การออกนอกระบบ : มุมมองของมหาวิทยาลัยนเรศวร


          มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยท่านอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.มณฑล   สงวนเสริมศรี  ได้ชี้แจงผ่าน WEBSITE ของมหาวิทยาลัยนเรศวร  ดังนี้ 

มุมมองมหาวิทยาลัยนเรศวร
กรณีเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการ
(มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ)

เดิม

กรณีเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ (มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ)
1.
สถานภาพของมหาวิทยาลัย
  เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการ  เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ
  การบริหารจัดการใช้ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยกำหนดโดยสภามหาวิทยาลัย
  การบริหารการเงินใช้ระเบียบการเงินของกระทรวงการคลัง และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ระเบียบการเงินของมหาวิทยาลัยกำหนดโดยสภามหาวิทยาลัย โดยมีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นผู้ตรวจสอบบัญชี การเงินทุกประเภททุกรอบปีบัญชี
  การได้มาซึ่งงบประมาณจะเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย  งบประมาณรายได้ และงบประมาณแผ่นดิน  โดยมีการจัดสรรแยกเป็นรายการตามแผนงาน ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ดังนั้นรัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณแผ่นดินสนับสนุนเหมือนเดิมแต่จัดสรรให้เป็นเงินอุดหนุนทั่วไปไม่น้อยกว่าเดิม
2 สถานภาพของบุคลากร  :  ข้าราชการและลูกจ้างประจำ
  ปัจจุบัน ม.นเรศวร มีข้าราชการจำนวน  685  คน คิดเป็นร้อยละ 30 และมีลูกจ้างประจำ 102 คน (1)   ข้าราชการที่ไม่ประสงค์จะเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ก็สามารถเลือกเป็นข้าราชการต่อไปได้จนเกษียณอายุราชการ สิทธิต่างๆ ยังคงได้รับเหมือนข้าราชการทั่วไป
  * ข้อมูล ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2549 จากงบประมาณปี 2550 ซึ่งจะมีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ * (2)   ข้าราชการที่มีความประสงค์จะเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย  
    -         ถ้าเดิมเป็นสมาชิก กบข. สามารถเป็นสมาชิก กบข. ตามเดิมต่อไปจนเกษียณอายุราชการ
  -         สามารถเบิกค่าเล่าเรียนบุตร และเบิกค่ารักษาพยาบาลให้บิดา-มารดา สามีหรือภรรยา และบุตรได้เหมือนเดิม
    -         ใช้สิทธิการขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่อไป เช่นเดียวกับการเป็นข้าราชการ
    -         ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดินเพิ่มสูงกว่าเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
    -         มีตำแหน่ง ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และอาจารย์ เช่นเดิม
    -         สิทธิการรับบำเหน็จบำนาญมีสิทธิดังนี้
    ·       ข้าราชการที่ไม่ได้เข้ากองทุน กบข.จะได้รับบำเหน็จบำนาญตาม พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญ
    ·       ข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุน กบข. อยู่แล้ว จะมีสถานภาพเป็นสมาชิก กบข. ต่อเนื่องจนเกษียณอายุราชการ
    ·       กรณีที่เป็นข้าราชการบำนาญสามารถเลือกใช้สิทธิ ของข้าราชการบำนาญในการเบิกค่ารักษาพยาบาลและสิทธิอื่น ๆ ของข้าราชการบำนาญ ได้อีกทางหนึ่ง
    -        สิทธิการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ และค่าที่พักของพนักงานมหาวิทยาลัยจะทำบัญชีอัตราการเบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พักให้พนักงานมหาวิทยาลัยในอัตราที่สูงกว่าอัตราของข้าราชการประมาณร้อยละ 50 ส่วนค่าพาหนะเบิกจ่ายตามจริงโดยขึ้นอยู่กับอัตราเงินเดือนและตำแหน่งของแต่ละบุคคลด้วย
    (3)   ลูกจ้างประจำที่มีความประสงค์จะเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย จะได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดินเพิ่มสูง  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 และมีสิทธิไม่ต่ำกว่าเดิม
หมายเหตุ
1.  หลักเกณฑ์การขอเปลี่ยนสถานภาพ จะระบุภายในพระราชบัญญัติโดยยึดหลักเกณฑ์ คือ
      -   หากขอเปลี่ยนสถานภาพภายใน 30 วันที่พระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้  ไม่ต้องประเมิน
      -   หากขอเปลี่ยนสถานภาพภายหลัง ต้องผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2.   กรณีที่เป็นข้าราชการและไม่ประสงค์จะเปลี่ยนสถานภาพยังคงเป็นข้าราชการตามเดิม
  สถานภาพของบุคลากร  :   พนักงานมหาวิทยาลัย
  ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนเรศวรมีพนักงาน จำนวน  1,618 คน คิดเป็นร้อยละ 70  
   **ข้อมูล ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2549 จากงบประมาณปี 2550 ซึ่งจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ**  
  ไม่มีกฎหมายรองรับ มีกฎหมายรองรับ มีความมั่นคง (พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ)
  ไม่ได้รับสวัสดิการด้านการครองชีพมีแต่ประกันสังคมเหมือนลูกจ้างชั่วคราว มหาวิทยาลัยจัดให้มีระเบียบว่าด้วยสวัสดิการพนักงานประเภทต่าง ๆ ที่ไม่ต่ำกว่าข้าราชการได้รับ เช่น ค่าเล่าเรียนบุตร ,  ค่ารักษาพยาบาลของบิดา มารดา สามีหรือภรรยา  และบุตร ฯลฯ
3 ด้านกิจการนิสิต
3.1 การกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับปริญญาตรีภาคปกติ
  เหมาจ่ายตามประกาศ (ใช้ประกาศค่าธรรมเนียม ปี พ.ศ.2549) ไม่เปลี่ยนแปลง  เป็นนโยบายของสภามหาวิทยาลัย หากมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้ว จะไม่ปรับขึ้นค่าธรรมเนียมการศึกษาเป็นระยะเวลา 10 ปี ถึงปีการศึกษา 2560
3.2 กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวปฏิบัติ
  ใช้ระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ไม่เปลี่ยนแปลงใช้ระเบียบข้อบังคับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่
3 .3 การกู้ยืมเงินส่วนใหญ่ของนิสิต
  นิสิตมีสิทธิในการกู้ยืมเงินจากกองทุนของรัฐบาล ( กยศ. , กรอ.) ไม่เปลี่ยนแปลงนิสิตสามารถกู้ยืมเงินจาก กยศ. และ กรอ. ได้เหมือนเดิม
3.4 ด้านทุนการศึกษา
  มหาวิทยาลัยจัดทุนการศึกษาร้อยละ 5 ของนิสิต(ปีละ 30,000 บาท / ทุน)และจัดหาทุนอื่นจากภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชนเพิ่มเติมให้นิสิต ไม่เปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยจัดสรรทุนการศึกษาและหาแหล่งทุนอื่นเพิ่มเติมให้นิสิตเหมือนเดิม
4.  กลไกในการตรวจสอบของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ
4.1 ด้านระบบบริหารราชการ ตรวจสอบโดยกรรมการสภามหาวิทยาลัยและผู้ประเมินอิสระ
4.2 ด้านระบบการเงิน ตรวจสอบโดยหน่วยตรวจสอบภายใน  สภามหาวิทยาลัย และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
4.3 ด้านระบบการบริหารงานบุคคล หากไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถยื่นร้องเรียนต่อคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ สภามหาวิทยาลัย  ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภาและศาลปกครอง
4.4 อธิการบดีต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ปปช. ก่อนเข้ารับตำแหน่งและหลังจากหมดวาระด้วย     
5  กรณีมหาวิทยาลัยเป็นส่วนราชการเหมือนเดิม จะส่งผลกระทบต่อพนักงาน ดังนี้
5.1 พนักงานที่มีอยู่  ร้อยละ70 ขาดความมั่นคง เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ
5.2 งบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้จะเป็นระบบราชการ ซึ่งส่งผลต่อเงินเดือน  สวัสดิการ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับพนักงานของมหาวิทยาลัย  ไม่สามารถกำหนดให้ทัดเทียมกับข้าราชการได้
5.3 ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการ ค่าเลี้ยงดูบุตร และค่ารักษาพยาบาลเหมือนข้าราชการต่อไป เนื่องมาจากไม่สามารถจะหางบประมาณกำหนดเป็นระเบียบให้เบิกจ่ายได้อย่างคล่องตัวเหมือนการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
5.4 การขออัตราใหม่จะไม่ได้รับการพิจารณากรอบอัตรากำลังเพิ่มใหม่ ทั้งข้าราชการและอัตราพนักงาน มหาวิทยาลัยอาจจะได้เฉพาะพนักงานราชการ ซึ่
หมายเลขบันทึก: 69002เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2006 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท