่ะ  ขอถามหน่อยค่ะ ตัวเองเคยกินผัดผักและเปลือกระเทียมติดหลอดลม แบบว่าหายใจไม่ออก นึกว่าจะตายแล้วแต่ดีที่พี่ล้วงคอจนเปลือกกระเทียมหลุดออกมาได้ แต่ก็เกือบ 10 ปีแล้ว  ตอนนั้นมีผลคือไม่กล้ากลืน แม้ในนม โจ๊ก ยังไม่กล้า พอเคี้ยวๆแล้วรู้สึกว่าถ้ากลืนแล้วติดค่อแน่ๆจะคายทิ้งเลย ตอนนั้นแม่พาไปหาหมอ กลืนแป้งเพื่อให้เราแน่ใจว่ากลืนแล้วจะไม่มีอะไรติดคอแน่นอน และหลังจากนั้นก็ดีขึ้น กินได้ปกติแต่ก็ระวังการกินตลอดเวลา จนปี2018 4 วันแล้วที่รู้สึกลัวการกลืน อยู่ดีๆก็กลืนไม่ลง อาการเหมือนตอนนั้นมากๆ ตอนนี้กินได้แต่โจ๊ก แค่ข้าวโจ๊ก หมูในโจ๊กก็ต้องเคี้ยวนานมากๆ ไม่สบายใจเลยค่ะ ปกติเป็นคนกินเก่ง อยากกินทุกอย่าง ตอนนี้ก็อยากแต่กินไม่ได้ มันทรมาณ  อาการแบบนี้ควรไปพบจิตแพทย์มั้ยคะ 

ขอบคุณมากครับคุณ M แนะนำเบื้องต้นให้พบจิตแพทย์เพื่อตรวจว่า มีความวิตกกังวลระดับใด และสามารถลองฝึกจินตนาภาพให้นึกถึงภาพของคุณ M ขณะรับประทานอาหารที่อร่อย กินเก่ง กินได้ทุกอย่าง แล้วปรับภาพให้ชัด เมื่อใดมีภาพที่กล้าๆกลัวๆ ก็ให้พูดเสียงดังให้ตัวเองได้ยิน 3 ครั้ง ว่า ลบออกไป มั่นใจ กลืนได้ดี ลบออกไป มั่นใจ กลืนได้ดี ลบออกไป มั่นใจ กลืนได้ดี ต่อด้วยลองเป่าลมหายใจออกทางปากยาวๆ 3 ครั้งในท่าคอตรง ก้มคอเล็กน้อย กลืนน้ำลาย คอตรง หายใจเข้าแล้วออกทางจมูก นับเป็น 1 รอบ ทำต่ออีก 2 รอบ แล้วค่อยลองเคี้ยวอาหารนิ่มๆ ไม่เกิน 1 ช้อนชา หลับตา ก้มคอเล็กน้อย แล้วค่อยๆกลืนช้าๆ ถ้ารู้สึกไม่ดี ก้มคอไว้ แล้วลืมตา ค่อยๆฝืนกลืนช้าๆ เท่าที่จะทำได้ใน 1-3 นาที แล้วค่อยบ้วนถึงกรณีกลืนไม่หมด ถ้ากลืนหมดแล้วก็ลองอีกสัก 3 คำ ทำเท่าที่ทำได้ ต้องใช้เวลาปรับจิตปรับใจทุกๆมื้อ แบ่งเป็น 5 มื้อ ทุกๆวัน ใช้เวลา 21 วันต่อเนื่องกัน หากมีคำถามสงสัยและอยากนัดหมายที่คลินิก ซึ่งผมคาดว่าจะลง 24-25 ก.พ.ศกนี้ ก็โทรนัดได้ที่มือถือ 0852240707 อ.ป๊อป

สวัสดีครับคุณหมอ คือผมมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหารครับ ก่อนหน้านี้ผมทานยาเม็ดใหญ่แล้วรู้สึกค้างๆที่คอ เลยมีอาการกลัวขึ้นมาครับ ผสมกับตัวผมเองเป็นกรดไหลย้อนอยู่ด้วย หลังจากวันนั้น เวลาทานอาหารก็จะมีความกลัวอาหารติดคอ จึงใช้เวลาในการเคี้ยวนานกว่าปกติมาก แล้วก็รู้สึกว่าทานอาหารไม่เป็นธรรมชาติ กังวลจนมีเหงื่อออกที่มือครับ อยากทราบว่าผมควรจะทำพฤติกรรมบำบัดอย่างไรดีครับ ตอนนี้ค่อนข้างจะเครียดเวลาทานอาหารมาก

สวัสดีครับคุณหมอ คือผมมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหารครับ ก่อนหน้านี้ผมทานยาเม็ดใหญ่แล้วรู้สึกค้างๆที่คอ เลยมีอาการกลัวขึ้นมาครับ ผสมกับตัวผมเองเป็นกรดไหลย้อนอยู่ด้วย หลังจากวันนั้น เวลาทานอาหารก็จะมีความกลัวอาหารติดคอ จึงใช้เวลาในการเคี้ยวนานกว่าปกติมาก แล้วก็รู้สึกว่าทานอาหารไม่เป็นธรรมชาติ กังวลจนมีเหงื่อออกที่มือครับ อยากทราบว่าผมควรจะทำพฤติกรรมบำบัดอย่างไรดีครับ ตอนนี้ค่อนข้างจะเครียดเวลาทานอาหารมาก

แนะนำคุณ N ให้มาตรวจประเมินและออกแบบโปรแกรมกิจกรรมบำบัดการกลืนอาหารกันในวันที่ 28 ก.พ. นี้ หากมีอะไรอยากติดต่อ ยินดีครับ อ.ป๊อป 0852240707

แล้วในช่วงนี้จะปฎิบัติตัวอย่างไรดีครับ คือเวลาทานอาหาร ผมไม่สามารถกะเกณฑ์ว่าความละเอียดประมาณไหนที่สามารถกลืนได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล

ผมทานข้าวกลัวติดคอ ไม่กล้ากลืน พอเคี้ยวไปสักพัก ก็รู้สึกเหมือนจะคันคอจะไอ ตอนเคี้ยวข้าว และมีซืดลมหายใจตอนทานข้าว กลัวจะสำลัก ตอนนี้อยากทาน แต่ไม่กล้าทานรบกวนคุณหมอด้วยครับ

ขออภัยคุณ N ที่ตอบช้า และขอแนะนำทั้งคุณ N และคุณวีรวัฒน์ ศึกษาวิธีการในคลิป

สรุปขั้นตอนเบื้องต้นในการฝึกให้กล้ากลืนอาหาร ลดอาการกลัวการการสำลักขณะกลืนอาหาร คือ

1. ทบทวนความคิดให้รู้สึกสบาย ผ่อนคลาย และเริ่มต้นด้วยอาหารที่ชอบมากๆ และใช้ช้อนส้อมแบ่งเป็นคำเล็กๆ เช่น 1 ช้อมโต๊ะแบ่งเป็น 2 คำเล็ก

2. ก่อนตักอาหารคำเล็กเข้าปาก ให้ซ้อมขยับฟันบนสบฟันล่าง ลิ้นแตะนับฟันบนล่าง 3-5 รอบ

3. จิบน้ำสักเล็กน้อยแล้วก้มคอกลืน 2 ครั้ง

4. ตักอาหารคำเล็กเข้าปาก หลับตาแล้วค่อยๆ ใช้ลิ้นตวัดอาหารไปที่ฟันกรามล่างข้างซ้ายสลับขวาอย่างช้าๆ นานข้างละ 5 วินาที (นับ 1-5) รวม 10 วินาทีแล้วกลืนลงขณะก้มคอ

5. ตักอาหารคำเล็กเข้าปาก ลืมตาแล้วทำแบบข้อ 4 เพื่อเตรียมพร้อมระบบการกิน-เคี้ยว-กลืนอาหาร และระบบการย่อยอาหารเป็นจังหวะช้าๆ (ถ้ารู้สึกมีกรดไหลย้อย อาจต้องฝึกสหสัมพันธ์ของการกลืนและการหายใจภายหลังกับนักกิจกรรมบำบัด)

6. จากนั้นก็ได้ต่อได้เรื่อยๆ เมื่อรู้สึกกลัวขณะกลืน ก็ก้มคอลงเล็กน้อย หรือพักจิบน้ำก่อน

7. ทำแบบนี้เรื่อยๆ จนกว่าจะรู้สึกมั่นใจ ไม่กลัวกลืนสำลักแล้ว ก็ทำตัวกินแบบสบายๆ ตามสไตล์คุณได้เลยครับ

8. ให้พบจิตแพทย์เพื่อตรวจว่า มีความวิตกกังวลระดับใด 

9. ฝึกจินตนาภาพให้นึกถึงภาพของคุณขณะรับประทานอาหารที่อร่อย กินเก่ง กินได้ทุกอย่าง แล้วปรับภาพให้ชัด เมื่อใดมีภาพที่กล้าๆกลัวๆ ก็ให้พูดเสียงดังให้ตัวเองได้ยิน 3 ครั้ง ว่า ลบออกไป มั่นใจ กลืนได้ดี ลบออกไป มั่นใจ กลืนได้ดี ลบออกไป มั่นใจ กลืนได้ดี ต่อด้วยลองเป่าลมหายใจออกทางปากยาวๆ 3 ครั้งในท่าคอตรง ก้มคอเล็กน้อย กลืนน้ำลาย คอตรง หายใจเข้าแล้วออกทางจมูก นับเป็น 1 รอบ ทำต่ออีก 2 รอบ แล้วค่อยลองเคี้ยวอาหารนิ่มๆ ไม่เกิน 1 ช้อนชา หลับตา ก้มคอเล็กน้อย แล้วค่อยๆกลืนช้าๆ ถ้ารู้สึกไม่ดี ก้มคอไว้ แล้วลืมตา ค่อยๆฝืนกลืนช้าๆ เท่าที่จะทำได้ใน 1-3 นาที แล้วค่อยบ้วนถึงกรณีกลืนไม่หมด ถ้ากลืนหมดแล้วก็ลองอีกสัก 3 คำ ทำเท่าที่ทำได้ ต้องใช้เวลาปรับจิตปรับใจทุกๆมื้อ แบ่งเป็น 5 มื้อ ทุกๆวัน ใช้เวลา 21 วันต่อเนื่องกัน

10. การกลืนอาหารที่ไม่ละเอียด หากมีจังหวะการเคี้ยว การกลืน และการหายใจไม่สัมพันธ์กัน เช่น ทานเร็วจนสำลัก ทานไปพูดไปจนสำลัก เป็นต้น บางคนทานเร็วจนเคยชิน ตัวลิ้นกั้นปิดหลอดลมกับหลอดอาหารก็ทำงานได้ทันกัน แม้ว่าจะไม่มีฟันกราม แต่ถ้าอมอาหารจนเป็นก้อน (ประมาณ 5-10 วินาที แปรผันตามขนาดและความข้นของก้อนอาหาร) ก็สามารถเลื่อนลงหลอดอาหารได้อย่างไม่สำลัก หรือบางครั้งไม่สำลัก แต่รู้สึกอยากไอหรือกลืนติดคอ แสดงถึงอาการสำลักเงียบได้ หากมีอาการแบบนี้นานไป อาจติดเชื้อในปอดได้

ควรเคี้ยวไปมาอย่างช้าๆ เป็นจังหวะๆ ระหว่างฟันทั้งด้านบนล่างซ้ายขวา นับในใจ 1-5 วินาที สำหรับชิ้นอาหารเล็กและเหนียว และนับในใจ 1-10 วินาที สำหรับชิ้นอาหารใหญ่และเหนียว หรือใช้เวลานานกว่านี้ เมื่อใช้ลิ้นดุนสัมผัสอาหารแล้วรู้สึกว่ายังไม่ละเอียด ทั้งนี้ลองประเมินเปรียบเทียบระหว่างการทานตามปกติของคุณกับวิธีที่แนะนำข้างต้นว่า อาหารละเอียดและทานได้ง่ายขึ้นหรือไม่ มีอาการสำลักหรือไม่ เป็นต้น

11. ในกรณีมีความบกพร่องในการทำงานของก้านสมอง ซึ่งตรวจประเมินแล้วพบว่า มีการหายใจเข้าเพื่อกักออกซิเจนได้น้อยกว่าปกติ ไม่มีการหายใจได้ลึกด้วยกระบังลม ไม่มีการหายใจออกได้ราบเรียบ มีการกลืนน้ำที่ซ้ำและเสี่ยงสำลักลงหลอดลมเพราะกลไกการป้องกันการสำลักทำได้ช้า ลิ้นคับปากและสีคล้ำ และตั้งใจไอไม่ดีนัก นอกจากนี้มีการพูดไม่ชัดจากการทำงานของสมองที่ช้า

แนะนำพบนักกิจกรรมบำบัดเพื่อทดสอบโปรแกรมที่ให้ไปแล้วว่าต้องเพิ่มเติม 1. ใช้ของเหลวที่หนืดกว่าน้ำเปล่าเพื่อให้ฝึกกลืนได้ปลอดภัยขึ้น เช่น น้ำผลไม้ 2. ใช้น้ำเปล่าได้เล็กน้อย แต่ให้ดูดกับหลอดที่งอได้ที่ริมฝีปากข้างที่แข็งแรง (ขวา) อมค้างไว้ แล้วหันศรีษะไปทางขวา 45 องศา กลืนแล้วหันหน้าตรง เพื่อชดเชยให้กล้ามเนื้อการกลืนทำงานด้านที่แข็งแรงขวา พร้อมหายใจได้สะดวกกว่าการก้มศรีษะ 3. ฝึกเกร็งท้องป่อง กดดันลมให้ท้องแฟบ พร้อมหายใจเข้าทันทีกลั่น 5 วนาที แล้วหายใจออกทางปาก 4. หายใจออกแลบลิ้นเข้าออก 3 ครั้ง แล้วตั้งใจไอดังๆ แล้วเปล่งเสียงเช็คว่าเปียกปนน้ำลายหรือไม่ ถ้าเปียกก็กลืนน้ำลายแล้วฝึกไอใหม่ และ 5. ฝึกการออกเสียงแบบต่ำไปสูงจากความเร็วปกติและช้าเรื่อยๆ ตามเสียงผู้ฝึก เมื่อทดสอบโปรแกรมข้างต้น พบว่า ใช้ได้ผลดี ทำให้กรณีศึกษามั่นใจในการกลืนมากขึ้น

12. ถ้าไม่ดีขึ้น ให้นัดหมายผมที่คลินิกกิจกรรมบำบัด มือถือ 0994525194 ขอบพระคุณมากครับ

ดร ป๊อป ครับผมอยากเข้ารับการรักษา หรือนัดหมายพอจะมีใน กทม หรือตามแนว BTS บ้างไหมครับ เบื้องต้นจากที่เคยสอบถามไปหลายปีก่อนนี้ เกี่ยวกับกลัวการกลืน อยากได้รับการรักษาหรือแนวทางที่ถูกต้องครับ ตอนนี้ทานปลา ของทอดกรอบๆได้ แต่ผลไม้เปลือกแข็งหรือกล้วยจะไม่กล้าทาน เนื้อสัตว์ที่เหนียวๆ เช่นเนื้อวัว หมู แต่อาหารที่ชอบพวกน้ำพริก ชะอมทอด มะเขือทอดกินได้ปกติครับ ตอนนี้เข้าใจว่าเป็นความกลัวที่สร้างขึ้นมาเองแต่อยากได้รับการประเมินรักษาที่ถูกต้องพร้อมกับปรับแนวคิดในเชิงบวก พอดีเจอคลิปที่ ดร.ป๊อปไปออกรายการ TBS แล้วน่าสนใจมากมีประโยชน์กับการรักษาจิงอยากนัดหมาย ถ้าดร ป๊อป สะดวกยังไงรบกวนขอนัดหมายคลีนิคถ้ามีใน กทม หรือตามแนว BTS ยิ่งดีครับเนื่องจากผมไม่มีรถส่วนตัว ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ หนูอายุ13ปีเรียนอยู่ชั้นม.2 คือตอนวันกีฬาสีของ รร.หนูตากเเดดมากจนเป็นลม
พอกลับมาบ้านเเม่หนูยอกว่าลุงข้างบ้านตายเพราะอาหารติดคอตาย หลังจากที่หนูได้ฟังที่เเม่พูดหนูก็กลัวเป็นอย่างมาก เพราะคิดว่าเวลากินอะไรอาหารจะติดคอมันทรมานมากๆเลยค่ะ จากอาหารที่หนูเคยรับประทานได้เเต่ตอนนี้รับประทานไม่ได้เเล้วค่ะ เพราะกลัวมากๆขนาดเส้นหมี่ขาวที่เล็กๆหนูยังไม่กล้ากลืนเลยเพราะเวลาหนูจะกลืนอะไรหนูก็กลัวาคไปหัวใจเต้นเร็วตลอดเวลากลืนอาหารเพราะกลัวอาหารจะติดคอ หนูเป็นอย่างวี้มา3เกือนเเล้วค่ะ นำ้หนักหนูลดลงไปเรื่อยๆจาก42เหลือ35 เวลารับประทานอาหารกับครอบครัวหนุจะต้องคอยเเอบหยิบกระเาษเช็ดทู่คอยเเอบคายอาหารออกมามันทรมานมากๆเลยค่ะ พอจะมีวิธีที่ทำให้หนุกลับมากินอาหารปกติได้ไหมคะ

ขออภัยที่ตอบช้า ไม่แน่ใจว่าดีขึ้นหรือยัง แนะนำคุณ [email protected] และ [email protected] ทำการนัดหมายเพื่อรับการตรวจประเมินทางกิจกรรมบำบัดได้นะครับ มือถือ 0994525194 ขอบพระคุณมากครับ

ผมเป็นอยู่เลยครับเวลากลืนแล้วจะกลัวสำลักมาก เวลาเคี้ยวอาหาร และบางทีหายใจก็ไม่ปกติ พอดีเพิ่งผ่าตัดไทรอยด์ไป ปีกว่าด้วยครับ ทรมานมากเวลากินกลัวกลืนไม่ลงครับ

ผมเป็นอยู่เลยครับเวลากลืนแล้วจะกลัวสำลักมาก เวลาเคี้ยวอาหาร และบางทีหายใจก็ไม่ปกติ พอดีเพิ่งผ่าตัดไทรอยด์ไป ปีกว่าด้วยครับ ทรมานมากเวลากินกลัวกลืนไม่ลงครับ

สวัสดีค่ะหนูอายุ24ปีค่ะ เมื่อ15วันก่อนหนูได้ทานข้าว แล้วข้าวติดคอพยายามกลืนเท่าไหร่ก็กลืนไม่ลงต้องอาศัยน้ำช่วย โดยใช้น้ำเทลงพร้อมแหงนหน้าให้น้ำไหลลงเองเพราะมันกลืนไม่ลงจริงๆค่ะ เล่นเอาเหนื่อยเลยค่ะ หัวใจเต้นตุ้บๆนึกว่าจะไม่รอดแล้วเป็นอยู่3วันติดจนหนูไม่กล้ากลืนอะไรเลย พอจะทานได้แค่โจ๊คกับนม ขนาดกลืนโจ๊คแต่ล่ะคำยังต้องรอจังวะปลอดภัยเหงื่อตก หัวใจเต้นแรงมากตอนกลืนอาหารแต่ละครั้งค่ะไปพบหมอ คุณหมอบอกว่าเป็นหลอดอาหารอักเสบจาากกรดไหลย้อนค่ะตอนนี้คือน้ำลดลงเรื่อยๆ จาก45เหลือ41 เครียดจนนอนไม่หลับเลยค่ะ ถูกให้ออกจากงานเพราะต้องขอหยุดอาทิตย์ละวัน4ครั้งเพื่อไปติดตามอาการเรื่องกรดไหลย้อนค่ะ ตอนนี้คือยากกลับมามีความสุขกับการทานได้เหมือนเดิมแค่นั้น คือถ้าหนูกลับมาทานได้ปกติหนูก็มีแรงไปทำงาน และอยากทราบค่าใช้จ่ายในการพบแพทย์แต่ร่ะครั้งด้วยค่ะ เพราะตอนนี้หนูตกงานตังเก็บก็พออยู่ได้แค่เดือนสองเดือนเท่านั้นเองค่ะ

สวัสดีค่ะหนูอายุ24ปีค่ะ เมื่อ15วันก่อนหนูได้ทานข้าว แล้วข้าวติดคอพยายามกลืนเท่าไหร่ก็กลืนไม่ลงต้องอาศัยน้ำช่วย โดยใช้น้ำเทลงพร้อมแหงนหน้าให้น้ำไหลลงเองเพราะมันกลืนไม่ลงจริงๆค่ะ เล่นเอาเหนื่อยเลยค่ะ หัวใจเต้นตุ้บๆนึกว่าจะไม่รอดแล้วเป็นอยู่3วันติดจนหนูไม่กล้ากลืนอะไรเลย พอจะทานได้แค่โจ๊คกับนม ขนาดกลืนโจ๊คแต่ล่ะคำยังต้องรอจังวะปลอดภัยเหงื่อตก หัวใจเต้นแรงมากตอนกลืนอาหารแต่ละครั้งค่ะไปพบหมอ คุณหมอบอกว่าเป็นหลอดอาหารอักเสบจาากกรดไหลย้อนค่ะตอนนี้คือน้ำลดลงเรื่อยๆ จาก45เหลือ41 เครียดจนนอนไม่หลับเลยค่ะ ถูกให้ออกจากงานเพราะต้องขอหยุดอาทิตย์ละวัน4ครั้งเพื่อไปติดตามอาการเรื่องกรดไหลย้อนค่ะ ตอนนี้คือยากกลับมามีความสุขกับการทานได้เหมือนเดิมแค่นั้น คือถ้าหนูกลับมาทานได้ปกติหนูก็มีแรงไปทำงาน และอยากทราบค่าใช้จ่ายในการพบแพทย์แต่ร่ะครั้งด้วยค่ะ เพราะตอนนี้หนูตกงานตังเก็บก็พออยู่ได้แค่เดือนสองเดือนเท่านั้นเองค่ะ

ขอส่งกำลังใจและให้ฝึกหายใจลดความกังวล คือ ก่อนทานอาหาร ให้เป่าลมหายใจออกทางปากยาว ๆ สัก 10 รอบช้า ๆ มือแตะที่หัวใจยังเต้นเร็วอยู่หรือไม่ จากนั้นให้หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ หายใจออกทางจมูกยาวๆ นับให้ตัวเองได้ยิน 1 ทำไปเรื่อย ๆ จนถึง 10 แล้วทำไปเรื่อย ๆ แต่นับย้อนกลับ 9-8-7-6-5-4-3-2-1 คราวนี้นิ้วชี้กลางสองข้างเคาะพอรู้สึกมีสติระหว่างหัวคิ้ว พร้อมพูดให้ตัวเองได้ยินว่า หายกลัว กลืนได้ 3 รอบ ก็เริ่มทานอาหารที่นิ่มกลืนง่าย แยกกับ เช่น ไข่ตุ๋น โจ๊กข้น (น้ำน้อยๆ) ไม่ผสมกัน ใช้ช้อนชาใส่อาหารแล้ววางกลางลิ้น ฝืนลืมตา แล้วพูดในใจเสมอว่า มั่นใจ ทานได้ 3 รอบ แล้วก็ทาน คำใดไม่ได้ก็บ้วนทิ้ง ไม่แนะนำให้แหงนคอ จะสำลักง่าย ไม่เทน้ำลง ฝืนกลืนเท่าที่ได้ ยิ่งเทน้ำแหงนคอ สมองจะยิ่งกลัวการกลืน ทานได้เรื่อย ๆ ตลอดวัน ถ้าเป็นเครื่องดื่มก็ใช้หลอดพับงอวางไปข้างๆ กระพุ้งแก้ม จิบไปเรื่อยๆ จำไว้ว่า เป็นอารมณ์กลัวกังวลล้วน ๆ ร่างกายเราป้องกันการสำลัก ให้ก้มคอ ไอแรงๆ ก็ไม่อันตรายใด ๆ ไม่มีกลืนไม่ได้จนตาย เพราะกลืนกับหายใจแยกกันชัดเจน สำหรับคลายเครียดนอนไม่หลับแนะนำให้คลิกฝึก https://www.youtube.com/watch?v=u0WdF-JuDl4 ถ้าไม่ดีขึ้นใน 3 วัน ก็ปรึกษาทางมือถือผมได้ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ อ.ป๊อป 0994525194 ตอนนี้ผมไม่ได้ลงคลินิก แต่ถ้าสนใจจะให้นักกิจกรรมบำบัดฝึกการกลืนลำบากนี้ ก็นัดหมายได้ที่ http://www.pt.mahidol.ac.th/ptcenter/contact/

สวัสดีค่ะ ตอนนี้อยู่ๆก็กลัวการกลืนมากค่ะ เป็นมาประมาณ 2 อาทิตย์แล้วค่ะรู้สึกทรมานเวลาจะกินข้าวมากค่ะ พอดี 2 อาทิตย์ก่อน ไปกินข้าวมาแล้วเหมือนมีอะไรติดคอ แต่ไม่กล้า ไอ ค่ะ เพราะกลัวคนหาว่าเป็นโควิด แล้วพอสักพักก็อ้วกออกมาหมดเลยค่ะ หลังจากนั้น ก็ทานอะไรปกติ แต่สักพักกลับมามีอาการกลัวการอีกครั้ง พอหลังๆเริ่มกลัวมากค่ะ เหมือนหัวใจเต้นเร็วและขนลุกซู่ทุกครั้ง อยากหายค่ะ ไม่ทราบว่าเกิดจากอาการเครียดด้วยหรือเปล่า ยังไงขอคำแนะนำ รบกวนช่วยบอกวิธีแก้ไขหน่อยนะคะ พยายามไม่คิดอะไรมาก แต่ทุกครั้งเวลาที่รู้จะทานอาหาร ก็เริ่มมีอาการกลัวการกลืนค่ะ. ขอบคุณนะคะ

สวัสดีคะ ตอนนี้หนูเป็นโรคกลัวการกลืน คือกลืนได้แต่ไม่ปกติ ไม่กล้ากินของที่เครี้ยวยากเลยคะ บางทีน้ำก็ไม่กล้ากลืน กินอะไรก็ลำบาก น้ำหนักลดไป5โลแล้วคะ เครียดมากๆ คือไม่มีความสุขกับการกินเลยคะ มันจะหายจากโรคแบบนี้ได้ไหมคะ

สวัสดีค่ะ หนูมีความรู้สึกกังวลในการกลืนอาหารมาสองสามปีแล้วค่ะ ยิ่งนานยิ่งอาการหนักขึ้นเรื่อยๆ 1.เวลาจะกลืนอาหารกลัวว่ามันจะไปลงที่หลอดลมค่ะ มันเป็นความรู้สึกจากในลำคอว่ามันจะลงหลอดลม เลยรีบพยายามไอแรงๆเพื่อให้อาหารคายออกมา เวลาทานอาหารต้องค่อยๆเคี้ยวช้าๆและกลืนลงทีละนิด มันเลยทำให้เกร็งลำคอและโดนลิ้นไปด้วยจนปวดเมื่อยและทำให้กลืนไม่ลงค่ะ2.อาหารบางอย่างไม่สามารถกลืนได้ เช่น ผัก เนื้อติดมัน เคี้ยวนานมากเหมือนมันไม่ยอมกลืนสักทีเคี้ยวจนอาหารเป็นกากและต้องคายทิ้งแทนค่ะเป็นความรู้สึกว่ามันไม่มีอะไรที่จะพาอาหารลงไปในคอ มันแห้งๆและทำให้กินข้าวคำน้ำคำบ่อยๆด้วยค่ะ ตรงนี้สงสัยว่าเป็นภาวะน้ำลายน้อยด้วยหรือเปล่าเลยไม่กลืนลงไปซักที3.ปัจจุบันทานหาอารได้น้อยลงมากๆค่ะ ทรมานทุกครั้งที่ทานอาหาร บางทีกลัวติดหลอดลมจนต้องก้มหน้าแล้วกลืนอาหาร น้ำหนักลดลงไปเยอะมากค่ะ อยากรักษาโรคนี้ให้หายค่ะ ควรรักษายังไงดีคะ เคยไปหาหมอ หมอให้เอ็กซ์เรย์กลืนแป้งดูการกลืน ผลออกมาการกลืนดีมากค่ะ หมอเลยบอกว่าอาจจะเป็นเรื่องของระบบประสาทที่มาจากความเครียดอะไรพวกนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะ หนูมีความรู้สึกกังวลในการกลืนอาหารมาสองสามปีแล้วค่ะ ยิ่งนานยิ่งอาการหนักขึ้นเรื่อยๆ 1.เวลาจะกลืนอาหารกลัวว่ามันจะไปลงที่หลอดลมค่ะ มันเป็นความรู้สึกจากในลำคอว่ามันจะลงหลอดลม เลยรีบพยายามไอแรงๆเพื่อให้อาหารคายออกมา เวลาทานอาหารต้องค่อยๆเคี้ยวช้าๆและกลืนลงทีละนิด มันเลยทำให้เกร็งลำคอและโดนลิ้นไปด้วยจนปวดเมื่อยและทำให้กลืนไม่ลงค่ะ2.อาหารบางอย่างไม่สามารถกลืนได้ เช่น ผัก เนื้อติดมัน เคี้ยวนานมากเหมือนมันไม่ยอมกลืนสักทีเคี้ยวจนอาหารเป็นกากและต้องคายทิ้งแทนค่ะเป็นความรู้สึกว่ามันไม่มีอะไรที่จะพาอาหารลงไปในคอ มันแห้งๆและทำให้กินข้าวคำน้ำคำบ่อยๆด้วยค่ะ ตรงนี้สงสัยว่าเป็นภาวะน้ำลายน้อยด้วยหรือเปล่าเลยไม่กลืนลงไปซักที3.ปัจจุบันทานหาอารได้น้อยลงมากๆค่ะ ทรมานทุกครั้งที่ทานอาหาร บางทีกลัวติดหลอดลมจนต้องก้มหน้าแล้วกลืนอาหาร น้ำหนักลดลงไปเยอะมากค่ะ อยากรักษาโรคนี้ให้หายค่ะ ควรรักษายังไงดีคะ เคยไปหาหมอ หมอให้เอ็กซ์เรย์กลืนแป้งดูการกลืน ผลออกมาการกลืนดีมากค่ะ หมอเลยบอกว่าอาจจะเป็นเรื่องของระบบประสาทที่มาจากความเครียดอะไรพวกนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะ หนูมีความรู้สึกกังวลในการกลืนอาหารมาสองสามปีแล้วค่ะ ยิ่งนานยิ่งอาการหนักขึ้นเรื่อยๆ 1.เวลาจะกลืนอาหารกลัวว่ามันจะไปลงที่หลอดลมค่ะ มันเป็นความรู้สึกจากในลำคอว่ามันจะลงหลอดลม เลยรีบพยายามไอแรงๆเพื่อให้อาหารคายออกมา เวลาทานอาหารต้องค่อยๆเคี้ยวช้าๆและกลืนลงทีละนิด มันเลยทำให้เกร็งลำคอและโดนลิ้นไปด้วยจนปวดเมื่อยและทำให้กลืนไม่ลงค่ะ2.อาหารบางอย่างไม่สามารถกลืนได้ เช่น ผัก เนื้อติดมัน เคี้ยวนานมากเหมือนมันไม่ยอมกลืนสักทีเคี้ยวจนอาหารเป็นกากและต้องคายทิ้งแทนค่ะเป็นความรู้สึกว่ามันไม่มีอะไรที่จะพาอาหารลงไปในคอ มันแห้งๆและทำให้กินข้าวคำน้ำคำบ่อยๆด้วยค่ะ ตรงนี้สงสัยว่าเป็นภาวะน้ำลายน้อยด้วยหรือเปล่าเลยไม่กลืนลงไปซักที3.ปัจจุบันทานหาอารได้น้อยลงมากๆค่ะ ทรมานทุกครั้งที่ทานอาหาร บางทีกลัวติดหลอดลมจนต้องก้มหน้าแล้วกลืนอาหาร น้ำหนักลดลงไปเยอะมากค่ะ อยากรักษาโรคนี้ให้หายค่ะ ควรรักษายังไงดีคะ เคยไปหาหมอ หมอให้เอ็กซ์เรย์กลืนแป้งดูการกลืน ผลออกมาการกลืนดีมากค่ะ หมอเลยบอกว่าอาจจะเป็นเรื่องของระบบประสาทที่มาจากความเครียดอะไรพวกนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะ หนูอายุ30 ปี เป็นโรคแพนิคอยู่แล้ว แล้วดันไปเห็นคอมเมน?ในเฟสบุ๊คของคนเป็นแพนิคสาเหตุจากการกลัวกลืนอาหาร พอเรากินข้าวสมองดันไปนึกถึงคอมเมนต์นั้น ทำให้การกินสะดุดไป แล้วเกิดอาการแพนิคขึ้น ใจเต้นแรง ท้องไส้ปั่นป่วน จากนั้นก็กินไม่ปกติเลยค่ะ ระแวง กลัวติดคอ กลัวสำลัก ลำบากมาก เวลากินข้าวจะเคี้ยวนานมากเคี้ยวจนเละ ถึงจะกลืน เวลากลืนก็เหมือนลังเลว่าจะกลืนหรือไม่กลืน จะหายใจก่อนดีหรือจะกลืนก่อน เวลาจะกลืนก็มักจะหายใจ ต้องเอามือกดจมูกไว้ เหมือนอารมณ์กลัวมันมากจนมันรีบหายใจโดยอัตโนมัติ ขนาดจะกลืนน้ำลายยังมีความลังเล (เหมือนเอาเพดานปากแตะลิ้นแล้วประมาน3รอบ ว่าจะกลืนหรือไม่กลืนดี) แล้วเวลากลืนก็มักจะกั๊กไว้ไม่ยอมกลืนให้หมดปาก จนบางทีผ่อนคลายกินไปได้ครึ่งจานแล้ว สมองก็ชอบคิดลบให้ตัวเองกลัวตลอด เหมือนโดนสมองตัวเองแกล้งยังไงไม่รู้ ชอบคิดคำว่าติดคอตาย เวลากลืนข้าวแต่ละคำเปรียบเสมือนตัวเองกำลังจะกระโดดข้ามเหวยังไงยังงั้นแหละ กลัวจนหายใจไม่ออกเหมือนควบคุมตัวเองไม่อยู่ เป็นมา4 เดือนแล้วค่ะ แต่ไม่ได้เป็นตลอด ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารมื้อหลัก ยิ่งมีคนทานร่วมโต๊ะด้วยยิ่งเป็น ตระหนก ประหม่า แต่ถ้าของกินเล่น ขนม กลับไม่ค่อยมีอาการ ขอคำแนะนำด้วยค่ะอาจารย์ (ปล.หนูเป็นโรคแพนิคมา10 เดือนแล้วแต่ไม่ได้ทานยาหมอ ใช้ใจล้วนๆ ทุกอย่างโอเคดีควบคุมอาการได้ ยกเว้นเรื่องการกลืนอย่างเดียว)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท