บทสรุป workshop Happy WorkPlace


เวทีหนึ่งที่มีความหมายของสังคมไทย

 

จากงาน เวทีนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะ  ในสถานประกอบการอุตสาหกรรม ในวันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา ณ ห้องโมเน่ โรงแรมโนโวเทล (สยามสแควร์) กทม.  มีสิ่งเรียนรู้มากมาย โดยกำหนดการในวันนั้นมี 4 ส่วนที่สำคัญคือ

  1. การให้ผู้เข้าร่วมคือ สถานประกอบการอุตสาหกรรม 11 แห่ง  ได้รับทราบที่ไปที่มาจากผู้จัดงานหลัก เพื่อให้เข้าใจเป้าหมายของการจัดงานนี้คืออะไร
  2. การละลายพฤติกรรม (Ice breaking) ด้วยกิจกรรมสานสายใยถักทอเครือข่าย (แท้จริงๆ แล้ว เป็นส่วนสำคัญที่จะต้องดำเนินการก่อน)
  3. เรื่องเล่าเร้าพลัง (Storytelling)จากความภาคภูมิใจผ่านบทบาทหน้าที่ของผู้เข้าร่วม เรื่องเล่าทั้งหมดจะถูกเล่าออกมาจากการปฏิบัติ    เราออกแบบให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเล่าด้วยการแบ่งกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มคละข้ามภูมิภาค คละข้ามแผนงาน เราจึงได้ 3 กลุ่มคือ กลุ่มสีเขียว กลุ่มสีเหลือง และ กลุ่มสีม่วง
  4. สรุปเรื่องเล่าของแต่ละกลุ่มและออกมานำเสนอ  และกิจกรรมทบทวนหลังปฏิบัติการ  (AAR-After Action Review)

 

โดยเรากำหนดประเด็นเรื่องเล่าให้แต่ละกลุ่มเล่า  ซึ่งมี 3 ข้อคือ

  1. อยากให้ท่านเล่าเรื่องความสำเร็จของท่านหรือเรื่องราวความสำเร็จที่เกิดขึ้นในองค์กรของท่านที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากร จนเกิดความร่วมมือในการเสริมสร้างสุขภาวะในองค์กร
  2. อยากให้ท่านเล่าเรื่องความสำเร็จของท่านหรือเรื่องราวความสำเร็จที่เกิดขึ้นในองค์กรของท่านที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมจนเกิดผลสำเร็จในการเสริมสร้างสุขภาวะในองค์กร
  3. อยากให้ท่านเล่าเรื่องบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดผลสำเร็จในการเสริมสร้างสุขภาวะในองค์กร และเขาเหล่านั้นทำอย่างไร

        หลังจากที่ให้แต่ละกลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่ม ใช้เวลาประมาณ  1 ชั่วโมงครึ่ง เราก็ให้ทุกกลุ่มร่วมกันพูดคุยสรุปประเด็นเพื่อนำเสนอต่อกลุ่มใหญ่ สิ่งที่นำเสนอขอบอกว่าน่าสนใจมากและมีกิจกรรมเพิ่มเติมจากที่แต่ละสถานประกอบการเขียนเล่ามาก่อนหน้านี้ (ก็บทความทั้ง 11 บทความที่ได้นำขึ้น blog อย่างต่อเนื่องไงคะ)

           สิ่งที่ได้เรียนรู้

     1. การสร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากร คือ

  •  ผู้บริหารให้ความสำคัญ
  • พนักงานมีส่วนร่วม
  •  มีแกนนำ
  •    สร้างความเชื่อใจระหว่างผู้บริหารและพนักงาน

     2. กิจกรรมที่เกิดผลสำเร็จ ในการเสริมสร้างสุขภาวะ ในสถานประกอบการมี 3 ประเด็น

  • สุขภาพ เช่น เรื่องของกีฬา การบริโภค และความปลอดภัยในการขับขี่ ความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
  • การพัฒนาคุณภาพชีวิต  สวัสดิการ การสร้างวัฒนธรรมองค์กร คุณธรรม และ CSR
  • การสร้างแกนนำเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กร

         กิจกรรมที่ได้รับการชื่นชมในการแลกเปลี่ยนครั้งนี้เช่น

            -  การจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กของบริษัท ราชาเซรามิค  ซึ่งมองว่าพนักงานจะมีความสุขถ้ามีลูกที่ต้องเลี้ยงดูอยู่ใกล้ๆ  เวลาพักกลางวันสามารถให้นมได้ แวะเวียนไปหาลูกได้ และพัฒนาการของลูกดีขึ้น ซึ่งผู้จัดการ HRD ของบริษัทราชาเซรามิค ได้บอกว่า โครงการนี้ทำให้ตนรู้สึกภาคภูมิใจมาก เพราะมีสถานประกอบการอุตสาหกรรมที่จัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในโรงงานนี้น้อยมาก นับได้เลยว่ามีที่ไหน และเราก็เป็นโรงงานหนึ่งที่คำนึงถึงเรื่องนี้ เราคิดเสมอว่าทำอย่างไรให้พนักงานของเรามีความสุข ดังนั้นครอบครัวของพนักงานต้องมีความสุขด้วย เราจึงจัดตั้งโครงการนี้

               -  โครงการสร้างคนดีแทนคุณแผ่นดิน ของบริษัท Asia Precision "เน้นคนดีก่อนคนเก่ง" วินัย สามัคคี เสียสละ คุณธรรม กตัญญู    ด้วยการสร้างคนดีแทนคุณแผ่นดิน  โดยการตระหนักการเป็นคนดีของพนักงาน สร้างแรงบันดาลใจแก่องค์กร  ผ่านการจัดสัมมนา/อบรมประชุมตอนเที่ยง และนำพระบรมราโชวาทของในหลวงมาใช้

     3. บุคคลที่สำคัญต่อผลสำเร็จของการสร้างสุขภาวะในองค์กร

  •  ผู้บริหารองค์กร ต้องให้การสนับสนุนเชิงนโยบาย   เป็นผู้นำในการทำกิจกรรม  สนใจเข้าร่วมกิจกรรม  มีความเชื่อ ทำจริง ต่อเนื่อง
  • แกนนำ ทั้งแบบ Formal  และ Informal
  • คนนำกิจกรรม ต้องมีความเป็นผู้นำ และ มีลูกเล่น
  • พนักงาน มีความร่วมมือในการทำงาน และสร้างเครือข่าย 

       นี่คือพลังของการแลกปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถานประกอบการ ทั้ง 11 แห่งที่ใช้เวลาเพียง 1 วันแต่เต็มอิ่มมากจริงๆ   สิ่งที่ได้มากกว่านั้นนั่นคือ มิตรภาพ จนบางบริษัทเอ่ยปากว่าอยากให้ได้มีการ site visit เพราะจะทำให้ได้เห็นของจริง เรื่องเล่านั้นทำให้จินตนาการได้บางส่วน แต่ถ้าได้เป็นเห็นจากสถานที่จริง บรรยากาศจริง  จะรู้สึกดีมากขึ้น เพื่อนำไปปรับใช้ และต่อยอดในบริบทของบริษัทของตนได้

       อาจเป็นข้อสังเกตหนึ่งว่า ในเอกชนเรื่องของข้อมูลเป็นสิ่งที่ต้องห้าม เป็นความลับของบริษัทและห้ามแพร่งพรายออกไป  แต่สำหรับเรื่องของการพัฒนาบุคคลากรขององค์กร เป็นสิ่งที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ เพราะไม่มีใครสามารถลอกเลียนแบบได้ เพราะมันต้องคำนึงถึงบริบทของแต่ละบริษัท คงต้องนำไปวิเคราะห์และปรับใช้มากกว่า นี่คือ การต่อยอดผลงาน และถ้าได้กลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันใหม่ก็จะหมุนเวียนกลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

สามารถชมรายละเอียดบทสรุปเป็นลักษณะ mind map

สามารถอ่านรายละเอียดการเตรียมงานในการจัดงาน สร้างสุขในสถานประกอบการ...Happy WorkPlace

หมายเลขบันทึก: 68837เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2006 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ในที่สุด Happy Work Place ก็จบอย่าง Happy  Ending หลังจากติดตามอ่านมา 11 กรณีศึกษา ใน 11 ตอนที่ผ่านมา
  • ขอบคุณครับ
ดีใจครับ  ที่ KM เข้ามาใน วงการอุตสาหกรรม  มากขึ้น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท