กิจกรรมบำบัดทำอย่างไร ช่วยผู้ป่วยกลัวการกลืน ...ให้กลืนได้


บทบาทนักกิจกรรมบำบัดในการให้คำปรึกษาผู้ป่วยกลัวการกลืนได้ใน 21 วันทำอย่างไร

 

โรคกลัวการกลืนคืออะไร

            โรคกลัวการกลืน เป็นภาวะวิตกกังวลอย่างรุนแรงเมื่อต้องรับประทานอาหารทางปาก มักเกิดจากการถูกกระตุ้นด้วยประสบการณ์เชิงลบในอดีต ผู้ป่วยจะมีความยากลำบากในการกลืนอาหาร และอาจมีอาการแสดงทางกายให้เห็น เช่นอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น หายใจเร็ว เหงื่อออกมาก หรือคลื่นไส้อาเจียร เป็นต้น

            โรคกลัวการกลืน ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารที่ตนเองอยากทานได้ มีน้ำหนักลดลง ขาดสารอาหาร ไม่อยากทานอาหารร่วมกับผู้อื่น เริ่มแยกตัวออกจากสังคม และอาจมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่า โรคกลัวการกลืนนี้ สามารถส่งผลกระทบทั้งด้านร่างกาย และจิตใจของผู้ป่วย และอาจนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงได้
 

ทำไมต้อง 21 วัน

           ทฤษฎี 21 วัน เป็นเทคนิคที่มาจากหนังสือเรื่อง Psycho-Cybernetics ซึ่งเขียนโดย ดร. Maxwell Maltz โดยสามารถสรุปใจความได้ว่า สิ่งใดที่เรากระทำซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 21 วัน (หรือคิดเป็น 3 สัปดาห์) จะเกิดความเคยชินจนสมองสร้างการรับรู้ใหม่ กลายเป็น "นิสัย" ใหม่ของเราในที่สุด

          ดังนั้นหากนำทฤษฎีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการบำบัดผู้ป่วยกลัวการกลืน โดยให้ผู้ป่วยได้ฝึกการกลืนซ้ำๆ ในทุกๆวัน ภายในระยะ 21 วัน จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยเริ่มต้นเอาชนะความกลัวของตนเองได้

 

นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทอย่างไร

           นักกิจกรรมบำบัดมีเป้าหมายหลัก คือ ช่วยให้ผู้รับบริการสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างอิสระตามศักยภาพสูงสุดที่มีและส่งเสริมให้ผู้รับบริการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เทคนิคเอาชนะความกลัวการกลืน

1. ปรับอารมณ์ คลายความกังวล

  • เคาะคลายอารมณ์
  1. ให้ผู้รับบริการหลับตาในท่ายืนนั่งหรือนอนแล้วทบทวนว่า มีอารมณ์ตึงเครียดบริเวณใดของร่างกายเริ่มจากบริเวณใบหน้าบริเวณรอบหัวใจและบริเวณท้องถ้ามีแต่ละบริเวณอยู่ที่ใดแต่ละตำแหน่งมีระดับความเครียดที่คะแนนจาก 0-10 (ไม่มีถึงมากที่สุด) ผู้ประเมินรอฟังคำตอบและบันทึกข้อมูลให้ชัดเจน
  2. ถ้าผู้รับบริการมีอารมณ์ตึงเครียดในระดับ> 6/10 ให้ชวนเคาะคลายอารมณ์ลบพร้อมกันกับผู้ประเมินคือใช้นิ้วชี้กลางสองข้างเคาะระหว่างหัวคิ้วพร้อมพูดว่า“ มั่นใจ มั่นใจ มั่นใจ หายกลัว หายกลัว หายกลัว” เคาะบริเวณกลางอกใต้ต่อปุ่มกระดูกไหปลาร้าพร้อมพูดว่า“ เข้มแข็ง เข้มแข็ง เข้มแข็ง หายเศร้า หายเศร้า หายเศร้า” เคาะสีข้างลำตัวใต้ต่อรักแร้หนึ่งฝ่ามือพร้อมพูดว่า“ ให้อภัย ให้อภัย ให้อภัย หายโกรธ หายโกรธ หายโกรธ”
  3. ทำกระบวนการซ้ำให้ผู้รับบริการหลับตาแล้วบันทึกการเปลี่ยนแปลงว่า“ มีอารมณ์ตึงเครียดลดลงหรือเพิ่มขึ้น” ถ้ามีคะแนนระดับ <6/10 ก็ให้ทำข้อต่อไปถ้ามีคะแนนระดับ 6/10 ให้ชวนเคาะคลายอารมณ์ลบพร้อมกันกับผู้ประเมินอีก 3 รอบแล้วทำกระบวนการประเมินอารมณ์ตึงเครียดอีกครั้งว่ามีระดับลดลงไหมถ้าได้ 3/10 ถือว่าอารมณ์ตึงเครียดลดลง
  • เอาชนะความกลัว ได้ด้วยการต้ังใจเป่าลมหายใจออกทางปากยาวๆ จาก 1-10 คะแนน คิด ว่า กลัวกังวลกี่คะแนน ถ้า 10 คะแนนเต็ม ก็เป่าลมหายใจออกทางปากยาวๆ 10 รอบ

 

2. ปรับความคิดบวก สร้างความมั่นใจ

  • ฝึกออกกําลังจิตให้คิดบวกกับฝึกออกกําลังใจให้มีสมาธิ  จะหลับตาหรือลืมตามอง ลงพื้น หายใจเข้าทางจมูกลึกๆ นับในใจ 1-2-3 แล้วค้างไว้ในปอด นับในใจ 1-2 ต่อ ด้วยหายใจออกทางจมูกยาวๆ ช้าๆ นับในใจ 1-2-3-4 ทําไปเรื่อยๆ จนครบกําหนด เวลาท่ีตั้งใจ ครั้งละ 10-15 นาที ทําก่ีครั้งก็ได้ ยิ่งทํายิ่งดี
  • หากมีความคิดลบเข้ามาแทรก นักกิจกรรมบําาบัดแนะนําให้ค่อย ๆ คิดบวกด้วย การฟังเสียงภายในใจของตนเองว่า “กําลังกลัวอะไร” ต่อด้วยการพูดให้ตัวเอง ได้ยินด้วยน้ําเสียงท่ีเข้มแข็ง “หายกลัว กล้าลองทําดู” จากนั้นอยู่นิ่งๆ ฝึกหายใจ แบบ 4-7-8 เพื่อคลายความวิตกกังวล โดยเริ่มหายใจเข้าทางจมูก ลึกๆ พร้อมลิ้นแตะเพดานบนช่องปาก นับในใจ 1-2-3-4 ค่อยๆ นําาพาลมหายใจ เข้าไปค้างไว้ที่ช่องท้อง นับในใจ 1-2-3-4-5-6-7 แล้วค่อยๆ เป่าลมหายใจออกมา ทางปากยาวๆ นับในใจ 1-2-3-4-5-6-7-8 ทําาสัก 4 รอบ (ถ้าทําาแล้วอึดอัด ให้ลดลง เหลือทําาหายใจแบบ 4-4-4 แทน) แล้วค่อยๆ กลับเข้าไปคิดใคร่ครวญเขียนวางแผน ชีวิตต่อไปเท่าที่สบายใจ
  • ฝึกจินตนาการภาพ โดยให้ผู้ป่วยนึกถึงภาพขณะรับประทานอาหารที่ชอบ อย่างเอร็ดอร่อย สามารถกินได้ทุกอย่าง แล้วค่อยๆปรับภาพให้ชัด เมื่อใดมีภาพที่กล้าๆกลัวๆเกิดขึ้น ก็ให้พูดเสียงดังให้ตัวเองได้ยิน 3 ครั้ง ว่า ลบออกไป มั่นใจ กลืนได้ดี ต่อด้วยเป่าลมหายใจออกทางปากยาวๆ 3 ครั้ง


3. เตรียมกายให้พร้อม เพิ่มความสมดุล

  • ลดการรับความรู้สึก: แนะนำให้แปรงลิ้นจากโคนมาสู่ปลายอย่างช้าๆ ก่อนและหลังมื้ออาหาร หรือทำในทุกๆเช้าขณะแปรงฟัน โดยให้เริ่มจากแปรงที่มีขนนุ่ม สัมผัสเบา และค่อยๆปรับให้มีความหยาบมากขึ้นในระดับที่ทนได้
  • กระตุ้นการหลั่งน้ำลาย: ใช้นิ้วโป้งสัมผัสข้อต่อขากรรไกร ดันนิ้วชี้ไปตรงๆ ท่ีปลายคาง ขยับนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ ให้ก้มคอเล็กน้อย ให้กลอกตามองลงพื้น แล้วกลืนน้ําลายเล็กน้อย เงยหน้าตรง ใช้ปลายลิ้นแตะตรงกลางเพดานใกล้ฟันบน ใช้นิ้วกลางแตะดันใต้คางเพื่อกระตุ้น น้ําลายชนิดใสแล้วไล่ไปใกล้กับกกหู จนถึงใต้ต่อขากรรไกรล่าง เพื่อกระตุ้นน้ําลายชนิดข้น
  • ออกกำลังกายกล้ามเนื้อ
  1. ฝึกกล้ามเนื้อลิ้น:ใช้ช้อนยาวสแตนเลสจุ่มน้ําอุ่นสัก 3-5 วินาที นําหลังช้อนมาแตะนวด ปลายล้ินซีกข้างถนัดวนไปกลางลิ้น แล้วแตะเข้าไปอีกนิดชิดล้ินไปข้างซ้าย นําช้อนออก แลบลิ้นแตะริมฝีปากล่าง ปิดปาก กลืนน้ำลาย แลบล้ินแตะริมฝีปาก บน ปิดปาก กลืนน้ําลาย แลบล้ินแตะมุมปากด้านขวา ปิดปาก กลืนน้ําลาย แลบ ล้ินแตะมุมปากด้านซ้าย ปิดปาก กลืนน้ําลาย
  2. ฝึกกล้ามเนื้อรอบปาก: ให้เป่าลมแรงๆออกจากปากสามครั้ง พร้อมส่งเสียงร้อง อา อู โอ
  • จัดท่าทางที่เหมาะสม
  1. Chin down: ก้มหน้ามองตำ่เล็กน้อยขณะกลืนน้ําลาย  ช่วยให้กล่องเสียงอยู่ชิดโคนลิ้นมากขึ้นป้องกันไม่ให้อาหารตกเข้าไปในทางเดินหายใจ
  2. Head tilt to stronger side: หันคอไปยังร่างกายข้างถนัด หรือข้างที่รู้สึกมีแรงมากกว่า งอตัวเล็กน้อยพร้อมก้มคอกลืนน้ําลาย ทําสัก 3 รอบ

 

4. เริ่มลงมือทำ กลืนอย่างค่อยเป็น

  1. ให้ผู้รับบริการเลือกอาหารที่ตนเองอยากทาน หรืออาหารโปรด เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการฝึก
  2. จัดท่าให้อยู่ในท่านั่งตัวตรง มองไปข้างหน้าตรงๆ อาจใช้นิ้วช่วยดันบริเวณคางไว้ เพื่อไม่ให้ก้มคอ หรือแหงนหน้าเวลากลืน
  3. ก่อนทานอาหาร แนะนำให้ผู้รับบริการจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน เพื่อให้ทานอาหารอย่างมีสติสัมปชัญญะ  สามารถแยกแยะการกลืน และการหายใจได้ ป้องกันไม่ให้เกิดการสำลัก
  4. ตักอาหารคำเล็กๆ และพยายามวางอาหารเข้าไปกลางลิ้นเท่าที่จะทำได้
  5. เคี้ยวอาการด้วยฟันข้างถนัดอย่างรวดเร็ว แล้วปัดมาเคี้ยวด้วยฟันอีกข้างอย่างช้าๆ สลับกันไปเรื่อยๆ จนรู้สึกว่ากลืนได้ทันที จากนั้นให้ดูดน้ำเปล่า แล้วค้างไว้นับในใจ 1-5 พร้อมสัมผัสกดกล้ามเนื้อรอบๆ คอหอยเบาๆ 3 ครั้งแล้วกลืนน้ำทันทีลงหลอดอาหาร ถือว่าเป็นการสื่อสารให้อวัยวะกินและกลืนอาหารเตรียมพร้อมโดยจิตสำนึก
  6. แนะนำ หนึ่งคําเคี้ยวให้ได้  30-80 คร้ังก่อนกลืน เพื่อคลายความกังวล
  7. หากรู้สึกกลืนไม่ลง ให้จิบน้ำเล็กน้อยแล้วก้มคอกลืน 2 ครั้ง (dubble swallowing)
  8. ค่อยๆปรับเพิ่มความท้าทาย เมื่อผู้รับบริการมีการพัฒนาที่ดีขึ้น เช่น ในช่วงแรกอาจฝึกตามวิธีการข้างต้นเพียง3-5 คำแรก จากนั้นให้ทานแบบปกติ และค่อยๆเพิ่มจำนวนคำในการฝึกให้มากขึ้นตามความสามารถของผู้รับบริการ
  9. ฝึกทำบ่อยๆ ซ้ำๆ โดยอาจเพิ่มจำนวนมืออาหารจาก 3 มื้อ เป็น 5 มื้อ และฝึกซ้ำๆในทุกๆวัน ตลอด 21 วัน
  10. พูดขอบคุณตัวเองเมื่อสามารถทำได้สำเร็จตามแผนที่วางไว้

 

แผนการให้บริการใน 21 วัน

วันที่ 1 ประเมินสภาพจิตของผู้รับบริการแบบ Semi-structure ด้วยการให้สำรวจความตึงของร่างกาย พร้อมชวนเคาะคลายอารมณ์ โดยมีขั้นตอนการทำตามเทคนิค "ปรับอารมณ์ คลายความกังวล" ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพื่อให้ผู้รับบริการลดความวิตกกังวลลงก่อน จากนั้นทำการปรับความคิดบวกตามเทคนิค "ปรับความคิดบวก สร้างความมั่นใจ" เพื่อให้ผู้รับบริการเปิดใจ เชื่อมั่นว่าตนเองทำได้ และสร้างแรงจูงใจในการฝึกแก่ผู้รับบริการ พร้อมแนะนำให้ผู้รับบริการนำเทคนิคทั้งสองที่ได้สอนไป กลับไปปรับใช้ที่บ้านได้ในทุกๆวัน ตลอด 21 วันหลังจากนี้

วันที่ 2 สอบถามความรู้สึกผู้รับบริการหลังจากได้นำเทคนิคที่สอนไป ไปใช้ในบริบทจริง ว่ารู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างไร พร้อมให้กำลังใจในการทำต่อไป และในวันนี้จะเพิ่มการแนะนำเทคนิคเตรียมความพร้อมก่อนการกลืน ตามหัวข้อ "เตรียมกายให้พร้อม เพิ่มความสมดุล" เพื่อกระตุ้นองค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการกลืนให้มีความพร้อมมากขึ้น และให้กลับไปฝึกต่อที่บ้าน โดยแนะนำให้ทำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 15 นาที หรือทำก่อนรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ

วันที่ 3-5 Home program โดยให้นำเทคนิคที่ได้แนะนำไปแล้วข้างต้น ไปปรับใช้ที่บ้านอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

  • เทคนิคปรับอารมณ์ คลายความกังวล
  • เทคนิคปรับความคิดบวก สร้างความมั่นใจ
  • เทคนิคเตรียมกายให้พร้อม เพิ่มความสมดุล

วันที่ 6 เริ่มฝึกกลืนโดยใช้อาหาร ตามคำแนะนำในเทคนิค "เริ่มลงมือทำ กลืนอย่างค่อยเป็น" พร้อมกับการให้ความรู้แก่ครอบครัวหรือผู้ดูแล เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการประสบความสำเร็จในการเอาชนะความกลัวการกลืนได้มากขึ้น

วันที่ 7-13 Home program เน้นฝึกการกลืนอาหารจริงที่บ้าน โดยนำสามารถนำเทคนิคทั้งหมดมาปรับใช้ร่วมกันได้ได้แก่

  • เทคนิคปรับอารมณ์ คลายความกังวล
  • เทคนิคปรับความคิดบวก สร้างความมั่นใจ
  • เทคนิคเตรียมกายให้พร้อม เพิ่มความสมดุล
  • เทคนิคเริ่มลงมือทำ กลืนอย่างค่อยเป็น

วันที่ 14 ประเมินซ้ำ เพื่อค้นหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น พร้อมร่วมกันหาทางแก้ไข หรือปรับเพิ่มความท้าทายในการฝึก เมื่อผู้รับบริการมีพัฒนาการที่ดีขึ้น

วันที่ 15-20 Home program

วันที่ 21 ประเมินผลการให้กิจกรรมบำบัด ให้ผู้รับบริการได้สะท้อนความรู้สึก ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หลังเข้ารับบริการทางกิจกรรมบำบัด พร้อมชื่นชมผู้รับบริการเพื่อเป็นแรงเสริมในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องต่อไป

      

     โรคกลัวการกลืนสามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ บางรายสามารถกลับไปรับประทานอาหารได้แทบปกติ ดังนั้นควรรีบเข้ารับการบำบัดรักษา เพื่อส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นให้ได้เร็วที่สุด

 

 

 

อ้างอิง

ศุภลักษณ์ เข็มทอง. กิจกรรมการดําาเนินชีวิตจิตเมตตา. -- กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2563.

ศุภลักษณ์ เข็มทอง. (2553). กลืนอย่างไรไม่ให้กลัว. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/400478

นันทยา อุดมพาญิชย์. (2557). กิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยกลืนลำบาก. สืบค้นจาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/download/23616/20093/

Little Miss Darran. (2020). เคล็ดลับเปลี่ยนนิสัย...เป็นคนใหม่ได้ใน 21 วัน !!. สืบค้าจาก https://intrend.trueid.net/article/เคล็ดลับเปลี่ยนนิสัย-เป็นคนใหม่ได้ใน-21-วัน-trueidintrend_108015 

หมายเลขบันทึก: 692563เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2021 07:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2021 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท