บทบาทนักกิจกรรมบำบัดในการให้คำปรึกษาผู้ป่วยกลัวการกลืนได้ใน 21 วันทำอย่างไร?


ท่านจะหยุดเพื่อหายใจสามครั้งเมื่อดื่มเครื่องดื่ม โดยท่านกล่าวว่า “มันทำให้อิ่มกว่า ปลอดภัยกว่า และน่าดูกว่า” -Muhammad-

การกินดื่ม  ถือเป็นเรื่องปกติที่เราทำเป็นกิจวัตรประจำวันในทุกๆวัน เพื่อการเจริญเติบโต ให้พลังงานแก่ร่างกายและเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ แต่ในหลายๆครั้ง เวลาเราทานหรือกลืนอาหาร แล้วเกิดการสำลักขึ้นมา ทำให้เรานั้นลำบากต่อการกลืนในครั้งถัดๆไป ไม่อยากทานอาหารบางชนิดหรือบางคนถึงขั้นกลัวต่อการกลืนไปเลย

ภาวะกลัวการกลืน คือ เป็นภาวะที่ผู้รับบริการมีความรู้สึกกลัวต่อการกลืน วิตกกังวล เครียด ไม่อยากทานอาหาร หลีกเลี่ยงการทานอาหารบางชนิด โดยมีความลำบากในการเริ่มต้นกลืนอาหาร หรือความยากลำบากในการเคลื่อนอาหารหรือของเหลวจากปากให้ผ่านคอหอย และหลอดอาหารไปสู่กระเพาะอาหาร อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล อาทิเช่น พยาธิสภาพของโครงสร้างการกลืนหรือเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับการกลืน เป็นต้น

สภาวะที่ทำให้กลัวการกลืน

  1. กลืนและหายใจพร้อมกัน
  2. มีประสบการณ์ที่ไม่ดี หรือมีภาพฝั่งใจ
  3. หายใจไม่ออกขณะกลืน ทำให้กลัวการกลืนทันที

การป้องกันภาวะกลัวการกลืน

  1. มีสติ
  2. ก้มคอไว้ขณะทานอาหาร
  3. อย่าหายใจพร้อมการกลืน

วิธีเบื่องต้นในการประเมินการกลืนของตนเอง

  • ทดสอบด้วยการกลืนน้ำลาย (Dry swallow test)

ท่าที่ 1

  1. แตะบริเวณคอหอย (ลูกกระเดือก)
  2. กั้นหายใจ ประมาณ 3 วินาที
  3. ให้ค่อยๆกลืนน้ำลาย

▶️การสังเกต : หากลูกกระเดือกขึ้นและค่อยๆลง ภายใน 1-2 วินาที แสดงว่าการกลืนมีความราบรื่น

ท่าที่ 2

  1. นำลิ้นแตะที่ฟัน (ให้อยู่ระหว่างฟันบน-ล่าง)
  2. ให้กลืนน้ำลาย

▶️การสังเกต : หากกลืนยาก แสดงว่าลิ้นและกล้ามเนื้อการกลืนไม่ค่อยแข็งแรง

ท่าที่ 3

  1. ให้ดันลิ้นแตะที่เพดาน
  2. ให้ปิดปากแล้วกลืนน้ำลาย

▶️การสังเกต : หากมีการก้มศรีษะขณะกลืน แสดงว่าการกลืนเริ่มลำบาก

  • ทดสอบด้วยการกลืนน้ำ (water swallow test)

โดยให้กลืนน้ำเริ่มจาก 3 ml, 5 ml, 10 ml, 20 ml ตามลำดับ

▶️สังเกต : อาการผิดปกติต่างๆ เช่น สำลัก ไอ กระแอมเสียงพร่าหรือเปลี่ยน กลืนช้า และภาวะสำลักเงียบ ถ้ามีถือว่าไม่ผ่าน การกลืนมีปัญหา

การลดความกลัว เพิ่มความกล้าในการกลืนอาหาร

1.) ฝึกการรู้สติ : กายป่วยแต่ใจไม่ป่วย เป็นการระบายอารมณ์ออกมาให้หมด กล้าเรียนรู้ ทดลองทำ ผิดเป็นครู จิตรู้จริงกายเข้มแข็ง หายป่วย คิดยืดหยุ่น  อารมณ์ มั่นคง ยิ้มสู้ รู้เวลา ทําทีละอย่าง ฝึกทํางานยาก ทิ้งงานย้อนอดีต ละวางแผนเยอะ ต้ังสติทําความดี  อยู่อย่างพอดี  ขอบคุณและรักษาลมหายใจให้ตัวเองสงบสุขทุกวันรักษาใจ ให้ภาวนา“ป่วยแต่กาย...ใจไม่ป่วย”

  • พูดกับตัวเองในปัจจุบันขณะ “เราตั้งใจจะทําดีเรื่องอะไรในวันนี้”  ทำทุกวัน 1 นาที
  • หลับตา หายใจเข้าออกช้า ๆ นิ่งคิดตอบ “เรากังวลเรื่องอะไร...ถ้าไม่กังวล เรามั่นใจเรื่องอะไร” ทุกวัน 3 นาที
  • ลืมตา เขียนตอบ “ปัญหาชีวิตท่ีเราจะวิจัยเรียนรู้...สู้แก้ไขด้วยวิธีการ อย่างไร” ทำ 5 นาที
  • ถ้าตอบข้อใดไม่ได้เลย ทุกๆ 30 นาที ตลอด 1 วัน ให้ขยับร่างกาย เดิน วิ่ง เต้น ทําอาหาร ปลูกต้นไม้ วาดรูป เล่นดนตรี ร้องเพลง และทําาความดีในหลายรูปแบบ แล้วค่อยพักหาคําาตอบใน 1-3-5 นาที ในวันถัดไป

2.) ให้ทบทวนความคิดให้รู้สึกสบาย ผ่อนคลาย มีสติเอาชนะใจตัวเอง หายใจให้เย็นจิต : โดยให้หายใจเข้าลึก-ค้าง 3 วินาที-เป่าปากหายใจออก เป็น 1 รอบ ทํา 4 รอบ ต่อด้วย หายใจเข้าลึก-เป่าปากหายใจออกติดต่อกัน 10 รอบ ต่อด้วย หายใจเข้าออกทางจมูก เป็น 1 รอบ ทํา 20 รอบ สุดท้าย หายใจเข้าลึก-ค้าง 3 วินาที-เป่าปากหายใจออก เป็น 1 รอบ

3.) ฝึกจินตนาภาพให้นึกถึงภาพของขณะรับประทานอาหารที่อร่อย กินเก่ง กินได้ทุกอย่าง แล้วปรับภาพให้ชัด เมื่อมีภาพที่กล้าๆกลัวๆ ก็ให้พูดเสียงดังให้ตัวเองได้ยินว่า “ ลบออกไป มั่นใจ กลืนได้ดี “ ให้พูด 3 ครั้ง

4.) ซ้อมการขยับฟันบนสบฟันล่าง ลิ้นแตะฟันบนล่าง ทำ 3-5 รอบ หรือบริหารกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการกลืน เพื่อเตรียมพร้อมระบบการเคี้ยว-กลืนอาหาร ให้มีความแข็งแรงและง่ายต่อการกลืน

ท่าบริหารกล้ามเนื้อการกลืน : ให้ทำครั้งละ 5-10 ครั้ง ต่อ 4-5 รอบ

  • บริหารริมฝีปากแก้ม และเพดาอ่อน
  • บริหารลิ้น
  • บริหารขากรรไกร
  • กระตุ้นการรับความรู้สึก

5.) ก่อนทานอาหาร เพื่อกระตุ้นการทํางานของสมองกับจิตเพื่อจดจ่อรับรู้สึกนึกคิดผ่านกิจกรรมการเคี้ยว กลืน กินบริโภคอาหารอย่างมีสติสัมปชัญญะ

  • เร่ิมใช้นิ้วโป้งสัมผัสข้อต่อขากรรไกร ดันนิ้วชี้ไปตรงๆ ท่ีปลายคาง ขยับนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ให้ก้มคอเล็กน้อย ให้กลอกตามองลงพื้น แล้วกลืนน้ําลายเล็กน้อย
  • เงยหน้าตรง ใช้ปลายลิ้นแตะตรงกลางเพดานใกล้ฟันบน ใช้นิ้วกลางแตะดันใต้คางเพื่อกระตุ้น น้ําลายชนิดใสแล้วไล่ไปใกล้กับกกหู จนถึงใต้ต่อขากรรไกรล่าง เพื่ออกระตุ้นน้ําลาย ชนิดข้น
  • ใช้ช้อนยาวสแตนเลสจุ่มน้ําอุ่นสัก 3-5 วินาที นําหลังช้อนมาแตะนวด ปลายล้ินซีกข้างถนัดวนไปกลางลิ้น แล้วแตะเข้าไปอีกนิดชิดล้ินไปข้างซ้าย นําช้อนออก
  • แลบลิ้นแตะริมฝีปากล่าง ปิดปาก กลืนน้ำลาย แลบล้ินแตะริมฝีปาก บน ปิดปาก กลืนน้ําลาย แลบล้ินแตะมุมปากด้านขวา ปิดปาก กลืนน้ําาลาย แลบล้ินแตะมุมปากด้านซ้าย ปิดปาก กลืนน้ําลาย
  • ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้แตะไล่ลงมาจาก ใต้คางอย่างช้า ๆจนเลยคอหอยนิดหนึ่ง แล้วกลืนน้ําลายให้หมดภายในสองรอบถ้าเกินสองรอบ ให้เป่าลมแรงๆออกจากปากสามครั้ง พร้อมส่งเสียงร้อง อา อู โอ แล้วค่อยก้มหน้ามองต่ำเล็กน้อยขณะกลืนน้ําลาย

6.) ตักอาหารแบ่งให้เป็นคำเล็กๆเข้าปาก ให้เคี้ยวอย่างช้าๆ ใช้ลิ้นตวัดอาหารไปที่ฟันกรามล่างข้างขวาสลับข้างซ้ายช้าๆนานข้างละ 5-10 วินาที แล้วค่อยๆกลืนลงขณะก้มคอ โดยปรับลักษณะของอาหารให้เหมาะสมกับระดับความสามารถการกลืนของผู้รับบริการ ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับบริการรับประทานได้อย่างปลอดภัย

อาหารระดับที่ 1 : อาหารปั่นข้น มีลักษณะเป็นเน้ือเดียว มีส่วนผสมของของเหลวน้อยมาก เหมาะ สาหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคี้ยวอาหารแข็งหรือกลืน อาหารเหลวได้ มักใช้ในผู้ป่วยที่เร่ิมฝึกกลืน เช่น โจ๊กปั่นข้น ข้าวสาลี ไข่ตุ๋น น้ำสลัดเนื้อสัตว์ปั่น เต้าหู้ เป็นต้น

อาหารระดับ 2 : อาหารเหลวข้นมีลักษณะเป็นเน้ือเดียว อาหารชนิดนี้จะมีส่วนผสมของของเหลว มากกว่าชนิดแรกแต่ไม่ถึงกับเหลวเป็นน้ำ เน้ืออาหารไม่ละเอียดเท่าอาหารระดับแรกสามารถปรับให้มีลักษณะข้นมากและข้นปานกลางได้เหมาะสาหรับผู้ป่วยที่มี ความสามารถเคี้ยวอาหารได้เล็กน้อย และยังไม่สามารถ กลืนอาหารที่มีเนื้อเหลวมากได้ เช่นโจ๊ก ข้าโอ๊ต ไข่ลวก เป็นต้น

อาหารระดับ 3 : อาหารอ่อนย่อยง่าย ลักษณะ เป็นอาหารอ่อน เคี้ยวง่าย มีเนื้อผสมได้หลายชนิด ไม่แข็งจนเกินไป หากมีชิ้นใหญ่ควรบดหรือสับหยาบ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ยังเคี้ยวอาหารได้ไม่เต็มที่ และกลืนของเหลวไดเ้ล็กน้อย เช่นข้าวต้มข้น มักกะโรนี สปาเก็ตตี้ ไข่ดาวน้า ไข่ต้ม โยเกิร์ต เป็นต้น

อาหารระดับ 4 : อาหารปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยง อาหารแข็งท่ีกลืนยาก เช่น อาหารทอดกรอบ ถั่ว หรือเมล็ดพืช ขนมปังกรอบ เป็นต้น เพราะอาจกระตุ้นให้ ผู้ป่วยไอ สำลักได้

7.) ทำต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะรู้สึกมั่นใจและไม่กลัวการกลืน หากรู้สึกกลัวขณะกลืน ให้พักจิบน้ำก่อน  หากมีอาการกลัวหรือตึงเครียดมากๆในระดับมากกว่า 6/10 ให้ชวนเคาะอารมณ์ลบพร้อมกันกับผู้ประเมิน คือ ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางสองข้าง เคาะระหว่างหัวคิ้ว พร้อมพูดว่า “มั่นใจ มั่นใจ มั่นใจ หายกลัว หายกลัว หายกลัว”

เคาะบริเวณกลางอกใต้ต่อปุ่มกระดูกไหปลาร้า พร้อมพูดว่า “เข้มแข็ง เข้มแข็ง เข้มแข็ง หายเศร้า หายเศร้า หายเศร้า”

เคาะสีข้างลําตัวใต้ต่อรักแร้หนึ่งฝ่ามือ พร้อมพูดว่า “ให้อภัย ให้อภัย ให้อภัย หายโกรธ หายโกรธ หายโกรธ”  ทำอย่างละ 3 ครั้ง แล้วสอบถามระดับความกลัว ความตึงเครียด หากยังไม่ดีขึ้นให้ทำซ้ำอีกรอบ

8.) หากมีปัญหาการกลืนกับการหายใจ ให้การฝึกสหสัมพันธ์ของการกลืนและการหายใจ โดยใช้เทคนิค “ หยุดคิด กลืน แยก หายใจ ” พร้อมกับนักกิจกรรมบำบัด

9.) ให้การบ้านทางกิจกรรมบำบัด : ฝึกทักษะการจัดการความกังวล ความกลัวด้วยตนเอง : ให้ขยับร่างกายเดินเร็วช้าสลับกัน 3-6 นาที หายใจ ออกยาวๆ 20 ครั้ง ต่อด้วยหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกเปล่งเสียง อา ยาวๆ ดังๆ ถ้า สดช่ืนข้ึนก็ลุยฝึกการกลืนต่อได้เลย

หมายเหตุ : ให้ทำการฝึกแบบนี้ในการปรับจิตใจในทุกๆมื้อ โดยให้แบ่งมื้ออาหารออกเป็น 5 มื้อในทุกๆวัน ระยะเวลาต่อเนื่อง 21 วัน✌️

 

Thank you 😊

 

แหล่งอ้างอิง

ตำรากิจกรรมการดำเนินชีวิตจิตเมตตา,ผศ.ดร.ก.บ.ศุภลักษณ์ เข็มทอง  https://drive.google.com/file/d/1l2uNhjAUBeJXVlrjkfUo9gbdNt-3XIBF/view

ชนะความกลัว...การกลืนอาหาร - GotoKnow

กลืนอย่างไร...ไม่ให้กลัว - GotoKnow

สุขใจที่กลืนไม่ลำบาก - GotoKnow

https://youtu.be/HCmhvyTPM34

https://youtu.be/HMwoWRGDEtc

https://youtu.be/Z0FGU6MsPqo

หมายเลขบันทึก: 692549เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2021 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2021 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท